แท็ก
สงคราม
คำถาม : ประชากรยุค Baby Boom ทั่วโลกที่เริ่มเข้าสู่วัยเกษียณ ส่งผลกระทบอะไรบ้าง และเป็นโอกาสในการทำธุรกิจอย่างไร
คำตอบ : Baby Boom เป็นปรากฏการณ์ด้านประชากรศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจาก ในช่วงสงคราม ประชากรชายส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์เป็นทหารเพื่อเข้าร่วมสงคราม ทำให้การมีคู่สมรสและการมีบุตรต้องชะลอออกไป ดังนั้น เมื่อภาวะสงครามยุติลง ประชากรกลุ่มดังกล่าวจึงมีครอบครัวและมีบุตรพร้อม ๆ กัน ทำให้ประชากรที่เกิดในช่วงดังกล่าวมีจำนวนมาก ตัวอย่างของช่วงเวลาที่ถือเป็นยุค Baby Boom ในประเทศต่าง ๆ เช่น ในสหรัฐฯ ช่วงปี 2489-2507 และในญี่ปุ่น ช่วงปี 2490-2492
สำหรับประเทศไทย ช่วงที่จัดว่าเป็นยุค Baby Boom คือ ปี 2506-2526 (ประชากรที่เกิดในช่วง ดังกล่าวมีจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประมาณ 6 แสนคน ในปี 2496 และหลังจากปี 2526จำนวนประชากรเกิดเริ่มลดลงจนปัจจุบันคาดว่ามีประชากรเกิดราว 8 แสนคนต่อปี) อย่างไรก็ตาม ยุค Baby Boomของไทยมิได้เกิดจากความล่าช้าของการสมรสและการมีบุตร แต่เกิดจากพัฒนาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะความร่วมมือกันระหว่างประเทศในด้านสุขอนามัย การสร้างภูมิคุ้มกันโรค และการขจัด
เชื้อโรคหลายชนิด ซึ่งช่วยลดอัตราการตายของประชากรวัยเจริญพันธุ์ รวมถึงลดอัตราการตายของทารกและเด็ก
ผลสืบเนื่องจากปรากฏการณ์ Baby Boom เป็นที่สนใจในปัจจุบัน เนื่องจากประชากรที่เกิดในช่วงดังกล่าวในหลายประเทศกำลังเข้าสู่วัยเกษียณอายุ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ ดังนี้
* ผลกระทบต่อตลาดแรงงาน เมื่อประชากรของประเทศต่าง ๆ ที่เกิดในยุค Baby Boom เข้าสู่วัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) จะช่วยให้ประเทศนั้น ๆ มีจำนวนแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งยังคงเป็นแรงงานสำคัญของประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อประชากรกลุ่มดังกล่าวเริ่มเข้าสู่วัยเกษียณอายุ ย่อมส่งผลกระทบต่อจำนวนแรงงานที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจ ดังเช่นที่ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากประชากรที่เกิดในยุค Baby Boom กำลังย่างเข้าสู่วัยเกษียณ (60 ปี) ภายในปี 2549-2550 ซึ่งในกรณีของญี่ปุ่น คาดว่าจะมีจำนวนประชากรที่เกษียณอายุทั้งหมดกว่า 500,000 คน ในปี 2550 เพิ่มขึ้นจากประมาณ 350,000 คนต่อปีในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย ประชากรยุค Baby Boom รุ่นแรกจะย่างเข้าสู่วัยเกษียณในปี 2566 จำนวนแรงงานที่ลดลงจึงอาจเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในช่วงดังกล่าว ทั้งนี้ นอกจากผลกระทบด้านจำนวนแรงงานแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้น คือ การไม่สามารถหาแรงงานระดับผู้บริหารทดแทนแรงงานที่เกษียณอายุ
* ความต้องการสวัสดิการทางสังคมเพิ่มขึ้น เมื่อประชากรยุค Baby Boom เริ่มเกษียณอายุ ความต้องการ สวัสดิการทางสังคมจากรัฐบาลจะมีมากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุเหล่านั้นไม่มีรายได้ประจำเช่นเดิม ทำให้ประชากร วัยเกษียณบางส่วนต้องพึ่งเงินจุนเจือและสวัสดิการจากรัฐบาล ส่งผลให้รัฐบาลของแต่ละประเทศมีภาระรายจ่ายด้าน สวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น
* เงินออมของประเทศมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประชากรสูงอายุจะเริ่มนำเงินออมตลอดช่วงวัยทำงานออกมาใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตและเพื่อความสุขในบั้นปลายชีวิต ประกอบกับประชากรรุ่นหลังมีแนวโน้มออมเงินน้อยกว่าประชากรในรุ่นก่อน ทำให้เงินออมของประเทศมีแนวโน้มลดลงเมื่อถึงเวลาดังกล่าว
นอกจากนี้ ประชากรยุค Baby Boom ที่เข้าสู่วัยเกษียณจำนวนมาก โดยเฉพาะประชากรในประเทศที่มีกำลังซื้อสูงเช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งสำคัญ และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รสนิยมการบริโภค ทำให้เกิดโอกาสในการทำธุรกิจหลากหลายประเภท ได้แก่
* สินค้าเพื่อสุขภาพ คาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชากรสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ทำให้มีความต้องการสินค้าเพื่อดูแลรักษาสุขภาพ อาทิ ยาบำรุง และยารักษาโรค เพิ่มขึ้น
* สินค้าที่ใช้ภายในบ้าน อาทิ ของตกแต่งบ้าน ของใช้ในครัว เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ภายในบ้าน คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวดี เนื่องจากประชากรวัยสูงอายุมักใช้เวลาภายในบ้านมากขึ้น
* บริการด้านการท่องเที่ยว ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มท่องเที่ยวมากขึ้น เพื่อหาความสุขในบั้นปลายชีวิต ส่งผลดีต่อธุรกิจบริการการท่องเที่ยวของหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงไทย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : Baby Boom เป็นปรากฏการณ์ด้านประชากรศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจาก ในช่วงสงคราม ประชากรชายส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์เป็นทหารเพื่อเข้าร่วมสงคราม ทำให้การมีคู่สมรสและการมีบุตรต้องชะลอออกไป ดังนั้น เมื่อภาวะสงครามยุติลง ประชากรกลุ่มดังกล่าวจึงมีครอบครัวและมีบุตรพร้อม ๆ กัน ทำให้ประชากรที่เกิดในช่วงดังกล่าวมีจำนวนมาก ตัวอย่างของช่วงเวลาที่ถือเป็นยุค Baby Boom ในประเทศต่าง ๆ เช่น ในสหรัฐฯ ช่วงปี 2489-2507 และในญี่ปุ่น ช่วงปี 2490-2492
สำหรับประเทศไทย ช่วงที่จัดว่าเป็นยุค Baby Boom คือ ปี 2506-2526 (ประชากรที่เกิดในช่วง ดังกล่าวมีจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประมาณ 6 แสนคน ในปี 2496 และหลังจากปี 2526จำนวนประชากรเกิดเริ่มลดลงจนปัจจุบันคาดว่ามีประชากรเกิดราว 8 แสนคนต่อปี) อย่างไรก็ตาม ยุค Baby Boomของไทยมิได้เกิดจากความล่าช้าของการสมรสและการมีบุตร แต่เกิดจากพัฒนาการด้านการแพทย์และสาธารณสุขหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะความร่วมมือกันระหว่างประเทศในด้านสุขอนามัย การสร้างภูมิคุ้มกันโรค และการขจัด
เชื้อโรคหลายชนิด ซึ่งช่วยลดอัตราการตายของประชากรวัยเจริญพันธุ์ รวมถึงลดอัตราการตายของทารกและเด็ก
ผลสืบเนื่องจากปรากฏการณ์ Baby Boom เป็นที่สนใจในปัจจุบัน เนื่องจากประชากรที่เกิดในช่วงดังกล่าวในหลายประเทศกำลังเข้าสู่วัยเกษียณอายุ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ ดังนี้
