กรุงเทพ--20 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อสื่อมวลชน กรณีที่อดีตข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ 3 ท่าน ได้อภิปรายที่เวทีปราศรัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 ว่าไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโต้อดีตข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศดังกล่าว แต่เนื่องจากการอภิปรายมีเนื้อหาที่พาดพิงถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยที่ไม่มีมูลความจริงและพาดพิงบุคคลระดับผู้นำของต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยโดยรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำการชี้แจงเพื่อความเข้าใจของสาธารณชน ดังนี้
1. อินเดีย
ตามที่มีการกล่าวถึงการเดินทางเยือนอินเดียของนายกรัฐมนตรี ดร. กันตธีร์ฯ ยืนยันว่า ไม่มีประเด็นด้านธุรกิจของบุคคลใดๆ และการเยือนก็มีผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีบทบาทสูงทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาค การเยือนของนายกรัฐมนตรีได้มีผลสำเร็จในการเพิ่มปริมาณการค้า การจัดทำ FTA การเข้าร่วม ACD ของอินเดีย และความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC เป็นต้น ในฐานะที่อินเดียมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อไทย การหารือระหว่าง นรม.กับฝ่ายอินเดียล้วนเป็นเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย มิได้มีการหารือเรื่องใดที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางธุรกิจเฉพาะของบุคคลหรือบริษัทใด
ดร. กันตธีร์ฯ ยืนยันด้วยว่า ได้อยู่กับนายกรัฐมนตรีตลอดเวลาในการเยือนต่างประเทศในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เห็นว่ามีการยกเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวขึ้นหารือกับฝ่ายต่างประเทศเลย ตั้งแต่เช้าจนดึกมีแต่การทำงานที่เป็นเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติเท่านั้น
2. กัมพูชา
ในกรณีของกัมพูชา ซึ่งอดีตข้าราชการได้กล่าวถึงประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ รวมทั้งมีการกล่าวพาดพิงถึงผู้นำกัมพูชาอย่างไม่เหมาะสมและปราศจากความจริง และหลายประเด็นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศได้ยืนยันว่า หลังเหตุการณ์เผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญแล้ว ได้มีการชดเชยค่าเสียหาย จำนวน 251 ล้านบาท โดยเป็นเงินของฝ่ายกัมพูชาเอง เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อความสูญเสียต่อสถานที่ราชการไทยที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเรื่องนี้มีหลักฐานที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบจากบุคคลที่มีส่วนในการเจรจากับฝ่ายกัมพูชาในช่วงนั้นได้ สำหรับการชดเชยค่าเสียหายกับภาคเอกชนไทยก็ได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนบัดนี้ซึ่งทราบว่าฝ่ายกัมพูชาได้ชดใช้ให้ภาคเอกชนไทย มากกว่าร้อยละ 90 แล้ว
ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาอยู่ในระดับที่ดีมาก สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กล่าวกับ ดร. กันตธีร์ฯ เองว่า ตนเห็นว่าความสัมพันธ์สองฝ่ายขณะนี้อยู่ในระดับที่ดีที่สุด
ดร. กันตธีร์ฯ ย้ำด้วยว่า การกล่าวถึงมิตรประเทศโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านควรเป็นไปด้วยความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณที่เหมาะสม โดยควรคำนึงถึงความรู้สึกของทางการและประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย
3. พม่า
พม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย มีพรมแดนที่ติดต่อกันยาวมาก คือ 2,401 กม. การมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้มีการพัฒนาความสัมพันธ์สองฝ่าย จนทำให้มีความร่วมมือระหว่างกันหลายด้าน เช่น ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน นอกจากนั้น ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังมีบทบาทเป็นประตูในการเชื่อมโยงระหว่างพม่าและประชาคมระหว่างประเทศ และสะท้อนความห่วงกังวลของประชาคมโลกให้ฝ่ายพม่าได้รับทราบ เช่น ในเรื่องของวาระการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ซึ่งไทยเองมีบทบาทในการโน้มน้าว ทั้งนี้ รัฐบาลไทยก็มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องพม่า คือต้องการผลักดันให้ ให้กระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตยในพม่ามีความก้าวหน้า และให้มีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และล่าสุดก็คือ การผลักดันให้พม่ายอมรับการเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย ในฐานะตัวแทนของอาเซียน ซึ่ง ดร. กันตธีร์ฯ ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับฝ่ายพม่าเองในหลายโอกาส และนานาประเทศได้แสดงความชื่นชมบทบาทของไทยในเรื่องนี้
