วันนี้(7 พ.ค.)ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเกียรติ สิทธิอมร คณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลว่า แม้ว่าจะเป็นรัฐบาลรักษาการแต่ก็ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของเศรษฐกิจ เพราะมีสัญญาณอันตรายหลายเรื่องแต่รัฐบาลก็ยังไม่มีความชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมัน แม้จะออกมาตรการหลายอย่างแต่ก็ไม่มีประสิทธิผล มาตรการประหยัดพลังงาน12 ข้อไม่มีการประเมินประสิทธิภาพ การหาพลังงานทดแทนไม่เป็นรูปธรรมและไม่ช่วยแก้ปัญหา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปัญหาเงินเฟ้อเพราะไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าให้สะท้อนกับราคาต้นทุนที่เป็นจริง โดยเฉพาะราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งจากการเดินสำรวจราคาสินค้าในตลาดสด และตามห้างสรรพสินค้า พบว่าสินค้าหลายอย่างแม้ไม่มีการขึ้นราคาจริงแต่มีปริมาณลดลง เช่น สบู่ ผ้าอนามัย กระดาษชำระ ผงซักฟอก ขณะเดียวกันราคาสินค้าตามท้องตลาดมีราคาสูงกว่าราคาที่กรมการค้าภายในประกาศในเว็บไซด์กว่าร้อยละ100 ขณะที่บางแห่งสูงถึงร้อยละ 300-700 โดยไม่สามารถอธิบายได้ว่าคิดราคาที่สะท้อนจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ และเหตุใดกรมการค้าภายในไม่นำข้อมูลที่แท้จริงมาเปิดเผยให้ประชาชนและสังคมได้รับทราบ
นายเกียรติกล่าวว่าสิ่งที่น่าวิตกคือหลังจากราคาสินค้าเพิ่มสูงอัตราเงินเฟ้อก็เพิ่มขึ้น ขณะนี้อยู่ประมาณร้อยละ 6.7 ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นและยากต่อการประเมินในภาวะที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดุลการค้าในไตรมาสแรกขาดดุลทำให้เศรษฐกิจไทยมีปัญหา การลงทุนชะลอตัวลง ซึ่งจากตัวเลขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพบว่ามีผู้ขออนุญาตการลงทุน ออกบัตรสิทธิประโยชน์เพียงร้อยละ 50 ขณะเดียวกันอัตราและเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งขึ้นขณะนี้อยู่ที่37.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่ความจริงควรอยู่ที่ 39-40 บาท เพราะภาวะการเมืองที่ไม่เสถียรภาพและภาวะการขาดดุล แต่เงินบาทกลับแข็งสวนทาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขาดดุลการค้าโดยเฉพาะการส่งออกและถือเป็นความผิดปกติที่ค่าเงินบาทแข็งมากกว่าค่าเฉลี่ยของสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาค และสิ่งที่ผิดปกติคือธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานตัวเลขเงินไหลเข้าในระบบผิดปกติกว่า 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเหตุผลทำให้เงินบาทแข็งขึ้น โดยจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการด้านการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าด้านการเกษตร เช่นมีการยกเลิกสั่งซื้อข้าวจากประเทศไทย เพราะเมื่อเทียบเป็นราคาดอลลาร์แล้วจะมีราคาสูงกว่าเวียดนามถึง 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยดอกเบี้ยขาขึ้นซึ่งมีผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมรุนแรง โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ที่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น
“ นโยบายหลายอย่างของรัฐบาลมีท่าทีไม่ตรงกับความคิดภาคเอกชน อย่างที่รัฐบาลบอกว่าไม่กระทบต่อการส่งออก แต่ภาคเอกชนยืนยันว่ากระทบอย่างมาก รัฐบาลไม่มีนโยบายเศรษฐกิจภาพรวมมีแต่นโยบายรายวัน แม้จะเป็นแค่รักษาการณ์แต่ก็ต้องทำให้ดีกว่านี้ จะลากให้สถานการณ์ไปวันๆไม่ได้ เพราะปัญหาจะทวีคูณ มีสัญญาณอันตรายออกมาหลาอย่าง แต่รัฐบาลเกาไม่ถูกที่คัน”นายเกียรติกล่าว
ดังนั้นตนจึงขอร้องเรียนไปยังรัฐบาล 7 ข้อคือ
1. จะทำอย่างไรกับข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาราคาสินค้าที่ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
2. ราคาน้ำมันรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรในภาวะที่ประชาชนใช้น้ำมันแพงขึ้นแต่บริษัทในเครือปตท.มีกำไร 2 หมื่นล้านบาทซึ่งสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น มีกำไรต่อหน่วยถึง 8-9 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งกำไรมาตรฐานอยู่ที่2.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ปตท.มีกำไร 8.5 หมื่นล้าน ซึ่งเมื่อปี 45 ก่อนมีการแปรรูปปตท.มีกำไร2.5 หมื่นล้าน หลังการแปรรูปมีกำไรเพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า
