นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้แถลงผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนมีนาคม 2549 และในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 - มีนาคม 2549) ซึ่งสูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแนวโน้มการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549 ดังนี้
1. เดือนมีนาคม 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 103,169 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,196 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.3) โดยมีสาเหตุจากกรมสรรพากรและหน่วยงานอื่นจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 4.2 และร้อยละ 53.3 ตามลำดับ
ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญคือภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้ 13,437 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,621 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 26.3) สะท้อนถึงธุรกรรมและการประกอบการของบริษัทต่าง ๆ ที่ยังมีทิศทางที่ดี ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเก็บได้เกินเป้าหมายเล็กน้อย
นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ 12,292 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 5,656 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.2(สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 59.4) โดยธนาคารออมสิน สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และโรงงานยาสูบนำส่งรายได้จำนวน 4,500 2,349 1,500 และ 1,390 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับรายได้ภาษีจากกรมสรรพสามิตเก็บได้ จำนวน 24,723 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,674 ล้านบาท ทั้งนี้ สาเหตุจากผลกระทบมาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมันและยาสูบ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้รถยนต์และสังคม และรายได้ภาษีจากกรมศุลกากรเก็บได้ 8,111 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,089 ล้านบาท เนื่องจากผลกระทบของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าออกของไทย ผ่านมาตรการการลดและการปรับปรุงอากรขาเข้าต่างๆ
2. ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — มีนาคม 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 568,004 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,535 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.5) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรสูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 8.6 และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 37.1
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 409,007 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตาม
เอกสารงบประมาณ 32,337 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.4) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 12,160 และ 11,907 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 และ 15.3 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.6 และ 16.7 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 132,745 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 18,777 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.0) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีน้ำมันและภาษียาสูบที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการมาโดยตลอด เนื่องจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และมาตรการเพิ่มภาษีสรรพสามิตยาสูบ ซึ่งส่งผลต่อปริมาณการบริโภคยาสูบที่ลดลง และผู้บริโภคได้ปรับเปลี่ยนมาบริโภคบุหรี่ราคาถูกในสัดส่วนที่สูงขึ้นด้วย
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 50,010 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 10,390 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.6) โดยอากรขาเข้า จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการมาโดยตลอด ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรสิ่งพิมพ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมดังกล่าวในอนาคต
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 62,294 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 9,443 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.9 รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารออมสิน โรงงานยาสูบ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยนำส่งรายได้จำนวน 6,000 5,835 และ 5,854 ล้านบาท ตามลำดับ
3. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2549
จากผลการจัดเก็บรายได้ในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2549 รวมทั้งการที่มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลได้สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2549 จึงคาดว่าจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิต และคาดว่ารัฐบาลจะสามารถเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมายที่ระบุไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.36 ล้านล้านบาท)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34/2549 10 เมษายน 49--
1. เดือนมีนาคม 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 103,169 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,196 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.3) โดยมีสาเหตุจากกรมสรรพากรและหน่วยงานอื่นจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 4.2 และร้อยละ 53.3 ตามลำดับ
ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญคือภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้ 13,437 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,621 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 26.3) สะท้อนถึงธุรกรรมและการประกอบการของบริษัทต่าง ๆ ที่ยังมีทิศทางที่ดี ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเก็บได้เกินเป้าหมายเล็กน้อย
นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ 12,292 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 5,656 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.2(สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 59.4) โดยธนาคารออมสิน สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และโรงงานยาสูบนำส่งรายได้จำนวน 4,500 2,349 1,500 และ 1,390 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับรายได้ภาษีจากกรมสรรพสามิตเก็บได้ จำนวน 24,723 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,674 ล้านบาท ทั้งนี้ สาเหตุจากผลกระทบมาตรการภาษีสรรพสามิตน้ำมันและยาสูบ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้รถยนต์และสังคม และรายได้ภาษีจากกรมศุลกากรเก็บได้ 8,111 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,089 ล้านบาท เนื่องจากผลกระทบของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าออกของไทย ผ่านมาตรการการลดและการปรับปรุงอากรขาเข้าต่างๆ
2. ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — มีนาคม 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 568,004 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,535 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.5) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรสูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 8.6 และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 37.1
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 409,007 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตาม
เอกสารงบประมาณ 32,337 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.4) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่สามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 12,160 และ 11,907 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 และ 15.3 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.6 และ 16.7 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 132,745 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 18,777 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.0) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีน้ำมันและภาษียาสูบที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการมาโดยตลอด เนื่องจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล และมาตรการเพิ่มภาษีสรรพสามิตยาสูบ ซึ่งส่งผลต่อปริมาณการบริโภคยาสูบที่ลดลง และผู้บริโภคได้ปรับเปลี่ยนมาบริโภคบุหรี่ราคาถูกในสัดส่วนที่สูงขึ้นด้วย
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 50,010 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 10,390 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.6) โดยอากรขาเข้า จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการมาโดยตลอด ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรสิ่งพิมพ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมดังกล่าวในอนาคต
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 62,294 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 9,443 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.9 รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารออมสิน โรงงานยาสูบ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยนำส่งรายได้จำนวน 6,000 5,835 และ 5,854 ล้านบาท ตามลำดับ
3. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2549
จากผลการจัดเก็บรายได้ในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2549 รวมทั้งการที่มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลได้สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2549 จึงคาดว่าจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิต และคาดว่ารัฐบาลจะสามารถเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมายที่ระบุไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.36 ล้านล้านบาท)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34/2549 10 เมษายน 49--