ตามที่พรรคไทยรักไทยระบุว่านายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะทำงานตรวจสอบการขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น ไม่มีความชอบธรรมในการตรวจสอบนั้น สาเหตุเพราะนายไกรสีห์ จาติกวณิช บิดา เคยหลีกเลี่ยงภาษีการนำเข้ารถยนต์ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากรนั้น ในวันนี้ (15 ก.พ.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ชี้แจงถึงเรื่องนี้ว่า นายไกรสีห์ จาติกวณิช บิดาของตนได้รับคำสั่งให้ออกจากราชการจริง ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมศุลกากร ในปี 2529 เพราะมีการกล่าวหาและได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน โดยได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมและทุกคดีสิ้นสุดไปแล้ว โดยในปี 2531 อัยการมีหนังสือแนะนำกรมศุลกากรว่าไม่ควรฟ้อง แต่กรมศุลกากรยังคงยื่นฟ้อง โดยให้คดีอาญาจบก่อน คืออัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้องเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ส่วนคดีแพ่ง ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ว่า บิดาของตนไม่มีความผิด ฎีกาของโจทย์ฟังไม่ขึ้น และเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2531 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) มีหนังสือถึงบิดาของตนยืนยันว่ามีสิทธิ์ขอกลับเข้ารับราชการได้ แต่บิดาของตนเลือกที่จะไม่ขอรับราชการต่อไป อาจเป็นเพราะผิดหวังต่อกระบวนการและใกล้เกษียณอายุราชการ
นายกรณ์กล่าวต่อไปว่า โดยปกติไม่ต้องการตอบโต้ แต่พรรคไทยรักไทยพาดพิงถึงบิดาโดยไม่เป็นธรรม และใช้ข้อมูลไม่ถูกต้อง พาดพิงถึงบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานทางการเมืองของตน อีกทั้งเรื่องที่พรรคไทยรักไทยพาดพิงนั้นเป็นเรื่องเก่าเกือบ 20 ปีแล้ว และต้องการขุดขึ้นมาเพื่ออ้างถึงความชอบธรรมในการทำงานของตน ซึ่งเป็นเรื่องไร้สาระ ประชาชนที่ทราบข่าวคงผิดหวังในการทำงานการเมืองของพรรคไทยรักไทย แต่การที่พรรคไทยรักไทยเล่นเกมการเมืองเช่นนี้กลับทำให้ตนมีความมุ่งมั่นมากขึ้นว่า การตัดสินใจมาทำหน้าที่ทางการเมืองเพื่อหวังว่าจะมีส่วนพัฒนาการเมืองไทย นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
"หวังว่าด้วยข้อมูลหลักฐานที่ผมเสนอวันนี้ เรื่องของคุณพ่อของผมก็จะจบ ผมได้ปรึกษากับครอบครัวในเรื่องนี้ เราก็ต้องการบอกกับผู้รับผิดชอบที่ไทยรักไทยว่า เราให้อภัย และเมื่อไทยรักไทยรับทราบข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ก็หวังว่าจะไม่หยิบยกเรื่องของคุณพ่อผมมากล่าวอ้างอีก" นายกรณ์กล่าว
ส่วนเรื่องการฟ้องร้องผู้ที่ออกมาพูดเรื่องนี้ นายกรณ์กล่าวว่า ได้ฝากให้พี่ชายในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ที่สุดในรุ่นให้พิจารณา โดยลำดับแรกขอให้เครดิตว่าผู้พูดกล่าวโดยไม่มีข้อมูลที่แท้จริง และเรื่องนี้ผ่านมานานแล้วและไม่ต้องการรบกวนบิดาให้มาเกี่ยวข้อง โดยหวังว่าเรื่องนี้จะจบไป แต่ก็ยังสงวนสิทธิ์ในการฟ้องร้องไว้ เพราะเวลานี้ไม่มีเจตนาที่จะเสียเวลาของศาลด้วยเรื่องนี้ และผู้พูดคงได้รับบทเรียนไปในระดับหนึ่งว่า การทำงานแบบดิสเครดิตด้วยข้อมูลที่ผิด สุดท้ายจะมีผลร้ายทางการเมืองกลับมาที่ตัวเขา ตัวพรรค และเจ้านายของเขาเอง
พร้อมกันนี้นายกรณ์ยังเสริมตอนท้ายถึงผู้พูดว่า ที่ดีที่สุด ตามมารยาทอันควร ก็ควรจบโดยกล่าวคำขอโทษจากพรรคไทยรักไทยให้บิดาของตน แต่สุดท้ายครอบครัวของตนบอกว่าอย่าขออย่างนั้น เพราะคงไม่มีทางได้ จะผิดหวัง จึงไม่ได้ขอ แต่เมื่อถามว่าผู้พูดควรรับผิดชอบอย่างไร ผู้พูดก็พูดในฐานะทีมโฆษกพรรคไทยรักไทย ความรับผิดชอบจึงอยู่ที่พรรคไทยรักไทยด้วย
หัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบการขายหุ้นชิน คอร์ป กล่าวถึงกรณีการขายหุ้นว่าขณะนี้ยังมีคำถามที่สำคัญ ที่ยิ่งไม่ตอบ คณะทำงานของพรรคก็ยิ่งสงสัย คือ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 พ.ต.ท.ทักษิณได้มีจดหมายลับไปถึงคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ว่า โอนหุ้นแอมเพิล ริชฯให้นายพานทองแท้ ชินวัตร ไปแล้ว แต่ในเดือนตุลาคม 2544 พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา แก้รายงานที่ทำไว้กับ ก.ล.ต.เมื่อเดือนกันยายน 2543 ว่า หุ้นที่เคยอยู่ในชื่อคนอื่น คือชื่อคนรถและคนใช้นั้นจริงๆแล้วเป็นของตนเอง กลับไม่มีการพูดถึงแอมเพิล ริชฯ ไม่ได้แก้ในส่วนของแอมเพิล ริชฯ ตรงนี้เป็นประเด็นที่น่าแปลกใจ ตกลง พ.ต.ท.ทักษิณโอนหุ้นแอมเพิล ริชฯ ให้นายพานทองแท้หรือไม่