* ผลกระทบต่อตลาดแรงงาน เมื่อประชากรของประเทศต่าง ๆ ที่เกิดในยุค Baby Boom เข้าสู่วัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) จะช่วยให้ประเทศนั้น ๆ มีจำนวนแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งยังคงเป็นแรงงานสำคัญของประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อประชากรกลุ่มดังกล่าวเริ่มเข้าสู่วัยเกษียณอายุ ย่อมส่งผลกระทบต่อจำนวนแรงงานที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจ ดังเช่นที่ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากประชากรที่เกิดในยุค Baby Boom กำลังย่างเข้าสู่วัยเกษียณ (60 ปี) ภายในปี 2549-2550 ซึ่งในกรณีของญี่ปุ่น คาดว่าจะมีจำนวนประชากรที่เกษียณอายุทั้งหมดกว่า 500,000 คน ในปี 2550 เพิ่มขึ้นจากประมาณ 350,000 คนต่อปีในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย ประชากรยุค Baby Boom รุ่นแรกจะย่างเข้าสู่วัยเกษียณในปี 2566 จำนวนแรงงานที่ลดลงจึงอาจเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในช่วงดังกล่าว ทั้งนี้ นอกจากผลกระทบด้านจำนวนแรงงานแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้น คือ การไม่สามารถหาแรงงานระดับผู้บริหารทดแทนแรงงานที่เกษียณอายุ
* ความต้องการสวัสดิการทางสังคมเพิ่มขึ้น เมื่อประชากรยุค Baby Boom เริ่มเกษียณอายุ ความต้องการ สวัสดิการทางสังคมจากรัฐบาลจะมีมากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุเหล่านั้นไม่มีรายได้ประจำเช่นเดิม ทำให้ประชากร วัยเกษียณบางส่วนต้องพึ่งเงินจุนเจือและสวัสดิการจากรัฐบาล ส่งผลให้รัฐบาลของแต่ละประเทศมีภาระรายจ่ายด้าน สวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น
* เงินออมของประเทศมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประชากรสูงอายุจะเริ่มนำเงินออมตลอดช่วงวัยทำงานออกมาใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตและเพื่อความสุขในบั้นปลายชีวิต ประกอบกับประชากรรุ่นหลังมีแนวโน้มออมเงินน้อยกว่าประชากรในรุ่นก่อน ทำให้เงินออมของประเทศมีแนวโน้มลดลงเมื่อถึงเวลาดังกล่าว
นอกจากนี้ ประชากรยุค Baby Boom ที่เข้าสู่วัยเกษียณจำนวนมาก โดยเฉพาะประชากรในประเทศที่มีกำลังซื้อสูงเช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรครั้งสำคัญ และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รสนิยมการบริโภค ทำให้เกิดโอกาสในการทำธุรกิจหลากหลายประเภท ได้แก่
* สินค้าเพื่อสุขภาพ คาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชากรสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ทำให้มีความต้องการสินค้าเพื่อดูแลรักษาสุขภาพ อาทิ ยาบำรุง และยารักษาโรค เพิ่มขึ้น
* สินค้าที่ใช้ภายในบ้าน อาทิ ของตกแต่งบ้าน ของใช้ในครัว เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ภายในบ้าน คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวดี เนื่องจากประชากรวัยสูงอายุมักใช้เวลาภายในบ้านมากขึ้น
* บริการด้านการท่องเที่ยว ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มท่องเที่ยวมากขึ้น เพื่อหาความสุขในบั้นปลายชีวิต ส่งผลดีต่อธุรกิจบริการการท่องเที่ยวของหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงไทย ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2549--
-พห-