หอมหัวใหญ่ ราคาพุ่ง สูงกว่าปีที่แล้วเกือบเท่าตัว ผลจากรัฐมีนโยบายควบคุมการผลิต ไม่ให้เกินความต้องการของตลาด และกระจายผลผลิตแบบไม่กระจุกตัว เป็นตัวอย่างให้ข้อคิดแก่เกษตรกรที่จะเพาะปลูกได้
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การผลิตหอมหัวใหญ่ของประเทศไทยมีปัญหามาตลอด เนื่องจากเป็นพืชที่ผลผลิตออกตามฤดูกาลและกระจุกตัวภายใน 2 เดือน คือ เดือน มีนาคม - เมษายน ของทุกปี ประกอบกับหอมหัวใหญ่เป็นพืชเมืองหนาว เน่าเสียง่าย เกษตรกรจึงประสบปัญหาและขาดทุนเกือบทุกปี รัฐบาลทุกสมัยได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหามาตลอด โดยการควบคุมเมล็ดพันธุ์ที่ต้องนำเข้า และวางแผนกระจายเวลาผลผลิตให้ออกสู่ตลาดแบบไม่กระจุกตัว โดยผ่านระบบสหกรณ์ซึ่งมีอยู่แล้วทุกแหล่งผลิตที่ กาญจนบุรี ตาคลี สันป่าตอง แม่วาง ฝาง และผาตั้ง ซึ่งในปีนี้ ประเทศไทยเพาะปลูกหอมหัวใหญ่ ทั้งหมด 11,330ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 7 % ผลผลิตคาดว่าจะได้ 54,307 ตัน ลดลง 5 % ราคาเฉลี่ยถึงวันนี้ 8.70 บาท/กก. ซึ่งปีที่แล้วราคาเฉลี่ยทั้งปี 3.98 บาท/กก. นับว่าสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ขณะที่ต้นทุนการผลิตประมาณ 4.80 บาท/กก. เพราะหอมหัวใหญ่ยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีการใช้ภายในประเทศปีละประมาณ 45,000 ตัน ส่งออกปีละประมาณ 25,000 ตัน มีการนำเข้าบ้างในช่วงปลายปีที่ไม่มีผลผลิตในประเทศ ปีละประมาณ 13,000 ตัน ซึ่งประเทศที่เป็นคู่ค้านำเข้าจากไทย คือ ญี่ปุ่น มาเลเซีย คู่แข่งที่สำคัญคือ จีน เวียดนาม
นางอัญชลีกล่าวทิ้งท้ายว่า จากกรณีดังกล่าว น่าจะเป็นตัวอย่างและข้อคิดที่ดีแก่เกษตรกรในการตัดสินใจเพาะปลูกพืชได้ว่า ควรศึกษาด้านการตลาดก่อนตัดสินใจเพาะปลูก เพื่อไม่ให้ประสบปัญหาและ การขาดทุนที่ตามมา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การผลิตหอมหัวใหญ่ของประเทศไทยมีปัญหามาตลอด เนื่องจากเป็นพืชที่ผลผลิตออกตามฤดูกาลและกระจุกตัวภายใน 2 เดือน คือ เดือน มีนาคม - เมษายน ของทุกปี ประกอบกับหอมหัวใหญ่เป็นพืชเมืองหนาว เน่าเสียง่าย เกษตรกรจึงประสบปัญหาและขาดทุนเกือบทุกปี รัฐบาลทุกสมัยได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหามาตลอด โดยการควบคุมเมล็ดพันธุ์ที่ต้องนำเข้า และวางแผนกระจายเวลาผลผลิตให้ออกสู่ตลาดแบบไม่กระจุกตัว โดยผ่านระบบสหกรณ์ซึ่งมีอยู่แล้วทุกแหล่งผลิตที่ กาญจนบุรี ตาคลี สันป่าตอง แม่วาง ฝาง และผาตั้ง ซึ่งในปีนี้ ประเทศไทยเพาะปลูกหอมหัวใหญ่ ทั้งหมด 11,330ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 7 % ผลผลิตคาดว่าจะได้ 54,307 ตัน ลดลง 5 % ราคาเฉลี่ยถึงวันนี้ 8.70 บาท/กก. ซึ่งปีที่แล้วราคาเฉลี่ยทั้งปี 3.98 บาท/กก. นับว่าสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ขณะที่ต้นทุนการผลิตประมาณ 4.80 บาท/กก. เพราะหอมหัวใหญ่ยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีการใช้ภายในประเทศปีละประมาณ 45,000 ตัน ส่งออกปีละประมาณ 25,000 ตัน มีการนำเข้าบ้างในช่วงปลายปีที่ไม่มีผลผลิตในประเทศ ปีละประมาณ 13,000 ตัน ซึ่งประเทศที่เป็นคู่ค้านำเข้าจากไทย คือ ญี่ปุ่น มาเลเซีย คู่แข่งที่สำคัญคือ จีน เวียดนาม
นางอัญชลีกล่าวทิ้งท้ายว่า จากกรณีดังกล่าว น่าจะเป็นตัวอย่างและข้อคิดที่ดีแก่เกษตรกรในการตัดสินใจเพาะปลูกพืชได้ว่า ควรศึกษาด้านการตลาดก่อนตัดสินใจเพาะปลูก เพื่อไม่ให้ประสบปัญหาและ การขาดทุนที่ตามมา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-