นายกรณ์กล่าวว่า เป็นประเด็นสำคัญที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาและตั้งคำถามว่า เขาพยายามจะทำอะไร พ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยรายงานเรื่องการโอนหุ้นแอมเพิล ริชฯ อย่างเป็นทางการต่อ ก.ล.ต. คณะทำงานจึงถามว่าทำไมไม่รายงาน อาจจะเป็นเพราะว่าหากรายงานว่าโอนแล้ว นายพานทองแท้ต้องทำการเสนอซื้อหรือเทนเดอร์ ออฟเฟอร์หุ้นชิน คอร์ป ตามมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เพราะเมื่อรวมหุ้นที่อยู่แอมเพิล ริชฯ และที่อยู่กับนายพานทองแท้ จะรวมกันเกิน 25 % จึงต้องซุกไว้ก่อน แต่อีกแง่มุมคือ การไม่แจ้งเป็นเพราะยังเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ ไม่ได้แจ้งอาจเป็นความถูกต้องก็ได้เพราะยังไม่ได้โอน ดังนั้น ตอนที่รายงานทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) รายงานเท็จหรือไม่ เพราะไม่ได้พูดถึงแอมเพิล ริชฯ เลย ยังเป็นปมสำคัญมากกว่าทุกเรื่อง ยังไม่มีคำอธิบายว่าทำไมจึงไม่รายงานทุกอย่างตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
"เป็นคำถามที่ผมมีสิทธิที่ผมจะถาม และการตอบต้องมีหลักฐานยืนยันคำตอบ วันนี้ หากอ้างตามเอกสารอย่างเดียว ผมฟันธงได้เลยว่าแอมเพิล ริชฯ ยังเป็นของท่าน ก็คือซุกหุ้น เพราะหากมีการโอนต้องแจ้ง เมื่อไม่ได้แจ้งแสดงว่าไม่ได้โอน แต่หากบอกว่าโอนแต่ลืมแจ้ง ก็เอาเอกสารการโอนมา เชื่อถือได้แค่ไหนก็มาว่ากันอีกทีว่า ผิดพลาดโดยสุจริตอีกแล้วหรือ แต่คงอ้างยากว่า บกพร่องโดยสุจริตอีก เป็นไปไม่ได้ที่อยู่ในช่วงที่ถูกคดี จะกระทำผิดด้วยความสุจริต หากเป็นไปได้จริงก็ขาดคุณสมบัติในการเป็นนายกฯ เพราะประมาทเลินเล่อบ่อย" นายกรณ์กล่าว
นายกรณ์กล่าวว่า ทั้งนี้ การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ บุตร และแอมเพิล ริชฯ ไม่ได้รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ตามมาตรา 246 แห่ง พ.ร.บ.กำกับหลักทรัพย์ฯนั้น ถามว่ามีกี่ครั้ง เท่าที่นับได้มี 4 ครั้ง คือ 1.เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 ที่แอมเพิล ริชฯ ลดสัดส่วนการถือหุ้นชิน คอร์ป จำนวน 10 ล้านหุ้น โดยมีวิคเกอร์ บัลลาส เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่ 11.56 ล้านหุ้น 2.วันที่ 1 ธันวาคม 2543 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณอ้างว่าโอนหุ้นแอมเพิล ริชฯ ให้นายพานทองแท้ 3.วันที่ 21 สิงหาคม 2544 ยูบีเอสส่งแบบ 246-2 ระบุว่าซื้อหุ้นชิน คอร์ป 10 ล้านหุ้น ซึ่งคาดว่าซื้อแอมเพิล ริชฯ 2 แต่แอมเพิล ริชฯ 2 ไม่ได้แจ้ง ก.ล.ต.ในฐานะผู้ขาย และ 4.เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2549 ที่นายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร แจ้ง ก.ล.ต.ว่า โอนหุ้นแอมเพิล ริชฯ ให้ น.ส.พิณทองทา 20 % เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2548 ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นชิน คอร์ป ของ น.ส.พิณทองมาเพิ่มขึ้น แต่กลับไม่ได้แจ้ง
นายกรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีคำถามเกี่ยวกับวิคเกอร์ บัลลาส และธนาคาร ยูบีเอส สาขาสิงคโปร์ นายสุวรรณ วลัยเสถียร โฆษกตระกูลชินวัตร-ดามาพงศ์ ชี้แจงผ่านโทรทัศน์ว่า ทั้ง 2 บริษัทนี้เป็นเพียงผู้รับฝากหุ้นหรือคัสโตเดียน(Custodian) ก็มีคำถามว่า เป็นผู้รับฝากหุ้นจริงหรือไม่ เพราะพฤติกรรมส่อว่า ไม่ใช่ เนื่องจากโดยปกติ หากนักลงทุนฝากหุ้นผ่านโบรกเกอร์ไว้ที่ศูนย์รับฝากหุ้น จะปรากฏชื่อของนักลงทุน ไม่ใช่ชื่อโบรกเกอร์ จึงมีคำถามว่า หากเป็นผู้รับฝากหุ้น ทำไมจึงโอนหุ้นให้วิคเกอร์ บัลลาส แค่จำนวน 10 ล้านหุ้น อีก 22.92 ล้านหุ้นทำไมไม่โอน และหากยูบีเอสเป็นผู้รับฝากหุ้น ทำไมในปี 2544 จึงมีรายการซื้อหุ้นจากแอมเพิล ริชฯ 10 ล้านหุ้นๆละ 179 บาท เพราะหากรับฝากอย่างเดียวจะไม่มีการซื้อขาย สรุปแล้ว วิคเกอร์ บัลลาส และยูบีเอส เป็นใคร ทำหน้าที่ให้ใคร หากเป็นของตระกูลชินวัตร ซึ่งก็น่าจะหมายถึงนายพานทองแท้ ก็มีคำถามว่าเงินที่ซื้อหุ้นมาจากไหน และเงินที่ได้จากการขายหุ้นโดยแอมเพิล ริช ไปที่ไหน พิสูจน์ได้หรือไม่ว่าเข้าบัญชีนายพานทองแท้ เพราะตามคำอ้างของ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น แอมเพิล ริชฯ ถูกโอนเป็นของนายพานทองแท้แล้ว
นายกรณ์กล่าวว่า และตามมาตรา 241 เรื่องการใช้ข้อมูลภายใน หากเป็นไปตามคำอ้างของนายสุวรรณที่ระบุว่า ยูบีเอสคือผู้รับฝากหุ้นนั้น คณะทำงานพบว่า ยูบีเอสได้ซื้อหุ้นชินอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ตระกูลชินวัตรเจรจาขายหุ้นชินของตัวเองอยู่ ถามว่าเข้าข่ายมาตรา 241 หรือไม่ ทั้งนี้ การที่นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ว่า ก.ล.ต.ได้รับหลักฐานหมดแล้วนั้น ไม่จริง ก.ล.ต.ยังไม่ได้รับคำตอบจากวิคเกอร์ บัลลาสและยูบีเอสมีสถานะเป็นอะไร จึงไม่แน่ใจว่า นายทนงให้สัมภาษณ์ในฐานะอะไร ในฐานะประธาน ก.ล.ต.โดยตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือในฐานะโฆษกอีกคนของตระกูลชินวัตร ดังนั้น เพื่อให้โอกาสสำนักงาน ก.ล.ต.ทำงาน นายทนงควรระงับการให้ข่าว จนกว่าจะได้รับรายงานจากสำนักงาน ก.ล.ต.
