แท็ก
กรมการค้าต่างประเทศ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า ขณะนี้ EU อยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อออกข้อกำหนดด้านสุขภาพสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ มาตรการป้องกันและควบคุมโรคสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง โดยเฉพาะโรคที่อาจเกิดในปลาและหอย คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2550 สาระสำคัญของข้อกำหนดดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
1. สินค้าที่บังคับใช้ ได้แก่ ปลาและผลิตภัณฑ์ หอยและผลิตภัณฑ์ กุ้ง ปูและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำจำพวก ครัสตาเซียที่ผลิตใน EU และนำเข้าจากต่างประเทศ ยกเว้น สัตว์สวยงามที่เพาะเลี้ยงไว้ ไม่ใช่เพื่อการจำหน่าย สัตว์ที่พบตามธรรมชาติและนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อการบริโภค และสัตว์น้ำที่นำมาใช้ในการผลิตอาหารปลา น้ำมันปลา และผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึง และเมื่อส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไป EU จะต้องแนบหลักฐาน animal health certificate ไปด้วย
2. บังคับใช้กับฟาร์มเพาะเลี้ยงและสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำทั้งภายใน EU และในประเทศผู้ส่งออก ที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศสมาชิก EU โดยต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานที่มีอำนาจ และต้องระบุการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งต้องนำระบบการปฏิบัติด้านสุขลักษณะที่ดี (Good Hygiene Practice) ไปประยุกต์ใช้ในการผลิต สำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงจะต้องนำโครงการเฝ้าระวังด้านสุขภาพสัตว์ที่อ้างอิงข้อมูลด้านความเสี่ยง (risk-based animal health surveillance scheme) ไปประยุกต์ใช้ด้วย
3. กำหนดกฎระเบียบทั่วไปสำหรับการขนส่งและการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำ รวมถึงสภาวะด้านสุขภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาใช้เพื่อการผสมพันธุ์และ restocking โดยจะพิจารณาพื้นที่ที่เป็นแหล่งที่มาของสัตว์น้ำว่าเป็นแหล่งที่มีสถานะปลอดจากโรคหรือไม่ (Disease — free status)
4. ประเทศที่สามที่ได้รับอนุญาตให้ส่งสินค้าเข้าประเทศสมาชิก EU จะต้องมีชื่อปรากฏอยู่ในรายการประเทศที่ได้รับอนุญาต ซึ่งคณะกรรมาธิการจะจัดทำขึ้นภายหลังจากผ่านการประเมินด้านต่างๆ เช่น สุขภาพของสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง ด้านกฎระเบียบของประเทศที่สาม การตรวจสอบและประเมินหน่วยงานที่มีอำนาจโดยผู้เชี่ยวชาญของคณะกรรมาธิการ หากมีความจำเป็นต้องตรวจสอบแบบ On-the-Spot เพื่อให้การประเมินครบถ้วนสมบูรณ์
5. กรณีสงสัยว่าสัตว์น้ำอาจเป็นโรคชนิดที่ EU ควบคุม ได้แก่ โรคกุ้งหัวเหลือง และโรคทอร่าซินโดรม หรือกรณีพบว่าสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงเกิดการตายเป็นจำนวนมาก ประเทศสมาชิกจะต้องแจ้งข้อมูลให้แก่คณะกรรมาธิการ และประเทศสมาชิก EU อื่นๆ รวมถึงประเทศสมาชิก EFTA (สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอรเวย์ และไอซแลนด์) ภายใน 24 ชั่วโมง
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารเพื่อส่งออกของไทยที่อาจจะได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมกุ้งและปลาสดแช่เย็นแช่แข็งส่งออกไปตลาด EU โดยในปี 2548 ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไป EU มูลค่ารวม 1,854 ล้านบาท แบ่งเป็นกุ้ง มูลค่า 1,131 ล้านบาท ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง มูลค่า 723 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 63 และร้อยละ 95 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2547 สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2549 ไทยส่งออกกุ้งและปลาสดแช่เย็นแช่แข็งไป EU มูลค่ารวม 1,297 ล้านบาท แบ่งเป็นกุ้ง มูลค่า 781 ล้านบาท ปลาสดแช่เย็นแช่แข็งมูลค่า 516 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 182 และ 96 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสำคัญต่อการหาแนวทางป้องกันและควบคุมการเกิดโรคในสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงที่ EU ควบคุมอย่างเข้มงวด ทั้งในเรื่องการจัดการฟาร์ม โภชนาการและอาหาร พันธุกรรม พาหะ และสุขอนามัย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อรักษาตลาด EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่มีศักยภาพของไทยไม่ให้สูญเสียส่วนแบ่งตลาดการส่งออกสินค้าดังกล่าว
