ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยผลการหารือกับผู้บริหาร บ.จีอีแคปปิตอล นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการหารือกับ บ.จีอี แคปปิตอลเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งจะเข้าซื้อหุ้นของ ธ.กรุงศรีอยุธยา เมื่อวานนี้
(30 พ.ค.) ว่า ในที่สุดแล้ว ธ.จีอี มันนี่ เพื่อรายย่อย คงจะต้องควบรวมเข้ากับ ธ.กรุงศรีอยุธยา เพราะต้องปฏิบัติตามกฎมาสเตอร์แพลนใน
ส่วนของสถาบันการเงินสถานะเดียว อีกทั้งไม่มีความจำเป็นที่ ธ.จีอี มันนี่เพื่อรายย่อย จะเปลี่ยนสถานะไปเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร
(นอนแบงก์) ส่วนกรณีการเข้าถือหุ้นของต่างประเทศเป็นสัดสัดส่วนร้อยละ 25 นั้น นางธาริษากล่าวว่า กรณีนี้เป็นเรื่องของ ธ.กรุงศรีอยุธยาที่
จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ ธปท. ซึ่ง ธ.กรุงศรีอยุธยาอยู่ระหว่างหารือกับ ธปท.ถึงหลักเกณฑ์ที่จะทำได้ (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์,
แนวหน้า)
2. ธปท.ขอดูข้อมูลที่ชมรมบัตรเครดิตยื่นขยายเวลาการผ่อนชำระขั้นต่ำร้อยละ 5 ออกไป นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่ชมรมบัตรเครดิตจะขอเลื่อนระยะเวลาในการผ่อนชำระขั้นต่ำของ
บัตรเครดิตที่กำหนดปรับขึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10 สำหรับลูกค้ารายเดิมในปี 50 ออกไป โดยกล่าวว่า ธปท.จะต้องรอดูข้อมูลที่ชมรม
บัตรเครดิตยื่นมาก่อนว่า มีเหตุผลใดในการขอเลื่อนระยะเวลาดังกล่าว โดยในการพิจารณาข้อมูลของผู้ประกอบการบัตรเครดิตนั้น (กรุงเทพธุรกิจ,
โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, แนวหน้า)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยเดือน เม.ย.49 ปรับลดลงอย่างมากอยู่ที่ระดับ 94.5 ประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย เดือน เม.ย.49 ปรับตัวลดลงอย่างมากอยู่ที่ระดับ 94.5 จาก
108.5 ในเดือน มี.ค.49 ที่ผ่านมา โดยค่าดัชนีที่ได้มีค่าต่ำกว่า 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 ที่ผ่านมา แสดงให้
เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นภาวการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก สะท้อนความรู้สึกของผู้ประกอบการว่า กำลังได้รับผลกระทบ
จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งนี้ การที่ค่าดัชนีดังกล่าวลดลง เป็นผลมาจากขณะทำการสำรวจในเดือน
เม.ย.สถานการณ์ราคาต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ประกอบกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในแต่ละอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ และสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งเป็นอุปสรรคใน
การดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยและค่าเงินบาทที่ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการสั่งซื้อสินค้า และทำให้ผู้บริโภคชะลอการ
ใช้จ่ายลง (สยามรัฐ, แนวหน้า)
4. อัตราส่วนประสิทธิภาพของ บจ.ในไตรมาสแรกปี 49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 18.4 เทียบต่อไตรมาส ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงาน
วิจัยและข้อมูลสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจอัตราส่วนประสิทธิภาพของ บจ.เมื่อวัดจากผล
ตอบแทนของทุนที่ใช้ (Return on Capital Employed — ROCE) ในรอบไตรมาสแรกปี 49 ที่ผ่านมาพบว่า ยังอยู่ในระดับที่สูงที่ร้อยละ 18.4
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 48 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 17 แสดงให้เห็นว่า บจ.ส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพในการใช้เงินทุน หรือมีความระมัดระวัง
ในการขยายธุรกิจมากขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้ทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ ดัชนี ROCE นับเป็นดัชนีชี้นำบ่งชี้เศรษฐกิจมหภาคได้อีกอย่างหนึ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ในเดือน พ.ค. ลดลง รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 49 Conference Board
เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 103.2 ชะลอตัวจากระดับ
สูงสุดในรอบ 4 ปีที่ 109.8 ในเดือน เม.ย. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และแนวโน้มภาวะ
เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามยังสูงกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ค.
