ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ชี้แจงกรณีเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้เป็นผลจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว นางธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้ว่า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงโดยเฉพาะในไตรมาส 3
ประกอบกับภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐมีปัญหา ทำให้เม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย นอกจากนี้ค่าเงินในเอเชียก็แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับเงินบาท
ของไทย อย่างไรก็ตาม ธปท.ยอมรับว่ามีการจับตาเงินลงทุนระยะสั้นที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ เพราะมีการไหลเข้า-ออก
อย่างรวดเร็ว ส่วนเงินลงทุนโดยตรงซึ่งเป็นเงินระยะยาวก็ยังมีการไหลเข้าอยู่ตามปกติ สำหรับกรณีที่ผู้ส่งออกเห็นว่า เงินบาทแข็งค่ามากเกินไป
จนกระทบต่อการส่งออกนั้น ธปท.ได้ดูแลอยู่ไม่ให้เงินบาทผันผวนหรือมีการเก็งกำไรมากจนเกินไป ซึ่ง ธปท.เคยส่งสัญญาณมาตลอดว่าเงินบาทมี
ทิศทางแข็งค่าขึ้น ส่วนกรณีที่มีข้อเสนอให้ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าลงนั้น ยังไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากสถานการณ์เงินเฟ้อและ
ราคาน้ำมันยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้ คงต้องติดตามปัจจัยต่างๆ ให้เกิดความชัดเจนก่อน (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
2. ธปท.ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 49 อยู่ที่ระดับ 4.5-5% นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวภายหลังการประชุมประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อเดือน ต.ค.49 ว่า จากการประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) คาดว่า ปี 49
เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ที่ 4.5-5% จากเดิมคาดไว้ 4-5% และในปี 50 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ที่ 4.5-5.5% จากเดิมคาดอยู่ที่
4-5.5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 4.3-4.8% และในปี 50 จะชะลอลงที่ 1.5-3% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 49 อยู่ที่
2-2.5% และปี 50 ทรงตัวอยู่ที่ 1.5-2.5% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงมาก จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน ความไม่
แน่นอนทางการเมืองลดลงสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและนักลงทุน ประกอบกับเชื่อว่าสหรัฐจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% ไปจนถึง
ไตรมาส 3 ปี 51 ดังนั้นคาดว่าการลงทุนภาคธุรกิจจะกลับมาขยายตัวดีขึ้น ในทิศทางเดียวกับภาวะค่าครองชีพที่ไม่เร่งตัวมากนัก ส่วนดุลการค้าในปี
49 คาดว่าจะขาดดุลประมาณ 1.5-3.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 1.5-3.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และ
คาดว่าในปี 50 จะขาดดุลการค้าประมาณ 4-7 พัน ล.ดอลลาร์ และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่มูลค่าการ
ส่งออกคาดว่าจะเติบโต 14-16% ในปี 48 และ 6-9% ในปี 50 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจต่ำกว่าที่คาดไว้
(ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์, มติชน)
3. ธปท.ยืนยันร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล
นางธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าที่ได้เสนอให้กับ ก.คลังนั้น ได้คำนึง
ถึงระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) ไว้แล้ว โดยในส่วนของการสรรหาผู้ว่าการ ธปท.กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาซึ่ง
ระบุถึงผู้ที่จะเป็นกรรมการสรรหาไว้ด้วยแล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ว่าการไว้ว่า เป็นประธานในคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่องนโยบายการเงินและนโยบายสถาบันการเงินเท่านั้น ส่วนประธานคณะกรรมการ ธปท.เป็นบุคคลภายนอก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดระบบการตรวจสอบ
ถ่วงดุล นอกจากนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ยังได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าการ ธปท.ไว้ให้ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระ โดยวาระหนึ่งมี
เวลา 5 ปี จากเดิมที่ไม่ได้มีการกำหนดวาระไว้ ซึ่งเป็นกลไกที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
4. รมว.คลังชี้แจงกรณีการเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจเกิน 3 แห่งในขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ว่าเป็นไปตามกฎหมาย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดแถลงชี้แจงกรณีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทำหนังสือถึง นรม.และประธาน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อให้ดำเนินการข้าราชการที่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจมากกว่า 3 แห่ง ซึ่งได้ระบุชื่อของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร
รวมอยู่ด้วยโดยมีชื่อเป็นกรรมการถึง 8 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทย ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ศูนย์คุ้มครองข้อมูลเครดิต กรรมการตรวจสอบ
ก.ล.ต. และ กรรมการสอบ บสท. ว่า เป็นการดำรงตำแหน่งในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถือว่าเป็นกรรมการโดยตำแหน่งตามที่
กฎหมายกำหนด ดังนั้น จึงไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 31 ต.ค.49 ก.
