ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุยอดเงินฝากของระบบ ธพ.เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
รายงานว่า ยอดเงินฝากในระบบ ธพ.ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากที่ ธปท.มีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน
พธบ.ระยะ 14 วัน (อาร์พี 14 วัน) อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ช่วยจูงใจ
ผู้ฝากเงินให้ออมเงินมากขึ้น ทั้งนี้ ยอดเงินฝากของระบบ ธพ.ล่าสุด ณ เดือน พ.ย.48 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,981,900 ล.บาท
ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน 7.8% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 85,000 ล.บาท แต่เมื่อหักผลของการจัดตั้ง
ธพ.ใหม่ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ตั้งแต่เดือน ก.ค.48 เป็นต้นมาแล้ว อัตราเงินฝาก
ยังสามารถขยายตัวได้ 4.6% เร่งขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของยอดเงินฝากดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของ
ธปท.ที่ต้องการเพิ่มเงินออมในประเทศเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของ
ธพ.มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 49 นี้ และจะส่งผลให้ ธพ.มีการแข่งขันทางด้านอัตราดอกเบี้ยเพื่อ
ระดมเงินฝากจากประชาชนมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยประจำประเภท 3 เดือนของ ธพ.
ขนาดใหญ่ 5 แห่ง ณ เดือน ธ.ค.48 อยู่ที่ระดับ 2.0% และเงินฝากประจำประเภท 12 เดือนอยู่ที่ 2.50% ต่อปี
สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของ ธพ.ในเดือน พ.ย.อยู่ที่ 5,665,400 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 6.4%
แต่เมื่อหักผลของการจัดตั้ง ธพ.ใหม่ตั้งแต่เดือน ก.ค. สินเชื่อขยายตัว 3.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าในช่วงปี 47
อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวลงของอัตราสินเชื่อดังกล่าวสอดคล้องกับการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เฉลี่ย ธพ.ขนาดใหญ่ 4 แห่งอยู่ที่ 6.50% ต่อปี (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธ.กสิกรไทยคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านในปี 49 เป็นอัตราลอยตัว ผู้อำนวย
การฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสินเชื่อผู้บริโภค ธ.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
ในปี 49 นี้ จะมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยเป็นแบบคงที่มาเป็นแบบลอยตัวมากขึ้น เพื่อเป็นการบริหารต้นทุน
เนื่องจากการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ ส่วนใหญ่ ธพ.เกือบทุกแห่งขาดทุน แต่เพื่อการแข่งขันเพื่อจูงใจลูกค้า
จำเป็นต้องออกแคมเปญดังกล่าว และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้การกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่
จะมีผลขาดทุนมากยิ่งขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
3. นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 49 จะขยายตัวที่ระดับ 4.5% บรรดานักวิเคราะห์ที่เข้า
ร่วมการประชุมด้านเศรษฐกิจที่จัดขึ้นโดยสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (ไอซิส) ของสิงคโปร์ แสดงความ
เห็นว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 49 นี้มีแนวโน้มสดใส ทั้งยังสามารถต้านทานปัจจัยลบ
อย่างการระบาดของโรคไข้หวัดนก อัตราดอกเบี้ยในระดับสูง และราคาพลังงานได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์
ระบุว่า เศรษฐกิจของไทยจะขยายตัวที่ระดับ 4.5% ในปี 49 จาก 4.3% เมื่อปี 48 และจะได้รับแรงกระตุ้นใน
ช่วงเดือน มี.ค. จากปริมาณผลผลิตการเกษตร การท่องเที่ยว และภาคส่งออก ขณะที่การลงทุนในโครงการขนาด
ใหญ่ (เมกะโปรเจ็กต์) จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี อย่างไรก็ตาม ปัจจัย
ลบที่อาจส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย คือปัญหายืดเยื้อเกี่ยวกับการเมืองภายในและปัญหาความรุนแรง
ในภาคใต้ (โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องของรัฐบาล รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า
จากกรณีที่รัฐบาลประสบปัญหาการขาดดุลเงินสด จนต้องขออนุมัติ ครม.เพื่อออกตั๋วเงินคลังเพิ่มเติมในปี งปม.49
อีก 80,000 ล.บาท จากเดิมที่ออกไปแล้ว 1.7 แสน ล.บาท รวม 2.5 แสน ล.บาท ว่า รมว.คลัง ได้สั่งการให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องให้แก่รัฐบาลในหลักการกว้างๆ ว่า
รัฐบาลสามารถที่จะแปลงหนี้ระยะสั้นในรูปการออกตั๋วเงินคลังรวม 2.5 แสน ล.บาท เป็นหนี้ระยะยาวด้วยการออก
เป็น พธบ.ในอนาคตได้หรือไม่ เพื่อจะได้นำเงินสดที่ได้จากการออก พธบ.มาใช้ในการเสริมสภาพคล่องระหว่างที่
เงินสดขาดมือจากการที่เงินรายได้ภาษีเข้ามาน้อยกว่ารายจ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตบางช่วง (มติชน, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การจ้างงานใหม่ของ สรอ. ในปี 48 เพิ่มขึ้นกว่า 2 ล้านอัตรา แต่ยังต่ำกว่าปี 47 รายงาน
จากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 7 ม.ค.49 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่มอัตราการจ้าง