นายกรณ์กล่าวว่า คณะทำงานอาจจะเข้าพบนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูเรื่องนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระทรวงพาณิชย์ และให้รับทราบข้อกล่าวหาและความกังวลของคณะทำงาน ในเรื่องของความถูกต้องตามกฎหมายของบริษัทต่างๆ ที่เทมาเส็กตั้งขึ้นมาเพื่อรักษาความเป็นไทยของผู้ซื้อหุ้นนั้น และคณะทำงานจะหารือกันถึงเรื่องการเสนอข้อมูลของคณะทำงานให้กลุ่ม ส.ว. 28 คน ที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นเอกสารเพิ่มเติมเพื่อยืนยันหรือขยายความต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะจากที่ได้อ่านญัตติของ ส.ว.แล้วมีมูลหลายประเด็น ตรงต่อข้อมูลของคณะทำงาน
ซึ่งนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่ ส.ว. 28 คน ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้พิจารณาคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถชี้นำหรือเสนอแนะความคิดเห็นใดๆที่จะก่อเกิดปัญหาในการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญได้ ที่พรรคทำได้ คือ การเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระที่จะเป็นที่พึ่งของประชาชนทั้งประเทศได้ เพราะการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ครั้งสำคัญ
เอกสารเพิ่มเติม
คำถามกรณีการขายหุ้นชินคอร์ปที่ยังไม่ได้รับคำตอบจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
การรายงานตามมาตรา 246 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
1. เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2542 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณได้ขายหุ้น SHIN ให้ Ample Rich Investments LTD. (ARI1) เป็นจำนวน 32.92 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาทผ่านตลาดหลักทรัพย์ (SET) และได้ส่งแบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ทั้งของผู้ซื้อและผู้ขายให้สำนักงาน ก.ล.ต. (SEC) ด้วย การซื้อขายผ่าน SET ต้องมีการชำระราคาเกิดขึ้น อยากทราบที่มาของเงินทุนของ ARI1 ที่โอนเข้าประเทศไทยเพื่อชำระค่าซื้อหุ้น (หรือโอนออกไปก่อนหน้านั้นโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ) และได้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบของ ธปท.หรือไม่
2. เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2543 ตามทะเบียนผู้ถือหุ้นพบว่า ARI1 ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้น SHIN จำนวน 10.0 ล้านหุ้น ทำให้เหลือหุ้นเป็นจำนวน 22.92 ล้านหุ้น โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหม่เกิดขึ้นมาคือ Vickers Ballas & Co. PTE LTD (VKB) ถือหุ้น SHIN เป็นจำนวน 11.56 ล้านหุ้น ทำไมเมื่อ ARI1 โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณโอนขายหุ้น SHIN ให้ VKB ซึ่งทำให้สัดส่วนการถือหุ้น SHIN ลดลงต่ำกว่า 10% แล้ว จึงไม่จัดส่งแบบ 246-2 ให้ SEC ทั้งๆ ที่เคยดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2542 ซึ่งจะต้องเปิดเผยว่าได้โอนขายหุ้นไปในลักษณะใดด้วย
3. ถ้า VKB เป็นผู้ดูแลหลักทรัพย์ (Custodian) ของ ARI1 จริง ทำไม ARI1 ไม่โอนหุ้น SHIN ให้ VKB ทั้งหมด เจ้าของหุ้น SHIN ที่แท้จริงมีเจตนาจะซุกซ่อนหุ้น SHIN ไว้ในนาม VKB เพื่อกระทำการอันเป็นการเอาเปรียบต่อนักลงทุนรายย่อยหรือไม่ และเมื่อผ่านมาเพียง 9 เดือน ในวันที่ 10 เม.ย. 2544 VKB ได้หายไปจากทะเบียนผู้ถือหุ้นและปรากฏว่ามีธนาคาร UBS กับ Ample Rich Investments Limited (ARI2) เกิดขึ้น โดย ARI2 ถือหุ้นจำนวน 10.0 ล้านหุ้นซึ่งเท่ากับจำนวนที่ ARI1 ได้โอนขายไปเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2543 ตามรายละเอียดในข้อ 2 ดังนั้น ต้องตรวจสอบกับ VKB และให้แสดงหลักฐานว่าเป็น Custodian อย่างแท้จริง
4. ถ้า VKB ไม่ใช่ Custodian เงินค่าขายหุ้นที่ ARI1 ได้รับอยู่ที่ไหน พิสูจน์ได้หรือไม่ว่ามีการโอนให้กับนายพานทองแท้ และมีการโอนเงินเข้าประเทศหรือไม่ ควรจะต้องเปิดเผยเส้นทางเดินของเงินที่ได้จากการขายหุ้นรวมทั้งการใช้จ่ายเงินดังกล่าว เนื่องจากช่วงเวลานั้น เป็นช่วงที่พรรคไทยรักไทยอยู่ระหว่างรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไปในเดือน ม.ค. 2544
5. เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2543 นายพานทองแท้ ชินวัตรได้รับโอนหุ้น SHIN จำนวน 24.99% จาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซึ่งได้มีการจัดทำแบบ 246-2 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2544 ภายหลังคดีซุกหุ้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้แจ้งแก้ไขแบบ 246-2 เป็นครั้งที่ 4 และ 3 ตามลำดับ โดยเพิ่มข้อมูลว่า ณ วันที่ 1 ก.ย. 2543 บุคคลทั้งสองยังถือหุ้น SHIN ผ่าน ARI1 เป็นจำนวน 32.92 ล้านหุ้น แต่โดยข้อเท็จจริงคือ ARI1 ถือหุ้นเหลือเพียง 22.92 ล้านหุ้น การรายงานของบุคคลทั้งสองเข้าข่ายเป็นเท็จต่อ ป.ป.ช. และ SEC หรือไม่
6. เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2543 นายพานทองแท้ได้รับโอนหุ้น ARI1 100% จาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จึงทำให้ถือหุ้นเกินจุด 25% ซึ่งต้องจัดทำแบบ 246-2 แต่ทำไมนายพานทองแท้ถึงไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด และ ARI1 เป็นของนายพานทองแท้จริงหรือไม่ นอกจากนั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณแจ้งว่า ARI1 เคยมีหนังสือลงวันที่ 25 ก.ค. 2544 แจ้งข้อมูลนี้ต่อฝ่ายตรวจสอบและคดี SEC แล้ว แต่ทำไมภายหลังวันที่ 25 ก.ค. 2544 ยังคงมีเจตนาหลีกเลี่ยงการจัดทำแบบ 246-2 ทั้งๆ ที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยมีประสบการณ์ในการจัดทำแบบ 246-2 ตั้งแต่ 11 มิ.ย. 2542 แล้ว
7. การแก้ไขแบบ 246-2 หลายฉบับเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2544 โดยไม่ได้จัดทำแบบ 246-2 เพื่อรายงานการโอนหุ้น ARI1 ให้นายพานทองแท้ในวันที่ 1 ธ.ค. 2543 แสดงว่าไม่มีการโอนหุ้น ARI1 เกิดขึ้นจริงใช่หรือไม่และเป็นหลักฐานยืนยันว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังเป็นเจ้าของหุ้นที่จงใจปกปิดรายงานหรือซุกหุ้น SHIN ผ่าน ARI1 ใช่หรือไม่
8. เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2545 นายพานทองแท้ได้ขายหุ้น SHIN 12.5% โดยตรงให้กับนางสาวพินทองทาในราคาหุ้นละ 1 บาทเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 367 ล้านบาท ซึ่งไม่ผ่าน SET แม้ว่าจะมีการยื่นแบบ 246-2 แต่นายพานทองแท้ไม่ได้รายงานการถือหุ้น SHIN ผ่าน ARI1 ด้วย จึงทำให้มีข้อสงสัยว่า ARI1 เป็นของนายพานทองแท้จริงหรือไม่
9. เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2549 นายพานทองแท้และนางสาวพินทองทาแจ้งต่อ SEC ว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2548 ARI1 ได้เพิ่มทุน 20% ให้กับนางสาวพินทองทา ทำให้สัดส่วนการถือหุ้น SHIN ของนางสาวพินทองทาสูงเกินกว่า 15% ทำไมนางสาวพินทองทาถึงไม่จัดทำแบบ 246-2
10. เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2544 ธนาคาร UBS ได้ส่งแบบ 246-2 ระบุว่าได้ซื้อหุ้น SHIN จำนวน 10.0 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 179 บาทผ่าน SET ซึ่งผู้ขายน่าจะเป็น ARI2 เพราะไม่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นอีกต่อไปแล้ว เงินที่ UBS ชำระค่าซื้อหุ้นแก่ ARI2 จำนวน 1,790 ล้านบาทมีที่มาที่ไปอย่างไร ถ้าอ้างว่า UBS เป็นเพียง Custodian ทำไม UBS ต้องจัดทำแบบ 246-2 ด้วย ทั้งหมดนี้ เข้าข่ายการฟอกเงินหรือไม่
11. ใครคือเจ้าของ ARI2 ที่แท้จริง ถ้านายพานทองแท้เป็นเจ้าของ การไม่รายงานแสดงว่ามีเจตนาปกปิดซุกหุ้นหรือไม่
การต้องจัดทำคำเสนอซื้อตามมาตรา 247 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
1. เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2543 นายพานทองแท้ ชินวัตรได้รับโอนหุ้น SHIN จำนวน 24.99% จาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซึ่งได้มีการจัดทำแบบ 246-2 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2543 นายพานทองแท้ได้รับโอนหุ้น ARI 100% จาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จึงทำให้เข้าข่ายต้องทำคำเสนอซื้อ (Tender Offer) ทำไมนายพานทองแท้ไม่ดำเนินการทำ Tender Offer ตามมาตรา 247
ความผิดตามมาตรา 241 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
1. ตามทะเบียนผู้ถือหุ้นตั้งแต่ปี 2544 - 2547 ปรากฏว่าธนาคาร UBS มีหุ้นเพิ่มขึ้นโดยตลอด รวมถึงช่วงที่ทางครอบครัวชินวัตรได้เริ่มเจรจาขายหุ้นด้วย ถ้า UBS เป็นเพียง Custodian ให้ครอบครัวชินวัตรจริง จะถือว่ามีการล่วงรู้ข้อมูลภายในและกระทำผิดตามมาตรา 241 หรือไม่
2. กรณีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรซึ่งมีการขายหุ้น SHIN ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2548 - 9 ม.ค. 2549 ซึ่งเป็นช่วงเจรจาซื้อขายหุ้นตามที่มีการเสนอข่าว เข้าข่ายการใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือไม่
ประเด็นเรื่องภาษีจากส่วนต่างมูลค่าหุ้น
1. เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2545 นายพานทองแท้ได้ขายหุ้น SHIN 12.5% โดยตรงให้กับนางสาวพินทองทาในราคาหุ้นละ 1 บาทเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 367 ล้านบาท ในขณะที่ราคาในตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 10.20 บาท ซึ่งทำให้นางสาวพินทองทามีกำไรทันทีจำนวน 3,376 ล้านบาท เนื่องจากเป็นการโอนจากพี่ให้น้อง จึงไม่น่าเข้าข่ายการอุปการะหรือธรรมจรรยา ทำไมในกรณีนี้ไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย และในไตรมาสแรกของปี 2546 นางสาวพินทองทาได้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีหรือไม่
เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2549 ARI1 ได้โอนหุ้นจำนวน 329.2 ล้านหุ้นให้กับนายพานทองแท้และนางสาวพินทองทา ในราคาหุ้นละ 1 บาท ซึ่งเข้าข่ายการโอนหุ้นในราคาต่ำให้กรรมการหรือบุคคลผู้รับทำงานให้ จึงต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนต่างกำไรไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาทและต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีในปี 2550 ด้วย นอกจากนั้น เงินที่โอนชำระค่าหุ้นให้ ARI1 นั้นมาจากไหนและเมื่อ ARI1 ได้รับแล้วนำไปฝากไว้ที่ใดและมีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายของ ธปท.หรือไม่ ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งจดหมายเรียกร้องให้นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร ดำเนินการสอบสวนและเรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจาก ARI แล้วเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2549 คาดว่าจะได้รับคำตอบภายในสัปดาห์หน้า
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.พ. 2549--จบ--
นายกรณ์กล่าวต่อไปว่า โดยปกติไม่ต้องการตอบโต้ แต่พรรคไทยรักไทยพาดพิงถึงบิดาโดยไม่เป็นธรรม และใช้ข้อมูลไม่ถูกต้อง พาดพิงถึงบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานทางการเมืองของตน อีกทั้งเรื่องที่พรรคไทยรักไทยพาดพิงนั้นเป็นเรื่องเก่าเกือบ 20 ปีแล้ว และต้องการขุดขึ้นมาเพื่ออ้างถึงความชอบธรรมในการทำงานของตน ซึ่งเป็นเรื่องไร้สาระ ประชาชนที่ทราบข่าวคงผิดหวังในการทำงานการเมืองของพรรคไทยรักไทย แต่การที่พรรคไทยรักไทยเล่นเกมการเมืองเช่นนี้กลับทำให้ตนมีความมุ่งมั่นมากขึ้นว่า การตัดสินใจมาทำหน้าที่ทางการเมืองเพื่อหวังว่าจะมีส่วนพัฒนาการเมืองไทย นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
"หวังว่าด้วยข้อมูลหลักฐานที่ผมเสนอวันนี้ เรื่องของคุณพ่อของผมก็จะจบ ผมได้ปรึกษากับครอบครัวในเรื่องนี้ เราก็ต้องการบอกกับผู้รับผิดชอบที่ไทยรักไทยว่า เราให้อภัย และเมื่อไทยรักไทยรับทราบข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ก็หวังว่าจะไม่หยิบยกเรื่องของคุณพ่อผมมากล่าวอ้างอีก" นายกรณ์กล่าว
ส่วนเรื่องการฟ้องร้องผู้ที่ออกมาพูดเรื่องนี้ นายกรณ์กล่าวว่า ได้ฝากให้พี่ชายในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ที่สุดในรุ่นให้พิจารณา โดยลำดับแรกขอให้เครดิตว่าผู้พูดกล่าวโดยไม่มีข้อมูลที่แท้จริง และเรื่องนี้ผ่านมานานแล้วและไม่ต้องการรบกวนบิดาให้มาเกี่ยวข้อง โดยหวังว่าเรื่องนี้จะจบไป แต่ก็ยังสงวนสิทธิ์ในการฟ้องร้องไว้ เพราะเวลานี้ไม่มีเจตนาที่จะเสียเวลาของศาลด้วยเรื่องนี้ และผู้พูดคงได้รับบทเรียนไปในระดับหนึ่งว่า การทำงานแบบดิสเครดิตด้วยข้อมูลที่ผิด สุดท้ายจะมีผลร้ายทางการเมืองกลับมาที่ตัวเขา ตัวพรรค และเจ้านายของเขาเอง
พร้อมกันนี้นายกรณ์ยังเสริมตอนท้ายถึงผู้พูดว่า ที่ดีที่สุด ตามมารยาทอันควร ก็ควรจบโดยกล่าวคำขอโทษจากพรรคไทยรักไทยให้บิดาของตน แต่สุดท้ายครอบครัวของตนบอกว่าอย่าขออย่างนั้น เพราะคงไม่มีทางได้ จะผิดหวัง จึงไม่ได้ขอ แต่เมื่อถามว่าผู้พูดควรรับผิดชอบอย่างไร ผู้พูดก็พูดในฐานะทีมโฆษกพรรคไทยรักไทย ความรับผิดชอบจึงอยู่ที่พรรคไทยรักไทยด้วย
หัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบการขายหุ้นชิน คอร์ป กล่าวถึงกรณีการขายหุ้นว่าขณะนี้ยังมีคำถามที่สำคัญ ที่ยิ่งไม่ตอบ คณะทำงานของพรรคก็ยิ่งสงสัย คือ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 พ.ต.ท.ทักษิณได้มีจดหมายลับไปถึงคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ว่า โอนหุ้นแอมเพิล ริชฯให้นายพานทองแท้ ชินวัตร ไปแล้ว แต่ในเดือนตุลาคม 2544 พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา แก้รายงานที่ทำไว้กับ ก.ล.ต.เมื่อเดือนกันยายน 2543 ว่า หุ้นที่เคยอยู่ในชื่อคนอื่น คือชื่อคนรถและคนใช้นั้นจริงๆแล้วเป็นของตนเอง กลับไม่มีการพูดถึงแอมเพิล ริชฯ ไม่ได้แก้ในส่วนของแอมเพิล ริชฯ ตรงนี้เป็นประเด็นที่น่าแปลกใจ ตกลง พ.ต.ท.ทักษิณโอนหุ้นแอมเพิล ริชฯ ให้นายพานทองแท้หรือไม่
