ถ้อยแถลงนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐของนายเบน เบอร์นานคี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)คนใหม่ ต่อสภาคองเกรสสหรัฐเป็นครั้งแรก เมื่อคืนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ (ตามเวลาประเทศไทย)นั้น เป็นการชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังดำเนินไปใกล้ระดับที่มีประสิทธิภาพเต็มที่แล้ว รวมทั้งเตือนถึงความเสี่ยงต่อระดับของอัตราเงินเฟ้อสูง หากไม่มีการจัดการด้วยนโยบายการเงินที่เหมาะสม ประธานเฟดคนใหม่ แสดงความเห็นถึงความจำเป็นที่ธนาคารกลางสหรัฐจะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ พร้อมกับวิเคราะห์ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ(จีดีพี)ปี 2549 จะอยู่ที่ระดับ 3.5 % และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี)ปี 2550 จะอยู่ที่ 3-3.5 %
จากนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐดังกล่าว จึงเป็นที่คาดการณ์ว่าผลการประชุมเฟดในวันที่ 27-28มีนาคมนี้ จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเฟดจาก 4.50 % เป็น 4.75 % และมีแนวโน้มว่าเฟดอาจปรับดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่องถึง 2 ครั้ง จากที่ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าดอกเบี้ยเฟดจะเสร็จสิ้นการปรับตัวแค่ในเดือนมีนาคม 2549 นี้เท่านั้น
****ดอกเบี้ยไทยยังเป็นขาขึ้นต่อ
การดำเนินนโยบายการเงินที่ยังวิตกกังวลต่อสถานการณ์แนวโน้มของเงินเฟ้อในสหรัฐฯนั้น ไม่อาจปฎิเสธผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยได้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย หรืออัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ14วัน(อาร์/พี) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ให้น้ำหนักต่อการรักษาเสถียรภาพของเงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยน โดยปัจจุบันอาร์พี 14 วัน อยู่ที่ระดับ 4.25 %(ผลประชุม กนง.เมื่อวันที่ 18 ม.ค.) ซึ่งยังมีส่วนต่างกับดอกเบี้ยเฟดอยู่ 0.25% (อัตราดอกเบี้ยเฟดปัจจุบันอยู่ที่ 4.50% ต่อปี)
จึงมีความเป็นไปได้สูงที่การประชุม กนง.ในวันที่ 8 มีนาคม จะมีการพิจารณาปรับขึ้นอาร์พี14วันจาก 4.25%เป็น 4.50 % เพื่อเป็นการรักษาส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยไทยและดอกเบี้ยเฟดไม่ให้ต่างกันมากเกินไป จนมีผลกระทบต่อการไหลออกของเงินทุน และยังสอดคล้องกับเป้าหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องการผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อภายในกลางปี 2549 นี้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติ กล่าวถึง การแถลงนโยบายเศรษฐกิจของประธานเฟดคนใหม่ เป็นการส่งสัญญานชัดเจนว่า เฟดยังมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังสามารถเติบโตดีซึ่งหมายความว่าสหรัฐฯสามารถใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการสู้กับเงินเฟ้อได้ หากเงินอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในอัตราที่สูงต่อไป ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะมีการปรับขึ้นหรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างชัดเจนแต่หมายความว่า สหรัฐฯมีอิสระเสรีที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากไม่ได้มีข้อจำกัดด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ "ถ้าสหรัฐฯเชื่อว่าการขยายตัวเศรษฐกิจจะลดลง ก็แปลว่าการใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการดูแลเงินเฟ้อจะน้อยลง เมื่อเขาพูดชัดว่าเศรษฐกิจจะดี ก็แปลว่าถ้าเงินเฟ้อยังจะอยู่ในระดับสูงต่อไปก็คงใช้ดอกเบี้ยเป็นมาตรการในการดูแลแน่ ซึ่งชัดเจนว่าไม่ได้มีทฤษฎีอะไรที่แหวกแนวไปจากปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องดีที่ทำให้เราเข้าใจง่าย เพราะเราก็คิดแบบนี้เหมือนกัน" ผู้ว่าการธปท.กล่าว ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการของไทยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ สะท้อนมุมมองต่อการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐว่า เป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ เนื่องจากในขณะนี้ราคาน้ำมันยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกยังร้อนแรง ทั้งเศรษฐกิจจีน อินเดีย หรือแม้แต่เศรษฐกิจสหรัฐเอง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐสูง ซึ่งต้องใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยดูแล
ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้น เลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตาม แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทยอาจไม่จำเป็นต้องเร่งตัวในระดับเดียวกับดอกเบี้ยเฟด ขึ้นอยู่กับแรงกระทบของเงินเฟ้อในประเทศและสภาพคล่อง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ บริโภคในประเทศที่จะชะลอตัวลง
ทางด้าน รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ดอกเบี้ยเฟดในปัจจุบันที่ระดับ 4.5%นั้น ยังถือว่าเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับในช่วงก่อนที่สหรัฐจะปรับดอกเบี้ยเฟดลงมาอยู่ที่ระดับ 1 % กว่า โดยคาดว่าในปีนี้เฟดน่าจะอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า 5.5% เพราะสหรัฐเกรงว่าดอลลาร์จะอ่อนค่ามาก ดังนั้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นแนวทางที่ทำให้ดอลลาร์ไม่เป็นช่วงขาลงแบบฮวบฮาบ
****ศก.สหรัฐฯชะลอ-ส่งออกไทยกระทบ
แนวโน้มการชะลอตัวของประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐฯ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งค่ายเอกชนเริ่มทะยอยปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงกันบ้างแล้ว เช่น บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการจีดีพีของไทยจาก 4.50-5.00 % เป็น 4.00% และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอตัวลงหลังจากที่เฟดเสร็จสิ้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
อ้างอิงผลการศึกษาจากวัฎจักรเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯพบว่าในปีที่เฟดเสร็จสิ้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในปีนั้น มักจะลดลงจากปีก่อนหน้าประมาณ 0.7-1.5% จากแนวโน้มดังกล่าวประกอบกับการที่ตัวเลขจีดีพีของสหรัฐฯในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 ออกมาต่ำกว่าคาด (ขยายตัวเพียง 1.1%จาก 4.1 %ในไตรมาสที่ 3)ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจขยายตัวเพียง 2.5-3%ในปี 2549นี้ เทียบกับที่ขยายตัว 3.5%ในปี 2548
นอกจากนี้การที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีน้ำหนักถึง 30% ของเศรษฐกิจโลก ทำให้การชะลอตัวดังกล่าวของสหรัฐฯ ส่งผลต่อการขยายตัวของการส่งออกของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ดังที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 2544 โดยในปีนั้น การถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อันเป็นผลจากการแตกของภาวะฟองสบู่ในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ได้ส่งผลให้การส่งออกของไทยหดตัวลงถึง 7 % จากปีก่อนหน้า ถึงแม้ว่าการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐโดยประธานเฟดคนใหม่ ยังคงเดินตามแนวทางเดิม แต่ในแง่ของผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้น ต้องเตรียมรับมือทั้งผลกระทบ 2 ด้าน คือ ผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
จากนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐดังกล่าว จึงเป็นที่คาดการณ์ว่าผลการประชุมเฟดในวันที่ 27-28มีนาคมนี้ จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเฟดจาก 4.50 % เป็น 4.75 % และมีแนวโน้มว่าเฟดอาจปรับดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่องถึง 2 ครั้ง จากที่ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าดอกเบี้ยเฟดจะเสร็จสิ้นการปรับตัวแค่ในเดือนมีนาคม 2549 นี้เท่านั้น
****ดอกเบี้ยไทยยังเป็นขาขึ้นต่อ
การดำเนินนโยบายการเงินที่ยังวิตกกังวลต่อสถานการณ์แนวโน้มของเงินเฟ้อในสหรัฐฯนั้น ไม่อาจปฎิเสธผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยได้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย หรืออัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ14วัน(อาร์/พี) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ให้น้ำหนักต่อการรักษาเสถียรภาพของเงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยน โดยปัจจุบันอาร์พี 14 วัน อยู่ที่ระดับ 4.25 %(ผลประชุม กนง.เมื่อวันที่ 18 ม.ค.) ซึ่งยังมีส่วนต่างกับดอกเบี้ยเฟดอยู่ 0.25% (อัตราดอกเบี้ยเฟดปัจจุบันอยู่ที่ 4.50% ต่อปี)