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
1. สินค้าที่บังคับใช้ ได้แก่ ปลาและผลิตภัณฑ์ หอยและผลิตภัณฑ์ กุ้ง ปูและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำจำพวก ครัสตาเซียที่ผลิตใน EU และนำเข้าจากต่างประเทศ ยกเว้น สัตว์สวยงามที่เพาะเลี้ยงไว้ ไม่ใช่เพื่อการจำหน่าย สัตว์ที่พบตามธรรมชาติและนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อการบริโภค และสัตว์น้ำที่นำมาใช้ในการผลิตอาหารปลา น้ำมันปลา และผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึง และเมื่อส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไป EU จะต้องแนบหลักฐาน animal health certificate ไปด้วย
2. บังคับใช้กับฟาร์มเพาะเลี้ยงและสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำทั้งภายใน EU และในประเทศผู้ส่งออก ที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศสมาชิก EU โดยต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานที่มีอำนาจ และต้องระบุการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งต้องนำระบบการปฏิบัติด้านสุขลักษณะที่ดี (Good Hygiene Practice) ไปประยุกต์ใช้ในการผลิต สำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงจะต้องนำโครงการเฝ้าระวังด้านสุขภาพสัตว์ที่อ้างอิงข้อมูลด้านความเสี่ยง (risk-based animal health surveillance scheme) ไปประยุกต์ใช้ด้วย
3. กำหนดกฎระเบียบทั่วไปสำหรับการขนส่งและการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำ รวมถึงสภาวะด้านสุขภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาใช้เพื่อการผสมพันธุ์และ restocking โดยจะพิจารณาพื้นที่ที่เป็นแหล่งที่มาของสัตว์น้ำว่าเป็นแหล่งที่มีสถานะปลอดจากโรคหรือไม่ (Disease — free status)
4. ประเทศที่สามที่ได้รับอนุญาตให้ส่งสินค้าเข้าประเทศสมาชิก EU จะต้องมีชื่อปรากฏอยู่ในรายการประเทศที่ได้รับอนุญาต ซึ่งคณะกรรมาธิการจะจัดทำขึ้นภายหลังจากผ่านการประเมินด้านต่างๆ เช่น สุขภาพของสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง ด้านกฎระเบียบของประเทศที่สาม การตรวจสอบและประเมินหน่วยงานที่มีอำนาจโดยผู้เชี่ยวชาญของคณะกรรมาธิการ หากมีความจำเป็นต้องตรวจสอบแบบ On-the-Spot เพื่อให้การประเมินครบถ้วนสมบูรณ์
5. กรณีสงสัยว่าสัตว์น้ำอาจเป็นโรคชนิดที่ EU ควบคุม ได้แก่ โรคกุ้งหัวเหลือง และโรคทอร่าซินโดรม หรือกรณีพบว่าสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงเกิดการตายเป็นจำนวนมาก ประเทศสมาชิกจะต้องแจ้งข้อมูลให้แก่คณะกรรมาธิการ และประเทศสมาชิก EU อื่นๆ รวมถึงประเทศสมาชิก EFTA (สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอรเวย์ และไอซแลนด์) ภายใน 24 ชั่วโมง
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารเพื่อส่งออกของไทยที่อาจจะได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมกุ้งและปลาสดแช่เย็นแช่แข็งส่งออกไปตลาด EU โดยในปี 2548 ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไป EU มูลค่ารวม 1,854 ล้านบาท แบ่งเป็นกุ้ง มูลค่า 1,131 ล้านบาท ปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง มูลค่า 723 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 63 และร้อยละ 95 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2547 สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2549 ไทยส่งออกกุ้งและปลาสดแช่เย็นแช่แข็งไป EU มูลค่ารวม 1,297 ล้านบาท แบ่งเป็นกุ้ง มูลค่า 781 ล้านบาท ปลาสดแช่เย็นแช่แข็งมูลค่า 516 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 182 และ 96 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสำคัญต่อการหาแนวทางป้องกันและควบคุมการเกิดโรคในสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงที่ EU ควบคุมอย่างเข้มงวด ทั้งในเรื่องการจัดการฟาร์ม โภชนาการและอาหาร พันธุกรรม พาหะ และสุขอนามัย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อรักษาตลาด EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่มีศักยภาพของไทยไม่ให้สูญเสียส่วนแบ่งตลาดการส่งออกสินค้าดังกล่าว
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-