สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นาหมวด เกษตรกรรม ประจำเดือนกันยายน 49 ลดลงร้อยละ 6.8 เป็นการชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เหตุเพราะ ผลผลิตออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการ คาดอีก 3 เดือนเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตหลักจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ ดีขึ้น
นายมณฑล เจียมเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์สนเทศการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหมวดเกษตรกรรม ที่เกษตรกรขายได้ในเดือนกันยายน 2549 เท่ากับ 146.6 ลดลงร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2549 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.3
ทั้งนี้เนื่องมาจากเป็นฤดูกาลที่ผลผลิตของพืชหลายชนิดออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการ ทำให้ราคาสินค้าหลายกลุ่มลดลง ได้แก่ กลุ่มพืชอาหารธัญพืช ไม้ยืนต้น ไม้ดอก ปศุสัตว์และประมง โดยเฉพาะราคายางพารา กล้วยไม้ ไข่ไก่ กุ้งกุลาดำ มีราคาอ่อนตัวลงจากเดือนก่อน ส่งผลให้เกษตรกรผู้ผลิตมีรายได้จากการขายลดลงบ้าง
อย่างไรก็ตาม แม้ราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ยภาพรวมจะลดลง แต่หากเริ่มมีการใช้จ่ายลงทุนภาครัฐผ่านงบประมาณ ปี 2550 ได้อย่างทันท่วงทีก็จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายบริโภคเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะหมวดพืชอาหาร ไข่ และเนื้อสัตว์ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มรายได้ภาคเกษตรได้ระดับหนึ่ง อนึ่งในช่วง 3 เดือนข้างหน้าต่อจากนี้จะเริ่มมีผลผลิตข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ทยอยเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดมากขึ้น เกษตรกรจะมีรายได้จากการขายผลผลิตเข้าสู่ครัวเรือนมากในช่วงเวลาดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์สนเทศการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหมวดเกษตรกรรม ที่เกษตรกรขายได้ในเดือนกันยายน 2549 เท่ากับ 146.6 ลดลงร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2549 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.3
ทั้งนี้เนื่องมาจากเป็นฤดูกาลที่ผลผลิตของพืชหลายชนิดออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการ ทำให้ราคาสินค้าหลายกลุ่มลดลง ได้แก่ กลุ่มพืชอาหารธัญพืช ไม้ยืนต้น ไม้ดอก ปศุสัตว์และประมง โดยเฉพาะราคายางพารา กล้วยไม้ ไข่ไก่ กุ้งกุลาดำ มีราคาอ่อนตัวลงจากเดือนก่อน ส่งผลให้เกษตรกรผู้ผลิตมีรายได้จากการขายลดลงบ้าง
อย่างไรก็ตาม แม้ราคาสินค้าเกษตรเฉลี่ยภาพรวมจะลดลง แต่หากเริ่มมีการใช้จ่ายลงทุนภาครัฐผ่านงบประมาณ ปี 2550 ได้อย่างทันท่วงทีก็จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายบริโภคเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะหมวดพืชอาหาร ไข่ และเนื้อสัตว์ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มรายได้ภาคเกษตรได้ระดับหนึ่ง อนึ่งในช่วง 3 เดือนข้างหน้าต่อจากนี้จะเริ่มมีผลผลิตข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ทยอยเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดมากขึ้น เกษตรกรจะมีรายได้จากการขายผลผลิตเข้าสู่ครัวเรือนมากในช่วงเวลาดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-