จะอยู่ที่ 101.1 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์และผู้จัดการกองทุนจาก Wells Capital Management เห็นว่าการลดลงเล็กน้อยดังกล่าวไม่น่าประหลาดใจ
มากนัก เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และมีการขายทิ้งหุ้นในตลาดหุ้น ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นอ่อนตัวลงไปอีกจากที่ได้รับผล
กระทบจากยอดขายตกต่ำของบริษัท Wal-Mart ซึ่งเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ได้กล่าวโทษราคาน้ำมันส่งผลให้ผู้บริโภคจับจ่ายน้อยลง
(รอยเตอร์)
2. ดัชนี PMI ของญี่ปุ่นชะลอลงในเดือน พ.ค.49 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 31 พ.ค.49 The NTC Research/Nomura/JMMA
เปิดเผยว่า Purchasing Managers Index (PMI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการดำเนินธุรกิจภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.49 อยู่ที่ระดับ
55.3 ลดลงจากระดับ 55.5, 56.3 และ 57.0 ในเดือน เม.ย., มี.ค. และ ก.พ./ม.ค. ตามลำดับ และอยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 36 ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนการขยายตัวของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม สำหรับดัชนีที่เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ Export orders index เพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 51.8 จากระดับ 51.4 ในเดือน ก่อนหน้า และอยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ขณะที่ New orders index ซึ่งเป็นดัชนีชี้
วัดความต้องการสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศในอนาคตอยู่ที่ระดับ 56.8 เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 เช่นกัน สำหรับ
Output index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดผลผลิตเพิ่มขึ้นที่ระดับ 57.7 จากระดับ 57.4 ส่วน Input prices index เพิ่มขึ้นที่ระดับ 68.3 จาก
65.1 ตามต้นทุนวัตถุดิบสำหรับการผลิตและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.49 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่อปี รายงานจากโซล เมื่อ 30 พ.ค.49 ผล
สำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์ในตลาดเงินโดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในเดือน พ.ค.49 เมื่อ
เทียบกับปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อปีเท่ากันในเดือน มี.ค.และ เม.ย.49 โดยอยู่ในระดับใกล้เคียงช่วงต่ำสุดของอัตราร้อยละ
2.0 — 3.1 ต่อปีในปี 48 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินวอนที่สูงขึ้นร้อยละ 6.5 ต่อปีในเดือน พ.ค.49 เมื่อเทียบเงินดอลลาร์ สรอ. หลัง
จากเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 ทำให้ราคาสินค้านำเข้ารวมทั้งน้ำมันไม่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันในตลาดโลก อย่างไรก็ดี
อัตราเงินเฟ้อของราคาสินค้านำเข้ายังคงอยู่ในระดับสูงโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 โดยอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ได้ชะลอ
ตัวลงนับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี และอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ต่อปีนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.48 เป็นต้นมา ทั้งนี้ สนง.
สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้มีกำหนดจะรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือน พ.ค.49 อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 มิ.ย.49 เวลา 13.30 น. ตาม
เวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้เดือน พ.ค.49 จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่
30 พ.ค.49 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.49 จะขยายตัวร้อยละ
16.6 จากปีก่อน นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 3 เดือน เทียบต่อปี หลังจากที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 ในเดือน ก.พ. ซึ่งช่วยลดความกังวล
เกี่ยวกับค่าเงินวอนที่แข็งตัวและราคาน้ำมันแพงที่เริ่มส่งผลกระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งใน
เดือน พ.ค. จะช่วยสนับสนุนข้อขัดแย้งของรัฐบาลที่ว่า การส่งออกขึ้นอยู่กับความต้องการสินค้าจาก สรอ. และจีน มากกว่าอัตราแลกเปลี่ยน
เงินดอลลาร์ สรอ. ต่อเงินวอน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินวอนที่แข็งตัวยังคงมีความเสี่ยงโดยทำให้กำไรของยอดขายสินค้าจากต่างประเทศลดลงเมื่อ
นำเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนกลับเป็นเงินวอน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าตัวเลขการส่งออกเดือน พ.ค. จะช่วยเน้นให้เห็นว่า
เศรษฐกิจหลักยังคงฟื้นตัวได้ดี แม้ว่าอาจจะมีข้อกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับความล่าช้าของการขนส่งสินค้าทางเรือที่อาจจะทำให้มูลค่ารวมของการส่งออก
ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาลดลง ทั้งนี้ ไมโครชิป รถยนต์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมกันคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 25 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
