สศอ.มั่นใจส่งออกปีไก่ทะลุแสนล้านเหรียญฯ โตตามเป้ารัฐ 20% สินค้าอุตฯนำทีมกวาดรายได้เข้าประเทศ ชูยานยนต์และชิ้นส่วน-อิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวตามแผน 50% และ 20%
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้ทำการศึกษาเรื่อง “โครงสร้างการส่งออกและการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม” เพื่อรวบรวมข้อมูลการส่งออกและนำเข้าสินค้าภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดยผลศึกษาระบุว่าภาพรวมการส่งออกของประเทศไทยนับจากหลังวิกฤตเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ซึ่งปี 2547 ยอดส่งออกรวม สูงถึง 97,701.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าสิ้นปี 2548 ยอดการส่งออกจะทะลุ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 113,364 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 20 ส่วนการนำเข้าพบว่าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภททุน เชื้อเพลิงและวัตถุดิบ ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเป็นต่ออัตราการขยายตัวของประเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ผลศึกษาได้ระบุถึงโครงสร้างการส่งออกของประเทศในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีการกระจายความเสี่ยงทางการตลาดมากขึ้นโดยลดการพึ่งพิงตลาดหลักเช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป หรือ ญี่ปุ่น และหันไปให้สินค้าขยายตลาดส่งออกในตลาดใหม่มากขึ้น เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น โดยในปี 2547 มีอัตราการขยายตัวการส่งออกของไทยไปยังประเทศเหล่านี้ กว่าร้อยละ 25.14 และ 43.03 ตามลำดับนอกจากนี้ยังมีการเพิ่มขนาดของการค้ากับอาเซียนมากขึ้น
“ในปีที่ผ่านมาสินค้าอุตสาหกรรม สามารถสร้างมูลค่าในการส่งออกได้สูงถึงร้อยละ 77.5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ซึ่งสัดส่วนนี้ยังไม่รวมหมวดแร่และหินเพื่ออุตสาหกรรม ในขณะที่สินค้าเกษตร มีมูลค่าต่อการส่งออกทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 10.6 ซึ่งมีอัตราที่ลดลง โดยแสดงให้เห็นว่าสินค้าอุตสาหกรรมได้เพิ่มระดับความสำคัญอย่างต่อเนื่อง และมีสัดส่วนต่อจีดีพีของประเทศ เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 32 ในปี 2536 เป็นร้อยละ 38 ในปีที่ผ่านมา นับว่าสินค้าอุตสาหกรรมเป็นผู้นำผลักดันการส่งออกของประเทศให้ดีขึ้นเป็นลำดับและมีแนวโน้มเติบโตได้อีก โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมในสาขายานยนต์และชิ้นส่วน และสาขาอิเล็กทรอนิกส์ ที่ตั้งเป้าสำหรับการส่งออกในปีนี้สูงถึงร้อยละ 50 และร้อยละ 20 ตามลำดับ ซึ่งจะเป็นหัวจักรสำคัญในการผลักดันให้การส่งออกของประเทศไทยให้สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 20 ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้”
นางชุตาภรณ์ กล่าวอีกว่า จากการศึกษาของ สศอ. พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากสินค้าเข้ากว่าร้อยละ 80 เป็นสินค้าประเภททุน ซึ่งส่งผลต่อตัวเลขของการส่งออกที่จะเห็นผลในอีกสองเดือนข้างหน้า โดยการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและทุนในเดือนนี้จะเกิดผลในเดือนถัดไป ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบในเดือนนี้ ร้อยละ 1 จะส่งผลต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.495 ในเดือนถัดไป และการนำเข้าสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอีกสองเดือนถัดไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.455 ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางธุรกิจที่เริ่มมีการปรับตัว เนื่องจากโดยส่วนใหญ่จะพยายามลดเวลาการเก็บวัตถุดิบคงคลังให้สั้นที่สุดเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับเดือนนี้จะนำไปผลิตสินค้าส่งออกในเดือนถัดไป ส่วนสินค้าทุนจะต้องใช้เวลาเตรียมการอย่างน้อย 2 เดือน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการติดตั้ง หรือปรับกระบวนการผลิตกว่าจะสามารถส่งต่อกำลังส่งออก
“ผลศึกษาชี้ให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมไทย ยังมีโครงสร้างการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศโดยรวมค่อนข้างสูง ซึ่งนอกจากจะทำให้อุตสาหกรรมไทยมีปัญหาในภาพรวมแล้ว ยังสร้างความอ่อนไหวต่อความมั่นคงของอุตสาหกรรมไทยในระยะยาว รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจึงเร่งสร้างแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ที่จะมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม และการใช้ปัจจัยการผลิตในประเทศมากขึ้น นอกเหนือจากการให้ความสำคัญในการสร้างคุณค่า (Value Creation) ให้กับผลิตภัณฑ์ส่งออกอุตสาหกรรมมากขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐในภาพรวม” ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด
สำหรับผลศึกษาเรื่องโครงสร้างการส่งออกและการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม WWW.OIE.GO.TH
