รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 28, 2006 14:54 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

                                        สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนพฤษภาคม 2549
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม = 170.56 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2549 (148.22) ร้อยละ 15.1 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (155.45) ร้อยละ 9.7
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2549 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 71.03 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2549 (63.56) ร้อยละ 11.8 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.72) ร้อยละ 3.4
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2549
- อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะชะลอตัวเล็กน้อยจากปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าที่ปรับตัวตามระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกที่ทรงตัว รวมถึงราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนของสถานการณ์นิวเคลียร์ อิหร่าน อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวก คือ สหภาพยุโรปยังกังวลกับข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกที่อาจส่งผลต่อการขยายตลาดส่งออกโดยเฉพาะสินค้าเนื้อสัตว์ที่ปลอดโรคจากประเทศไทย
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเดือนมิถุนายน จะขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม เนื่องจากการบริโภคในประเทศยังมีเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวไม่มากนักเนื่องจากผลกระทบจากค่าเงินบาท และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า ประกอบกับการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับแนวโน้มในเดือนกรกฎาคมคาดว่าการผลิตและการจำหน่ายจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ทรงตัว
- อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กล้า สถานการณ์เหล็กในเดือน มิ.ย. 2549 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยการผลิตเหล็กทรงยาวยังคงทรงตัว ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ จากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝนจึงมีผลทำให้การก่อสร้างลดลงด้วย สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการขยายตลาดส่งออก จึงมีผลทำให้การผลิตเหล็กประเภทนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
- อุตสาหกรรมยานยนต์ ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2549 มีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยประมาณการว่า มีปริมาณการผลิต 108,000 คัน เป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50 ของปริมาณการผลิต
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม 2549 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศจะลดลงเนื่องจาก เข้าสู่ฤดูฝนทำให้การก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ในส่วนของการส่งออกคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการวางแผนขยายการส่งออก โดยเน้นตลาดอินโดจีนเพิ่มมากขึ้น
- อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวการณ์ผลิตและขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนมิถุนายน 2549 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่จำหน่ายในประเทศ ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจทางด้านลบ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาถึงแนวโน้มเช่นกัน ซึ่งหากไม่เกิดภาวะผิดปกติ การผลิตและขายในช่วงไตรมาส 2 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และจะเร่งผลิตมากในช่วงไตรมาส 3 เพื่อสำรองไว้ขายปลายปี ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนมิถุนายนและไตรมาส 2 /2549 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกันเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะความต้องการสินค้า Consumer Electronic ของโลกที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์เป็นสินค้าหลักที่ดึงให้ความต้องการอิเล็กทรอนิกส์ปรับเพิ่มขึ้น
สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2549
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เท่ากับ 165.64 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 2.9 และร้อยละ 8.4 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ อุตสาหรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีการส่งสินค้าเท่ากับ 140.81 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.0 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 4.0
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง(Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เท่ากับ 177.37 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 1.6 และร้อยละ12.7 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 เท่ากับ 68.81 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ1.0 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์
สำหรับอุตสาหรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
เม.ย. 49 = 148.22
พ.ค. 49 = 170.56
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี เพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
เม.ย. 49 = 63.56
พ.ค. 49 = 71.03
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
- การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตและการส่งออกในเดือนหน้าคาดว่าจะชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก จากปัจจัยราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความไม่แน่นอนของ สถานการณ์นิวเคลียร์อิหร่าน สำหรับการจำหน่ายในประเทศอาจจะชะลอตัวตามภาวะเงินเฟ้อที่ระดับราคา สินค้าและต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 7.3 และ 14.2 โดยสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ ไก่แช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 11 ปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 27.5 สับปะรดกระป๋องร้อยละ 59.7 และแป้งมันสำปะหลังร้อยละ 14.2 สำหรับการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ ปาล์มน้ำมันและอาหารสุกร มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 และ 0.3 สำหรับน้ำตาลทราย โรงงานหลายแห่งเริ่มปิดฤดูหีบอ้อย ซึ่งล่าช้ากว่าปีก่อนเล็กน้อย
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ มูลค่าการบริโภคสินค้าอาหารลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 3.1 และ 1.1 เป็นผลจากราคาสินค้าอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ที่เป็นต้นทุนหลักในการ ขนส่งสินค้า ประกอบกับเริ่มเข้าสู่การเปิดเรียนใหม่ทำให้มีค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเพิ่มขึ้น ส่งผลต่ออำนาจซื้อที่ลดลลง
2) ตลาดต่างประเทศ ภาวะการส่งออกโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) มีปริมาณลดลงร้อยละ 8.7 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าที่ส่งออกหลัก ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 16.1 และไก่แปรรูป ร้อยละ 14.2 เป็นผลทางจิตวิทยาของประเทศผู้นำเข้าต่อการคาดการณ์ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในทวีปอาฟริกาและยุโรป สำหรับ น้ำตาล ความต้องการในตลาดโลกปรับตัวลดลง ทำให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกของไทยลดลงมากถึงร้อยละ 58.5 และ 32.6
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะชะลอตัวเล็กน้อยจากปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าที่ปรับตัวตามระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกที่ทรงตัว รวมถึงราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนของสถานการณ์นิวเคลียร์อิหร่าน อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวก คือ สหภาพยุโรปยังกังวลกับข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกที่อาจส่งผลต่อการขยายตลาดส่งออกโดยเฉพาะสินค้าเนื้อสัตว์ที่ปลอดโรคจากประเทศไทย
2.อุตสาหกรรมน้ำตาล (เมษายน)
มีการปิดหีบอ้อยเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 โรงงานน้ำตาลทั้ง 46 โรงงานในประเทศได้หยุดการผลิตน้ำตาลทรายดิบ แต่มีบางโรงงานได้นำน้ำตาลทรายดิบไปละลายเพื่อแปรสภาพเป็นน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ โดยมีการผลิตน้ำตาลทรายรวมตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2549 (4 เดือน) จำนวนทั้งสิ้น 4,345,538.22 ตัน
1. น้ำตาลทราย
1.1 การผลิต
ตั้งแต่มีการปิดหีบอ้อยเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 โรงงานน้ำตาลทั้ง 46 โรงงานในประเทศได้หยุดการผลิตน้ำตาลทรายดิบ แต่มีบางโรงงานได้นำน้ำตาลทรายดิบไปละลายเพื่อแปรสภาพเป็นน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ โดยมีการผลิตน้ำตาลทรายรวมตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2549 (4 เดือน) จำนวนทั้งสิ้น 4,345,538.22 ตัน ในจำนวนนี้เป็นน้ำตาลทรายดิบ จำนวน 1,756,845.26 ตัน หรือ 40% ของผลผลิตน้ำตาลทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ สำหรับปริมาณผลผลิตน้ำตาลในเดือนเมษายนของปีนี้มีจำนวน 29,315.58 ตัน
1.2 การบริโภค
ในเดือนเมษายน 2549 มีการบริโภคน้ำตาลทรายในประเทศ จำนวน 179,516.65 ตันลดลง 15% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งมีการบริโภค จำนวน 211,265.38 ตัน สำหรับการบริโภคโดยรวม ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2549 (4 เดือน) มีจำนวนทั้งสิ้น 785,405.46 ตัน เพิ่มขึ้น 5 % จากในช่วงเดียวกันของปี 2548
1.3 การส่งออก
ในเดือนเมษายน 2549 ประเทศไทยมีการส่งออกน้ำตาลจำนวน 159,398.04 ตันลดลงจากเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งส่งออกได้จำนวน 165,837.83 ตัน การส่งออกน้ำตาลตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2549 (4 เดือน) มีจำนวนทั้งสิ้น 515,586.33 ตัน เป็นการส่งออกน้ำตาลทรายดิบ 258,679.11 ตัน หรือ 50% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด โดยปริมาณการส่งออกในเดือนเมษายนของปีนี้ลดลง 49% จากในช่วงเดียวกันของปี 2548
1.4 การนำเข้า
ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2549 (4 เดือน) มีการนำเข้าน้ำตาลทราย จำนวนทั้งสิ้น9,770.48 ตัน เป็นการนำเข้าในเดือนเมษายน 2549 จำนวน 2,507.00 ตัน โดยปริมาณการนำเข้าในเดือนเมษายนของปีนี้เพิ่มขึ้น 100 % จากในช่วงเดียวกันของปี 2548
2. กากน้ำตาล
ในเดือนเมษายน 2549 มีการผลิตกากน้ำตาล จำนวน 42,985.49 ตัน เพิ่มขึ้น 32% จากในช่วงเดียวกันของปี 2548 ส่วนผลผลิตกากน้ำตาลตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2549 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,976,059.12 ตัน
การส่งออกกากน้ำตาลในเดือนเมษายน 2549 มีจำนวนทั้งสิ้น 88,669.22 ตัน หรือประมาณ 5% ของปริมาณการผลิตทั้งหมดตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2549 ส่วนการส่งออกตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2549 มีจำนวน 259,685.24 ตัน
3. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
“..เดือนกรกฎาคม คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายจะชะลอตัว ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ทรงตัว”
1. การผลิตและการจำหน่าย
ภาวะการผลิตเมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เดือนพฤษภาคม 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เช่นเดียวกันกับการผลิตผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 และ 25.9 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศเพิ่มสูงมาก
2. การส่งออกและตลาดส่งออก
มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวมในเดือนพฤษภาคม 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 26.7 ซึ่งเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (+39.0%) เครื่องยกทรงรัดทรงและส่วนประกอบ (+25.7%) ผ้าผืน(+19.4%) ด้ายฝ้าย (+6.2%) ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ (+15.9%) เคหะสิ่งทอ(+10.2%) ผ้าปักและผ้าลูกไม้ (+10.8%) และเส้นใยประดิษฐ์ (+10.1%)
ตลาดส่งออกหลัก คือสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียนและญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.9 , 19.4 , 11.8 และ 6.1 ตามลำดับ
3. การนำเข้า
การนำเข้าหมวดสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวมในเดือนพฤษภาคม 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 8.7 โดยเฉพาะเส้นใยใช้ในการทอ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ตลาดนำเข้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย ด้ายทอผ้าฯ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ตลาดนำเข้าหลักคือจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน ผ้าผืน นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ตลาดนำเข้าหลัก คือ จีน ไต้หวัน และฮ่องกง ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ตลาดนำเข้าหลักคือจีน ญี่ปุ่น และ ฮ่องกง เสื้อผ้าสำเร็จรูป นำเข้าลดลงร้อยละ 60.6 ตลาดนำเข้าคือจีน ฮ่องกง และอิตาลี
เครื่องจักรสิ่งทอ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่น เยอรมนี และไต้หวัน
4. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเดือนมิถุนายน 2549 จะขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม เนื่องจากการบริโภคในประเทศยังมีเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวไม่มากนักเนื่องจากผลกระทบจากค่าเงินบาท และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า ประกอบกับการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับแนวโน้มในเดือนกรกฎาคมคาดว่าการผลิตและการจำหน่ายจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ทรงตัว
4. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
“บมจ.จี สตีล และ บมจ.นครไทย สตริปมิลล์ จับมือร่วมกันเป็นพันธมิตรทางกลยุทธ์ ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยเพิ่มศักยภาพในด้านการแข่งขันโดยสามารถลดต้นทุนการผลิตและสร้างความแข็งแกร่งให้ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ รวมถึงพัฒนาการเข้าถึงตลาดและลดความเสี่ยงในธุรกิจ และมีศักยภาพพอที่จะเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนแบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียในอนาคต”
1.การผลิต
ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือน พ.ค. 49 ขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 160.88 ขยายตัวขึ้น ร้อยละ 11.25 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เหล็ก เหล็กกล้าสำเร็จรูปต่างๆ โดยท่อเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 31.04 ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเมื่อเดือนที่แล้วปริมาณสินค้าไม่เพียงพอสำหรับการส่งมอบ ผู้ผลิตจึงต้องเพิ่มการผลิต สำหรับในกลุ่มเหล็กทรงแบน การผลิตขยายตัวขึ้น ร้อยละ 17.01 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.46 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.89 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.56 เนื่องจากโรงงานได้เพิ่มเครื่องจักร จึงมีผลทำให้ยอดการผลิตเพิ่มสูงขึ้น เหล็กแผ่นสังกะสีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.03 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเริ่มเข้าฤดูฝนทำให้ความต้องการใช้ในประเทศเพื่อทำหลังคาเพิ่มมากขึ้น แต่เหล็กแผ่นรีดเย็นกลับมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 13.90
สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มทรงยาว มีการผลิตที่ชะลอตัวลง ร้อยละ 5.30 โดยเหล็กเส้นกลม ลดลง ร้อยละ 31 และเหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 10.03 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างยังคงซบเซาอยู่ อันเป็นผลมาจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ยังไม่ดำเนินการประกอบกับโครงการหมู่บ้านจัดสรรของภาคเอกชนยังคงชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิตชะลอตัวลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.83 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ชะลอตัวลงมากที่สุด ร้อยละ 20.81 โดยเหล็กเส้นกลมลดลง มากที่สุด ร้อยละ 44.73 เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 25.12 แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 6.86 โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัว ร้อยละ 60.49 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัว ร้อยละ 46.94
2.ราคาเหล็ก
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมิถุนายน 2549 เทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กทุกชนิดมีการปรับตัวสูงขึ้น ดังนี้ เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 387 เป็น 486 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.58 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 377 เป็น 417 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.61 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 527 เป็น 576 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.30 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 421 เป็น 448 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.41 และ เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 595 เป็น 621 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.37
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน มิ.ย. 2549 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยการผลิตเหล็กทรงยาวยังคงทรงตัว ตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ จากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงฤดูฝนจึงมีผลทำให้การก่อสร้างลดลงด้วย สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการขยายตลาดส่งออก จึงมีผลทำให้การผลิตเหล็กประเภทนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
5. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2548 มีการผลิต จำหน่าย และส่งออก ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายเริ่มทำการผลิตเพิ่มขึ้น ภายหลังจากในช่วงเดือนเมษายนที่มีการชะลอการผลิต การส่งมอบรถยนต์ และการส่งออก เพราะมีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน ทั้งนี้ ปริมาณการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นมาจากการผลิตเพื่อส่งออก เนื่องจากตลาดในประเทศยังชะลอตัวจากปัจจัยลบ ได้แก่ ราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง และภาวะทางการเมืองในประเทศ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 108,084 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2549 ซึ่งมีการผลิต 85,166 คัน ร้อยละ 26.91 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2548 ร้อยละ 17.41
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 55,700 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2549 ซึ่งมีการจำหน่าย 53,560 คัน ร้อยละ 4.00 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2548 ร้อยละ 7.27 ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา การลดลงของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์พาณิชย์อื่นๆ มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่สำหรับรถยนต์นั่งมีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- การส่งออกรถยนต์ มีจำนวน 43,377 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2549 ซึ่งมีการส่งออก 35,972 คัน ร้อยละ 20.59 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2548 ร้อยละ 17.63
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2549 มีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยประมาณการว่า มีปริมาณการผลิต 108,000 คัน เป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50 ของปริมาณการผลิต
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมีการผลิตชะลอตัวเล็กน้อย แต่มีปริมาณการจำหน่ายขยายตัว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศของปี 2549 มีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจสะท้อนได้ถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วงภาวะราคาน้ำมันสูง และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่มากนัก ความต้องการใช้ยานพาหนะที่ราคาประหยัดและใช้พลังงานน้อยดังเช่นรถจักรยานยนต์จึงมีมากขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 190,104 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2549 ซึ่งมีการผลิต 150,230 คัน ร้อยละ 26.54 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2548 ร้อยละ 7.88
- การจำหน่าย จำนวน 209,958 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2549 ซึ่งมีการจำหน่าย 156,602 คัน ร้อยละ 34.07 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2548 ร้อยละ 6.82 ทั้งนี้ รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงครองส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 99 รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 11,178 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2549 ซึ่งมีการส่งออก 8,657 คัน ร้อยละ 29.12 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2548 ร้อยละ 22.75
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2549 มีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยประมาณการว่า มีปริมาณการผลิต 190,000 คัน เป็นการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 95 ของปริมาณการผลิต
6.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง เนื่องจากปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น และปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย”
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนพฤษภาคม 2549 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนยังทรงตัว คือลดลงเพียงร้อยละ 0.01 แต่การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.17 เนื่องจากเทียบกับเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.52 แต่การจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 5.11 เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนพฤษภาคม2549 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 1.70 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.11 เนื่องจากผู้ประกอบการวางแผนขยายการส่งออก โดยเน้นตลาดอินโดจีนเพิ่มมากขึ้น
3.แนวโน้ม
ในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม 2549 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศจะลดลงเนื่องจาก เข้าสู่ฤดูฝนทำให้การก่อสร้างเริ่มชะลอตัว ในส่วนของการส่งออกคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการวางแผนขยายการส่งออก โดยเน้นตลาดอินโดจีนเพิ่มมากขึ้น
7. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
“ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤษภาคม 2549 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21โดยมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก โดยเฉพาะ IC และ HDD ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น”
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน พ.ค. 2549
หน่วย : ล้านบาท
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 44,874 17 29
IC 22,732 16 43
เครื่องปรับอากาศ 8,258 9 -24
เครื่องรับโทรทัศน์สี 6,393 28 37
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 130,462 12 12
ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1.การผลิต
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