งานใหม่ของเดือน พ.ย.48 เป็น 305,000 บาท ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.47 ส่งผลให้ตัวเลขรวมการจ้างงานใหม่ของปี 48 มีจำนวนกว่า 2 ล้านอัตรา แต่ยังต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้น 2.2 ล้าน
อัตรา ในปี 47 อย่างไรก็ตาม จากอัตราการจ้างงานใหม่ที่ยังคงขยายตัวได้ดีทำให้รัฐบาลคาดการณ์ว่าประชาชน
จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของ สรอ. เริ่มมีอัตราการขยายตัวดีขึ้น ขณะที่นักวิเคราะห์หลาย
คนให้ความเห็นว่าตัวเลขการจ้างงานล่าสุดอาจส่งผลให้ ธ.กลาง สรอ. มีการพิจารณายุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายที่เริ่มมาตั้งแต่กลางปี 47 และมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 13 ครั้ง จนปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.25
โดยคาดว่าจะมีการหยุดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 4.75 ในช่วงกลางปีนี้ (รอยเตอร์)
2. ธุรกิจการเงินของอังกฤษมีกำไรเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายปี 48 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
9 ม.ค.48 สภาอุตสาหกรรมของอังกฤษและบริษัทที่ปรึกษาไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์รายงานความสามารถในการทำกำไรของ
ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัยและบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ของอังกฤษในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 48 เพิ่มขึ้น
ในอัตราสูงสุดในรอบ 9 ปีนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 39 ผลจากรายได้จากค่าบริการและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น แม้ว่า
เศรษฐกิจของอังกฤษจะชะลอตัวลงและส่งผลให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากการ
เริ่มผ่อนชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนดของลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีมาโดยตลอด แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยของจำนวน
ลูกหนี้ทั้งหมด กำไรของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งจากปริมาณการให้กู้ยืมและรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยร้อย
ละ 43 ของธนาคารพาณิชย์ที่สำรวจกล่าวว่าปริมาณการให้กู้ยืมเพิ่มขึ้นซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.47
แต่ธนาคารพาณิชยส่วนใหญ่คาดว่าอัตราการเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มชะลอตัวลง เช่นเดียวกับบริษัทประกันที่ร้อยละ 83
รายงานว่ามีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้นายหน้าค้าหลักทรัพย์ก็รายงานว่ามีรายได้ค่าบริการและค่าธรรมเนียม
เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.41 เช่นเดียวกับผู้จัดการกองทุนและบริษัทประกันชีวิตที่มีรายได้ค่า
ธรรมเนียมและผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นจากความสนใจออมเงินและลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่กำลังบูมของ
ชาวอังกฤษ (รอยเตอร์)
3. รมว. คลังฝรั่งเศสยืนยันเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 49 ที่ร้อยละ 2.0 — 2.5
รายงานจากปารีส เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 48 นาย Thierry Breton รมว. คลังฝรั่งเศสเปิดเผยว่า เขาเห็นด้วย
กับประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่คาดไว้ในปีนี้ที่ระหว่างร้อยละ 2.0 — 2.5 ทั้งนี้ฝรั่งเศส
เป็นประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างค่อนข้างแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรป นอกจากนั้นเขายังให้คำมั่น
ว่า ในปี 48 และปี 49 จะปฎิบัติตามกฎของสหภาพยุโรปเรื่องการควบคุมการขาดดุลงบประมาณไม่ให้เกินกว่าร้อย
ละ 3.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทั้งนี้ที่ผ่านมาเป็นเวลา 3 ปี ฝรั่งเศสขาดดุลเกินกว่าเป้าหมายที่
ตั้งไว้ดังกล่าว ซึ่งเขากล่าวเพิ่มเติมว่า มีความเป็นไปได้ที่ฝรั่งเศสจะปรับลดหนี้สาธารณะของประเทศลงจากปัจจุบัน
ที่ร้อยละ 66 ให้เหลือร้อยละ 60 ของ GDPในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเขามีกำหนดที่จะกล่าวถึงวิธีการปรับลดหนี้
สาธารณะกว่า 1 ล้าน ล้าน ยูโรหรือคิดเป็นร้อยละ 66 GDP ลง ในวันพุธนี้ อนึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานาย
Jacques Chirac กล่าวว่า ฝรั่งเศสจะควบคุมหนี้สาธารณะของประเทศในปีหน้า และจะเริ่มปรับลดหนี้ระยะยาว
ลงเพื่อที่จะหยุดวัฎจักรของหนี้สาธารณะ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมาเลเซียในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เทียบต่อปี ราย
งานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 6 ม.ค.49 รอยเตอร์ เปิดเผยว่า จากผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 10 คน พบว่า
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิต เหมืองแร่ และพลังงาน
ไฟฟ้า ในเดือน พ.ย.48 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากปีก่อนหน้า หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ในเดือน ต.
