กรุงเทพ--22 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในช่วงที่สถานการณ์ในตะวันออกยังตึงเครียดอยู่นี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ออกประกาศเตือนคนไทยและแรงงานไทยให้ชลอการเดินทางไปทำงานในตะวันออกกลางไว้ก่อน รอดูจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายลง แล้วจึงค่อยเดินทางไป เพราะถือเป็นภารกิจสำคัญยิ่งที่ต้องคอยดูแลและปกป้องไม่ให้แรงงานไทยต้องเสี่ยงชีวิตทำงานในพื้นที่อันตราย
แต่โดยที่ขณะนี้ยังมีแรงงานไทยติดค้างอยู่ในเขตพื้นที่อันตรายหลายแห่ง อาทิ อิสราเอล เลบานอน และซีเรีย ในช่วงเหตุการณ์การสู้รบระหว่างกองทหารอิสราเอลและกลุ่ม Hizbullah ในเลบานอนทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สถานเอกอัครราชทูตไทยจึงต้องตรากตรำทำงานหนักมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว เพราะต้องส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปดูแลช่วยเหลือแรงงานไทยที่ทำงานในพื้นที่อันตรายอยู่เป็นระยะๆ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาดได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทางด้านชายแดนซีเรีย-เลบานอน เพื่อช่วยเหลือและส่งแรงงานไทยที่ประสงค์จะกลับเมืองไทย เดินทางกลับไปแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังมีแรงงานไทยบางคนต้องการจะอยู่ทำงานต่อในเลบานอน เจ้าหน้าที่ของเราจึงต้องอยู่รอประจำการที่กรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรียต่อไป และยังเช่าที่พักใกล้ชายแดนเลบานอน —ซีเรีย ไว้เพื่อรองรับคนไทยในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น
ส่วนทางด้านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ซึ่งอยู่ในเขตประเทศคู่สงคราม ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลและฝ่ายแรงงาน เดินทางไปเยี่ยมแรงงานไทยในเขตพื้นที่อันตรายทางภาคเหนือของอิสราเอล ซึ่งมีแรงงานไทยจำนวนนับร้อยคนแยกย้ายกันทำงานในโมชาฟ ซึ่งคล้ายๆ กับสหกรณ์การเกษตรในบ้านเรา นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่ม Hizbullah เพื่อดูแลและให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยเหล่านี้ให้อยู่รอดปลอดภัยจนถึงที่สุด
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2549 คณะเจ้าหน้าที่ได้ออกเดินทางไปโมชาฟคาเร็ม เบน ซิมร่า เป็นแห่งแรก ในตอนนั้นมีแรงงานไทยทำงานอยู่ประมาณ 45-50 คน แต่มีแรงงานไทยขอย้ายออกไปทำงานในพื้นที่ปลอดภัยเพียง 6 คน และที่โมชาฟรามอท นาฟตาลี คณะได้ร่วมประชุมกับแรงงานไทย 40 คน มีแรงงานไทยขอย้ายออกไปทำงานในพื้นที่ปลอดภัย 12 คน ส่วนที่เหลือยังประสงค์จะทำงานในโมชาฟนี้ต่อไป คณะจึงได้แนะนำให้แรงงานไทยที่เหลือปฏิบัติตามประกาศเตือนของทางการอิสราเอลและสถานทูตอย่างเคร่งครัดในเรื่องการเข้าไปหลบในหลุมหลบภัย และหากต้องการความช่วยเหลือจากสถานทูตก็สามารถโทรศัพท์ติดต่อได้ตลอดเวลา