นายกรณ์กล่าวว่า เป็นประเด็นสำคัญที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาและตั้งคำถามว่า เขาพยายามจะทำอะไร พ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยรายงานเรื่องการโอนหุ้นแอมเพิล ริชฯ อย่างเป็นทางการต่อ ก.ล.ต. คณะทำงานจึงถามว่าทำไมไม่รายงาน อาจจะเป็นเพราะว่าหากรายงานว่าโอนแล้ว นายพานทองแท้ต้องทำการเสนอซื้อหรือเทนเดอร์ ออฟเฟอร์หุ้นชิน คอร์ป ตามมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เพราะเมื่อรวมหุ้นที่อยู่แอมเพิล ริชฯ และที่อยู่กับนายพานทองแท้ จะรวมกันเกิน 25 % จึงต้องซุกไว้ก่อน แต่อีกแง่มุมคือ การไม่แจ้งเป็นเพราะยังเป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ ไม่ได้แจ้งอาจเป็นความถูกต้องก็ได้เพราะยังไม่ได้โอน ดังนั้น ตอนที่รายงานทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) รายงานเท็จหรือไม่ เพราะไม่ได้พูดถึงแอมเพิล ริชฯ เลย ยังเป็นปมสำคัญมากกว่าทุกเรื่อง ยังไม่มีคำอธิบายว่าทำไมจึงไม่รายงานทุกอย่างตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
"เป็นคำถามที่ผมมีสิทธิที่ผมจะถาม และการตอบต้องมีหลักฐานยืนยันคำตอบ วันนี้ หากอ้างตามเอกสารอย่างเดียว ผมฟันธงได้เลยว่าแอมเพิล ริชฯ ยังเป็นของท่าน ก็คือซุกหุ้น เพราะหากมีการโอนต้องแจ้ง เมื่อไม่ได้แจ้งแสดงว่าไม่ได้โอน แต่หากบอกว่าโอนแต่ลืมแจ้ง ก็เอาเอกสารการโอนมา เชื่อถือได้แค่ไหนก็มาว่ากันอีกทีว่า ผิดพลาดโดยสุจริตอีกแล้วหรือ แต่คงอ้างยากว่า บกพร่องโดยสุจริตอีก เป็นไปไม่ได้ที่อยู่ในช่วงที่ถูกคดี จะกระทำผิดด้วยความสุจริต หากเป็นไปได้จริงก็ขาดคุณสมบัติในการเป็นนายกฯ เพราะประมาทเลินเล่อบ่อย" นายกรณ์กล่าว
นายกรณ์กล่าวว่า ทั้งนี้ การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ บุตร และแอมเพิล ริชฯ ไม่ได้รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ตามมาตรา 246 แห่ง พ.ร.บ.กำกับหลักทรัพย์ฯนั้น ถามว่ามีกี่ครั้ง เท่าที่นับได้มี 4 ครั้ง คือ 1.เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 ที่แอมเพิล ริชฯ ลดสัดส่วนการถือหุ้นชิน คอร์ป จำนวน 10 ล้านหุ้น โดยมีวิคเกอร์ บัลลาส เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่ 11.56 ล้านหุ้น 2.วันที่ 1 ธันวาคม 2543 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณอ้างว่าโอนหุ้นแอมเพิล ริชฯ ให้นายพานทองแท้ 3.วันที่ 21 สิงหาคม 2544 ยูบีเอสส่งแบบ 246-2 ระบุว่าซื้อหุ้นชิน คอร์ป 10 ล้านหุ้น ซึ่งคาดว่าซื้อแอมเพิล ริชฯ 2 แต่แอมเพิล ริชฯ 2 ไม่ได้แจ้ง ก.ล.ต.ในฐานะผู้ขาย และ 4.เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2549 ที่นายพานทองแท้และ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร แจ้ง ก.ล.ต.ว่า โอนหุ้นแอมเพิล ริชฯ ให้ น.ส.พิณทองทา 20 % เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2548 ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นชิน คอร์ป ของ น.ส.พิณทองมาเพิ่มขึ้น แต่กลับไม่ได้แจ้ง
นายกรณ์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีคำถามเกี่ยวกับวิคเกอร์ บัลลาส และธนาคาร ยูบีเอส สาขาสิงคโปร์ นายสุวรรณ วลัยเสถียร โฆษกตระกูลชินวัตร-ดามาพงศ์ ชี้แจงผ่านโทรทัศน์ว่า ทั้ง 2 บริษัทนี้เป็นเพียงผู้รับฝากหุ้นหรือคัสโตเดียน(Custodian) ก็มีคำถามว่า เป็นผู้รับฝากหุ้นจริงหรือไม่ เพราะพฤติกรรมส่อว่า ไม่ใช่ เนื่องจากโดยปกติ หากนักลงทุนฝากหุ้นผ่านโบรกเกอร์ไว้ที่ศูนย์รับฝากหุ้น จะปรากฏชื่อของนักลงทุน ไม่ใช่ชื่อโบรกเกอร์ จึงมีคำถามว่า หากเป็นผู้รับฝากหุ้น ทำไมจึงโอนหุ้นให้วิคเกอร์ บัลลาส แค่จำนวน 10 ล้านหุ้น อีก 22.92 ล้านหุ้นทำไมไม่โอน และหากยูบีเอสเป็นผู้รับฝากหุ้น ทำไมในปี 2544 จึงมีรายการซื้อหุ้นจากแอมเพิล ริชฯ 10 ล้านหุ้นๆละ 179 บาท เพราะหากรับฝากอย่างเดียวจะไม่มีการซื้อขาย สรุปแล้ว วิคเกอร์ บัลลาส และยูบีเอส เป็นใคร ทำหน้าที่ให้ใคร หากเป็นของตระกูลชินวัตร ซึ่งก็น่าจะหมายถึงนายพานทองแท้ ก็มีคำถามว่าเงินที่ซื้อหุ้นมาจากไหน และเงินที่ได้จากการขายหุ้นโดยแอมเพิล ริช ไปที่ไหน พิสูจน์ได้หรือไม่ว่าเข้าบัญชีนายพานทองแท้ เพราะตามคำอ้างของ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น แอมเพิล ริชฯ ถูกโอนเป็นของนายพานทองแท้แล้ว
นายกรณ์กล่าวว่า และตามมาตรา 241 เรื่องการใช้ข้อมูลภายใน หากเป็นไปตามคำอ้างของนายสุวรรณที่ระบุว่า ยูบีเอสคือผู้รับฝากหุ้นนั้น คณะทำงานพบว่า ยูบีเอสได้ซื้อหุ้นชินอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ตระกูลชินวัตรเจรจาขายหุ้นชินของตัวเองอยู่ ถามว่าเข้าข่ายมาตรา 241 หรือไม่ ทั้งนี้ การที่นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ว่า ก.ล.ต.ได้รับหลักฐานหมดแล้วนั้น ไม่จริง ก.ล.ต.ยังไม่ได้รับคำตอบจากวิคเกอร์ บัลลาสและยูบีเอสมีสถานะเป็นอะไร จึงไม่แน่ใจว่า นายทนงให้สัมภาษณ์ในฐานะอะไร ในฐานะประธาน ก.ล.ต.โดยตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือในฐานะโฆษกอีกคนของตระกูลชินวัตร ดังนั้น เพื่อให้โอกาสสำนักงาน ก.ล.ต.ทำงาน นายทนงควรระงับการให้ข่าว จนกว่าจะได้รับรายงานจากสำนักงาน ก.ล.ต.
