ภาคการผลิตอุตฯไตรมาสที่ 2 เครื่องแรง ส่งดัชนีอุตฯ พุ่งร้อยละ 6 จากปีก่อน ชี้การผลิตยานยนต์-อิเล็กทรอนิกส์ของไทยแข็งแกร่ง หนุนภาคอุตฯโตต่อเนื่องได้อีก
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้สรุปภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2549 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม 215 ผลิตภัณฑ์ พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 161.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากระดับ 152.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.4 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 อยู่ที่ระดับ 68.17 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2548 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางอื่นๆ
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ในไตรมาสที่สองของปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตรถยนต์ภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.21 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.83 และ 8.95 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก แต่สำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ หรือรถบรรทุกขนาดเล็กปริมาณการผลิต ลดลงร้อยละ 19.03 ซึ่งเป็นผลจากภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ความต้องการใช้รถจึงลดลงเช่นกัน
ด้านการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 19.83 ส่วนการจำหน่ายภาพรวมในประเทศ พบว่าปริมาณการจำหน่ายรถยนต์รวม ลดลงร้อยละ 8.15 ส่วนมากเป็นการลดลงของรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.93, 20.39 และ 45.16 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว จากภาวะน้ำมันแพง อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
จึงทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงด้วย แต่ยังคงมีการขยายตัวในส่วนของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลกว่าร้อยละ 2.51 เนื่องจากค่ายรถได้ออกรุ่นใหม่เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 การผลิตยังคงขยายตัวเนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ ขณะที่ตลาดในประเทศได้ชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากมีปัจจัยลบหลายด้านมากระทบ ได้แก่ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดการชะลอการตัดสินใจซื้อ และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจนส่งผลทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคในความมั่นใจด้านเศรษฐกิจการเมืองในอนาคต
สำหรับ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ คือ อีกปัจจัยหนุนที่ส่งผลให้ดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่สำคัญของกลุ่ม อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาวะการผลิตโดยรวมของกลุ่มนี้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.06 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮาร์ดดิสไดร์ฟ (HDD) และ IC ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าค่อนข้างทรงตัวร้อยละ 0.88
สำหรับการส่งออกโดยรวมของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ปรับตัวดีขึ้น โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 380,342 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 19 ในขณะที่สินค้าไฟฟ้าหลายตัวมีมูลค่าการส่งออกลดลง เช่น เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก เป็นต้น
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า แนวโน้มดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีในอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เนื่องจากปัจจัยหนุนด้านการส่งออกที่ดี แต่โดยภาพรวมแล้วยังมีปัจจัยลบที่กระทบต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการชะลอตัวของการบริโภคในประเทศ ซึ่ง สศอ. จะได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมการรองรับได้อย่างทันท่วงทีต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้สรุปภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2549 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม 215 ผลิตภัณฑ์ พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 161.64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากระดับ 152.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.4 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 อยู่ที่ระดับ 68.17 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2548 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางอื่นๆ
ดร.อรรชกา เปิดเผยว่า การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ในไตรมาสที่สองของปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตรถยนต์ภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.21 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.83 และ 8.95 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก แต่สำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ หรือรถบรรทุกขนาดเล็กปริมาณการผลิต ลดลงร้อยละ 19.03 ซึ่งเป็นผลจากภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ความต้องการใช้รถจึงลดลงเช่นกัน
ด้านการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 19.83 ส่วนการจำหน่ายภาพรวมในประเทศ พบว่าปริมาณการจำหน่ายรถยนต์รวม ลดลงร้อยละ 8.15 ส่วนมากเป็นการลดลงของรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 6.93, 20.39 และ 45.16 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว จากภาวะน้ำมันแพง อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
จึงทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงด้วย แต่ยังคงมีการขยายตัวในส่วนของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลกว่าร้อยละ 2.51 เนื่องจากค่ายรถได้ออกรุ่นใหม่เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2549 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 การผลิตยังคงขยายตัวเนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ ขณะที่ตลาดในประเทศได้ชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากมีปัจจัยลบหลายด้านมากระทบ ได้แก่ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดการชะลอการตัดสินใจซื้อ และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจนส่งผลทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคในความมั่นใจด้านเศรษฐกิจการเมืองในอนาคต
สำหรับ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ คือ อีกปัจจัยหนุนที่ส่งผลให้ดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่สำคัญของกลุ่ม อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาวะการผลิตโดยรวมของกลุ่มนี้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.06 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮาร์ดดิสไดร์ฟ (HDD) และ IC ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าค่อนข้างทรงตัวร้อยละ 0.88
สำหรับการส่งออกโดยรวมของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ปรับตัวดีขึ้น โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 380,342 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 19 ในขณะที่สินค้าไฟฟ้าหลายตัวมีมูลค่าการส่งออกลดลง เช่น เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก เป็นต้น
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า แนวโน้มดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีในอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เนื่องจากปัจจัยหนุนด้านการส่งออกที่ดี แต่โดยภาพรวมแล้วยังมีปัจจัยลบที่กระทบต่อการขยายตัวของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการชะลอตัวของการบริโภคในประเทศ ซึ่ง สศอ. จะได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมการรองรับได้อย่างทันท่วงทีต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-