แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กระทรวงการต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา
อเมริกาเหนือ
กรุงเทพ--28 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 16 — 27 กรกฎาคม 2549 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการเจาะตลาดอาหารฮาลาลเชิงรุกในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ณ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของแผนงานการส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลไทยของกระทรวงการต่างประเทศตามยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่มีเป้าหมายให้ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก และสนับสนุนนโยบายครัวไทยสู่โลก รวมทั้งนโยบายการพัฒนาไทยไปสู่การเป็น Thailand Halal Hub ในอนาคต
แม้ว่าไทยจะมีข้อได้เปรียบในการเป็น “อู่ข้าวอู่น้ำ” และมีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมอาหาร โดยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก อย่างไรก็ตาม ไทยมิได้เป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องมีมาตรการเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวมุสลิมและผู้นำเข้า ทั้งในตลาดประเทศมุสลิมและตลาดประเทศอื่นๆ ที่มีผู้บริโภคอาหารฮาลาล เพื่อให้อาหารฮาลาลของไทยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในตลาดโลก
การดำเนินโครงการในครั้งนี้จึงมุ่งสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและประเทศผู้นำเข้าว่า ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลไทยถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามและได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร และเน้นการขยายตลาดอาหารฮาลาลไทยไปยังภูมิภาคใหม่ที่หลายฝ่ายมองข้าม กล่าวคือ ตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าการบริโภคอาหารฮาลาลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง จึงนับเป็นมิติใหม่ของการส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลไทย
การดำเนินการครั้งนี้มีผลเป็นรูปธรรม คือ การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ถึง 4 ฉบับ ระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลกับองค์กรมุสลิมชั้นนำที่ให้การตรวจสอบและรับรองฮาลาลของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมทั้งสิ้น 4 องค์กร คือ
- Islamic Food and Nutrition Council of America (IFANCA)
- Muslim Consumer Group (MCG)
-Islamic Society of North America Canada (ISNA Canada)
-Islamic Food Council of Europe (IFCE)
เพื่อการยอมรับตราสัญลักษณ์ฮาลาลและความมีมาตรฐานของอาหารฮาลาลของกันและกัน ซึ่งผลในทางปฏิบัติของการลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นผลให้มาตรฐานอาหารฮาลาลไทยได้รับการยอมรับและตราสัญลักษณ์ฮาลาลไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับในตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมทั้งตลาดประเทศอื่นที่องค์กรดังกล่าวข้างต้นให้บริการตรวจสอบและรับรองฮาลาลอยู่แล้ว
การดำเนินโครงการครั้งนี้สามารถสร้างภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลไทยที่มีเอกลักษณ์ กล่าวคือ สอดคล้องกับบทบัญญัติทางศาสนาและเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ฮาลาล (Halal Science) รวมทั้งเป็นการสนับสนุนกิจการฮาลาลของภาครัฐของไทยให้ปรากฏต่อสายตาขององค์กรมุสลิมและสถาบันต่างๆ ในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี โดยองค์กรและหน่วยงานที่คณะได้พบในระหว่างการเยือนได้ชื่นชมความสำเร็จในความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของไทย ซึ่งเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่มีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลเป็นศูนย์ปฏิบัติการแบบครบวงจรให้การสนับสนุนหน่วยงานศาสนาในการตรวจสอบและรับรองฮาลาล นับเป็นจุดแข็งและจุดขายของการประชาสัมพันธ์สินค้าฮาลาลไทย อันจะส่งผลให้ไทยมีความได้เปรียบกลุ่มประเทศผู้ส่งออกอาหารฮาลาลอื่นในการขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลของไทยต่อไป
โดยสรุป ความสำเร็จของโครงการข้างต้น นอกเหนือจากการสร้างเครือข่ายพันธมิตรโดยการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกันแล้ว ยังช่วยขจัดข้อครหาเรื่องความเป็นที่ยอมรับในตลาดอาหารฮาลาลโลก การดำเนินโครงการในครั้งนี้จึงเป็นการวางฐานการยอมรับใหม่อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดภูมิภาคอเมริกาเหนือ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยจะสามารถนำผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงแผนงานและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้มีการดำเนินงานเชิงรุกและมีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้การส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลไทยประสบผลสำเร็จและสะท้อนศักยภาพที่แท้จริงของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 16 — 27 กรกฎาคม 2549 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการเจาะตลาดอาหารฮาลาลเชิงรุกในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ณ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของแผนงานการส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลไทยของกระทรวงการต่างประเทศตามยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่มีเป้าหมายให้ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก และสนับสนุนนโยบายครัวไทยสู่โลก รวมทั้งนโยบายการพัฒนาไทยไปสู่การเป็น Thailand Halal Hub ในอนาคต
