นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกรกฎาคม 2549 ว่าภาวะเศรษฐกิจการคลังโดยรวมในเดือนกรกฎาคม 2549 ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกที่ยังขยายตัวในระดับสูง และการลงทุนภาคเอกชนและการนำเข้ากลับมาฟื้นตัวขึ้นหลังจากที่ชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภายนอกในเดือนกรกฎาคม ยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยที่ยังขยายได้ดี แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันดิบและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง โดยเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย 11 ประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.1 ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.7 ซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังเผชิญกับความเสี่ยงจากปัญหาสงครามในตะวันออกกลาง ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป
เครื่องชี้ภาคการคลังพบว่าการจัดเก็บรายได้ชะลอตัวลง แต่การใช้จ่ายภาครัฐปรับตัวดีขึ้น โดยรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือนกรกฎาคม 2549 มีจำนวนทั้งสิ้น 78.4 พันล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.3 ต่อปี ขณะที่ด้านรายจ่ายงบประมาณในเดือนกรกฎาคม 2549 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 98.5 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.3 ต่อปี
เครื่องชี้ภาคเกษตรชี้ว่าการจ้างงานในภาคเกษตรยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้รายได้เกษตรกรชะลอตัวลง โดยการจ้างงานภาคการเกษตรเดือนกรกฎาคมขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือนกรกฎาคมพบว่าชะลอตัวลง โดยขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 16.8 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นผลจากราคายางพาราซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักขยายตัวในอัตราชะลอลงลงในเดือนกรกฎาคม ขณะที่เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมชี้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยมูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในเดือนกรกฎาคมเพื่อนำมาใช้ในการผลิตขยายตัวร้อยละ 13.0 ต่อปี สูงขึ้นจากร้อยละ 7.7 ต่อปีในเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะการนำเข้าส่วนประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกรกฎาคมที่ขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 22.1 ต่อปี สอดคล้องกับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปี จากที่หดตัวในเดือนก่อน สำหรับเครื่องชี้ภาคการบริการชี้ว่าอัตราการจ้างงานภาคบริการลดลง โดยอัตราการจ้างงานภาคบริการในเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 2.2 โดยเป็นผลจากการจ้างงานในภาคการค้า ภาคขนส่ง และภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง ประกอบกับการเข้าสู่ฤดูฝนส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคบริการเข้าสู่ภาคการเกษตรที่มีอัตราการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เครื่องชี้การบริโภคภายในประเทศขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยรายได้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศในเดือนกรกฎาคมขยายตัวที่ร้อยละ 19.7 ต่อปี ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.4 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในรูปเหรียญสหรัฐขยายตัวที่ร้อยละ 23.1 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 14.1 ต่อปีในเดือนมิถุนายน เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนในทั้งด้านก่อสร้างและในด้านเครื่องมือเครื่องจักรปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชนในภาคก่อสร้างจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี สูงขึ้นจากร้อยละ -9.1 ต่อปีในเดือนมิถุนายน สำหรับเครื่องชี้การลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 4.6 ต่อปีในเดือน โดยเฉพาะการนำเข้าในกลุ่มสินค้าเครื่องจักรกลที่ขยายตัวร้อยละ 15.8 ต่อปี และคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 ต่อปี
มูลค่าการส่งออกเดือนกรกฎาคมสูงสุดในประวัติศาสตร์ การส่งออกเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าทั้งสิ้น 11,153 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ต่อปี ซึ่งยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวดี ขณะที่มูลค่าการนำเข้ากลับมาขยายตัวในอัตราเร่งในเดือนกรกฎาคม ตามการใช้จ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้น และการส่งออกที่ขยายตัวทำให้ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเพื่อรองรับการผลิตที่เพิ่มขึ้น การนำเข้าเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าทั้งสิ้น 11,322 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.9 ต่อปี โดยสินค้าที่มีการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า อย่างไรก็ตามเนื่องจากมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวสูงกว่ามูลค่าการส่งออก ส่งผลให้เดือนกรกฎาคม ขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 169 ล้านเหรียญสหรัฐ
เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายนอกประเทศและภายในประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศได้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศและดุลบริการที่เกินดุล โดยทุนสำรองระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 58.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนมิถุนายนมาอยู่ที่ 58.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งมากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 3 เท่า ทั้งนี้ เงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น จากเฉลี่ย 38.1 บาท/เหรียญสหรัฐ ในเดือนมิถุนายน แข็งค่าขึ้นเป็น 37.8 บาท/เหรียญสหรัฐในเดือนกรกฎาคม สำหรับเสถียรภาพในประเทศในเดือนกรกฎาคมปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคมชะลอตัวลงต่ำที่สุดในรอบ 12 เดือน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากร้อยละ 5.9 ต่อปีในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม เป็นผลหลักมาจากฐานดัชนีราคาผู้บริโภคที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลในเดือนกรกฎาคมปี 2548 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงาน) เดือนกรกฎาคมก็ชะลอตัวลงตามอัตราเงินเฟ้อทั่วไป โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.0 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 2.7 ต่อปีในเดือนมิถุนายน สำหรับอัตราการว่างงาน ณ เดือนกรกฎาคมอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบปี สะท้อนระดับการจ้างงานเต็มที่ของเศรษฐกิจไทย โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.1 ในเดือนกรกฎาคม ลดลงจากร้อยละ 1.5 ในเดือนมิถุนายน เป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีความต้องการแรงงานและการจ้างงานในภาคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 14/2549 30 สิงหาคม 2549--
ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภายนอกในเดือนกรกฎาคม ยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยที่ยังขยายได้ดี แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันดิบและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง โดยเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย 11 ประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.1 ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.7 ซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังเผชิญกับความเสี่ยงจากปัญหาสงครามในตะวันออกกลาง ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป
เครื่องชี้ภาคการคลังพบว่าการจัดเก็บรายได้ชะลอตัวลง แต่การใช้จ่ายภาครัฐปรับตัวดีขึ้น โดยรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือนกรกฎาคม 2549 มีจำนวนทั้งสิ้น 78.4 พันล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.3 ต่อปี ขณะที่ด้านรายจ่ายงบประมาณในเดือนกรกฎาคม 2549 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 98.5 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.3 ต่อปี
เครื่องชี้ภาคเกษตรชี้ว่าการจ้างงานในภาคเกษตรยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้รายได้เกษตรกรชะลอตัวลง โดยการจ้างงานภาคการเกษตรเดือนกรกฎาคมขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือนกรกฎาคมพบว่าชะลอตัวลง โดยขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี เทียบกับร้อยละ 16.8 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นผลจากราคายางพาราซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักขยายตัวในอัตราชะลอลงลงในเดือนกรกฎาคม ขณะที่เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมชี้ว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยมูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในเดือนกรกฎาคมเพื่อนำมาใช้ในการผลิตขยายตัวร้อยละ 13.0 ต่อปี สูงขึ้นจากร้อยละ 7.7 ต่อปีในเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะการนำเข้าส่วนประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกรกฎาคมที่ขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 22.1 ต่อปี สอดคล้องกับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปี จากที่หดตัวในเดือนก่อน สำหรับเครื่องชี้ภาคการบริการชี้ว่าอัตราการจ้างงานภาคบริการลดลง โดยอัตราการจ้างงานภาคบริการในเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 2.2 โดยเป็นผลจากการจ้างงานในภาคการค้า ภาคขนส่ง และภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง ประกอบกับการเข้าสู่ฤดูฝนส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคบริการเข้าสู่ภาคการเกษตรที่มีอัตราการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เครื่องชี้การบริโภคภายในประเทศขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยรายได้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศในเดือนกรกฎาคมขยายตัวที่ร้อยละ 19.7 ต่อปี ชะลอตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.4 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในรูปเหรียญสหรัฐขยายตัวที่ร้อยละ 23.1 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 14.1 ต่อปีในเดือนมิถุนายน เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนในทั้งด้านก่อสร้างและในด้านเครื่องมือเครื่องจักรปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชนในภาคก่อสร้างจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี สูงขึ้นจากร้อยละ -9.1 ต่อปีในเดือนมิถุนายน สำหรับเครื่องชี้การลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 4.6 ต่อปีในเดือน โดยเฉพาะการนำเข้าในกลุ่มสินค้าเครื่องจักรกลที่ขยายตัวร้อยละ 15.8 ต่อปี และคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 ต่อปี
มูลค่าการส่งออกเดือนกรกฎาคมสูงสุดในประวัติศาสตร์ การส่งออกเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าทั้งสิ้น 11,153 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ต่อปี ซึ่งยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวดี ขณะที่มูลค่าการนำเข้ากลับมาขยายตัวในอัตราเร่งในเดือนกรกฎาคม ตามการใช้จ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้น และการส่งออกที่ขยายตัวทำให้ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนเพื่อรองรับการผลิตที่เพิ่มขึ้น การนำเข้าเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าทั้งสิ้น 11,322 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.9 ต่อปี โดยสินค้าที่มีการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า อย่างไรก็ตามเนื่องจากมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวสูงกว่ามูลค่าการส่งออก ส่งผลให้เดือนกรกฎาคม ขาดดุลการค้าทั้งสิ้น 169 ล้านเหรียญสหรัฐ
เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายนอกประเทศและภายในประเทศอยู่ในระดับมั่นคง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศได้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศและดุลบริการที่เกินดุล โดยทุนสำรองระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 58.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนมิถุนายนมาอยู่ที่ 58.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งมากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 3 เท่า ทั้งนี้ เงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น จากเฉลี่ย 38.1 บาท/เหรียญสหรัฐ ในเดือนมิถุนายน แข็งค่าขึ้นเป็น 37.8 บาท/เหรียญสหรัฐในเดือนกรกฎาคม สำหรับเสถียรภาพในประเทศในเดือนกรกฎาคมปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคมชะลอตัวลงต่ำที่สุดในรอบ 12 เดือน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากร้อยละ 5.9 ต่อปีในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม เป็นผลหลักมาจากฐานดัชนีราคาผู้บริโภคที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลในเดือนกรกฎาคมปี 2548 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงาน) เดือนกรกฎาคมก็ชะลอตัวลงตามอัตราเงินเฟ้อทั่วไป โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.0 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 2.7 ต่อปีในเดือนมิถุนายน สำหรับอัตราการว่างงาน ณ เดือนกรกฎาคมอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบปี สะท้อนระดับการจ้างงานเต็มที่ของเศรษฐกิจไทย โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.1 ในเดือนกรกฎาคม ลดลงจากร้อยละ 1.5 ในเดือนมิถุนายน เป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีความต้องการแรงงานและการจ้างงานในภาคดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 14/2549 30 สิงหาคม 2549--