นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนมิถุนายน 2549 สูงกว่าประมาณการ 1,709 ล้านบาท และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548-มิถุนายน 2549) รัฐบาลยังคงจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ 7,738 ล้านบาท และสูงกว่าปีที่แล้ว 69,660 ล้านบาท
1. เดือนมิถุนายน 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 86,436 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,709 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.0 (แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.5) เนื่องจากได้มี การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ จำนวน 18,518 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 10,459 ล้านบาท หรือร้อยละ 129.8
หน่วยงานที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ได้แก่ กรมสรรพากรซึ่งสูงกว่าประมาณการ 2,659 ล้านบาท ทั้งนี้ ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ร้อยละ 4.9 และสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.9 นอกจากนี้ การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นยังสูงกว่าประมาณการ 6,240 ล้านบาท เนื่องจากได้รับรายได้จากเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมนำส่งคลัง 7,810 ล้านบาท สูงกว่าที่คาดไว้ 6,310 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากราคาปิโตรเลียมที่ปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับหน่วยงานที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ได้แก่ กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,934 ล้านบาท (หรือร้อยละ 7.4) และ 2,334 ล้านบาท (หรือร้อยละ 22.4) ตามลำดับ ตลอดจนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 3,400 ล้านบาท (หรือ ร้อยละ 26.4) เนื่องจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,776 ล้านบาท นอกจากนี้ การท่าเรือ แห่งประเทศไทย และธนาคารออมสินได้นำส่งรายได้ก่อนกำหนด
2. ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — มิถุนายน 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,004,319 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,738 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.5) ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และการนำส่งรายได้ของหน่วยงานอื่นที่สูงกว่าประมาณการ
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 748,953 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 37,049 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.9) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 15,234 และ 8,665 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.1 และ 21.2 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.1 และ 39.8 ตามลำดับ) ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในประเทศสูงกว่าประมาณการร้อยละ 11.5 และสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 17.8 ซึ่งสอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2549 ที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 205,416 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 27,260 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.8) โดยภาษีน้ำมันได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ภาษีรถยนต์ได้รับผลกระทบจากปริมาณรถยนต์นั่งที่มี ซี.ซี. สูง ระหว่าง 2001-2500 ซี.ซี. และ 2500-3000 ซี.ซี. ซึ่งเสียภาษีในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 35-40 ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีที่แล้วประมาณร้อยละ 40
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 72,737 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,463 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.0) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ ต่ำกว่าประมาณการ 17,419 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.8 โดยได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 121,405 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 18,839 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.4 เนื่องจากทั้งส่วนราชการอื่น และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ โดยรายได้ส่วนราชการอื่นได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และรายได้จากเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ซึ่งยังเกินเป้าหมาย 7,738 ล้านบาท และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2549 ที่อาจจะชะลอตัวลงบ้าง กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2549 จะใกล้เคียงกับประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่ตั้งไว้ (1.36 ล้านล้านบาท)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 65/2549 12 กรกฎาคม 49--
1. เดือนมิถุนายน 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 86,436 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,709 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.0 (แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.5) เนื่องจากได้มี การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ จำนวน 18,518 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 10,459 ล้านบาท หรือร้อยละ 129.8
หน่วยงานที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ได้แก่ กรมสรรพากรซึ่งสูงกว่าประมาณการ 2,659 ล้านบาท ทั้งนี้ ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ร้อยละ 4.9 และสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16.9 นอกจากนี้ การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นยังสูงกว่าประมาณการ 6,240 ล้านบาท เนื่องจากได้รับรายได้จากเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมนำส่งคลัง 7,810 ล้านบาท สูงกว่าที่คาดไว้ 6,310 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากราคาปิโตรเลียมที่ปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับหน่วยงานที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ได้แก่ กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,934 ล้านบาท (หรือร้อยละ 7.4) และ 2,334 ล้านบาท (หรือร้อยละ 22.4) ตามลำดับ ตลอดจนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 3,400 ล้านบาท (หรือ ร้อยละ 26.4) เนื่องจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,776 ล้านบาท นอกจากนี้ การท่าเรือ แห่งประเทศไทย และธนาคารออมสินได้นำส่งรายได้ก่อนกำหนด
2. ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — มิถุนายน 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,004,319 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,738 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.5) ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และการนำส่งรายได้ของหน่วยงานอื่นที่สูงกว่าประมาณการ
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 748,953 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 37,049 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.9) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 15,234 และ 8,665 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.1 และ 21.2 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.1 และ 39.8 ตามลำดับ) ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคในประเทศสูงกว่าประมาณการร้อยละ 11.5 และสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 17.8 ซึ่งสอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2549 ที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 205,416 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 27,260 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.8) โดยภาษีน้ำมันได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ภาษีรถยนต์ได้รับผลกระทบจากปริมาณรถยนต์นั่งที่มี ซี.ซี. สูง ระหว่าง 2001-2500 ซี.ซี. และ 2500-3000 ซี.ซี. ซึ่งเสียภาษีในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 35-40 ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีที่แล้วประมาณร้อยละ 40
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 72,737 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,463 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.0) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ ต่ำกว่าประมาณการ 17,419 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.8 โดยได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 121,405 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 18,839 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.4 เนื่องจากทั้งส่วนราชการอื่น และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ โดยรายได้ส่วนราชการอื่นได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และรายได้จากเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ซึ่งยังเกินเป้าหมาย 7,738 ล้านบาท และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2549 ที่อาจจะชะลอตัวลงบ้าง กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2549 จะใกล้เคียงกับประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่ตั้งไว้ (1.36 ล้านล้านบาท)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 65/2549 12 กรกฎาคม 49--