1. สวมเสื้อผ้าแบบที่ชาวบ้านใส่ ไม่ต้องใส่ชุดซาฟารี ไม่ต้องสวมเสื้อสีขาว ขับรถไม่ต้องยี่ห้อหรู ไม่ต้องขัดมันผิวรถ ดูรถอาจจะสกปรกมอมแมมก็ได้
2. ทักทายชาวบ้านโดยไหว้ ทำตัวสุภาพแต่อาจมีอารมณ์ขันกับผู้สูงวัย ทำตัวล้อเล่นกับเด็กๆ รักสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน อาจจะมีของกินหรือยาสามัญประจำบ้านไปฝากเด็กและผู้สูงวัย
3. การคุยกับชาวบ้านไม่จำเป็นจะต้องใช้สถานที่ทางการ เช่น ห้องประชุม อาจคุยกันใต้ถุนบ้าน ใต้ต้นไม้ ใกล้คอกสัตว์ ใกล้แปลงเกษตร สะดวกที่ไหนก็คุยที่นั่น ชาวบ้านจะรู้สึกผ่อนคลาย กล้าคุยกล้าถาม
4. ถ้าไม่เคยรู้จักชาวบ้าน ควรคุยในเรื่องสถานที่ที่ขณะนี้ยืนอยู่ ว่าแต่ก่อนเป็นอะไร บ่อน้ำอยู่ที่ไหน แต่ก่อนจะซื้อของใช้ต้องไปหาซื้อที่ไหน งานประจำปีจะมีกันเมื่อไหร่ แล้วปีก่อนๆงานสนุกขนาดไหน หากถามเกี่ยวกับเรื่องอดีตแบบนี้ ชาวบ้านหลายคนจะทราบ และบางคนจะเข้าช่วยตอบ ซึ่งทำให้ชาวบ้านรู้สึกเป็นกันเอง
5. หากดูลายมือเป็น ดูดวงเป็น ควรนำพรสวรรค์ด้านนี้มาใช้ประโยชน์….ดูฟรีไปเลย จะมีชาวบ้านกลุ่มใหญ่นั่งรอที่จะดูหมอ ไม่ยอมกลับบ้านง่ายๆ
6. หากมีข้อมูลที่อยากจะบอกชาวบ้าน ควรจะบอกก่อนว่า ข้อมูลนี้จะช่วยชาวบ้านไปแก้ไขปัญหาอะไร ชาวบ้านทราบแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร การอธิบายข้อมูลควรจะพูดให้เข้าใจง่ายที่สุด สั้นๆ ไม่ใช้เวลานาน เพราะชาวบ้านมักจะจำไม่เก่งและไม่ชอบจด ก่อนจากกัน จึงมอบข้อมูลที่ได้พูดไปเป็นเอกสารให้ชาวบ้านเก็บไว้อ่าน และอาจนัดหมายว่าจะนำข้อมูลที่ต่อเนื่องมามอบให้อีกในวันใด
7. การไปแต่ละครั้ง หากมีชาวบ้านที่คนนิยมนับถือร่วมไปพร้อมกันด้วย จะทำให้เราน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
เรื่องอาหาร ควรจะซื้ออาหารจากท้องถิ่นไปกินเองดีกว่า ที่จะไปหวังพึ่งจากชาวบ้าน ไม่ควรจะนำจานถ้วยช้อนแก้วที่หรูหราไปใช้ ควรจะนั่งกินร่วมกับชาวบ้าน เพื่อจะได้แลกกับข้าวร่วมกินกัน และเผื่อจะได้พูดคุยกันระหว่างกิน ไม่ควรจะไปแยกกินในห้องเฉพาะของตนเอง
8. การถ่ายรูป ไม่ควรจะเชิญชาวบ้านมานั่งรวมหมู่ถ่ายรูป เพราะเขาจะกระดากและเหมือนกับถูกบังคับ แต่ควรจะถ่ายรูปคล้ายๆกับทำข่าวไปเรื่อยๆ
9. ถ้าเรื่องที่ชาวบ้านพูด เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นไม่ได้ขัดแย้งกับนโยบาย ไม่ควรจะเถียงกับชาวบ้าน ควรจะนิ่งรับฟังอย่างตั้งใจ อาจจะจดความคิดเห็นเอาไว้ต่อหน้าชาวบ้าน และบอกว่าจะนำข้อมูลนี้ไปเสนอผู้ใหญ่
10. แต่ถ้าเป็นเรื่องสำคัญที่ขัดแย้งกันรุนแรง ควรจะหาวิธีแยกชาวบ้านที่ขัดแย้งรุนแรงไปให้ข้อมูลเพิ่มเติม แยกออกจากกลุ่มชาวบ้านที่นั่งอยู่ หรือนัดแนะกับชาวบ้านที่ขัดแย้งรุนแรงว่าจะมาขอรับข้อมูลเพิ่มในวันถัดไป