Health, Labour and Welfare ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 (ตัวเลขหลังปรับ
ปัจจัยทางฤดูกาล) จากร้อยละ 4.1 ในเดือนก่อนหน้า ใกล้เคียงกับที่ตลาดเงินคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ซึ่งเกือบจะเท่ากับ
ร้อยละ 4.0 ในเดือน พ.ค.49 อันเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปี ส่วนอัตราส่วนตำแหน่งงานต่อจำนวนผู้สมัครงานในเดือน ก.ย.49 อยู่ที่ระดับ
1.08 (ซึ่งหมายถึงมีตำแหน่งงานที่ว่าง 108 ตำแหน่งต่อจำนวนผู้สมัครงาน 100 คน) ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ส.ค. 49 แต่เป็นระดับต่ำกว่า
ที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 1.09 ขณะที่ในเดือน ก.ค.49 อยู่ที่ระดับ 1.09 อันเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี ทั้งนี้ อัตราส่วนดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากผลกำไรของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นส่งผลให้มีความต้องการแรงงานมากขึ้นตามไปด้วย อนึ่ง นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่า อัตราการว่างงานที่
เพิ่มขึ้นไม่ได้ตลาดการเงินทำให้กังวลเท่าใดนัก เนื่องจากสะท้อนให้เห็นว่ามีผู้คนจำนวนมากได้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว (รอยเตอร์)
2. PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.49 ชะลอตัวลงครั้งแรกในรอบ 14 เดือน รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่
31 ต.ค.49 Purchasing Managers Index ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากดัชนีประเภทต่าง ๆ ที่ได้จากผู้ผลิตมากกว่า 350 ราย แสดงให้เห็นว่า
กิจกรรมในภาคการผลิตของญี่ปุ่นเดือน ต.ค.49 ขยายตัวอยู่ที่ระดับ 54.1 ลดลงจากระดับ 54.8 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุด
ในรอบ 14 เดือน แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 41 ทั้งนี้ การที่ดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ชี้ว่าธุรกิจยังคงมีการขยายตัว แต่ถ้า
ต่ำกว่าระดับ 50 ถือว่าหดตัว ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ดัชนีอ่อนตัวลงมาจากความต้องการสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัว ในขณะที่ดัชนีคำสั่ง
ซื้อรายใหม่เดือน ต.ค.49 ลดลงอยู่ที่ระดับ 53.7 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 19 เดือน แต่ยังอยู่เหนือระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 22
ด้านดัชนีคำสั่งซื้อการส่งออกรายใหม่ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.7 จากระดับ 52.2 โดยความต้องการสินค้าประเภทรถยนต์ของญี่ปุ่นที่ยังแข็งแกร่งช่วยทำ
ให้ดัชนี PMI ไม่ลดลงมากนักแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องนุ่มห่มและสิ่งทอที่ลดลงมากก็ตาม ทั้งนี้ ดัชนี PMI เป็นไป
ในทิศทางเดียวกับข้อมูลที่เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.49 ลดลง เนื่องจากความกังวลว่าการที่
เศรษฐกิจของ สรอ. ชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยดัชนีผลผลิตที่ประมาณจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงอยู่ที่ระดับ
54.5 จาก 56.0 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ขณะที่การจ้างงานยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยดัชนีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ
55.5 สูงสุดเท่าที่เคยวัดได้จากผลการสำรวจในรอบ 5 ปี เนื่องจากผู้ผลิตมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยจัดการกับคำสั่งซื้อที่ตกค้างเป็นจำนวนมาก
ส่วนดัชนีราคาผลผลิตเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 52.5 จาก 51.2 ซึ่งคาดว่าอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
3. จีนและอาเซียนคาดหวังที่จะเร่งแผนการค้าเสรีระหว่างกัน รายงานจากจีน เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 49 เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จีน
และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Nations — ASEAN) ได้มาพบปะกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าที่มีมา
ยาวนานถึง 15 ปี โดยต่างคาดหวังที่จะเร่งแผนการค้าเสรีระหว่างกันเพื่อสร้างเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ทั้งนี้จีนและ ASEAN
ได้เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในการผลักดันให้เกิดการค้าเสรีระหว่างกันมานับตั้งแต่ปี 45 โดยมีความคืบหน้าในการจัดเก็บภาษีสินค้าในระหว่างกันใน
อัตราต่ำ และปัจจุบันกำลังเจรจากันเรื่องการค้าเสรีในภาคบริการ ทั้งนี้ นสพ.ทางการของจีนกล่าวว่าการประชุมในครั้งนี้เชื่อว่าจะวางพื้นฐานเพื่อ
จัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างเอเชียและจีนซึ่งคาดว่าจะเป็นการค้าเสรีในสินค้า บริการ และการลงทุน ซึ่งจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทยต่างลดภาษีในผลิตภัณฑ์ต่างๆมากที่สุดราวปี 53 ขณะที่จีน และประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศที่เหลือได้แก่
กำพูชา ลาว พม่า และเวียตนาม จะบรรลุเป้าหมายในอีก 5 ปีหลังจากนั้น ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์ไม่ได้คาดหวังผลการประชุมเมื่อวันจันทร์
มากนัก แต่เป็นสัญญานแสดงให้เห็นว่าจีนมีความพยายามอย่างมากในการกระชับความสัมพันธ์กับ ASEAN เป็นครั้งแรก ทั้งนี้มีอุปสรรคมากมายใน
การจัดตั้งเขตการค้าเสรีแม้กระทั่งในกลุ่ม 10 ประเทศสมาชิกของ ASEAN เอง อย่างไรก็ตามในรอบ 15 ปีที่ผ่านมาการค้าระหว่างจีนและ
ASEAN ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมากกว่าร้อยละ 20 ในแต่ละปี โดยปีที่แล้วมีมูลค่าการค้าสูงถึง 130 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง ASEAN เป็น
ประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของจีนขณะที่จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของ ASEAN และคาดว่าในปี 51 มูลค่าการค้า
2 ฝ่ายจะสูงถึง 200 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากความคืบหน้าในข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเกาหลีใต้สำหรับเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ
31 ต.ค.49 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตสำหรับเดือน พ.ย.49 จากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจประมาณ 3,000 แห่งโดย ธ.กลางเกาหลีใต้
ในระหว่างวันที่ 17 — 24 ต.ค.49 หลังจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คว่ำบาตรเกาหลีเหนือด้านการเงินและ
อาวุธกรณีทดลองอาวุธนิวเคลียร์เมื่อวันที่ 9 ต.ค.49 ที่ผ่านมา โดยดัชนีเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 92 สูงสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 94 ในเดือน พ.ค.49
จากระดับ 90 สำหรับเดือน ต.ค.49 และระดับ 84 สำหรับเดือน ก.ย.49 โดยค่าดัชนีที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าจำนวนธุรกิจที่คาดว่า
สถานการณ์ทางธุรกิจในเดือนหน้าจะเลวลงมีมากกว่าที่คาดว่าจะดีขึ้น นับเป็นการสำรวจความเชื่อมั่นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การ
ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเมื่อต้นเดือน ต.ค.49 ที่ผ่านมา โดยร้อยละ 10.7 ของผู้ถูกสำรวจเห็นว่าการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของ
เกาหลีเหนือส่งกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.3 จากผลสำรวจในเดือนก่อน นอกจากนี้ยังมีความกังวล
เกี่ยวกับความต้องการในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวและความกังวลเกี่ยวกับเงินวอนของเกาหลีใต้ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญ
ของโลก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ต.ค. 49 30 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.748 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.5606/36.8511 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12125 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 718.74/7.41 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,400/10,500 10,400/10,500 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.88 57.35 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 28 ต.ค. 49 25.69*/24.24* 25.69*/24.24* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ชี้แจงกรณีเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้เป็นผลจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว นางธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงนี้ว่า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงโดยเฉพาะในไตรมาส 3
ประกอบกับภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐมีปัญหา ทำให้เม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย นอกจากนี้ค่าเงินในเอเชียก็แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับเงินบาท
ของไทย อย่างไรก็ตาม ธปท.ยอมรับว่ามีการจับตาเงินลงทุนระยะสั้นที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ เพราะมีการไหลเข้า-ออก
อย่างรวดเร็ว ส่วนเงินลงทุนโดยตรงซึ่งเป็นเงินระยะยาวก็ยังมีการไหลเข้าอยู่ตามปกติ สำหรับกรณีที่ผู้ส่งออกเห็นว่า เงินบาทแข็งค่ามากเกินไป