จึงมีความเป็นไปได้สูงที่การประชุม กนง.ในวันที่ 8 มีนาคม จะมีการพิจารณาปรับขึ้นอาร์พี14วันจาก 4.25%เป็น 4.50 % เพื่อเป็นการรักษาส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยไทยและดอกเบี้ยเฟดไม่ให้ต่างกันมากเกินไป จนมีผลกระทบต่อการไหลออกของเงินทุน และยังสอดคล้องกับเป้าหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องการผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อภายในกลางปี 2549 นี้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติ กล่าวถึง การแถลงนโยบายเศรษฐกิจของประธานเฟดคนใหม่ เป็นการส่งสัญญานชัดเจนว่า เฟดยังมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังสามารถเติบโตดีซึ่งหมายความว่าสหรัฐฯสามารถใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการสู้กับเงินเฟ้อได้ หากเงินอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในอัตราที่สูงต่อไป ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะมีการปรับขึ้นหรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างชัดเจนแต่หมายความว่า สหรัฐฯมีอิสระเสรีที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากไม่ได้มีข้อจำกัดด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ "ถ้าสหรัฐฯเชื่อว่าการขยายตัวเศรษฐกิจจะลดลง ก็แปลว่าการใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการดูแลเงินเฟ้อจะน้อยลง เมื่อเขาพูดชัดว่าเศรษฐกิจจะดี ก็แปลว่าถ้าเงินเฟ้อยังจะอยู่ในระดับสูงต่อไปก็คงใช้ดอกเบี้ยเป็นมาตรการในการดูแลแน่ ซึ่งชัดเจนว่าไม่ได้มีทฤษฎีอะไรที่แหวกแนวไปจากปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องดีที่ทำให้เราเข้าใจง่าย เพราะเราก็คิดแบบนี้เหมือนกัน" ผู้ว่าการธปท.กล่าว ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการของไทยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ สะท้อนมุมมองต่อการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐว่า เป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ เนื่องจากในขณะนี้ราคาน้ำมันยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกยังร้อนแรง ทั้งเศรษฐกิจจีน อินเดีย หรือแม้แต่เศรษฐกิจสหรัฐเอง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐสูง ซึ่งต้องใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยดูแล
ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้น เลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตาม แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทยอาจไม่จำเป็นต้องเร่งตัวในระดับเดียวกับดอกเบี้ยเฟด ขึ้นอยู่กับแรงกระทบของเงินเฟ้อในประเทศและสภาพคล่อง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ บริโภคในประเทศที่จะชะลอตัวลง
ทางด้าน รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ดอกเบี้ยเฟดในปัจจุบันที่ระดับ 4.5%นั้น ยังถือว่าเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับในช่วงก่อนที่สหรัฐจะปรับดอกเบี้ยเฟดลงมาอยู่ที่ระดับ 1 % กว่า โดยคาดว่าในปีนี้เฟดน่าจะอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า 5.5% เพราะสหรัฐเกรงว่าดอลลาร์จะอ่อนค่ามาก ดังนั้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นแนวทางที่ทำให้ดอลลาร์ไม่เป็นช่วงขาลงแบบฮวบฮาบ
****ศก.สหรัฐฯชะลอ-ส่งออกไทยกระทบ
แนวโน้มการชะลอตัวของประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐฯ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งค่ายเอกชนเริ่มทะยอยปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงกันบ้างแล้ว เช่น บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดประมาณการจีดีพีของไทยจาก 4.50-5.00 % เป็น 4.00% และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะชะลอตัวลงหลังจากที่เฟดเสร็จสิ้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
อ้างอิงผลการศึกษาจากวัฎจักรเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯพบว่าในปีที่เฟดเสร็จสิ้นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในปีนั้น มักจะลดลงจากปีก่อนหน้าประมาณ 0.7-1.5% จากแนวโน้มดังกล่าวประกอบกับการที่ตัวเลขจีดีพีของสหรัฐฯในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 ออกมาต่ำกว่าคาด (ขยายตัวเพียง 1.1%จาก 4.1 %ในไตรมาสที่ 3)ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจขยายตัวเพียง 2.5-3%ในปี 2549นี้ เทียบกับที่ขยายตัว 3.5%ในปี 2548
นอกจากนี้การที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีน้ำหนักถึง 30% ของเศรษฐกิจโลก ทำให้การชะลอตัวดังกล่าวของสหรัฐฯ ส่งผลต่อการขยายตัวของการส่งออกของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ดังที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 2544 โดยในปีนั้น การถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อันเป็นผลจากการแตกของภาวะฟองสบู่ในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ได้ส่งผลให้การส่งออกของไทยหดตัวลงถึง 7 % จากปีก่อนหน้า ถึงแม้ว่าการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐโดยประธานเฟดคนใหม่ ยังคงเดินตามแนวทางเดิม แต่ในแง่ของผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้น ต้องเตรียมรับมือทั้งผลกระทบ 2 ด้าน คือ ผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-