11. ขอบคุณและลาจากชาวบ้าน อย่างที่ชาวบ้านเขาทำกัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
2. ทักทายชาวบ้านโดยไหว้ ทำตัวสุภาพแต่อาจมีอารมณ์ขันกับผู้สูงวัย ทำตัวล้อเล่นกับเด็กๆ รักสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน อาจจะมีของกินหรือยาสามัญประจำบ้านไปฝากเด็กและผู้สูงวัย
3. การคุยกับชาวบ้านไม่จำเป็นจะต้องใช้สถานที่ทางการ เช่น ห้องประชุม อาจคุยกันใต้ถุนบ้าน ใต้ต้นไม้ ใกล้คอกสัตว์ ใกล้แปลงเกษตร สะดวกที่ไหนก็คุยที่นั่น ชาวบ้านจะรู้สึกผ่อนคลาย กล้าคุยกล้าถาม
4. ถ้าไม่เคยรู้จักชาวบ้าน ควรคุยในเรื่องสถานที่ที่ขณะนี้ยืนอยู่ ว่าแต่ก่อนเป็นอะไร บ่อน้ำอยู่ที่ไหน แต่ก่อนจะซื้อของใช้ต้องไปหาซื้อที่ไหน งานประจำปีจะมีกันเมื่อไหร่ แล้วปีก่อนๆงานสนุกขนาดไหน หากถามเกี่ยวกับเรื่องอดีตแบบนี้ ชาวบ้านหลายคนจะทราบ และบางคนจะเข้าช่วยตอบ ซึ่งทำให้ชาวบ้านรู้สึกเป็นกันเอง
5. หากดูลายมือเป็น ดูดวงเป็น ควรนำพรสวรรค์ด้านนี้มาใช้ประโยชน์….ดูฟรีไปเลย จะมีชาวบ้านกลุ่มใหญ่นั่งรอที่จะดูหมอ ไม่ยอมกลับบ้านง่ายๆ
6. หากมีข้อมูลที่อยากจะบอกชาวบ้าน ควรจะบอกก่อนว่า ข้อมูลนี้จะช่วยชาวบ้านไปแก้ไขปัญหาอะไร ชาวบ้านทราบแล้วจะได้ประโยชน์อย่างไร การอธิบายข้อมูลควรจะพูดให้เข้าใจง่ายที่สุด สั้นๆ ไม่ใช้เวลานาน เพราะชาวบ้านมักจะจำไม่เก่งและไม่ชอบจด ก่อนจากกัน จึงมอบข้อมูลที่ได้พูดไปเป็นเอกสารให้ชาวบ้านเก็บไว้อ่าน และอาจนัดหมายว่าจะนำข้อมูลที่ต่อเนื่องมามอบให้อีกในวันใด
7. การไปแต่ละครั้ง หากมีชาวบ้านที่คนนิยมนับถือร่วมไปพร้อมกันด้วย จะทำให้เราน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
เรื่องอาหาร ควรจะซื้ออาหารจากท้องถิ่นไปกินเองดีกว่า ที่จะไปหวังพึ่งจากชาวบ้าน ไม่ควรจะนำจานถ้วยช้อนแก้วที่หรูหราไปใช้ ควรจะนั่งกินร่วมกับชาวบ้าน เพื่อจะได้แลกกับข้าวร่วมกินกัน และเผื่อจะได้พูดคุยกันระหว่างกิน ไม่ควรจะไปแยกกินในห้องเฉพาะของตนเอง
8. การถ่ายรูป ไม่ควรจะเชิญชาวบ้านมานั่งรวมหมู่ถ่ายรูป เพราะเขาจะกระดากและเหมือนกับถูกบังคับ แต่ควรจะถ่ายรูปคล้ายๆกับทำข่าวไปเรื่อยๆ
9. ถ้าเรื่องที่ชาวบ้านพูด เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นไม่ได้ขัดแย้งกับนโยบาย ไม่ควรจะเถียงกับชาวบ้าน ควรจะนิ่งรับฟังอย่างตั้งใจ อาจจะจดความคิดเห็นเอาไว้ต่อหน้าชาวบ้าน และบอกว่าจะนำข้อมูลนี้ไปเสนอผู้ใหญ่
10. แต่ถ้าเป็นเรื่องสำคัญที่ขัดแย้งกันรุนแรง ควรจะหาวิธีแยกชาวบ้านที่ขัดแย้งรุนแรงไปให้ข้อมูลเพิ่มเติม แยกออกจากกลุ่มชาวบ้านที่นั่งอยู่ หรือนัดแนะกับชาวบ้านที่ขัดแย้งรุนแรงว่าจะมาขอรับข้อมูลเพิ่มในวันถัดไป
11. ขอบคุณและลาจากชาวบ้าน อย่างที่ชาวบ้านเขาทำกัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-