จนกระทบต่อการส่งออกนั้น ธปท.ได้ดูแลอยู่ไม่ให้เงินบาทผันผวนหรือมีการเก็งกำไรมากจนเกินไป ซึ่ง ธปท.เคยส่งสัญญาณมาตลอดว่าเงินบาทมี
ทิศทางแข็งค่าขึ้น ส่วนกรณีที่มีข้อเสนอให้ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าลงนั้น ยังไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากสถานการณ์เงินเฟ้อและ
ราคาน้ำมันยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้ คงต้องติดตามปัจจัยต่างๆ ให้เกิดความชัดเจนก่อน (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
2. ธปท.ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 49 อยู่ที่ระดับ 4.5-5% นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวภายหลังการประชุมประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อเดือน ต.ค.49 ว่า จากการประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) คาดว่า ปี 49
เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ที่ 4.5-5% จากเดิมคาดไว้ 4-5% และในปี 50 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ที่ 4.5-5.5% จากเดิมคาดอยู่ที่
4-5.5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 4.3-4.8% และในปี 50 จะชะลอลงที่ 1.5-3% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 49 อยู่ที่
2-2.5% และปี 50 ทรงตัวอยู่ที่ 1.5-2.5% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงมาก จะช่วยเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน ความไม่
แน่นอนทางการเมืองลดลงสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและนักลงทุน ประกอบกับเชื่อว่าสหรัฐจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% ไปจนถึง
ไตรมาส 3 ปี 51 ดังนั้นคาดว่าการลงทุนภาคธุรกิจจะกลับมาขยายตัวดีขึ้น ในทิศทางเดียวกับภาวะค่าครองชีพที่ไม่เร่งตัวมากนัก ส่วนดุลการค้าในปี
49 คาดว่าจะขาดดุลประมาณ 1.5-3.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 1.5-3.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และ
คาดว่าในปี 50 จะขาดดุลการค้าประมาณ 4-7 พัน ล.ดอลลาร์ และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่มูลค่าการ
ส่งออกคาดว่าจะเติบโต 14-16% ในปี 48 และ 6-9% ในปี 50 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจต่ำกว่าที่คาดไว้
(ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์, มติชน)
3. ธปท.ยืนยันร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล
นางธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าที่ได้เสนอให้กับ ก.คลังนั้น ได้คำนึง
ถึงระบบการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) ไว้แล้ว โดยในส่วนของการสรรหาผู้ว่าการ ธปท.กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาซึ่ง
ระบุถึงผู้ที่จะเป็นกรรมการสรรหาไว้ด้วยแล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ว่าการไว้ว่า เป็นประธานในคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่องนโยบายการเงินและนโยบายสถาบันการเงินเท่านั้น ส่วนประธานคณะกรรมการ ธปท.เป็นบุคคลภายนอก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดระบบการตรวจสอบ
ถ่วงดุล นอกจากนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ยังได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าการ ธปท.ไว้ให้ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระ โดยวาระหนึ่งมี
เวลา 5 ปี จากเดิมที่ไม่ได้มีการกำหนดวาระไว้ ซึ่งเป็นกลไกที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
4. รมว.คลังชี้แจงกรณีการเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจเกิน 3 แห่งในขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ว่าเป็นไปตามกฎหมาย
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดแถลงชี้แจงกรณีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทำหนังสือถึง นรม.และประธาน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อให้ดำเนินการข้าราชการที่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจมากกว่า 3 แห่ง ซึ่งได้ระบุชื่อของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร
รวมอยู่ด้วยโดยมีชื่อเป็นกรรมการถึง 8 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทย ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ศูนย์คุ้มครองข้อมูลเครดิต กรรมการตรวจสอบ
ก.ล.ต. และ กรรมการสอบ บสท. ว่า เป็นการดำรงตำแหน่งในฐานะผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถือว่าเป็นกรรมการโดยตำแหน่งตามที่
กฎหมายกำหนด ดังนั้น จึงไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 31 ต.ค.49 ก.