ต่อมาคณะได้ประชุมร่วมกับแรงงานไทยจำนวน 12 คนในหลุมหลบภัยที่โมชาฟเยสด ฮาเมล่า มีแรงงานไทยทำงานอยู่ที่นี้ประมาณ 60 คน และประสงค์จะกลับประเทศไทยจำนวน 7 คน คณะจึงได้แนะนำให้แรงงานไทยที่เหลือปฏิบัติตนเช่นเดียวกับที่โมชาฟ รามอท นาฟตาลี หลังจากนั้น คณะได้เดินทางไปรับแรงงานไทยที่โมชาฟ ฮาโกสริม จำนวน 1 คนที่ขอย้ายไปทำงานในพื้นที่ปลอดภัยต่อไป
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2549 คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายแรงงาน และผู้จัดการบริษัทจัดหางาน Amit ได้เดินทางไปเยี่ยมแรงงานไทยที่แจ้งขอย้ายออกจากพื้นที่อันตรายทางภาคเหนือ และได้ย้ายแรงงานไทยจำนวน 19 คน จากโมชาฟรามอท นาฟตาลี โมชาฟเคเร็มบิน ซิมรา โมชาฟเมตูลา และโมชาฟเชตูลา ไปสู่พื้นที่ปลอดภัยแล้ว
ต่อมา คณะได้เดินทางไปเยี่ยมแรงงานไทย จำนวน 16 คน ที่โรงเพาะเห็ดใน โมชาฟซาริท ซึ่งอยู่ติดรั้วกั้นพรมแดนระหว่างอิสราเอลและเลบานอน โดยในจำนวนดังกล่าวมีแรงงานไทย 6 คน ได้ย้ายออกไปยังภาคใต้แล้ว แต่สมัครใจเดินทางกลับไปทำงานที่ โมชาฟซาริทในภาคเหนือดังเดิม
แรงงานไทยในโมชาฟซาริทได้เล่าให้คณะเจ้าหน้าที่ของเราฟังว่า ทหารอิสราเอลสามารถควบคุมสถานการณ์บริเวณชายแดนที่ติดกับที่ตั้งของโมชาฟนี้ไว้ได้แล้ว มีแต่กองกำลังอิสราเอลที่ยิงปืนใหญ่ไปยังฝ่ายเลบานอน โดยไม่มีการยิงตอบโต้จากฝ่ายเลบานอนเข้ามาทางฝ่ายอิสราเอลในบริเวณที่พวกตนทำงานอยู่หลายวันแล้ว คณะจึงได้ไปเยี่ยมแรงงานไทยอีก 2 คนที่ทำงานอยู่ห่างรั้วพรมแดนออกมา ซึ่งทั้งสองคนยังคงทำงานตามปกติ ทั้งนี้ ที่โมชาฟซาริทมีค่ายทหารอิสราเอลตั้งอยู่ และเป็นสถานที่ที่ฝ่าย Hizbullah ลักลอบเข้าไปลักพาตัวทหารอิสราเอล 2 คน และเป็นต้นเหตุของการสู้รบในขณะนี้
ที่โมชาฟเมตูลามีแรงงานไทยทำงานอยู่ประมาณ 40 คน โดยเกือบทั้งหมดเป็นแรงงานที่ทำงานในอิสราเอลมาแล้วกว่า 4 ปี และใกล้จะครบวาระการทำงาน ซึ่งทางการอิสราเอลอนุญาตให้แรงงานต่างชาติทำงานในอิสราเอลได้ไม่เกิน 5 ปี แรงงานไทยเหล่านี้จึงขอยู่ทำงานในโมชาฟต่อไป เพื่อรอดูสถานการณ์การสู้รบต่อไปก่อน และเมื่อเห็นว่ารุนแรงมากขึ้น ก็จะขอเดินทางกลับประเทศไทยไปเลย ขณะที่คณะอยู่ในโมชาฟเมตูลาเพื่อรอรับแรงงานไทย ได้มีจรวดของฝ่าย Hizbullah ตกลงใกล้ที่จอดรถยนต์ของผู้จัดการบริษัทจัดหางาน โดยคณะกำลังยืนพูดคุยกันอยู่ แต่โชคดีไม่มีผู้ใดได้รับอันตราย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในช่วงที่สถานการณ์ในตะวันออกยังตึงเครียดอยู่นี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ออกประกาศเตือนคนไทยและแรงงานไทยให้ชลอการเดินทางไปทำงานในตะวันออกกลางไว้ก่อน รอดูจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายลง แล้วจึงค่อยเดินทางไป เพราะถือเป็นภารกิจสำคัญยิ่งที่ต้องคอยดูแลและปกป้องไม่ให้แรงงานไทยต้องเสี่ยงชีวิตทำงานในพื้นที่อันตราย
แต่โดยที่ขณะนี้ยังมีแรงงานไทยติดค้างอยู่ในเขตพื้นที่อันตรายหลายแห่ง อาทิ อิสราเอล เลบานอน และซีเรีย ในช่วงเหตุการณ์การสู้รบระหว่างกองทหารอิสราเอลและกลุ่ม Hizbullah ในเลบานอนทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สถานเอกอัครราชทูตไทยจึงต้องตรากตรำทำงานหนักมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว เพราะต้องส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปดูแลช่วยเหลือแรงงานไทยที่ทำงานในพื้นที่อันตรายอยู่เป็นระยะๆ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาดได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทางด้านชายแดนซีเรีย-เลบานอน เพื่อช่วยเหลือและส่งแรงงานไทยที่ประสงค์จะกลับเมืองไทย เดินทางกลับไปแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ก็ยังมีแรงงานไทยบางคนต้องการจะอยู่ทำงานต่อในเลบานอน เจ้าหน้าที่ของเราจึงต้องอยู่รอประจำการที่กรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรียต่อไป และยังเช่าที่พักใกล้ชายแดนเลบานอน —ซีเรีย ไว้เพื่อรองรับคนไทยในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น
ส่วนทางด้านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ซึ่งอยู่ในเขตประเทศคู่สงคราม ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลและฝ่ายแรงงาน เดินทางไปเยี่ยมแรงงานไทยในเขตพื้นที่อันตรายทางภาคเหนือของอิสราเอล ซึ่งมีแรงงานไทยจำนวนนับร้อยคนแยกย้ายกันทำงานในโมชาฟ ซึ่งคล้ายๆ กับสหกรณ์การเกษตรในบ้านเรา นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่ม Hizbullah เพื่อดูแลและให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยเหล่านี้ให้อยู่รอดปลอดภัยจนถึงที่สุด
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2549 คณะเจ้าหน้าที่ได้ออกเดินทางไปโมชาฟคาเร็ม เบน ซิมร่า เป็นแห่งแรก ในตอนนั้นมีแรงงานไทยทำงานอยู่ประมาณ 45-50 คน แต่มีแรงงานไทยขอย้ายออกไปทำงานในพื้นที่ปลอดภัยเพียง 6 คน และที่โมชาฟรามอท นาฟตาลี คณะได้ร่วมประชุมกับแรงงานไทย 40 คน มีแรงงานไทยขอย้ายออกไปทำงานในพื้นที่ปลอดภัย 12 คน ส่วนที่เหลือยังประสงค์จะทำงานในโมชาฟนี้ต่อไป คณะจึงได้แนะนำให้แรงงานไทยที่เหลือปฏิบัติตามประกาศเตือนของทางการอิสราเอลและสถานทูตอย่างเคร่งครัดในเรื่องการเข้าไปหลบในหลุมหลบภัย และหากต้องการความช่วยเหลือจากสถานทูตก็สามารถโทรศัพท์ติดต่อได้ตลอดเวลา
