วันนี้ (17 กย.49) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ได้แฉหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการโยกย้ายทหาร และข้าราชการระดับสูงจะต้องผ่านการพิจารณาคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยรองโฆษกฯ กล่าวว่า ที่ต้องนำเรื่องนี้มาพูดเพราะการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6 กพ. 2548 ได้ชื่อว่าเป็นการเป็นการเลือกตั้งที่ สกปรกที่สุด แม้นายชวน หลีกภัย ที่ได้เคยผ่านการเลือกตั้งมาตั้งแต่ปี 2512 มาแล้วหลายสมัยยังกล่าวว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้มีการโกงมากที่สุดตั้งแต่ประเทศไทยมีการเลือกตั้งมา และมีการใช้อำนาจของรัฐบาลสั่งข้าราชการให้ดำเนินการเลือกตั้งโดยเข้าข้างผู้มีอำนาจ
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงกรณีการโยกย้ายทหาร โดยนายยุทธพงศ์ ได้หยิบยก รัฐธรรมนูญมาตรา 215 วรรค 2 ที่กล่าวว่า “รัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตามอายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการการยุบสภาผู้แทนราษฎร จะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง”
โดยรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 215 ตามรายงานการประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 24 เมื่อวันอังคารที่ 22 กค. 2540 ที่มีการอภิปรายโดย ศ.เขียน ธีระวิทย์ ซึ่งเสนอให้มีมาตรการป้องกันในการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ยังหยิบยกการอภิปรายของ พ.อ.สมคิด ศรีสังคมว่า ที่ต้องมีมาตรานี้ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐมนตรีรักษาการได้ปฏิบัติหน้าที่แบบทิ้งทวน อีกทั้งยังมีการอภิปรายของนายวรพจน์ ณ นคร ซึ่งเป็นอดีตนักข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว คือได้เคยอภิปรายสนับสนุนประเด็นของพ.อ.สมคิด ว่าเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นประโยชน์ และจากประสบการณ์ด้านการข่าวเห็นชัดเจนว่า ครม. ที่รักษาการอยู่ระหว่างการเลือกตั้งนั้น มักจะใช้อำนาจหน้าที่ในการโยกย้ายข้าราชการ ส่วนคนสำคัญอีกคนหนึ่งคือ ศ.บวรศักดิ์ อุวรรณโน ก็ได้เคยอภิปรายเอาไว้ว่าถ้าเป็นการเลือกตั้งใหม่ตรงนี้การใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทั้งมวลอาจจะเกี่ยวพันโดยตรงกับผลประโยชน์ในการเลือกตั้ง
“ผมเองในฐานะที่มีส่วนได้เสียกับการเลือกตั้งโดยตรง เพราะผมจะลงสมัคร สส.จังหวัดมหาสารคาม เขต 3 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แน่นอน ในการเลือกตั้งครั้งหน้า เพราะในการเลือกตั้งจะมีการใช้ทหารมาทำหน้าที่ในการนับคะแนน และมีการใช้ตำรวจมาทำหน้าที่รักษาบัตรเลือกตั้ง และถ้ารัฐบาลรักษาการใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทหาร ตำรวจ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน อาจทำให้การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ได้ เพราะอาจมีการสั่งให้ทหารหรือตำรวจช่วยเหลือผู้มีอำนาจได้” นายยุทธพงศ์กล่าว
ในเรื่องนี้ นายยุทธพงศ์ จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้งคนใหม่ ที่สำนักงาน กกต. อาคารศรีจุลทรัพย์ วันพรุ่งนี้ (จันทร์ที่ 18 กย.49) เพื่อขอให้ กกต. ได้พิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการว่ามีอำนาจในการโยกย้ายทหารประจำปีหรือไม่ต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ก.ย. 2549--จบ--
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงกรณีการโยกย้ายทหาร โดยนายยุทธพงศ์ ได้หยิบยก รัฐธรรมนูญมาตรา 215 วรรค 2 ที่กล่าวว่า “รัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตามอายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการการยุบสภาผู้แทนราษฎร จะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง”
โดยรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง เจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 215 ตามรายงานการประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 24 เมื่อวันอังคารที่ 22 กค. 2540 ที่มีการอภิปรายโดย ศ.เขียน ธีระวิทย์ ซึ่งเสนอให้มีมาตรการป้องกันในการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ยังหยิบยกการอภิปรายของ พ.อ.สมคิด ศรีสังคมว่า ที่ต้องมีมาตรานี้ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐมนตรีรักษาการได้ปฏิบัติหน้าที่แบบทิ้งทวน อีกทั้งยังมีการอภิปรายของนายวรพจน์ ณ นคร ซึ่งเป็นอดีตนักข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว คือได้เคยอภิปรายสนับสนุนประเด็นของพ.อ.สมคิด ว่าเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นประโยชน์ และจากประสบการณ์ด้านการข่าวเห็นชัดเจนว่า ครม. ที่รักษาการอยู่ระหว่างการเลือกตั้งนั้น มักจะใช้อำนาจหน้าที่ในการโยกย้ายข้าราชการ ส่วนคนสำคัญอีกคนหนึ่งคือ ศ.บวรศักดิ์ อุวรรณโน ก็ได้เคยอภิปรายเอาไว้ว่าถ้าเป็นการเลือกตั้งใหม่ตรงนี้การใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทั้งมวลอาจจะเกี่ยวพันโดยตรงกับผลประโยชน์ในการเลือกตั้ง
“ผมเองในฐานะที่มีส่วนได้เสียกับการเลือกตั้งโดยตรง เพราะผมจะลงสมัคร สส.จังหวัดมหาสารคาม เขต 3 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แน่นอน ในการเลือกตั้งครั้งหน้า เพราะในการเลือกตั้งจะมีการใช้ทหารมาทำหน้าที่ในการนับคะแนน และมีการใช้ตำรวจมาทำหน้าที่รักษาบัตรเลือกตั้ง และถ้ารัฐบาลรักษาการใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทหาร ตำรวจ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน อาจทำให้การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ได้ เพราะอาจมีการสั่งให้ทหารหรือตำรวจช่วยเหลือผู้มีอำนาจได้” นายยุทธพงศ์กล่าว
ในเรื่องนี้ นายยุทธพงศ์ จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้งคนใหม่ ที่สำนักงาน กกต. อาคารศรีจุลทรัพย์ วันพรุ่งนี้ (จันทร์ที่ 18 กย.49) เพื่อขอให้ กกต. ได้พิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการว่ามีอำนาจในการโยกย้ายทหารประจำปีหรือไม่ต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 ก.ย. 2549--จบ--