Health, Labour and Welfare ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 (ตัวเลขหลังปรับ
ปัจจัยทางฤดูกาล) จากร้อยละ 4.1 ในเดือนก่อนหน้า ใกล้เคียงกับที่ตลาดเงินคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ซึ่งเกือบจะเท่ากับ
ร้อยละ 4.0 ในเดือน พ.ค.49 อันเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปี ส่วนอัตราส่วนตำแหน่งงานต่อจำนวนผู้สมัครงานในเดือน ก.ย.49 อยู่ที่ระดับ
1.08 (ซึ่งหมายถึงมีตำแหน่งงานที่ว่าง 108 ตำแหน่งต่อจำนวนผู้สมัครงาน 100 คน) ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ส.ค. 49 แต่เป็นระดับต่ำกว่า
ที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 1.09 ขณะที่ในเดือน ก.ค.49 อยู่ที่ระดับ 1.09 อันเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี ทั้งนี้ อัตราส่วนดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น
เนื่องจากผลกำไรของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นส่งผลให้มีความต้องการแรงงานมากขึ้นตามไปด้วย อนึ่ง นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่า อัตราการว่างงานที่
เพิ่มขึ้นไม่ได้ตลาดการเงินทำให้กังวลเท่าใดนัก เนื่องจากสะท้อนให้เห็นว่ามีผู้คนจำนวนมากได้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว (รอยเตอร์)
2. PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.49 ชะลอตัวลงครั้งแรกในรอบ 14 เดือน รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่
31 ต.ค.49 Purchasing Managers Index ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากดัชนีประเภทต่าง ๆ ที่ได้จากผู้ผลิตมากกว่า 350 ราย แสดงให้เห็นว่า
กิจกรรมในภาคการผลิตของญี่ปุ่นเดือน ต.ค.49 ขยายตัวอยู่ที่ระดับ 54.1 ลดลงจากระดับ 54.8 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุด
ในรอบ 14 เดือน แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 41 ทั้งนี้ การที่ดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ชี้ว่าธุรกิจยังคงมีการขยายตัว แต่ถ้า
ต่ำกว่าระดับ 50 ถือว่าหดตัว ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ดัชนีอ่อนตัวลงมาจากความต้องการสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัว ในขณะที่ดัชนีคำสั่ง
ซื้อรายใหม่เดือน ต.ค.49 ลดลงอยู่ที่ระดับ 53.7 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 19 เดือน แต่ยังอยู่เหนือระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 22
ด้านดัชนีคำสั่งซื้อการส่งออกรายใหม่ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.7 จากระดับ 52.2 โดยความต้องการสินค้าประเภทรถยนต์ของญี่ปุ่นที่ยังแข็งแกร่งช่วยทำ
ให้ดัชนี PMI ไม่ลดลงมากนักแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องนุ่มห่มและสิ่งทอที่ลดลงมากก็ตาม ทั้งนี้ ดัชนี PMI เป็นไป
ในทิศทางเดียวกับข้อมูลที่เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.49 ลดลง เนื่องจากความกังวลว่าการที่
เศรษฐกิจของ สรอ. ชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยดัชนีผลผลิตที่ประมาณจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงอยู่ที่ระดับ
54.5 จาก 56.0 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน ขณะที่การจ้างงานยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยดัชนีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ
55.5 สูงสุดเท่าที่เคยวัดได้จากผลการสำรวจในรอบ 5 ปี เนื่องจากผู้ผลิตมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยจัดการกับคำสั่งซื้อที่ตกค้างเป็นจำนวนมาก
ส่วนดัชนีราคาผลผลิตเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 52.5 จาก 51.2 ซึ่งคาดว่าอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นด้วย (รอยเตอร์)
3. จีนและอาเซียนคาดหวังที่จะเร่งแผนการค้าเสรีระหว่างกัน รายงานจากจีน เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 49 เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จีน
และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Nations — ASEAN) ได้มาพบปะกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าที่มีมา
