นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงว่า ตามที่ ธปท. ได้ออก มาตรการดูแลเงินทุนนำเข้าระยะสั้นมาเป็นลำดับ เพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท และดูแลเงินบาท ไม่ให้ผันผวนเกินกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ นั้น
ในช่วงที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีเงินทุนนำเข้าระยะสั้นเพื่อเก็งกำไรในค่าเงินบาทในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ค่าเงินบาทยังคงผันผวนและแข็งค่าขึ้นเกินกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรมีมาตรการ เพิ่มเติมโดยกำหนดให้สถาบันการเงินที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท ต้องกันเงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศไว้จำนวนร้อยละ 30 ของเงินตราต่างประเทศดังกล่าว ส่วนที่เหลือร้อยละ 70 ให้รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทให้แก่ลูกค้า ยกเว้นเงินตราต่างประเทศที่รับซื้อ หรือแลกเปลี่ยนเป็น เงินบาทที่ได้รับจากค่าสินค้า บริการ หรือเงินที่บุคคลหรือนิติบุคคลไทยได้รับคืนจากการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ต้องกันเงินไว้ตามมาตรการนี้ โดยมีรายละเอียดและวิธีปฏิบัติดังนี้
1. ลูกค้าที่สถาบันการเงินกันเงินไว้จะขอคืนเงินได้ เมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ถูกกันเงิน โดยลูกค้าต้องแสดงเอกสารหลักฐานให้ชัดเจนว่าเงินที่ตนนำเข้ามาลงทุนนั้นอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี
2. เมื่อสถาบันการเงินพิสูจน์และรับรองแล้วว่าลูกค้ารายนั้นมีการนำเข้าเงินทุนและอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปีแล้ว ให้แจ้ง ธปท. เพื่อดำเนินการส่งเงินให้สถาบันการเงินคืนแก่ลูกค้าต่อไป
3. ลูกค้ารายใดนำเงินลงทุนกลับคืนก่อนครบระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินคืนเพียง 2 ใน 3 ของเงินที่กันไว้
4. ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามสัญญาการรับซื้อหรือ แลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทที่ได้ตกลงก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องกันเงินตราต่างประเทศดังกล่าว
5. สำหรับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่เป็นการลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) ที่เป็นส่วนของทุน หรือเงินโอน ให้ลูกค้าผู้ถูกกันเงินยื่นคำร้องผ่านสถาบันการเงินพร้อมเอกสารหลักฐาน เมื่อสถาบันการเงินพิสูจน์และรับรองความถูกต้อง และ ธปท. เห็นสมควร จะคืนเงินดังกล่าวแก่ลูกค้าโดยเร็ว
6. เมื่อสถาบันการเงินกันเงินดังกล่าวแล้ว ให้นำส่งแก่ ธปท. ทุกวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
7. ผลประโยชน์ที่ ธปท. ได้จากมาตรการนี้จะดูแลเพื่อใช้เป็นประโยชน์ของรัฐและสาธารณชนต่อไป
มาตรการที่กำหนดให้ต้องดำรงเงินสำรองเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ ที่ออกเพิ่มเติมในวันนี้ เคยใช้มาแล้วในหลายประเทศในภาวะที่จำเป็น เพื่อควบคุมการนำเข้าเงินทุนระยะสั้น และ ธปท. เห็นว่า เป็นมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ธปท. จะได้ติดตาม และประเมินผลของมาตรการอย่างใกล้ชิดต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม : ทีมกลยุทธ์การแลกเปลี่ยนเงิน โทร. 0-2356-7345-6 E-mail: KleddaoS@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในช่วงที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีเงินทุนนำเข้าระยะสั้นเพื่อเก็งกำไรในค่าเงินบาทในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ค่าเงินบาทยังคงผันผวนและแข็งค่าขึ้นเกินกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรมีมาตรการ เพิ่มเติมโดยกำหนดให้สถาบันการเงินที่รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท ต้องกันเงินสำรองเป็นเงินตราต่างประเทศไว้จำนวนร้อยละ 30 ของเงินตราต่างประเทศดังกล่าว ส่วนที่เหลือร้อยละ 70 ให้รับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทให้แก่ลูกค้า ยกเว้นเงินตราต่างประเทศที่รับซื้อ หรือแลกเปลี่ยนเป็น เงินบาทที่ได้รับจากค่าสินค้า บริการ หรือเงินที่บุคคลหรือนิติบุคคลไทยได้รับคืนจากการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ต้องกันเงินไว้ตามมาตรการนี้ โดยมีรายละเอียดและวิธีปฏิบัติดังนี้
1. ลูกค้าที่สถาบันการเงินกันเงินไว้จะขอคืนเงินได้ เมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ถูกกันเงิน โดยลูกค้าต้องแสดงเอกสารหลักฐานให้ชัดเจนว่าเงินที่ตนนำเข้ามาลงทุนนั้นอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี
2. เมื่อสถาบันการเงินพิสูจน์และรับรองแล้วว่าลูกค้ารายนั้นมีการนำเข้าเงินทุนและอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปีแล้ว ให้แจ้ง ธปท. เพื่อดำเนินการส่งเงินให้สถาบันการเงินคืนแก่ลูกค้าต่อไป
3. ลูกค้ารายใดนำเงินลงทุนกลับคืนก่อนครบระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินคืนเพียง 2 ใน 3 ของเงินที่กันไว้
4. ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามสัญญาการรับซื้อหรือ แลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทที่ได้ตกลงก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องกันเงินตราต่างประเทศดังกล่าว
5. สำหรับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่เป็นการลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) ที่เป็นส่วนของทุน หรือเงินโอน ให้ลูกค้าผู้ถูกกันเงินยื่นคำร้องผ่านสถาบันการเงินพร้อมเอกสารหลักฐาน เมื่อสถาบันการเงินพิสูจน์และรับรองความถูกต้อง และ ธปท. เห็นสมควร จะคืนเงินดังกล่าวแก่ลูกค้าโดยเร็ว
6. เมื่อสถาบันการเงินกันเงินดังกล่าวแล้ว ให้นำส่งแก่ ธปท. ทุกวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
7. ผลประโยชน์ที่ ธปท. ได้จากมาตรการนี้จะดูแลเพื่อใช้เป็นประโยชน์ของรัฐและสาธารณชนต่อไป
มาตรการที่กำหนดให้ต้องดำรงเงินสำรองเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ ที่ออกเพิ่มเติมในวันนี้ เคยใช้มาแล้วในหลายประเทศในภาวะที่จำเป็น เพื่อควบคุมการนำเข้าเงินทุนระยะสั้น และ ธปท. เห็นว่า เป็นมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ธปท. จะได้ติดตาม และประเมินผลของมาตรการอย่างใกล้ชิดต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม : ทีมกลยุทธ์การแลกเปลี่ยนเงิน โทร. 0-2356-7345-6 E-mail: KleddaoS@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--