นายกรณ์กล่าวว่า คณะทำงานอาจจะเข้าพบนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูเรื่องนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระทรวงพาณิชย์ และให้รับทราบข้อกล่าวหาและความกังวลของคณะทำงาน ในเรื่องของความถูกต้องตามกฎหมายของบริษัทต่างๆ ที่เทมาเส็กตั้งขึ้นมาเพื่อรักษาความเป็นไทยของผู้ซื้อหุ้นนั้น และคณะทำงานจะหารือกันถึงเรื่องการเสนอข้อมูลของคณะทำงานให้กลุ่ม ส.ว. 28 คน ที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นเอกสารเพิ่มเติมเพื่อยืนยันหรือขยายความต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะจากที่ได้อ่านญัตติของ ส.ว.แล้วมีมูลหลายประเด็น ตรงต่อข้อมูลของคณะทำงาน
ซึ่งนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่ ส.ว. 28 คน ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้พิจารณาคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถชี้นำหรือเสนอแนะความคิดเห็นใดๆที่จะก่อเกิดปัญหาในการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญได้ ที่พรรคทำได้ คือ การเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระที่จะเป็นที่พึ่งของประชาชนทั้งประเทศได้ เพราะการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ครั้งสำคัญ
เอกสารเพิ่มเติม
คำถามกรณีการขายหุ้นชินคอร์ปที่ยังไม่ได้รับคำตอบจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
การรายงานตามมาตรา 246 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
1. เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2542 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณได้ขายหุ้น SHIN ให้ Ample Rich Investments LTD. (ARI1) เป็นจำนวน 32.92 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาทผ่านตลาดหลักทรัพย์ (SET) และได้ส่งแบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ทั้งของผู้ซื้อและผู้ขายให้สำนักงาน ก.ล.ต. (SEC) ด้วย การซื้อขายผ่าน SET ต้องมีการชำระราคาเกิดขึ้น อยากทราบที่มาของเงินทุนของ ARI1 ที่โอนเข้าประเทศไทยเพื่อชำระค่าซื้อหุ้น (หรือโอนออกไปก่อนหน้านั้นโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ) และได้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบของ ธปท.หรือไม่
2. เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2543 ตามทะเบียนผู้ถือหุ้นพบว่า ARI1 ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้น SHIN จำนวน 10.0 ล้านหุ้น ทำให้เหลือหุ้นเป็นจำนวน 22.92 ล้านหุ้น โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหม่เกิดขึ้นมาคือ Vickers Ballas & Co. PTE LTD (VKB) ถือหุ้น SHIN เป็นจำนวน 11.56 ล้านหุ้น ทำไมเมื่อ ARI1 โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณโอนขายหุ้น SHIN ให้ VKB ซึ่งทำให้สัดส่วนการถือหุ้น SHIN ลดลงต่ำกว่า 10% แล้ว จึงไม่จัดส่งแบบ 246-2 ให้ SEC ทั้งๆ ที่เคยดำเนินการแล้วเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2542 ซึ่งจะต้องเปิดเผยว่าได้โอนขายหุ้นไปในลักษณะใดด้วย
3. ถ้า VKB เป็นผู้ดูแลหลักทรัพย์ (Custodian) ของ ARI1 จริง ทำไม ARI1 ไม่โอนหุ้น SHIN ให้ VKB ทั้งหมด เจ้าของหุ้น SHIN ที่แท้จริงมีเจตนาจะซุกซ่อนหุ้น SHIN ไว้ในนาม VKB เพื่อกระทำการอันเป็นการเอาเปรียบต่อนักลงทุนรายย่อยหรือไม่ และเมื่อผ่านมาเพียง 9 เดือน ในวันที่ 10 เม.ย. 2544 VKB ได้หายไปจากทะเบียนผู้ถือหุ้นและปรากฏว่ามีธนาคาร UBS กับ Ample Rich Investments Limited (ARI2) เกิดขึ้น โดย ARI2 ถือหุ้นจำนวน 10.0 ล้านหุ้นซึ่งเท่ากับจำนวนที่ ARI1 ได้โอนขายไปเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2543 ตามรายละเอียดในข้อ 2 ดังนั้น ต้องตรวจสอบกับ VKB และให้แสดงหลักฐานว่าเป็น Custodian อย่างแท้จริง
4. ถ้า VKB ไม่ใช่ Custodian เงินค่าขายหุ้นที่ ARI1 ได้รับอยู่ที่ไหน พิสูจน์ได้หรือไม่ว่ามีการโอนให้กับนายพานทองแท้ และมีการโอนเงินเข้าประเทศหรือไม่ ควรจะต้องเปิดเผยเส้นทางเดินของเงินที่ได้จากการขายหุ้นรวมทั้งการใช้จ่ายเงินดังกล่าว เนื่องจากช่วงเวลานั้น เป็นช่วงที่พรรคไทยรักไทยอยู่ระหว่างรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไปในเดือน ม.ค. 2544
5. เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2543 นายพานทองแท้ ชินวัตรได้รับโอนหุ้น SHIN จำนวน 24.99% จาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซึ่งได้มีการจัดทำแบบ 246-2 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2544 ภายหลังคดีซุกหุ้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้แจ้งแก้ไขแบบ 246-2 เป็นครั้งที่ 4 และ 3 ตามลำดับ โดยเพิ่มข้อมูลว่า ณ วันที่ 1 ก.ย. 2543 บุคคลทั้งสองยังถือหุ้น SHIN ผ่าน ARI1 เป็นจำนวน 32.92 ล้านหุ้น แต่โดยข้อเท็จจริงคือ ARI1 ถือหุ้นเหลือเพียง 22.92 ล้านหุ้น การรายงานของบุคคลทั้งสองเข้าข่ายเป็นเท็จต่อ ป.ป.ช. และ SEC หรือไม่
6. เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2543 นายพานทองแท้ได้รับโอนหุ้น ARI1 100% จาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จึงทำให้ถือหุ้นเกินจุด 25% ซึ่งต้องจัดทำแบบ 246-2 แต่ทำไมนายพานทองแท้ถึงไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด และ ARI1 เป็นของนายพานทองแท้จริงหรือไม่ นอกจากนั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณแจ้งว่า ARI1 เคยมีหนังสือลงวันที่ 25 ก.ค. 2544 แจ้งข้อมูลนี้ต่อฝ่ายตรวจสอบและคดี SEC แล้ว แต่ทำไมภายหลังวันที่ 25 ก.ค. 2544 ยังคงมีเจตนาหลีกเลี่ยงการจัดทำแบบ 246-2 ทั้งๆ ที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยมีประสบการณ์ในการจัดทำแบบ 246-2 ตั้งแต่ 11 มิ.ย. 2542 แล้ว