ยาวนานถึง 15 ปี โดยต่างคาดหวังที่จะเร่งแผนการค้าเสรีระหว่างกันเพื่อสร้างเขตการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ทั้งนี้จีนและ ASEAN
ได้เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในการผลักดันให้เกิดการค้าเสรีระหว่างกันมานับตั้งแต่ปี 45 โดยมีความคืบหน้าในการจัดเก็บภาษีสินค้าในระหว่างกันใน
อัตราต่ำ และปัจจุบันกำลังเจรจากันเรื่องการค้าเสรีในภาคบริการ ทั้งนี้ นสพ.ทางการของจีนกล่าวว่าการประชุมในครั้งนี้เชื่อว่าจะวางพื้นฐานเพื่อ
จัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างเอเชียและจีนซึ่งคาดว่าจะเป็นการค้าเสรีในสินค้า บริการ และการลงทุน ซึ่งจีน บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทยต่างลดภาษีในผลิตภัณฑ์ต่างๆมากที่สุดราวปี 53 ขณะที่จีน และประเทศสมาชิกอาเซียน 4 ประเทศที่เหลือได้แก่
กำพูชา ลาว พม่า และเวียตนาม จะบรรลุเป้าหมายในอีก 5 ปีหลังจากนั้น ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์ไม่ได้คาดหวังผลการประชุมเมื่อวันจันทร์
มากนัก แต่เป็นสัญญานแสดงให้เห็นว่าจีนมีความพยายามอย่างมากในการกระชับความสัมพันธ์กับ ASEAN เป็นครั้งแรก ทั้งนี้มีอุปสรรคมากมายใน
การจัดตั้งเขตการค้าเสรีแม้กระทั่งในกลุ่ม 10 ประเทศสมาชิกของ ASEAN เอง อย่างไรก็ตามในรอบ 15 ปีที่ผ่านมาการค้าระหว่างจีนและ
ASEAN ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมากกว่าร้อยละ 20 ในแต่ละปี โดยปีที่แล้วมีมูลค่าการค้าสูงถึง 130 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง ASEAN เป็น
ประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของจีนขณะที่จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของ ASEAN และคาดว่าในปี 51 มูลค่าการค้า
2 ฝ่ายจะสูงถึง 200 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากความคืบหน้าในข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเกาหลีใต้สำหรับเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ
31 ต.ค.49 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตสำหรับเดือน พ.ย.49 จากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจประมาณ 3,000 แห่งโดย ธ.กลางเกาหลีใต้
ในระหว่างวันที่ 17 — 24 ต.ค.49 หลังจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คว่ำบาตรเกาหลีเหนือด้านการเงินและ
อาวุธกรณีทดลองอาวุธนิวเคลียร์เมื่อวันที่ 9 ต.ค.49 ที่ผ่านมา โดยดัชนีเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 92 สูงสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 94 ในเดือน พ.ค.49
จากระดับ 90 สำหรับเดือน ต.ค.49 และระดับ 84 สำหรับเดือน ก.ย.49 โดยค่าดัชนีที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าจำนวนธุรกิจที่คาดว่า
สถานการณ์ทางธุรกิจในเดือนหน้าจะเลวลงมีมากกว่าที่คาดว่าจะดีขึ้น นับเป็นการสำรวจความเชื่อมั่นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การ
ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเมื่อต้นเดือน ต.ค.49 ที่ผ่านมา โดยร้อยละ 10.7 ของผู้ถูกสำรวจเห็นว่าการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของ
เกาหลีเหนือส่งกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.3 จากผลสำรวจในเดือนก่อน นอกจากนี้ยังมีความกังวล
เกี่ยวกับความต้องการในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวและความกังวลเกี่ยวกับเงินวอนของเกาหลีใต้ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญ
ของโลก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ต.ค. 49 30 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.748 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.5606/36.8511 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12125 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 718.74/7.41 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,400/10,500 10,400/10,500 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.88 57.35 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 28 ต.ค. 49 25.69*/24.24* 25.69*/24.24* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--