นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน แจ้งว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 หน่วยงานศุลกากรและ การป้องกันประเทศสหรัฐฯ (U.S. Custom and Border Protection) ได้ประกาศโควตาการนำเข้า(TARIFF RATE QUOTA) ปลาทูนากระป๋องชนิดไม่บรรจุในน้ำมัน (พิกัด 1604.14.22) ของสหรัฐฯ ใน FEDERAL REGISTER/VOL 71, NO. 57 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2549 ซึ่งในปี 2549 มีโควตานำเข้าปริมาณ 19,484,313 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2548 จำนวน 449,750 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.36 โดยจะเสียภาษีนำเข้า ร้อยละ 6 ส่วนนอกโควตาจะเสียภาษี ร้อยละ 12.5 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2549 อย่างไรก็ตาม การกำหนดปริมาณโควตานำเข้าดังกล่าวในแต่ละปีจะไม่เกินร้อยละ 4.8 ของปริมาณการบริโภคภายในประเทศของปีที่ผ่านมา
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2549 คาดว่า การส่งออกปลาทูนากระป๋องจะมีปริมาณ 450,000 ตัน มูลค่า 44,000 ล้านบาท โดยในช่วงระยะเวลา 2 เดือนแรก ปี 2549 (ม.ค.-ก.พ.) ไทยส่งออกปลาทูนากระป๋องทั้งหมด ปริมาณ 64,473 ตัน มูลค่า 6,217 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.98 และ 34.50 ของปริมาณและมูลค่า ตามลำดับ เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นการส่งออกไปสหรัฐฯมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 12,244 ตัน มูลค่า 1,194 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.98 และ 22.37 รองลงไปคือออสเตรเลีย ปริมาณ 5,094 ตัน มูลค่า 616 ล้านบาท แคนาดา ปริมาณ 5,238 ตัน มูลค่า 596 ล้านบาท และญี่ปุ่น ปริมาณ 3,092 ตัน มูลค่า 415 ล้านบาท
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2549 คาดว่า การส่งออกปลาทูนากระป๋องจะมีปริมาณ 450,000 ตัน มูลค่า 44,000 ล้านบาท โดยในช่วงระยะเวลา 2 เดือนแรก ปี 2549 (ม.ค.-ก.พ.) ไทยส่งออกปลาทูนากระป๋องทั้งหมด ปริมาณ 64,473 ตัน มูลค่า 6,217 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.98 และ 34.50 ของปริมาณและมูลค่า ตามลำดับ เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นการส่งออกไปสหรัฐฯมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 12,244 ตัน มูลค่า 1,194 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.98 และ 22.37 รองลงไปคือออสเตรเลีย ปริมาณ 5,094 ตัน มูลค่า 616 ล้านบาท แคนาดา ปริมาณ 5,238 ตัน มูลค่า 596 ล้านบาท และญี่ปุ่น ปริมาณ 3,092 ตัน มูลค่า 415 ล้านบาท
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-