ค.48 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์จาก DBS Bank เห็นว่า ความต้องการสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น
อย่างแข็งแกร่งส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยรายงานตัวเลขล่าสุดพบว่า การส่งออกสินค้าหมวด
อิเล็กทรอนิกส์ในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบต่อปี (รายการสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์
อาทิเช่น ชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ ชุดโทรทัศน์และวิทยุ เคเบิลและสายไฟ ซึ่งมีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของการส่งออกของ
มาเลเซีย) อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งสินค้าออกของประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซียที่ก็มีแนวโน้มการฟื้นตัวของความต้องการ
สินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน อาทิเช่น ผลผลิตโรงงานเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 จากปี
ก่อนหน้า ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.4 ซึ่งตัวเลขของทั้ง 2 ประเทศเหนือ
ความคาดหมายของตลาด ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียจะประกาศตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการในวันจันทร์
ที่ 9 ม.ค. 49 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 ม.ค. 49 6 ม.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.175 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.0171/40.3030 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.14438 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 747.34/ 31.31 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,150/10,250 9,950/10,050 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.95 55.48 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 7 ม.ค. 49 26.44*/23.89* 26.04/23.49 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุยอดเงินฝากของระบบ ธพ.เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
รายงานว่า ยอดเงินฝากในระบบ ธพ.ได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากที่ ธปท.มีนโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน
พธบ.ระยะ 14 วัน (อาร์พี 14 วัน) อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ช่วยจูงใจ
ผู้ฝากเงินให้ออมเงินมากขึ้น ทั้งนี้ ยอดเงินฝากของระบบ ธพ.ล่าสุด ณ เดือน พ.ย.48 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,981,900 ล.บาท
ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน 7.8% เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 85,000 ล.บาท แต่เมื่อหักผลของการจัดตั้ง
ธพ.ใหม่ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ตั้งแต่เดือน ก.ค.48 เป็นต้นมาแล้ว อัตราเงินฝาก
ยังสามารถขยายตัวได้ 4.6% เร่งขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของยอดเงินฝากดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของ
ธปท.ที่ต้องการเพิ่มเงินออมในประเทศเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของ
ธพ.มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 49 นี้ และจะส่งผลให้ ธพ.มีการแข่งขันทางด้านอัตราดอกเบี้ยเพื่อ
ระดมเงินฝากจากประชาชนมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยประจำประเภท 3 เดือนของ ธพ.
