กรุงเทพ--9 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ไท ดูโต ขอนำเรื่องนี้มาเล่าอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้รายงานใน “สะเก็ดข่าวรอบโลก” ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีข่าวเพิ่มเติมจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ เข้ามาอีกว่าขบวนการมิจฉาชีพในแถบแอฟริกามีความน่าสะพรึงกลัวและเป็นอันตรายต่อชีวิตมากกว่าที่คิดไว้ เพราะนอกจากจะมีอาวุธปืนครบครันแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นบางคนสมรู้ร่วมคิดกับคนร้ายอีกด้วย
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549 สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในกรุงอักกรา ประเทศกานา ได้รับการติดต่อจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ให้ติดตามช่วยเหลือคนไทยชื่อนายวิทยา กัลยาณวิทย์ ซึ่งได้เดินทางเข้าประเทศกานาและถูกเจ้าหน้าที่จับกุม ปรากฏว่าในตอนแรกสำนักงานฯ ไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ชาวกานาอีกทั้งไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในสนามบิน แต่เมื่อพยายามอธิบายว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของทางการไทย ก็ได้รับความร่วมมือขึ้นบ้าง แต่ไม่อนุญาตให้พบหรือพูดคุยกับนายวิทยาฯ สำนักงานฯ จึงต้องติดต่อกับบุคคลที่รู้จักเป็นการส่วนตัว จึงได้รับการประสานงานให้พูดคุยกับนายวิทยาฯ ได้
จากการพูดคุยกับนายวิทยาฯ พบว่านายวิทยามีความหวาดกลัวเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งเล่าว่าตนได้รับการติดต่อจากชาวกานาให้มาทำธุรกิจด้วยโดยส่งข้อความทางอีเมล์ว่า เป็นลูกกษัตริย์และได้รับมรดก ต้องการให้นายวิทยาดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีอยู่ จึงขอให้เดินทางไปกานาโดยมีผู้ดำเนินการจัดทำเอกสารการตรวจลงตรา หรือ “วีซ่า” และส่งสำเนาไปให้นายวิทยาฯ
นายวิทยาฯ เดินทางไปถึงกานาเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 มีคนท้องถิ่นมารับและประสานให้เขาออกจากสนามบิน ซึ่งเขาเข้าใจว่าบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่สนามบิน แต่ก็รู้สึกผิดปกติกับระบบการเข้าเมืองดังกล่าว จึงไปซักถามเจ้าหน้าที่คนอื่นในสนามบิน ทราบว่าเอกสารที่เขาได้รับเป็นวีซ่าปลอม และในหนังสือเดินทางก็ไม่มีการประทับตราเข้าประเทศกานา ต่อมา มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ตม. กานา ขอความร่วมมือนายวิทยาฯ เพื่อจับกุมขบวนการมิจฉาชีพดังกล่าว มีการวางกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าจับกุม ซึ่งในวันที่จะดำเนินการจับกุมพบว่ามีกลุ่มชายจำนวน 10 คน พร้อมอาวุธเดินทางไปยังสถานที่นัดหมาย แต่เจ้าหน้าที่ไม่กล้าดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น และได้สลายกำลังพร้อมทั้งกันตัวนายวิทยาฯ ออกมาจากเหตุการณ์
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว นายวิทยาฯ มีความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทยในทันที แต่เจ้าหน้าที่ชาวกานาอ้างว่าเที่ยวบินเต็ม ทางสำนักงานฯ จึงได้ติดต่อขอจองที่นั่งสายการบินเอมิเรสต์เพื่อส่งตัวกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นบทเรียนสำหรับคนไทยทุกคนว่า เราไม่สามารถไว้วางใจใครได้เลย แม้แต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในกานา เพราะไม่รู้ว่ามีใครร่วมขบวนการมิจฉาชีพอยู่ด้วยหรือไม่ เนื่องจากทุกคนอยากได้ทรัพย์สินของนายวิทยาฯ แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ให้การอารักขา ก็ได้พยายามพูดคุยซักถามถึงจำนวนเงินและสถานที่เก็บเงินจากนายวิทยาฯ อยู่ตลอดเวลา
แม้ว่านายวิทยาฯ สามารถรอดพ้นจากการลักพาตัวของกลุ่มมิจฉาชีพชาวกานาแล้วก็ตาม แต่ขบวนการต้มตุ๋นหลอกลวงคนไทยยังคงมีตามมาอีก โดยเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2549 สถานทูตได้รับแจ้งทางอีเมล์จากนายปรีชา ต.วิเชียร ขอให้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงจากการที่ได้ติดต่อกับชาวแอฟริกัน 2 คน ชื่อนายอิบราฮิมา บาคธ์ และนายเอล อาเหม็ด แซมบา ซึ่งคนแรกอ้างว่าเป็นเจ้าของสำนักงานกฎหมายชื่อ Barth&Associates-Ibrahima Barth Chambers ส่วนคนที่สองอ้างว่าเป็นผู้อำนวยการสำนักงานการเงินชื่อ Credit Financier Institute ตั้งอยู่ในเซเนกัล