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้ทำการศึกษาเรื่อง “โครงสร้างการส่งออกและการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม” เพื่อรวบรวมข้อมูลการส่งออกและนำเข้าสินค้าภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดยผลศึกษาระบุว่าภาพรวมการส่งออกของประเทศไทยนับจากหลังวิกฤตเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ซึ่งปี 2547 ยอดส่งออกรวม สูงถึง 97,701.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าสิ้นปี 2548 ยอดการส่งออกจะทะลุ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 113,364 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 20 ส่วนการนำเข้าพบว่าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภททุน เชื้อเพลิงและวัตถุดิบ ซึ่งเป็นสินค้าที่จำเป็นต่ออัตราการขยายตัวของประเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ผลศึกษาได้ระบุถึงโครงสร้างการส่งออกของประเทศในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีการกระจายความเสี่ยงทางการตลาดมากขึ้นโดยลดการพึ่งพิงตลาดหลักเช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป หรือ ญี่ปุ่น และหันไปให้สินค้าขยายตลาดส่งออกในตลาดใหม่มากขึ้น เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น โดยในปี 2547 มีอัตราการขยายตัวการส่งออกของไทยไปยังประเทศเหล่านี้ กว่าร้อยละ 25.14 และ 43.03 ตามลำดับนอกจากนี้ยังมีการเพิ่มขนาดของการค้ากับอาเซียนมากขึ้น
“ในปีที่ผ่านมาสินค้าอุตสาหกรรม สามารถสร้างมูลค่าในการส่งออกได้สูงถึงร้อยละ 77.5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ซึ่งสัดส่วนนี้ยังไม่รวมหมวดแร่และหินเพื่ออุตสาหกรรม ในขณะที่สินค้าเกษตร มีมูลค่าต่อการส่งออกทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 10.6 ซึ่งมีอัตราที่ลดลง โดยแสดงให้เห็นว่าสินค้าอุตสาหกรรมได้เพิ่มระดับความสำคัญอย่างต่อเนื่อง และมีสัดส่วนต่อจีดีพีของประเทศ เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 32 ในปี 2536 เป็นร้อยละ 38 ในปีที่ผ่านมา นับว่าสินค้าอุตสาหกรรมเป็นผู้นำผลักดันการส่งออกของประเทศให้ดีขึ้นเป็นลำดับและมีแนวโน้มเติบโตได้อีก โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมในสาขายานยนต์และชิ้นส่วน และสาขาอิเล็กทรอนิกส์ ที่ตั้งเป้าสำหรับการส่งออกในปีนี้สูงถึงร้อยละ 50 และร้อยละ 20 ตามลำดับ ซึ่งจะเป็นหัวจักรสำคัญในการผลักดันให้การส่งออกของประเทศไทยให้สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 20 ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้”
นางชุตาภรณ์ กล่าวอีกว่า จากการศึกษาของ สศอ. พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าทุนกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากสินค้าเข้ากว่าร้อยละ 80 เป็นสินค้าประเภททุน ซึ่งส่งผลต่อตัวเลขของการส่งออกที่จะเห็นผลในอีกสองเดือนข้างหน้า โดยการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและทุนในเดือนนี้จะเกิดผลในเดือนถัดไป ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบในเดือนนี้ ร้อยละ 1 จะส่งผลต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.495 ในเดือนถัดไป และการนำเข้าสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมอีกสองเดือนถัดไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.455 ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางธุรกิจที่เริ่มมีการปรับตัว เนื่องจากโดยส่วนใหญ่จะพยายามลดเวลาการเก็บวัตถุดิบคงคลังให้สั้นที่สุดเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับเดือนนี้จะนำไปผลิตสินค้าส่งออกในเดือนถัดไป ส่วนสินค้าทุนจะต้องใช้เวลาเตรียมการอย่างน้อย 2 เดือน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการติดตั้ง หรือปรับกระบวนการผลิตกว่าจะสามารถส่งต่อกำลังส่งออก
“ผลศึกษาชี้ให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมไทย ยังมีโครงสร้างการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศโดยรวมค่อนข้างสูง ซึ่งนอกจากจะทำให้อุตสาหกรรมไทยมีปัญหาในภาพรวมแล้ว ยังสร้างความอ่อนไหวต่อความมั่นคงของอุตสาหกรรมไทยในระยะยาว รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจึงเร่งสร้างแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ที่จะมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม และการใช้ปัจจัยการผลิตในประเทศมากขึ้น นอกเหนือจากการให้ความสำคัญในการสร้างคุณค่า (Value Creation) ให้กับผลิตภัณฑ์ส่งออกอุตสาหกรรมมากขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐในภาพรวม” ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด
สำหรับผลศึกษาเรื่องโครงสร้างการส่งออกและการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม WWW.OIE.GO.TH
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-