ขนาดใหญ่ 5 แห่ง ณ เดือน ธ.ค.48 อยู่ที่ระดับ 2.0% และเงินฝากประจำประเภท 12 เดือนอยู่ที่ 2.50% ต่อปี
สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของ ธพ.ในเดือน พ.ย.อยู่ที่ 5,665,400 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 6.4%
แต่เมื่อหักผลของการจัดตั้ง ธพ.ใหม่ตั้งแต่เดือน ก.ค. สินเชื่อขยายตัว 3.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าในช่วงปี 47
อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวลงของอัตราสินเชื่อดังกล่าวสอดคล้องกับการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เฉลี่ย ธพ.ขนาดใหญ่ 4 แห่งอยู่ที่ 6.50% ต่อปี (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธ.กสิกรไทยคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านในปี 49 เป็นอัตราลอยตัว ผู้อำนวย
การฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสินเชื่อผู้บริโภค ธ.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน
ในปี 49 นี้ จะมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยเป็นแบบคงที่มาเป็นแบบลอยตัวมากขึ้น เพื่อเป็นการบริหารต้นทุน
เนื่องจากการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ ส่วนใหญ่ ธพ.เกือบทุกแห่งขาดทุน แต่เพื่อการแข่งขันเพื่อจูงใจลูกค้า
จำเป็นต้องออกแคมเปญดังกล่าว และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้การกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่
จะมีผลขาดทุนมากยิ่งขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
3. นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 49 จะขยายตัวที่ระดับ 4.5% บรรดานักวิเคราะห์ที่เข้า
ร่วมการประชุมด้านเศรษฐกิจที่จัดขึ้นโดยสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (ไอซิส) ของสิงคโปร์ แสดงความ
เห็นว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 49 นี้มีแนวโน้มสดใส ทั้งยังสามารถต้านทานปัจจัยลบ
อย่างการระบาดของโรคไข้หวัดนก อัตราดอกเบี้ยในระดับสูง และราคาพลังงานได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์
ระบุว่า เศรษฐกิจของไทยจะขยายตัวที่ระดับ 4.5% ในปี 49 จาก 4.3% เมื่อปี 48 และจะได้รับแรงกระตุ้นใน
ช่วงเดือน มี.ค. จากปริมาณผลผลิตการเกษตร การท่องเที่ยว และภาคส่งออก ขณะที่การลงทุนในโครงการขนาด
ใหญ่ (เมกะโปรเจ็กต์) จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี อย่างไรก็ตาม ปัจจัย
ลบที่อาจส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย คือปัญหายืดเยื้อเกี่ยวกับการเมืองภายในและปัญหาความรุนแรง
ในภาคใต้ (โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องของรัฐบาล รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า
จากกรณีที่รัฐบาลประสบปัญหาการขาดดุลเงินสด จนต้องขออนุมัติ ครม.เพื่อออกตั๋วเงินคลังเพิ่มเติมในปี งปม.49
อีก 80,000 ล.บาท จากเดิมที่ออกไปแล้ว 1.7 แสน ล.บาท รวม 2.5 แสน ล.บาท ว่า รมว.คลัง ได้สั่งการให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องให้แก่รัฐบาลในหลักการกว้างๆ ว่า
รัฐบาลสามารถที่จะแปลงหนี้ระยะสั้นในรูปการออกตั๋วเงินคลังรวม 2.5 แสน ล.บาท เป็นหนี้ระยะยาวด้วยการออก
เป็น พธบ.ในอนาคตได้หรือไม่ เพื่อจะได้นำเงินสดที่ได้จากการออก พธบ.มาใช้ในการเสริมสภาพคล่องระหว่างที่
เงินสดขาดมือจากการที่เงินรายได้ภาษีเข้ามาน้อยกว่ารายจ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตบางช่วง (มติชน, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การจ้างงานใหม่ของ สรอ. ในปี 48 เพิ่มขึ้นกว่า 2 ล้านอัตรา แต่ยังต่ำกว่าปี 47 รายงาน
จากกรุงวอชิงตัน ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 7 ม.ค.49 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่มอัตราการจ้าง
งานใหม่ของเดือน พ.ย.48 เป็น 305,000 บาท ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.47 ส่งผลให้ตัวเลขรวมการจ้างงานใหม่ของปี 48 มีจำนวนกว่า 2 ล้านอัตรา แต่ยังต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้น 2.2 ล้าน
อัตรา ในปี 47 อย่างไรก็ตาม จากอัตราการจ้างงานใหม่ที่ยังคงขยายตัวได้ดีทำให้รัฐบาลคาดการณ์ว่าประชาชน
จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของ สรอ. เริ่มมีอัตราการขยายตัวดีขึ้น ขณะที่นักวิเคราะห์หลาย
คนให้ความเห็นว่าตัวเลขการจ้างงานล่าสุดอาจส่งผลให้ ธ.กลาง สรอ. มีการพิจารณายุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายที่เริ่มมาตั้งแต่กลางปี 47 และมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 13 ครั้ง จนปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.25
โดยคาดว่าจะมีการหยุดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 4.75 ในช่วงกลางปีนี้ (รอยเตอร์)
2. ธุรกิจการเงินของอังกฤษมีกำไรเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายปี 48 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
9 ม.ค.48 สภาอุตสาหกรรมของอังกฤษและบริษัทที่ปรึกษาไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์รายงานความสามารถในการทำกำไรของ
ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัยและบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ของอังกฤษในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 48 เพิ่มขึ้น
ในอัตราสูงสุดในรอบ 9 ปีนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 39 ผลจากรายได้จากค่าบริการและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น แม้ว่า