ชาวแอฟริกันทั้งสองคนได้หลอกลวงนายปรีชาฯ ว่า มีสตรีชาวไลบีเรียผู้หนึ่งหลบภัยสงครามนำเงินจำนวนมากติดตัวมาพำนักอยู่ในเซเนกัล ขณะนี้ต้องการโอนเงินออกจากเซเนกัลไปต่างประเทศ โดยเสนอว่าหากนายปรีชาฯ ยินยอมให้โอนเงินไปเข้าบัญชีในประเทศไทย ฝ่ายตนจะมอบส่วนแบ่งให้ร้อยละ 20 ของเงินทั้งหมด 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้ แต่ขอให้นายปรีชาฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโอนเงิน
หลังจากที่ได้ติดต่อกันประมาณ 6 เดือน นายปรีชาฯ ทดลองส่งเงินให้งวดแรก 300 ดอลลาร์สหรัฐ แต่กลุ่มมิจฉาชีพเรียกร้องเพิ่มเติมอีก 3,500 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อรองไปมาเหลือ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ นายปรีชาฯ เห็นผิดสังเกตจึงขอให้สถานทูตตรวจสอบ จึงรอดพ้นจากการสูญเสียเงินงวดที่สอง เนื่องจากสถานทูตตรวจสอบพบแล้วพบว่าไม่มีทั้งสำนักงานดังกล่าว ตลอดจนบุคคลที่แอบอ้างอยู่ในเซเนกัลแต่อย่างใด
เรื่องราวของขบวนการต้มตุ๋นในทำนองนี้ มีให้เห็นเป็นระยะๆ แต่เพิ่งปรากฏให้เห็นชุกชุมในช่วงที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกันอย่างแพร่หลาย จึงขอเตือนคนไทยว่าอย่าได้หลงเชื่อหรือตาโตเห็นแก่เงินที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาล่อ เพราะถ้าหากมีเงินก้อนโตจริง คงไม่มาถึงเราง่ายๆ เช่นนี้หรอก เพราะฝ่ายโน้นคงนำไปแบ่งกันเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว ถ้าสงสัยหรือต้องการตรวจสอบให้แน่ใจ ขอให้อีเมล์ไปถามสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยได้ทุกแห่งทั่วโลก เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนยินดีช่วยเหลือท่านด้วยความเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ไท ดูโต ขอนำเรื่องนี้มาเล่าอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้รายงานใน “สะเก็ดข่าวรอบโลก” ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีข่าวเพิ่มเติมจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ เข้ามาอีกว่าขบวนการมิจฉาชีพในแถบแอฟริกามีความน่าสะพรึงกลัวและเป็นอันตรายต่อชีวิตมากกว่าที่คิดไว้ เพราะนอกจากจะมีอาวุธปืนครบครันแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นบางคนสมรู้ร่วมคิดกับคนร้ายอีกด้วย
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549 สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในกรุงอักกรา ประเทศกานา ได้รับการติดต่อจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ให้ติดตามช่วยเหลือคนไทยชื่อนายวิทยา กัลยาณวิทย์ ซึ่งได้เดินทางเข้าประเทศกานาและถูกเจ้าหน้าที่จับกุม ปรากฏว่าในตอนแรกสำนักงานฯ ไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ชาวกานาอีกทั้งไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในสนามบิน แต่เมื่อพยายามอธิบายว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของทางการไทย ก็ได้รับความร่วมมือขึ้นบ้าง แต่ไม่อนุญาตให้พบหรือพูดคุยกับนายวิทยาฯ สำนักงานฯ จึงต้องติดต่อกับบุคคลที่รู้จักเป็นการส่วนตัว จึงได้รับการประสานงานให้พูดคุยกับนายวิทยาฯ ได้
จากการพูดคุยกับนายวิทยาฯ พบว่านายวิทยามีความหวาดกลัวเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งเล่าว่าตนได้รับการติดต่อจากชาวกานาให้มาทำธุรกิจด้วยโดยส่งข้อความทางอีเมล์ว่า เป็นลูกกษัตริย์และได้รับมรดก ต้องการให้นายวิทยาดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีอยู่ จึงขอให้เดินทางไปกานาโดยมีผู้ดำเนินการจัดทำเอกสารการตรวจลงตรา หรือ “วีซ่า” และส่งสำเนาไปให้นายวิทยาฯ
