สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว ความต้องการบริโภคยังคงใกล้เคียงกับปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้นตามความต้องการบริโภคที่จะเพิ่มขึ้นภายหลังเปิดภาคการศึกษา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.06 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.86 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.65 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 54.27 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 48 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจาก
ปริมาณการผลิตลดลงและความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ผู้อำนวยการสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่าพบเชื้อไข้หวัดนกในหลายจังหวัดภาคกลางนั้น ได้นำสัตว์ปีกที่ป่วยและล้มตายได้นำไปตรวจพิสูจน์แล้ว พบว่าเป็นไข้หวัดธรรมดาชนิดเอชสาม และเอชสี่ ซึ่งองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลก ถือเป็นการเกิดโรคปกติของสัตว์ปีก ไม่จำเป็นต้องรายงานให้ทราบ อีกทั้งเชื้อดังกล่าวไม่ติดต่อสู่คนเหมือนโรคไข้หวัดนก อย่างไรก็ตามกรมปศุสัตว์ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เฝ้าระวังไข้หวัดนกอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งขอความร่วมมือเกษตรกรทุกคน ให้แจ้งอาการสัตว์ปีกที่ป่วยและล้มตายให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยทันที
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.11บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 37.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.69 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.33 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 9.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 38.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา จากสภาพอากาศที่ร้อนชื้นไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิตไข่ไก่ ทำให้ผลผลิตไข่ไก่ลดลง ประกอบกับช่วงที่ผ่านมามีการรณรงค์ให้ประชาชน หันมาบริโภคไข่ไก่กันมากขึ้น ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 203 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 191บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 189 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 212 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 199 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 215 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 180 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 243 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 241 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 227 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 261 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 246 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 302 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.89 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.79 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.62 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.12 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.81 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.21 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.48 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 18 ประจำวันที่ 8—14 พ.ค.2549--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว ความต้องการบริโภคยังคงใกล้เคียงกับปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้นตามความต้องการบริโภคที่จะเพิ่มขึ้นภายหลังเปิดภาคการศึกษา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.06 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 47.86 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.65 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 54.27 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท (บวกลบ 48 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจาก
ปริมาณการผลิตลดลงและความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ผู้อำนวยการสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่าพบเชื้อไข้หวัดนกในหลายจังหวัดภาคกลางนั้น ได้นำสัตว์ปีกที่ป่วยและล้มตายได้นำไปตรวจพิสูจน์แล้ว พบว่าเป็นไข้หวัดธรรมดาชนิดเอชสาม และเอชสี่ ซึ่งองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศและองค์การอนามัยโลก ถือเป็นการเกิดโรคปกติของสัตว์ปีก ไม่จำเป็นต้องรายงานให้ทราบ อีกทั้งเชื้อดังกล่าวไม่ติดต่อสู่คนเหมือนโรคไข้หวัดนก อย่างไรก็ตามกรมปศุสัตว์ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เฝ้าระวังไข้หวัดนกอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งขอความร่วมมือเกษตรกรทุกคน ให้แจ้งอาการสัตว์ปีกที่ป่วยและล้มตายให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยทันที
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.11บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 37.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.69 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.33 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 9.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 38.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา จากสภาพอากาศที่ร้อนชื้นไม่เอื้ออำนวยต่อการผลิตไข่ไก่ ทำให้ผลผลิตไข่ไก่ลดลง ประกอบกับช่วงที่ผ่านมามีการรณรงค์ให้ประชาชน หันมาบริโภคไข่ไก่กันมากขึ้น ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 203 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 191บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 189 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 212 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 199 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 215 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 17 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 180 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 243 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 241 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 227 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 261 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 246 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 302 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.89 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.79 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.62 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 45.12 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.81 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.21 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.48 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 18 ประจำวันที่ 8—14 พ.ค.2549--
-พห-