เศรษฐกิจของอังกฤษจะชะลอตัวลงและส่งผลให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากการ
เริ่มผ่อนชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนดของลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีมาโดยตลอด แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยของจำนวน
ลูกหนี้ทั้งหมด กำไรของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งจากปริมาณการให้กู้ยืมและรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยร้อย
ละ 43 ของธนาคารพาณิชย์ที่สำรวจกล่าวว่าปริมาณการให้กู้ยืมเพิ่มขึ้นซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.47
แต่ธนาคารพาณิชยส่วนใหญ่คาดว่าอัตราการเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มชะลอตัวลง เช่นเดียวกับบริษัทประกันที่ร้อยละ 83
รายงานว่ามีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้นายหน้าค้าหลักทรัพย์ก็รายงานว่ามีรายได้ค่าบริการและค่าธรรมเนียม
เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.41 เช่นเดียวกับผู้จัดการกองทุนและบริษัทประกันชีวิตที่มีรายได้ค่า
ธรรมเนียมและผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นจากความสนใจออมเงินและลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่กำลังบูมของ
ชาวอังกฤษ (รอยเตอร์)
3. รมว. คลังฝรั่งเศสยืนยันเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 49 ที่ร้อยละ 2.0 — 2.5
รายงานจากปารีส เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 48 นาย Thierry Breton รมว. คลังฝรั่งเศสเปิดเผยว่า เขาเห็นด้วย
กับประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่คาดไว้ในปีนี้ที่ระหว่างร้อยละ 2.0 — 2.5 ทั้งนี้ฝรั่งเศส
เป็นประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างค่อนข้างแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรป นอกจากนั้นเขายังให้คำมั่น
ว่า ในปี 48 และปี 49 จะปฎิบัติตามกฎของสหภาพยุโรปเรื่องการควบคุมการขาดดุลงบประมาณไม่ให้เกินกว่าร้อย
ละ 3.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทั้งนี้ที่ผ่านมาเป็นเวลา 3 ปี ฝรั่งเศสขาดดุลเกินกว่าเป้าหมายที่
ตั้งไว้ดังกล่าว ซึ่งเขากล่าวเพิ่มเติมว่า มีความเป็นไปได้ที่ฝรั่งเศสจะปรับลดหนี้สาธารณะของประเทศลงจากปัจจุบัน
ที่ร้อยละ 66 ให้เหลือร้อยละ 60 ของ GDPในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเขามีกำหนดที่จะกล่าวถึงวิธีการปรับลดหนี้
สาธารณะกว่า 1 ล้าน ล้าน ยูโรหรือคิดเป็นร้อยละ 66 GDP ลง ในวันพุธนี้ อนึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานาย
Jacques Chirac กล่าวว่า ฝรั่งเศสจะควบคุมหนี้สาธารณะของประเทศในปีหน้า และจะเริ่มปรับลดหนี้ระยะยาว
ลงเพื่อที่จะหยุดวัฎจักรของหนี้สาธารณะ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมาเลเซียในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เทียบต่อปี ราย
งานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 6 ม.ค.49 รอยเตอร์ เปิดเผยว่า จากผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 10 คน พบว่า
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิต เหมืองแร่ และพลังงาน
ไฟฟ้า ในเดือน พ.ย.48 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากปีก่อนหน้า หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ในเดือน ต.
ค.48 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์จาก DBS Bank เห็นว่า ความต้องการสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น
อย่างแข็งแกร่งส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยรายงานตัวเลขล่าสุดพบว่า การส่งออกสินค้าหมวด
อิเล็กทรอนิกส์ในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบต่อปี (รายการสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์
อาทิเช่น ชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ ชุดโทรทัศน์และวิทยุ เคเบิลและสายไฟ ซึ่งมีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของการส่งออกของ
มาเลเซีย) อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งสินค้าออกของประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซียที่ก็มีแนวโน้มการฟื้นตัวของความต้องการ
สินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน อาทิเช่น ผลผลิตโรงงานเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 จากปี
ก่อนหน้า ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.4 ซึ่งตัวเลขของทั้ง 2 ประเทศเหนือ
ความคาดหมายของตลาด ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียจะประกาศตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการในวันจันทร์
ที่ 9 ม.ค. 49 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 ม.ค. 49 6 ม.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.175 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.0171/40.3030 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.14438 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 747.34/ 31.31 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,150/10,250 9,950/10,050 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.95 55.48 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 7 ม.ค. 49 26.44*/23.89* 26.04/23.49 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--