ต่อมาคณะได้ประชุมร่วมกับแรงงานไทยจำนวน 12 คนในหลุมหลบภัยที่โมชาฟเยสด ฮาเมล่า มีแรงงานไทยทำงานอยู่ที่นี้ประมาณ 60 คน และประสงค์จะกลับประเทศไทยจำนวน 7 คน คณะจึงได้แนะนำให้แรงงานไทยที่เหลือปฏิบัติตนเช่นเดียวกับที่โมชาฟ รามอท นาฟตาลี หลังจากนั้น คณะได้เดินทางไปรับแรงงานไทยที่โมชาฟ ฮาโกสริม จำนวน 1 คนที่ขอย้ายไปทำงานในพื้นที่ปลอดภัยต่อไป
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2549 คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายแรงงาน และผู้จัดการบริษัทจัดหางาน Amit ได้เดินทางไปเยี่ยมแรงงานไทยที่แจ้งขอย้ายออกจากพื้นที่อันตรายทางภาคเหนือ และได้ย้ายแรงงานไทยจำนวน 19 คน จากโมชาฟรามอท นาฟตาลี โมชาฟเคเร็มบิน ซิมรา โมชาฟเมตูลา และโมชาฟเชตูลา ไปสู่พื้นที่ปลอดภัยแล้ว
ต่อมา คณะได้เดินทางไปเยี่ยมแรงงานไทย จำนวน 16 คน ที่โรงเพาะเห็ดใน โมชาฟซาริท ซึ่งอยู่ติดรั้วกั้นพรมแดนระหว่างอิสราเอลและเลบานอน โดยในจำนวนดังกล่าวมีแรงงานไทย 6 คน ได้ย้ายออกไปยังภาคใต้แล้ว แต่สมัครใจเดินทางกลับไปทำงานที่ โมชาฟซาริทในภาคเหนือดังเดิม
แรงงานไทยในโมชาฟซาริทได้เล่าให้คณะเจ้าหน้าที่ของเราฟังว่า ทหารอิสราเอลสามารถควบคุมสถานการณ์บริเวณชายแดนที่ติดกับที่ตั้งของโมชาฟนี้ไว้ได้แล้ว มีแต่กองกำลังอิสราเอลที่ยิงปืนใหญ่ไปยังฝ่ายเลบานอน โดยไม่มีการยิงตอบโต้จากฝ่ายเลบานอนเข้ามาทางฝ่ายอิสราเอลในบริเวณที่พวกตนทำงานอยู่หลายวันแล้ว คณะจึงได้ไปเยี่ยมแรงงานไทยอีก 2 คนที่ทำงานอยู่ห่างรั้วพรมแดนออกมา ซึ่งทั้งสองคนยังคงทำงานตามปกติ ทั้งนี้ ที่โมชาฟซาริทมีค่ายทหารอิสราเอลตั้งอยู่ และเป็นสถานที่ที่ฝ่าย Hizbullah ลักลอบเข้าไปลักพาตัวทหารอิสราเอล 2 คน และเป็นต้นเหตุของการสู้รบในขณะนี้
ที่โมชาฟเมตูลามีแรงงานไทยทำงานอยู่ประมาณ 40 คน โดยเกือบทั้งหมดเป็นแรงงานที่ทำงานในอิสราเอลมาแล้วกว่า 4 ปี และใกล้จะครบวาระการทำงาน ซึ่งทางการอิสราเอลอนุญาตให้แรงงานต่างชาติทำงานในอิสราเอลได้ไม่เกิน 5 ปี แรงงานไทยเหล่านี้จึงขอยู่ทำงานในโมชาฟต่อไป เพื่อรอดูสถานการณ์การสู้รบต่อไปก่อน และเมื่อเห็นว่ารุนแรงมากขึ้น ก็จะขอเดินทางกลับประเทศไทยไปเลย ขณะที่คณะอยู่ในโมชาฟเมตูลาเพื่อรอรับแรงงานไทย ได้มีจรวดของฝ่าย Hizbullah ตกลงใกล้ที่จอดรถยนต์ของผู้จัดการบริษัทจัดหางาน โดยคณะกำลังยืนพูดคุยกันอยู่ แต่โชคดีไม่มีผู้ใดได้รับอันตราย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-