แม้ว่าไทยจะมีข้อได้เปรียบในการเป็น “อู่ข้าวอู่น้ำ” และมีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมอาหาร โดยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก อย่างไรก็ตาม ไทยมิได้เป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องมีมาตรการเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวมุสลิมและผู้นำเข้า ทั้งในตลาดประเทศมุสลิมและตลาดประเทศอื่นๆ ที่มีผู้บริโภคอาหารฮาลาล เพื่อให้อาหารฮาลาลของไทยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในตลาดโลก
การดำเนินโครงการในครั้งนี้จึงมุ่งสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและประเทศผู้นำเข้าว่า ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลไทยถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามและได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร และเน้นการขยายตลาดอาหารฮาลาลไทยไปยังภูมิภาคใหม่ที่หลายฝ่ายมองข้าม กล่าวคือ ตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าการบริโภคอาหารฮาลาลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง จึงนับเป็นมิติใหม่ของการส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลไทย
การดำเนินการครั้งนี้มีผลเป็นรูปธรรม คือ การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ถึง 4 ฉบับ ระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลกับองค์กรมุสลิมชั้นนำที่ให้การตรวจสอบและรับรองฮาลาลของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมทั้งสิ้น 4 องค์กร คือ
- Islamic Food and Nutrition Council of America (IFANCA)
- Muslim Consumer Group (MCG)
-Islamic Society of North America Canada (ISNA Canada)
-Islamic Food Council of Europe (IFCE)
เพื่อการยอมรับตราสัญลักษณ์ฮาลาลและความมีมาตรฐานของอาหารฮาลาลของกันและกัน ซึ่งผลในทางปฏิบัติของการลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นผลให้มาตรฐานอาหารฮาลาลไทยได้รับการยอมรับและตราสัญลักษณ์ฮาลาลไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับในตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมทั้งตลาดประเทศอื่นที่องค์กรดังกล่าวข้างต้นให้บริการตรวจสอบและรับรองฮาลาลอยู่แล้ว
การดำเนินโครงการครั้งนี้สามารถสร้างภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลไทยที่มีเอกลักษณ์ กล่าวคือ สอดคล้องกับบทบัญญัติทางศาสนาและเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ฮาลาล (Halal Science) รวมทั้งเป็นการสนับสนุนกิจการฮาลาลของภาครัฐของไทยให้ปรากฏต่อสายตาขององค์กรมุสลิมและสถาบันต่างๆ ในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี โดยองค์กรและหน่วยงานที่คณะได้พบในระหว่างการเยือนได้ชื่นชมความสำเร็จในความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของไทย ซึ่งเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่มีศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลเป็นศูนย์ปฏิบัติการแบบครบวงจรให้การสนับสนุนหน่วยงานศาสนาในการตรวจสอบและรับรองฮาลาล นับเป็นจุดแข็งและจุดขายของการประชาสัมพันธ์สินค้าฮาลาลไทย อันจะส่งผลให้ไทยมีความได้เปรียบกลุ่มประเทศผู้ส่งออกอาหารฮาลาลอื่นในการขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลของไทยต่อไป
โดยสรุป ความสำเร็จของโครงการข้างต้น นอกเหนือจากการสร้างเครือข่ายพันธมิตรโดยการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกันแล้ว ยังช่วยขจัดข้อครหาเรื่องความเป็นที่ยอมรับในตลาดอาหารฮาลาลโลก การดำเนินโครงการในครั้งนี้จึงเป็นการวางฐานการยอมรับใหม่อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดภูมิภาคอเมริกาเหนือ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยจะสามารถนำผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงแผนงานและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้มีการดำเนินงานเชิงรุกและมีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้การส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลไทยประสบผลสำเร็จและสะท้อนศักยภาพที่แท้จริงของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-