3.รัฐบาลจะจัดการอย่างไรกับเงินร้อนที่เข้ามามากผิดปกติจนทำให้ค่าเงินบาทแข็งกว่าปกติในรอบ4 เดือนที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ธปท.ออกมาระบุว่าเงินที่เข้าเกิดจากเศรษฐกิจของสหรัฐชะลอตัว เงินจึงเข้ามาผิดปกติ ดังนั้นจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเงินมาจากสหรัฐหรือจากสิงคโปร์ เพราะสหรัฐถือหุ้นในบริษัทนอมินีของสิงคโปร์ ซึ่งมีหลายบริษัทที่ลงทุนผ่านสิงคโปร์เตรียมตั้งท่ามาซื้อทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจในไทย และที่น่าสังเกตคือในช่วงที่ประกาศเว้นวรรคมีการถอนเงินในธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง 2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้สภาพคล่องในสถาบันการเงินหายไป จนต้องไประดมทุนจากผู้ฝากเพื่อเรียกสภาพคล่องกลับคืนมา ดังนั้นตนจึงอยากเรียกร้องเปิดเผยข้อมูลตัวเลขเงินเข้าออก ทั้งหมดสู่สาธารณะ เพราะไม่น่าจะมาจากสหรัฐเพียงที่เดียว
4. รัฐบาลจะช่วยเหลือเกษตรกรทั้งจากที่ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอ และอัตราแลกเปลี่ยนการเงินอย่างไร
5. รัฐบาลจะทำอย่างไรกับปัญหาราคาสินค้าเกษตรหลายตัวถูกยกเลิกการสั่งซื้อ โดยเฉพาะสินค้าส่งออก
6. การลงทุนมีการชะลอตัวจะดำเนินการอย่างไร โดยตัวเลขการออกบัตรสิทธิการลงทุนในไตรมาสแรก มีเพียง 8.4 หมื่นล้าน เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเดียวกันที่สูงถึง 1.4 แสนล้าน
7.ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นภาคธุรกิจอย่างแท้จริง ซึ่งสัมพันธ์กับภาคแรงงาน เกิดการชะลอตัวจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและดอกเบี้ยสูงขึ้น รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร
นายเกียรติ กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ ไข่ไก่ มีการขยับราคาเพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ย 2 บาทต่อฟอง ซึ่งคนไทยกว่า 22 ล้านคนบริโภคไข่ไก่ต่อ 1 วัน รัฐบาลจะอธิบายส่วนต่างของราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างไร เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค
ส่วนการที่รัฐบาลเตรียมจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 แบบสมดุลนั้น นายเกียรติ กล่าวว่า เป็นการสร้างภาพเพื่อให้คนรู้สึกว่าเศรษฐกิจดี เพราะประชาชนไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง โดยคิดว่าเศรษฐกิจโต 6.5 เปอร์เซ็นต์ซึ่งรัฐบาลใช้มาตลอด แต่ความจริง เศรษฐกิจโตเพียง 4-5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ในการจัดทำงบประมาณต้องคำนึงถึงภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ดังนั้น จึงเป็นการหลอกตัวเอง แต่ที่สุด ความจริงก็จะสะท้อนออกมา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 พ.ค. 2549--จบ--
นายเกียรติกล่าวว่าสิ่งที่น่าวิตกคือหลังจากราคาสินค้าเพิ่มสูงอัตราเงินเฟ้อก็เพิ่มขึ้น ขณะนี้อยู่ประมาณร้อยละ 6.7 ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นและยากต่อการประเมินในภาวะที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดุลการค้าในไตรมาสแรกขาดดุลทำให้เศรษฐกิจไทยมีปัญหา การลงทุนชะลอตัวลง ซึ่งจากตัวเลขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพบว่ามีผู้ขออนุญาตการลงทุน ออกบัตรสิทธิประโยชน์เพียงร้อยละ 50 ขณะเดียวกันอัตราและเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งขึ้นขณะนี้อยู่ที่37.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่ความจริงควรอยู่ที่ 39-40 บาท เพราะภาวะการเมืองที่ไม่เสถียรภาพและภาวะการขาดดุล แต่เงินบาทกลับแข็งสวนทาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขาดดุลการค้าโดยเฉพาะการส่งออกและถือเป็นความผิดปกติที่ค่าเงินบาทแข็งมากกว่าค่าเฉลี่ยของสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาค และสิ่งที่ผิดปกติคือธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานตัวเลขเงินไหลเข้าในระบบผิดปกติกว่า 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเหตุผลทำให้เงินบาทแข็งขึ้น โดยจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการด้านการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าด้านการเกษตร เช่นมีการยกเลิกสั่งซื้อข้าวจากประเทศไทย เพราะเมื่อเทียบเป็นราคาดอลลาร์แล้วจะมีราคาสูงกว่าเวียดนามถึง 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยดอกเบี้ยขาขึ้นซึ่งมีผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมรุนแรง โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ที่ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น
