ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน กันยายน 2549
กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2549 โดยสรุป จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 88 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ได้ผลดังนี้
1 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2549
ในปี 2543 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100 และเดือนกันยายน 2549 เท่ากับ 130.2สำหรับเดือนสิงหาคม 2549 คือ 130.4
2 การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนสิงหาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.2
2.2 เดือนกันยายน 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9
2.3 เฉลี่ยเดือนมกราคม - กันยายน 2549 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8
3 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2549 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.2 (สิงหาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.8) สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของสินค้าในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (เหล็กตัวซี เหล็กฉาก เหล็กแผ่นเรียบดำ และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี) ร้อยละ 0.1 และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ (อลูมิเนียม และกระจก) ร้อยละ 0.5 การปรับราคาลดลงของสินค้าในเดือนนี้เป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาคการก่อสร้างในประเทศ
4 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2549 เทียบกับเดือนกันยายน 2548 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.9 (สิงหาคม 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1) เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 ที่สำคัญ คือ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา (สายไฟฟ้า VAF สายเคเบิล THWและสายไฟฟ้า VVF) ร้อยละ 15.5 หมวดซีเมนต์ (ปูนซีเมนต์) ร้อยละ 6.5 และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต (ท่อระบายน้ำคอนกรีตและพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง) ร้อยละ 4.2 เป็นผลจากต้นทุนการผลิตเมื่อเทียบกับปี 2548 สูงขึ้น
5 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยเดือนมกราคม - กันยายน 2549 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 สาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวดยกเว้นเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่สำคัญ คือ หมวดสุขภัณฑ์ ร้อยละ 10.6 หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ร้อยละ 9.6 และหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ร้อยละ 8.0 เป็นผลจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2549
โดยสรุป จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 88 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อนำมาคำนวณ
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ได้ผลดังนี้
1 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2549
ในปี 2543 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100 และเดือนกันยายน 2549 เท่ากับ 130.2สำหรับเดือนสิงหาคม 2549 คือ 130.4
2 การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนสิงหาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.2
2.2 เดือนกันยายน 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9
2.3 เฉลี่ยเดือนมกราคม - กันยายน 2549 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8
3 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2549 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.2 (สิงหาคม 2549 ลดลงร้อยละ 0.8) สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของสินค้าในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (เหล็กตัวซี เหล็กฉาก เหล็กแผ่นเรียบดำ และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี) ร้อยละ 0.1 และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ (อลูมิเนียม และกระจก) ร้อยละ 0.5 การปรับราคาลดลงของสินค้าในเดือนนี้เป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาคการก่อสร้างในประเทศ
4 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกันยายน 2549 เทียบกับเดือนกันยายน 2548 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.9 (สิงหาคม 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1) เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 ที่สำคัญ คือ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา (สายไฟฟ้า VAF สายเคเบิล THWและสายไฟฟ้า VVF) ร้อยละ 15.5 หมวดซีเมนต์ (ปูนซีเมนต์) ร้อยละ 6.5 และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต (ท่อระบายน้ำคอนกรีตและพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง) ร้อยละ 4.2 เป็นผลจากต้นทุนการผลิตเมื่อเทียบกับปี 2548 สูงขึ้น
5 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยเดือนมกราคม - กันยายน 2549 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 สาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวดยกเว้นเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่สำคัญ คือ หมวดสุขภัณฑ์ ร้อยละ 10.6 หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ร้อยละ 9.6 และ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ร้อยละ 8.0 เป็นผลจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์