กรุงเทพ--5 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยเมื่อวันที่ 4 — 6 กันยายน 2549 ประเทศโอมานเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Muscat Regional Conference on Road Safety ภายใต้กรอบ ACD ที่กรุงมัสกัต โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศสมาชิก ACD จากทุกอนุภูมิภาค ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางถนนจากองค์การสหประชาชาติ และ NGO สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ที่ประชุมฯ ย้ำถึงความรุนแรงของปัญหาความปลอดภัยทางถนน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1.2 ล้านคน ต่อปี (ร้อยละ 89 เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา) และสร้างความเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าโดยประมาณ 518 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศต้องร่วมมือ กันในการแก้ปัญหา โดยจะต้องมีการกำหนดหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ
2. ที่ประชุมฯ รับฟังแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ WHO คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียตะวันตก (ESCWA) จากนั้น ประเทศสมาชิกฯ ได้เสนอ country paper เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางถนน
ในการนี้ ผู้แทนไทยได้เสนอเรื่องการจัดตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนของไทย เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหา
3. ที่ประชุมฯ ให้ความเห็นชอบเอกสาร Recommendation of Muscat Regional Road Safety Conference ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
3.1 Policy and Political Framework - เน้นให้ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับปัญหาความปลอดภัยทางถนน และให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติ ตลอดจนให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ACD ในเรื่องนี้ในปี 2551
3.2 Capacity Building / Knowledge Sharing / Best Practices / Data Collection — ขอให้ประเทศสมาชิกระบุหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายและรับทราบ best practices ของแต่ละประเทศ และที่ประชุมฯ มีมติให้วันที่ 25 เมษายน 2550 เป็น ACD Road Safety Day (องค์การสหประชาชาติประกาศให้ช่วงวันที่ 23-29 เมษายน 2550 เป็น UN Road Safety Week) โดยไทยจะเป็นผู้รวบรวมรายละเอียดกิจกรรมจากประเทศสมาชิกอื่นๆ และนำมาใส่ใน website : www.acddialogue.com เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ทราบทั่วกัน
3.3 Trauma Care / Victim Services / Rehabilitation — ขอให้ประเทศสมาชิกพิจารณาใช้แนวทางการดูแลรักษา และฟื้นฟูผู้บาดเจ็บที่องค์การอนามัยโลกได้จัดทำขึ้น และให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับความต้องการของผู้บาดเจ็บ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ด้วยเมื่อวันที่ 4 — 6 กันยายน 2549 ประเทศโอมานเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Muscat Regional Conference on Road Safety ภายใต้กรอบ ACD ที่กรุงมัสกัต โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศสมาชิก ACD จากทุกอนุภูมิภาค ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางถนนจากองค์การสหประชาชาติ และ NGO สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ที่ประชุมฯ ย้ำถึงความรุนแรงของปัญหาความปลอดภัยทางถนน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1.2 ล้านคน ต่อปี (ร้อยละ 89 เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา) และสร้างความเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าโดยประมาณ 518 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศต้องร่วมมือ กันในการแก้ปัญหา โดยจะต้องมีการกำหนดหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ
2. ที่ประชุมฯ รับฟังแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ WHO คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียตะวันตก (ESCWA) จากนั้น ประเทศสมาชิกฯ ได้เสนอ country paper เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางถนน
ในการนี้ ผู้แทนไทยได้เสนอเรื่องการจัดตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนของไทย เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหา
3. ที่ประชุมฯ ให้ความเห็นชอบเอกสาร Recommendation of Muscat Regional Road Safety Conference ซึ่งมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
3.1 Policy and Political Framework - เน้นให้ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับปัญหาความปลอดภัยทางถนน และให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติ ตลอดจนให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ACD ในเรื่องนี้ในปี 2551
3.2 Capacity Building / Knowledge Sharing / Best Practices / Data Collection — ขอให้ประเทศสมาชิกระบุหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายและรับทราบ best practices ของแต่ละประเทศ และที่ประชุมฯ มีมติให้วันที่ 25 เมษายน 2550 เป็น ACD Road Safety Day (องค์การสหประชาชาติประกาศให้ช่วงวันที่ 23-29 เมษายน 2550 เป็น UN Road Safety Week) โดยไทยจะเป็นผู้รวบรวมรายละเอียดกิจกรรมจากประเทศสมาชิกอื่นๆ และนำมาใส่ใน website : www.acddialogue.com เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ทราบทั่วกัน
3.3 Trauma Care / Victim Services / Rehabilitation — ขอให้ประเทศสมาชิกพิจารณาใช้แนวทางการดูแลรักษา และฟื้นฟูผู้บาดเจ็บที่องค์การอนามัยโลกได้จัดทำขึ้น และให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับความต้องการของผู้บาดเจ็บ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-