“ นโยบายหลายอย่างของรัฐบาลมีท่าทีไม่ตรงกับความคิดภาคเอกชน อย่างที่รัฐบาลบอกว่าไม่กระทบต่อการส่งออก แต่ภาคเอกชนยืนยันว่ากระทบอย่างมาก รัฐบาลไม่มีนโยบายเศรษฐกิจภาพรวมมีแต่นโยบายรายวัน แม้จะเป็นแค่รักษาการณ์แต่ก็ต้องทำให้ดีกว่านี้ จะลากให้สถานการณ์ไปวันๆไม่ได้ เพราะปัญหาจะทวีคูณ มีสัญญาณอันตรายออกมาหลาอย่าง แต่รัฐบาลเกาไม่ถูกที่คัน”นายเกียรติกล่าว
ดังนั้นตนจึงขอร้องเรียนไปยังรัฐบาล 7 ข้อคือ
1. จะทำอย่างไรกับข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาราคาสินค้าที่ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
2. ราคาน้ำมันรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรในภาวะที่ประชาชนใช้น้ำมันแพงขึ้นแต่บริษัทในเครือปตท.มีกำไร 2 หมื่นล้านบาทซึ่งสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น มีกำไรต่อหน่วยถึง 8-9 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งกำไรมาตรฐานอยู่ที่2.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ปตท.มีกำไร 8.5 หมื่นล้าน ซึ่งเมื่อปี 45 ก่อนมีการแปรรูปปตท.มีกำไร2.5 หมื่นล้าน หลังการแปรรูปมีกำไรเพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า
3.รัฐบาลจะจัดการอย่างไรกับเงินร้อนที่เข้ามามากผิดปกติจนทำให้ค่าเงินบาทแข็งกว่าปกติในรอบ4 เดือนที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ธปท.ออกมาระบุว่าเงินที่เข้าเกิดจากเศรษฐกิจของสหรัฐชะลอตัว เงินจึงเข้ามาผิดปกติ ดังนั้นจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเงินมาจากสหรัฐหรือจากสิงคโปร์ เพราะสหรัฐถือหุ้นในบริษัทนอมินีของสิงคโปร์ ซึ่งมีหลายบริษัทที่ลงทุนผ่านสิงคโปร์เตรียมตั้งท่ามาซื้อทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจในไทย และที่น่าสังเกตคือในช่วงที่ประกาศเว้นวรรคมีการถอนเงินในธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง 2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้สภาพคล่องในสถาบันการเงินหายไป จนต้องไประดมทุนจากผู้ฝากเพื่อเรียกสภาพคล่องกลับคืนมา ดังนั้นตนจึงอยากเรียกร้องเปิดเผยข้อมูลตัวเลขเงินเข้าออก ทั้งหมดสู่สาธารณะ เพราะไม่น่าจะมาจากสหรัฐเพียงที่เดียว
4. รัฐบาลจะช่วยเหลือเกษตรกรทั้งจากที่ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอ และอัตราแลกเปลี่ยนการเงินอย่างไร
5. รัฐบาลจะทำอย่างไรกับปัญหาราคาสินค้าเกษตรหลายตัวถูกยกเลิกการสั่งซื้อ โดยเฉพาะสินค้าส่งออก
6. การลงทุนมีการชะลอตัวจะดำเนินการอย่างไร โดยตัวเลขการออกบัตรสิทธิการลงทุนในไตรมาสแรก มีเพียง 8.4 หมื่นล้าน เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเดียวกันที่สูงถึง 1.4 แสนล้าน
7.ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นภาคธุรกิจอย่างแท้จริง ซึ่งสัมพันธ์กับภาคแรงงาน เกิดการชะลอตัวจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและดอกเบี้ยสูงขึ้น รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร
นายเกียรติ กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ ไข่ไก่ มีการขยับราคาเพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ย 2 บาทต่อฟอง ซึ่งคนไทยกว่า 22 ล้านคนบริโภคไข่ไก่ต่อ 1 วัน รัฐบาลจะอธิบายส่วนต่างของราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างไร เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค
ส่วนการที่รัฐบาลเตรียมจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 แบบสมดุลนั้น นายเกียรติ กล่าวว่า เป็นการสร้างภาพเพื่อให้คนรู้สึกว่าเศรษฐกิจดี เพราะประชาชนไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริง โดยคิดว่าเศรษฐกิจโต 6.5 เปอร์เซ็นต์ซึ่งรัฐบาลใช้มาตลอด แต่ความจริง เศรษฐกิจโตเพียง 4-5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ในการจัดทำงบประมาณต้องคำนึงถึงภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ดังนั้น จึงเป็นการหลอกตัวเอง แต่ที่สุด ความจริงก็จะสะท้อนออกมา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 พ.ค. 2549--จบ--