นายวิทยาฯ เดินทางไปถึงกานาเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 มีคนท้องถิ่นมารับและประสานให้เขาออกจากสนามบิน ซึ่งเขาเข้าใจว่าบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่สนามบิน แต่ก็รู้สึกผิดปกติกับระบบการเข้าเมืองดังกล่าว จึงไปซักถามเจ้าหน้าที่คนอื่นในสนามบิน ทราบว่าเอกสารที่เขาได้รับเป็นวีซ่าปลอม และในหนังสือเดินทางก็ไม่มีการประทับตราเข้าประเทศกานา ต่อมา มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ตม. กานา ขอความร่วมมือนายวิทยาฯ เพื่อจับกุมขบวนการมิจฉาชีพดังกล่าว มีการวางกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าจับกุม ซึ่งในวันที่จะดำเนินการจับกุมพบว่ามีกลุ่มชายจำนวน 10 คน พร้อมอาวุธเดินทางไปยังสถานที่นัดหมาย แต่เจ้าหน้าที่ไม่กล้าดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น และได้สลายกำลังพร้อมทั้งกันตัวนายวิทยาฯ ออกมาจากเหตุการณ์
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว นายวิทยาฯ มีความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทยในทันที แต่เจ้าหน้าที่ชาวกานาอ้างว่าเที่ยวบินเต็ม ทางสำนักงานฯ จึงได้ติดต่อขอจองที่นั่งสายการบินเอมิเรสต์เพื่อส่งตัวกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นบทเรียนสำหรับคนไทยทุกคนว่า เราไม่สามารถไว้วางใจใครได้เลย แม้แต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในกานา เพราะไม่รู้ว่ามีใครร่วมขบวนการมิจฉาชีพอยู่ด้วยหรือไม่ เนื่องจากทุกคนอยากได้ทรัพย์สินของนายวิทยาฯ แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ให้การอารักขา ก็ได้พยายามพูดคุยซักถามถึงจำนวนเงินและสถานที่เก็บเงินจากนายวิทยาฯ อยู่ตลอดเวลา
แม้ว่านายวิทยาฯ สามารถรอดพ้นจากการลักพาตัวของกลุ่มมิจฉาชีพชาวกานาแล้วก็ตาม แต่ขบวนการต้มตุ๋นหลอกลวงคนไทยยังคงมีตามมาอีก โดยเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2549 สถานทูตได้รับแจ้งทางอีเมล์จากนายปรีชา ต.วิเชียร ขอให้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงจากการที่ได้ติดต่อกับชาวแอฟริกัน 2 คน ชื่อนายอิบราฮิมา บาคธ์ และนายเอล อาเหม็ด แซมบา ซึ่งคนแรกอ้างว่าเป็นเจ้าของสำนักงานกฎหมายชื่อ Barth&Associates-Ibrahima Barth Chambers ส่วนคนที่สองอ้างว่าเป็นผู้อำนวยการสำนักงานการเงินชื่อ Credit Financier Institute ตั้งอยู่ในเซเนกัล
ชาวแอฟริกันทั้งสองคนได้หลอกลวงนายปรีชาฯ ว่า มีสตรีชาวไลบีเรียผู้หนึ่งหลบภัยสงครามนำเงินจำนวนมากติดตัวมาพำนักอยู่ในเซเนกัล ขณะนี้ต้องการโอนเงินออกจากเซเนกัลไปต่างประเทศ โดยเสนอว่าหากนายปรีชาฯ ยินยอมให้โอนเงินไปเข้าบัญชีในประเทศไทย ฝ่ายตนจะมอบส่วนแบ่งให้ร้อยละ 20 ของเงินทั้งหมด 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้ แต่ขอให้นายปรีชาฯ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโอนเงิน
หลังจากที่ได้ติดต่อกันประมาณ 6 เดือน นายปรีชาฯ ทดลองส่งเงินให้งวดแรก 300 ดอลลาร์สหรัฐ แต่กลุ่มมิจฉาชีพเรียกร้องเพิ่มเติมอีก 3,500 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อรองไปมาเหลือ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ นายปรีชาฯ เห็นผิดสังเกตจึงขอให้สถานทูตตรวจสอบ จึงรอดพ้นจากการสูญเสียเงินงวดที่สอง เนื่องจากสถานทูตตรวจสอบพบแล้วพบว่าไม่มีทั้งสำนักงานดังกล่าว ตลอดจนบุคคลที่แอบอ้างอยู่ในเซเนกัลแต่อย่างใด
เรื่องราวของขบวนการต้มตุ๋นในทำนองนี้ มีให้เห็นเป็นระยะๆ แต่เพิ่งปรากฏให้เห็นชุกชุมในช่วงที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกันอย่างแพร่หลาย จึงขอเตือนคนไทยว่าอย่าได้หลงเชื่อหรือตาโตเห็นแก่เงินที่กลุ่มมิจฉาชีพนำมาล่อ เพราะถ้าหากมีเงินก้อนโตจริง คงไม่มาถึงเราง่ายๆ เช่นนี้หรอก เพราะฝ่ายโน้นคงนำไปแบ่งกันเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว ถ้าสงสัยหรือต้องการตรวจสอบให้แน่ใจ ขอให้อีเมล์ไปถามสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยได้ทุกแห่งทั่วโลก เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนยินดีช่วยเหลือท่านด้วยความเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-