สศก. เผยผลการสำรวจโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ จังหวัดศรีสะเกษ พบเกษตรกรพึงพอใจทุกราย เพราะสะดวกรวดเร็ว เจ้าหน้าที่บริการดี และให้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2549 ได้มีการจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมสนับสนุนโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว โดยจัดขึ้นบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ มีนายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธี และนายประเสริฐ อร่ามศรีวรพงษ์ นายอำเภออุทุมพรพิสัย เป็นผู้กล่าวคำรายงาน ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมพิธีในการเปิดงานครั้งนี้เป็นจำนวนมาก
ในการจัดงานครั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามและประเมินผลการจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ พบว่าเกษตรกรตัวอย่างที่เข้ามาใช้บริการในคลินิก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 50.62 เพศชายร้อยละ 49.38 โดยมีช่วงอายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 51 - 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.57 รองลงมามีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 28.40 ส่วนเกษตรกรที่มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 16.05 และเกษตรกรที่มีอายุระหว่าง 21 - 30 ปี มีเพียงร้อยละ 4.94 เท่านั้น ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 64.20 รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 30.86 ส่วนเกษตรกรที่จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาคิดเป็นร้อยละ 3.07 และเกษตรกรที่ไม่ได้รับการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 1.23 สำหรับอาชีพของเกษตรกรพบว่า ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ในด้านการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรเกี่ยวกับการลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการปรึกษาตามคลินิกต่างๆ พบว่า ร้อยละ 100 ให้คำตอบว่ามีความสะดวกรวดเร็ว การชี้แจงปัญหาและข้อแนะนำของเจ้าหน้าที่ต่อเกษตรกรพบว่า ร้อยละ 80 ได้รับความพึงพอใจมาก และร้อยละ 20 มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ร้อยละ 80.24 เกษตรกรตัวอย่างทั้งหมดมีความพึงพอใจมาก ที่เหลือร้อยละ 19.76 มีความพึงพอใจระดับปานกลาง ส่วนสถานที่ในการจัดงาน เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากเช่นกัน เพราะบริเวณจัดงานมีเส้นทางไปมาสะดวก พบเห็นง่าย ส่วนความพร้อมของเจ้าหน้าที่ทั้งด้านบริการและด้านวิชาการตามคลินิก จะเห็นได้ว่ามีเจ้าหน้าที่เพียงพอ มีความกระตือรือร้น มีความชำนาญ อีกทั้งได้เคยผ่านการปฏิบัติงานมาแล้ว ทำให้เกษตรกรทราบและเข้าใจปัญหาต่างๆ ได้ถูกต้องเพื่อที่จะนำไปแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2549 ได้มีการจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมสนับสนุนโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว โดยจัดขึ้นบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ มีนายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในพิธี และนายประเสริฐ อร่ามศรีวรพงษ์ นายอำเภออุทุมพรพิสัย เป็นผู้กล่าวคำรายงาน ซึ่งมีเกษตรกรเข้าร่วมพิธีในการเปิดงานครั้งนี้เป็นจำนวนมาก
ในการจัดงานครั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามและประเมินผลการจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ พบว่าเกษตรกรตัวอย่างที่เข้ามาใช้บริการในคลินิก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 50.62 เพศชายร้อยละ 49.38 โดยมีช่วงอายุส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 51 - 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.57 รองลงมามีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 28.40 ส่วนเกษตรกรที่มีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 16.05 และเกษตรกรที่มีอายุระหว่าง 21 - 30 ปี มีเพียงร้อยละ 4.94 เท่านั้น ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 64.20 รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 30.86 ส่วนเกษตรกรที่จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาคิดเป็นร้อยละ 3.07 และเกษตรกรที่ไม่ได้รับการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 1.23 สำหรับอาชีพของเกษตรกรพบว่า ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ในด้านการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรเกี่ยวกับการลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการปรึกษาตามคลินิกต่างๆ พบว่า ร้อยละ 100 ให้คำตอบว่ามีความสะดวกรวดเร็ว การชี้แจงปัญหาและข้อแนะนำของเจ้าหน้าที่ต่อเกษตรกรพบว่า ร้อยละ 80 ได้รับความพึงพอใจมาก และร้อยละ 20 มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ด้านเครื่องมืออุปกรณ์ ร้อยละ 80.24 เกษตรกรตัวอย่างทั้งหมดมีความพึงพอใจมาก ที่เหลือร้อยละ 19.76 มีความพึงพอใจระดับปานกลาง ส่วนสถานที่ในการจัดงาน เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากเช่นกัน เพราะบริเวณจัดงานมีเส้นทางไปมาสะดวก พบเห็นง่าย ส่วนความพร้อมของเจ้าหน้าที่ทั้งด้านบริการและด้านวิชาการตามคลินิก จะเห็นได้ว่ามีเจ้าหน้าที่เพียงพอ มีความกระตือรือร้น มีความชำนาญ อีกทั้งได้เคยผ่านการปฏิบัติงานมาแล้ว ทำให้เกษตรกรทราบและเข้าใจปัญหาต่างๆ ได้ถูกต้องเพื่อที่จะนำไปแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-