4. การเจรจาเขตการค้าเสรี (FTAs)
รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่า ตามที่มีการกล่าวหาว่า รัฐบาลได้ตั้งคนที่ไม่มีความรู้ความสามารถมาเป็นหัวหน้าคณะเจรจา FTAs นั้น ก็ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดว่า หัวหน้าคณะเจรจา FTAs ฝ่ายไทยทุกท่าน ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์
5. ภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างชาติ
ตามที่อดีตข้าราชการได้กล่าวว่า ภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างชาติภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ตกต่ำย่ำแย่นั้น ก็ไม่เป็นความจริง ปัจจุบันศักดิ์ศรีของประเทศไทยมีสูงมาก ไทยมีบทบาทเด่นชัดยิ่งขึ้นในระดับภูมิภาคและระดับโลก และได้เปลี่ยนสถานะของตนเองจากประเทศผู้รับความช่วยเหลือเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ และประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศมหาอำนาจ ได้เริ่มมองไทยในฐานะหุ้นส่วน (partner) เห็นได้จากการที่ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศเต็มใจทำแผนปฏิบัติการร่วม (Joint Plans of Action) กับประเทศไทย ซึ่งแสดงว่าฝ่ายต่างๆ ยอมรับและให้ความสำคัญกับไทยยิ่งขึ้นมาก
รัฐมนตรีต่างประเทศได้ขอร้องทุกฝ่ายว่า การกล่าวถึงประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีความละเอียดอ่อนและอาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของมิตรประเทศ ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะการกล่าวถึงผู้นำของมิตรประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และย้ำว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศเชิงรุกเพื่อรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติโดยมุ่งเน้นการขยายความร่วมมือทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกับประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด ซึ่งทำให้บทบาทของไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อสื่อมวลชน กรณีที่อดีตข้าราชการระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ 3 ท่าน ได้อภิปรายที่เวทีปราศรัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บริเวณทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2549 ว่าไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโต้อดีตข้าราชการของกระทรวงการต่างประเทศดังกล่าว แต่เนื่องจากการอภิปรายมีเนื้อหาที่พาดพิงถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยที่ไม่มีมูลความจริงและพาดพิงบุคคลระดับผู้นำของต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยโดยรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำการชี้แจงเพื่อความเข้าใจของสาธารณชน ดังนี้
1. อินเดีย
ตามที่มีการกล่าวถึงการเดินทางเยือนอินเดียของนายกรัฐมนตรี ดร. กันตธีร์ฯ ยืนยันว่า ไม่มีประเด็นด้านธุรกิจของบุคคลใดๆ และการเยือนก็มีผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีบทบาทสูงทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาค การเยือนของนายกรัฐมนตรีได้มีผลสำเร็จในการเพิ่มปริมาณการค้า การจัดทำ FTA การเข้าร่วม ACD ของอินเดีย และความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMSTEC เป็นต้น ในฐานะที่อินเดียมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อไทย การหารือระหว่าง นรม.กับฝ่ายอินเดียล้วนเป็นเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย มิได้มีการหารือเรื่องใดที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางธุรกิจเฉพาะของบุคคลหรือบริษัทใด
ดร. กันตธีร์ฯ ยืนยันด้วยว่า ได้อยู่กับนายกรัฐมนตรีตลอดเวลาในการเยือนต่างประเทศในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้เห็นว่ามีการยกเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวขึ้นหารือกับฝ่ายต่างประเทศเลย ตั้งแต่เช้าจนดึกมีแต่การทำงานที่เป็นเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติเท่านั้น
2. กัมพูชา
