สถานการณ์ปี 2548 ปัจจุบันอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังอยู่ในช่วงขาขึ้น เห็นได้จากผลประกอบการของบริษัทที่ทำธุรกิจปิโตรเคมีในช่วงที่ผ่าน
มา ล้วนปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เป็นผลจากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น และราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีแทบทุกประเภทปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลมาจาก
ความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่อง
ใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ก่อสร้าง และปุ๋ยเพื่อการเกษตร ฯลฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในประเทศและในตลาดโลก นอกจากการเพิ่มสูงขึ้นของความต้องการใช้
แล้ว การที่ราคาน้ำมันแพงขึ้นก็เป็นผลพลอยได้ให้อุตสาหกรรม ปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาขึ้นได้ยาวนานต่อเนื่องอีก 2 -3 ปี
การตลาด คาดการณ์ว่ามูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ในปี 2548 มีมูลค่า 6,928 48,470 และ 65,195
ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นลดลงร้อยละ 14.71 ส่วน ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.82
และ 3.67 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ในปี 2548 มีมูลค่า 39,104 19,133 และ
148,247 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.55 17.29 และ 24.54 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน
มูลค่าการนำเข้าและส่งออกปิโตรเคมี
ผลิตภัณฑ์ มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)
2547 2548* 2548*/2547(%) 2547 2548* 2548*/2547 (%)
ขั้นต้น 8,123 6,928 -14.17 29,501 39,104 32.55
ขั้นกลาง 47,139 48,470 2.82 16,312 19,133 17.29
ขั้นปลาย 62,888 65,195 3.67 119,034 148,247 24.54
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * ตัวเลขประมาณการ
แนวโน้มปี 2549
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต คาดว่าในปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะยังสามารถ
เติบโตต่อเนื่องต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงอย่างมากในช่วงปี 2548 ซึ่งเป็นแรงหนุนต่อราคาปิโตรเคมี ผู้ผลิต
หลายรายทั้งในและต่างประเทศมีการขยายการลงทุนในโครงการปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลาย เพื่อให้ทันกับผลกำไรในช่วงขาขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรจับ
ตามองการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ซึ่งที่ผ่านมามีการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งคาดว่าจะเป็นผู้ส่งออกปิโตรเคมีรายใหญ่ใน
อนาคต
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
มา ล้วนปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เป็นผลจากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น และราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีแทบทุกประเภทปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลมาจาก
ความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่อง
ใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ก่อสร้าง และปุ๋ยเพื่อการเกษตร ฯลฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในประเทศและในตลาดโลก นอกจากการเพิ่มสูงขึ้นของความต้องการใช้
แล้ว การที่ราคาน้ำมันแพงขึ้นก็เป็นผลพลอยได้ให้อุตสาหกรรม ปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาขึ้นได้ยาวนานต่อเนื่องอีก 2 -3 ปี
การตลาด คาดการณ์ว่ามูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ในปี 2548 มีมูลค่า 6,928 48,470 และ 65,195
ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นลดลงร้อยละ 14.71 ส่วน ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลายขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.82
และ 3.67 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ในปี 2548 มีมูลค่า 39,104 19,133 และ
148,247 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.55 17.29 และ 24.54 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน
มูลค่าการนำเข้าและส่งออกปิโตรเคมี
ผลิตภัณฑ์ มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)
2547 2548* 2548*/2547(%) 2547 2548* 2548*/2547 (%)
ขั้นต้น 8,123 6,928 -14.17 29,501 39,104 32.55
ขั้นกลาง 47,139 48,470 2.82 16,312 19,133 17.29
ขั้นปลาย 62,888 65,195 3.67 119,034 148,247 24.54
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * ตัวเลขประมาณการ
แนวโน้มปี 2549
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต คาดว่าในปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะยังสามารถ
เติบโตต่อเนื่องต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงอย่างมากในช่วงปี 2548 ซึ่งเป็นแรงหนุนต่อราคาปิโตรเคมี ผู้ผลิต
หลายรายทั้งในและต่างประเทศมีการขยายการลงทุนในโครงการปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลาย เพื่อให้ทันกับผลกำไรในช่วงขาขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรจับ
ตามองการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ซึ่งที่ผ่านมามีการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งคาดว่าจะเป็นผู้ส่งออกปิโตรเคมีรายใหญ่ใน
อนาคต
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-