7. การแก้ไขแบบ 246-2 หลายฉบับเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2544 โดยไม่ได้จัดทำแบบ 246-2 เพื่อรายงานการโอนหุ้น ARI1 ให้นายพานทองแท้ในวันที่ 1 ธ.ค. 2543 แสดงว่าไม่มีการโอนหุ้น ARI1 เกิดขึ้นจริงใช่หรือไม่และเป็นหลักฐานยืนยันว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังเป็นเจ้าของหุ้นที่จงใจปกปิดรายงานหรือซุกหุ้น SHIN ผ่าน ARI1 ใช่หรือไม่
8. เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2545 นายพานทองแท้ได้ขายหุ้น SHIN 12.5% โดยตรงให้กับนางสาวพินทองทาในราคาหุ้นละ 1 บาทเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 367 ล้านบาท ซึ่งไม่ผ่าน SET แม้ว่าจะมีการยื่นแบบ 246-2 แต่นายพานทองแท้ไม่ได้รายงานการถือหุ้น SHIN ผ่าน ARI1 ด้วย จึงทำให้มีข้อสงสัยว่า ARI1 เป็นของนายพานทองแท้จริงหรือไม่
9. เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2549 นายพานทองแท้และนางสาวพินทองทาแจ้งต่อ SEC ว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2548 ARI1 ได้เพิ่มทุน 20% ให้กับนางสาวพินทองทา ทำให้สัดส่วนการถือหุ้น SHIN ของนางสาวพินทองทาสูงเกินกว่า 15% ทำไมนางสาวพินทองทาถึงไม่จัดทำแบบ 246-2
10. เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2544 ธนาคาร UBS ได้ส่งแบบ 246-2 ระบุว่าได้ซื้อหุ้น SHIN จำนวน 10.0 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 179 บาทผ่าน SET ซึ่งผู้ขายน่าจะเป็น ARI2 เพราะไม่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นอีกต่อไปแล้ว เงินที่ UBS ชำระค่าซื้อหุ้นแก่ ARI2 จำนวน 1,790 ล้านบาทมีที่มาที่ไปอย่างไร ถ้าอ้างว่า UBS เป็นเพียง Custodian ทำไม UBS ต้องจัดทำแบบ 246-2 ด้วย ทั้งหมดนี้ เข้าข่ายการฟอกเงินหรือไม่
11. ใครคือเจ้าของ ARI2 ที่แท้จริง ถ้านายพานทองแท้เป็นเจ้าของ การไม่รายงานแสดงว่ามีเจตนาปกปิดซุกหุ้นหรือไม่
การต้องจัดทำคำเสนอซื้อตามมาตรา 247 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
1. เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2543 นายพานทองแท้ ชินวัตรได้รับโอนหุ้น SHIN จำนวน 24.99% จาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซึ่งได้มีการจัดทำแบบ 246-2 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2543 นายพานทองแท้ได้รับโอนหุ้น ARI 100% จาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จึงทำให้เข้าข่ายต้องทำคำเสนอซื้อ (Tender Offer) ทำไมนายพานทองแท้ไม่ดำเนินการทำ Tender Offer ตามมาตรา 247
ความผิดตามมาตรา 241 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
1. ตามทะเบียนผู้ถือหุ้นตั้งแต่ปี 2544 - 2547 ปรากฏว่าธนาคาร UBS มีหุ้นเพิ่มขึ้นโดยตลอด รวมถึงช่วงที่ทางครอบครัวชินวัตรได้เริ่มเจรจาขายหุ้นด้วย ถ้า UBS เป็นเพียง Custodian ให้ครอบครัวชินวัตรจริง จะถือว่ามีการล่วงรู้ข้อมูลภายในและกระทำผิดตามมาตรา 241 หรือไม่
2. กรณีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรซึ่งมีการขายหุ้น SHIN ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2548 - 9 ม.ค. 2549 ซึ่งเป็นช่วงเจรจาซื้อขายหุ้นตามที่มีการเสนอข่าว เข้าข่ายการใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือไม่
ประเด็นเรื่องภาษีจากส่วนต่างมูลค่าหุ้น
1. เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2545 นายพานทองแท้ได้ขายหุ้น SHIN 12.5% โดยตรงให้กับนางสาวพินทองทาในราคาหุ้นละ 1 บาทเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 367 ล้านบาท ในขณะที่ราคาในตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 10.20 บาท ซึ่งทำให้นางสาวพินทองทามีกำไรทันทีจำนวน 3,376 ล้านบาท เนื่องจากเป็นการโอนจากพี่ให้น้อง จึงไม่น่าเข้าข่ายการอุปการะหรือธรรมจรรยา ทำไมในกรณีนี้ไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย และในไตรมาสแรกของปี 2546 นางสาวพินทองทาได้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีหรือไม่
เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2549 ARI1 ได้โอนหุ้นจำนวน 329.2 ล้านหุ้นให้กับนายพานทองแท้และนางสาวพินทองทา ในราคาหุ้นละ 1 บาท ซึ่งเข้าข่ายการโอนหุ้นในราคาต่ำให้กรรมการหรือบุคคลผู้รับทำงานให้ จึงต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนต่างกำไรไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาทและต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีในปี 2550 ด้วย นอกจากนั้น เงินที่โอนชำระค่าหุ้นให้ ARI1 นั้นมาจากไหนและเมื่อ ARI1 ได้รับแล้วนำไปฝากไว้ที่ใดและมีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายของ ธปท.หรือไม่ ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งจดหมายเรียกร้องให้นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร ดำเนินการสอบสวนและเรียกเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจาก ARI แล้วเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2549 คาดว่าจะได้รับคำตอบภายในสัปดาห์หน้า
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.พ. 2549--จบ--