ในกรณีของกัมพูชา ซึ่งอดีตข้าราชการได้กล่าวถึงประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ รวมทั้งมีการกล่าวพาดพิงถึงผู้นำกัมพูชาอย่างไม่เหมาะสมและปราศจากความจริง และหลายประเด็นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศได้ยืนยันว่า หลังเหตุการณ์เผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญแล้ว ได้มีการชดเชยค่าเสียหาย จำนวน 251 ล้านบาท โดยเป็นเงินของฝ่ายกัมพูชาเอง เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อความสูญเสียต่อสถานที่ราชการไทยที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเรื่องนี้มีหลักฐานที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบจากบุคคลที่มีส่วนในการเจรจากับฝ่ายกัมพูชาในช่วงนั้นได้ สำหรับการชดเชยค่าเสียหายกับภาคเอกชนไทยก็ได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนบัดนี้ซึ่งทราบว่าฝ่ายกัมพูชาได้ชดใช้ให้ภาคเอกชนไทย มากกว่าร้อยละ 90 แล้ว
ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาอยู่ในระดับที่ดีมาก สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้กล่าวกับ ดร. กันตธีร์ฯ เองว่า ตนเห็นว่าความสัมพันธ์สองฝ่ายขณะนี้อยู่ในระดับที่ดีที่สุด
ดร. กันตธีร์ฯ ย้ำด้วยว่า การกล่าวถึงมิตรประเทศโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านควรเป็นไปด้วยความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณที่เหมาะสม โดยควรคำนึงถึงความรู้สึกของทางการและประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย
3. พม่า
พม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย มีพรมแดนที่ติดต่อกันยาวมาก คือ 2,401 กม. การมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้มีการพัฒนาความสัมพันธ์สองฝ่าย จนทำให้มีความร่วมมือระหว่างกันหลายด้าน เช่น ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน นอกจากนั้น ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังมีบทบาทเป็นประตูในการเชื่อมโยงระหว่างพม่าและประชาคมระหว่างประเทศ และสะท้อนความห่วงกังวลของประชาคมโลกให้ฝ่ายพม่าได้รับทราบ เช่น ในเรื่องของวาระการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ซึ่งไทยเองมีบทบาทในการโน้มน้าว ทั้งนี้ รัฐบาลไทยก็มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องพม่า คือต้องการผลักดันให้ ให้กระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตยในพม่ามีความก้าวหน้า และให้มีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และล่าสุดก็คือ การผลักดันให้พม่ายอมรับการเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย ในฐานะตัวแทนของอาเซียน ซึ่ง ดร. กันตธีร์ฯ ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับฝ่ายพม่าเองในหลายโอกาส และนานาประเทศได้แสดงความชื่นชมบทบาทของไทยในเรื่องนี้
4. การเจรจาเขตการค้าเสรี (FTAs)
รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวว่า ตามที่มีการกล่าวหาว่า รัฐบาลได้ตั้งคนที่ไม่มีความรู้ความสามารถมาเป็นหัวหน้าคณะเจรจา FTAs นั้น ก็ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดว่า หัวหน้าคณะเจรจา FTAs ฝ่ายไทยทุกท่าน ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์
5. ภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างชาติ
ตามที่อดีตข้าราชการได้กล่าวว่า ภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างชาติภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ตกต่ำย่ำแย่นั้น ก็ไม่เป็นความจริง ปัจจุบันศักดิ์ศรีของประเทศไทยมีสูงมาก ไทยมีบทบาทเด่นชัดยิ่งขึ้นในระดับภูมิภาคและระดับโลก และได้เปลี่ยนสถานะของตนเองจากประเทศผู้รับความช่วยเหลือเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ และประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศมหาอำนาจ ได้เริ่มมองไทยในฐานะหุ้นส่วน (partner) เห็นได้จากการที่ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศเต็มใจทำแผนปฏิบัติการร่วม (Joint Plans of Action) กับประเทศไทย ซึ่งแสดงว่าฝ่ายต่างๆ ยอมรับและให้ความสำคัญกับไทยยิ่งขึ้นมาก
รัฐมนตรีต่างประเทศได้ขอร้องทุกฝ่ายว่า การกล่าวถึงประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีความละเอียดอ่อนและอาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของมิตรประเทศ ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะการกล่าวถึงผู้นำของมิตรประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และย้ำว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศเชิงรุกเพื่อรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติโดยมุ่งเน้นการขยายความร่วมมือทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกับประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด ซึ่งทำให้บทบาทของไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-