ขณะที่เรือและผลิตภัณฑ์น้ำมันมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ส่วนการนำเข้าในเดือน พ.ค. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 จากเดือนก่อน
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 พ.ค. 49 30 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.198 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.0272/38.3118 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.86188 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 713.96/ 13.41 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,800/11,900 11,750/11,850 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.27 65.37 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 55 สตางค์ เมื่อ 20 พ.ค. 49 29.39*/26.74* 29.39*/26.74* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยผลการหารือกับผู้บริหาร บ.จีอีแคปปิตอล นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการหารือกับ บ.จีอี แคปปิตอลเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งจะเข้าซื้อหุ้นของ ธ.กรุงศรีอยุธยา เมื่อวานนี้
(30 พ.ค.) ว่า ในที่สุดแล้ว ธ.จีอี มันนี่ เพื่อรายย่อย คงจะต้องควบรวมเข้ากับ ธ.กรุงศรีอยุธยา เพราะต้องปฏิบัติตามกฎมาสเตอร์แพลนใน
ส่วนของสถาบันการเงินสถานะเดียว อีกทั้งไม่มีความจำเป็นที่ ธ.จีอี มันนี่เพื่อรายย่อย จะเปลี่ยนสถานะไปเป็นสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร
(นอนแบงก์) ส่วนกรณีการเข้าถือหุ้นของต่างประเทศเป็นสัดสัดส่วนร้อยละ 25 นั้น นางธาริษากล่าวว่า กรณีนี้เป็นเรื่องของ ธ.กรุงศรีอยุธยาที่
จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ ธปท. ซึ่ง ธ.กรุงศรีอยุธยาอยู่ระหว่างหารือกับ ธปท.ถึงหลักเกณฑ์ที่จะทำได้ (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์,
แนวหน้า)
2. ธปท.ขอดูข้อมูลที่ชมรมบัตรเครดิตยื่นขยายเวลาการผ่อนชำระขั้นต่ำร้อยละ 5 ออกไป นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่ชมรมบัตรเครดิตจะขอเลื่อนระยะเวลาในการผ่อนชำระขั้นต่ำของ
บัตรเครดิตที่กำหนดปรับขึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10 สำหรับลูกค้ารายเดิมในปี 50 ออกไป โดยกล่าวว่า ธปท.จะต้องรอดูข้อมูลที่ชมรม
บัตรเครดิตยื่นมาก่อนว่า มีเหตุผลใดในการขอเลื่อนระยะเวลาดังกล่าว โดยในการพิจารณาข้อมูลของผู้ประกอบการบัตรเครดิตนั้น (กรุงเทพธุรกิจ,
โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, แนวหน้า)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยเดือน เม.ย.49 ปรับลดลงอย่างมากอยู่ที่ระดับ 94.5 ประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย เดือน เม.ย.49 ปรับตัวลดลงอย่างมากอยู่ที่ระดับ 94.5 จาก
108.5 ในเดือน มี.ค.49 ที่ผ่านมา โดยค่าดัชนีที่ได้มีค่าต่ำกว่า 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 ที่ผ่านมา แสดงให้
เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นภาวการณ์ด้านอุตสาหกรรมอยู่ในระดับที่ไม่ดีนัก สะท้อนความรู้สึกของผู้ประกอบการว่า กำลังได้รับผลกระทบ
จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งนี้ การที่ค่าดัชนีดังกล่าวลดลง เป็นผลมาจากขณะทำการสำรวจในเดือน
เม.ย.สถานการณ์ราคาต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ประกอบกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในแต่ละอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ และสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งเป็นอุปสรรคใน
การดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยและค่าเงินบาทที่ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการสั่งซื้อสินค้า และทำให้ผู้บริโภคชะลอการ
ใช้จ่ายลง (สยามรัฐ, แนวหน้า)
4. อัตราส่วนประสิทธิภาพของ บจ.ในไตรมาสแรกปี 49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 18.4 เทียบต่อไตรมาส ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงาน
วิจัยและข้อมูลสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจอัตราส่วนประสิทธิภาพของ บจ.เมื่อวัดจากผล
ตอบแทนของทุนที่ใช้ (Return on Capital Employed — ROCE) ในรอบไตรมาสแรกปี 49 ที่ผ่านมาพบว่า ยังอยู่ในระดับที่สูงที่ร้อยละ 18.4
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 48 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 17 แสดงให้เห็นว่า บจ.ส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพในการใช้เงินทุน หรือมีความระมัดระวัง
ในการขยายธุรกิจมากขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้ทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ ดัชนี ROCE นับเป็นดัชนีชี้นำบ่งชี้เศรษฐกิจมหภาคได้อีกอย่างหนึ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ในเดือน พ.ค. ลดลง รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 49 Conference Board
เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 103.2 ชะลอตัวจากระดับ
สูงสุดในรอบ 4 ปีที่ 109.8 ในเดือน เม.ย. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และแนวโน้มภาวะ
เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามยังสูงกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ค.
