สศอ.เผยดัชนีอุตฯ พ.ย.พุ่ง ร้อยละ 3.84 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชี้การผลิตยานยนต์ — ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นแรงหนุนหลัก
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือนพฤศจิกายน 2548 เพื่อให้เป็นดัชนีหลักสำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ โดยเก็บข้อมูลจากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,121 โรงงานครอบคลุม 53 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ระดับ 144.97 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2547 จากระดับ 139.61 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 71.28 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 66.88
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีการปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 154.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.91 จากระดับ 147.18 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 137.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.72 จากระดับ 137.76 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 165.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.88 จากระดับ 161.14 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 166.67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.23 จากระดับ 149.84
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับลดจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประกอบด้วย ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 128.15 ลดลงร้อยละ 10.93 จากระดับ 143.88 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 107.86 ลดลงร้อยละ 2.09 จากระดับ 110.16
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2548 ปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายแห่งเพิ่มปริมาณการผลิต เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าในช่วงก่อนสิ้นปี โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลดังกล่าวประกอบด้วย การผลิตยานยนต์ มีภาวะการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการผลิตรถปิกอัพขนาด 1 ตันที่ความต้องการในตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออกยังขยายตัวได้ดี นอกจากนี้ปัจจัยการเปิดตัวรถยนต์นั่งขนาดไม่เกิน 1800 ซีซีรุ่นใหม่ภายในงานมอเตอร์โชว์ส่งผลต่อการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนภาวะการจำหน่าย ยังทรงตัว เนื่องจากการส่งออกที่ลดลง ส่วนการจำหน่ายในประเทศสำหรับเดือนพฤศจิกายนมีทิศทางที่ลดลงอย่างชัดเจน เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถออกไปอีก เพื่อรอสั่งจองรถรุ่นใหม่ๆ ที่เปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์
การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างคึกคักจากเดือนที่ผ่านมา โดย Hard Disk Drive เป็นสินค้าสำคัญในกลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นไปตามความต้องการของตลาดที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดส่งออก ซึ่งมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เทียบจากเดือนตุลาคม 2548 เช่นเดียวกันกับการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ ที่มีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างหนาแน่น ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าสู่ช่วงแห่งการเปลี่ยนฤดูกาล ผู้บริโภคจึงมีความต้องการสินค้าในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง ส่วนตลาดส่งออกยังขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายนปรับลดลงเล็กน้อยในบางตัวชี้วัด ประกอบด้วย การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เนื่องจากมีโรงกลั่นรายใหญ่บางแห่งได้หยุดการกลั่นเพื่อซ่อมบำรุง จึงทำให้ภาวะการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปโดยรวมลดลงจากเดือนตุลาคม ร้อยละ 9.6 ส่วนการจำหน่ายรวมก็มีทิศทางลดลงร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ภาวะการผลิตและจำหน่ายทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนชะลอตัวลง โดยผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวมีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหญ่หยุดการผลิตเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร ด้านการจำหน่ายก็ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจและทิศทางของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ส่วนผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน ทั้งการผลิตและการจำหน่ายมีทิศทางที่ชะลอตัวลงเช่นกัน แต่คาดว่าเมื่อเข้าสู่ไตรมาสแรกของปี 2549 ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากกลุ่มลูกค้าหลักเริ่มมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามาอีกครั้ง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมรายเดือนพฤศจิกายน 2548 เพื่อให้เป็นดัชนีหลักสำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ โดยเก็บข้อมูลจากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,121 โรงงานครอบคลุม 53 กลุ่มอุตสาหกรรมและ 215 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ระดับ 144.97 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2547 จากระดับ 139.61 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 71.28 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 66.88
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีการปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2547 ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 154.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.91 จากระดับ 147.18 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 137.39 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.72 จากระดับ 137.76 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 165.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.88 จากระดับ 161.14 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 166.67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.23 จากระดับ 149.84
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับลดจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประกอบด้วย ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 128.15 ลดลงร้อยละ 10.93 จากระดับ 143.88 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 107.86 ลดลงร้อยละ 2.09 จากระดับ 110.16
ดร.อรรชกา กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2548 ปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายแห่งเพิ่มปริมาณการผลิต เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าในช่วงก่อนสิ้นปี โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลดังกล่าวประกอบด้วย การผลิตยานยนต์ มีภาวะการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการผลิตรถปิกอัพขนาด 1 ตันที่ความต้องการในตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออกยังขยายตัวได้ดี นอกจากนี้ปัจจัยการเปิดตัวรถยนต์นั่งขนาดไม่เกิน 1800 ซีซีรุ่นใหม่ภายในงานมอเตอร์โชว์ส่งผลต่อการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนภาวะการจำหน่าย ยังทรงตัว เนื่องจากการส่งออกที่ลดลง ส่วนการจำหน่ายในประเทศสำหรับเดือนพฤศจิกายนมีทิศทางที่ลดลงอย่างชัดเจน เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถออกไปอีก เพื่อรอสั่งจองรถรุ่นใหม่ๆ ที่เปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์
การผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างคึกคักจากเดือนที่ผ่านมา โดย Hard Disk Drive เป็นสินค้าสำคัญในกลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นไปตามความต้องการของตลาดที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดส่งออก ซึ่งมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เทียบจากเดือนตุลาคม 2548 เช่นเดียวกันกับการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ ที่มีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างหนาแน่น ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าสู่ช่วงแห่งการเปลี่ยนฤดูกาล ผู้บริโภคจึงมีความต้องการสินค้าในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง ส่วนตลาดส่งออกยังขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายนปรับลดลงเล็กน้อยในบางตัวชี้วัด ประกอบด้วย การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เนื่องจากมีโรงกลั่นรายใหญ่บางแห่งได้หยุดการกลั่นเพื่อซ่อมบำรุง จึงทำให้ภาวะการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปโดยรวมลดลงจากเดือนตุลาคม ร้อยละ 9.6 ส่วนการจำหน่ายรวมก็มีทิศทางลดลงร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ภาวะการผลิตและจำหน่ายทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนชะลอตัวลง โดยผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวมีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหญ่หยุดการผลิตเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร ด้านการจำหน่ายก็ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจและทิศทางของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ส่วนผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน ทั้งการผลิตและการจำหน่ายมีทิศทางที่ชะลอตัวลงเช่นกัน แต่คาดว่าเมื่อเข้าสู่ไตรมาสแรกของปี 2549 ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากกลุ่มลูกค้าหลักเริ่มมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามาอีกครั้ง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-