จะอยู่ที่ 101.1 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์และผู้จัดการกองทุนจาก Wells Capital Management เห็นว่าการลดลงเล็กน้อยดังกล่าวไม่น่าประหลาดใจ
มากนัก เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และมีการขายทิ้งหุ้นในตลาดหุ้น ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นอ่อนตัวลงไปอีกจากที่ได้รับผล
กระทบจากยอดขายตกต่ำของบริษัท Wal-Mart ซึ่งเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ได้กล่าวโทษราคาน้ำมันส่งผลให้ผู้บริโภคจับจ่ายน้อยลง
(รอยเตอร์)
2. ดัชนี PMI ของญี่ปุ่นชะลอลงในเดือน พ.ค.49 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 31 พ.ค.49 The NTC Research/Nomura/JMMA
เปิดเผยว่า Purchasing Managers Index (PMI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการดำเนินธุรกิจภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.49 อยู่ที่ระดับ
55.3 ลดลงจากระดับ 55.5, 56.3 และ 57.0 ในเดือน เม.ย., มี.ค. และ ก.พ./ม.ค. ตามลำดับ และอยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็น
เดือนที่ 36 ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนการขยายตัวของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม สำหรับดัชนีที่เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ Export orders index เพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 51.8 จากระดับ 51.4 ในเดือน ก่อนหน้า และอยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ขณะที่ New orders index ซึ่งเป็นดัชนีชี้
วัดความต้องการสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศในอนาคตอยู่ที่ระดับ 56.8 เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 เช่นกัน สำหรับ
Output index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดผลผลิตเพิ่มขึ้นที่ระดับ 57.7 จากระดับ 57.4 ส่วน Input prices index เพิ่มขึ้นที่ระดับ 68.3 จาก
65.1 ตามต้นทุนวัตถุดิบสำหรับการผลิตและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.49 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่อปี รายงานจากโซล เมื่อ 30 พ.ค.49 ผล
สำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์ในตลาดเงินโดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในเดือน พ.ค.49 เมื่อ
เทียบกับปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่อปีเท่ากันในเดือน มี.ค.และ เม.ย.49 โดยอยู่ในระดับใกล้เคียงช่วงต่ำสุดของอัตราร้อยละ
2.0 — 3.1 ต่อปีในปี 48 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินวอนที่สูงขึ้นร้อยละ 6.5 ต่อปีในเดือน พ.ค.49 เมื่อเทียบเงินดอลลาร์ สรอ. หลัง
จากเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 ทำให้ราคาสินค้านำเข้ารวมทั้งน้ำมันไม่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันในตลาดโลก อย่างไรก็ดี
อัตราเงินเฟ้อของราคาสินค้านำเข้ายังคงอยู่ในระดับสูงโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ต่อปีในเดือน เม.ย.49 โดยอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ได้ชะลอ
ตัวลงนับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี และอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ต่อปีนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.48 เป็นต้นมา ทั้งนี้ สนง.
สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้มีกำหนดจะรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือน พ.ค.49 อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 มิ.ย.49 เวลา 13.30 น. ตาม
เวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้เดือน พ.ค.49 จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่
30 พ.ค.49 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.49 จะขยายตัวร้อยละ
16.6 จากปีก่อน นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 3 เดือน เทียบต่อปี หลังจากที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 ในเดือน ก.พ. ซึ่งช่วยลดความกังวล
เกี่ยวกับค่าเงินวอนที่แข็งตัวและราคาน้ำมันแพงที่เริ่มส่งผลกระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งใน
เดือน พ.ค. จะช่วยสนับสนุนข้อขัดแย้งของรัฐบาลที่ว่า การส่งออกขึ้นอยู่กับความต้องการสินค้าจาก สรอ. และจีน มากกว่าอัตราแลกเปลี่ยน
เงินดอลลาร์ สรอ. ต่อเงินวอน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินวอนที่แข็งตัวยังคงมีความเสี่ยงโดยทำให้กำไรของยอดขายสินค้าจากต่างประเทศลดลงเมื่อ
นำเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนกลับเป็นเงินวอน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าตัวเลขการส่งออกเดือน พ.ค. จะช่วยเน้นให้เห็นว่า
เศรษฐกิจหลักยังคงฟื้นตัวได้ดี แม้ว่าอาจจะมีข้อกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับความล่าช้าของการขนส่งสินค้าทางเรือที่อาจจะทำให้มูลค่ารวมของการส่งออก
ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาลดลง ทั้งนี้ ไมโครชิป รถยนต์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมกันคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 25 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
ขณะที่เรือและผลิตภัณฑ์น้ำมันมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ส่วนการนำเข้าในเดือน พ.ค. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 จากเดือนก่อน
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 พ.ค. 49 30 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.198 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.0272/38.3118 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.86188 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 713.96/ 13.41 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,800/11,900 11,750/11,850 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.27 65.37 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 55 สตางค์ เมื่อ 20 พ.ค. 49 29.39*/26.74* 29.39*/26.74* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--