จากกรณีการคัดเลือกข้าราชการสามัญระดับ 9 ตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ที่มีการระบุว่า นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีหนังสือระงับการประกาศรับสมัคร โดยให้เหตุผลว่าบุคคลที่ผ่านคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้มีจำนวนไม่มากพอ จึงทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการแทรกแซงเกิดขึ้นนั้น
วันที่ 7 พ.ย.49 เวลา 11.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าว โดยได้หยิบยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ว่า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ซึ่งเป็นสมัยที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานปฎิรูประบบข้าราชการ นายอภิสิทธิ์ ได้เสนอให้ใช้คณะกรรมการคัดเลือกที่มีบุคคลภายนอกเป็นประธานในการคัดเลือกในการคัดเลือกสำหรับนักบริหารระดับ 9 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เพื่อเป็นพื้นฐานในการป้องกันการแทรกแซงและแต่งตั้งข้าราชการ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมาได้มีหนังสือของเลขาธิการ ก.พ.เวียนถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งไม่ได้ขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีสมัยที่ท่านชวน เป็นนายกรัฐมนตรีแต่เป็นการเสริม สาระของหนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือด่วนที่สุดที่นร 1003 / ว 13 จากสำนักงาน ก.พ. ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2549 สาระสำคัญของหนังสือฉบับนี้ก็ได้ย้ำให้เห็นว่าการที่จะคัดเลือกคนเข้ามาสู่ตำแหน่งนักบริหารระดับ 9 ต้องผ่านเกณฑ์สำคัญคือต้องได้รับการผ่านการอบรมนักบริหารระดับสูง ก.พ.หรือเทียบเท่า คำว่าหรือเทียบเท่าหมายความว่าเป็นหน่วยงานอื่นก็ได้ที่ ก.พ. รับรอง และข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือจะต้องผ่านการทดสอบสมรรถนะทางบริหารภายในระยะเวลา 2 ปี หลังจากนั้นตำแหน่งผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขว่างอยู่ 3 ตำแหน่ง คือตำแหน่งรองอธิบดีกรมอนามัย ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และตำแหน่งรองอธิบดีกรมแพทย์แผนไทย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ทำการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่ง 2 กรม ประกอบด้วยกรมอนามัย และรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ปัญหามันอยู่ตรงนี้เกณฑ์ที่ออกมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนกระทั่งวันที่ 10 พฤศจิกายน คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งนักบริหารระดับ 9 ของกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศรับสมัครบุคคลคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งนักบริหารระดับ 9 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน โดยที่ประธานคัดเลือกก็คือ นพ.ยุทธ โพธารามิก และคุณหมอยุทธ โพธารามิกก็ได้กำหนดคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ทาง ก.พ. ยื่นหนังสือมาตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม ก็คือเกณฑ์ที่ย้ำก็คือจะต้องผ่านการอบรม นปส.ของ ก.พ. และผ่านการประเมินผลสมรรถนะทางบริหารภายในระยะเวลา 2 ปี หลังจากวันที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา แต่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 ที่ผ่านมา มีหนังสือที่ สธ 0100.1 / 3518 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 หนังสือฉบับนี้ลงนามโดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ในฐานะรักษาการเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และหนังสือฉบับนี้ได้กล่าวย้ำทำถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขประสานงานกับประธานคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อพิจารณายกเลิกการดำเนินการตามประกาศฉบับลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2549 ไปก่อน เท่ากับว่ารัฐมนตรีอ้างที่ประชุมวันที่ 20 พฤศจิกายน หนังสือนี้ฉบับวันที่ 22 พฤศจิกายน วันที่ 20 พฤศจิกายน มีการประชุมนักบริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขและก็อ้างอิงที่ประชุมนี้เพื่อให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขทำหนังสือถึงคุณหมอยุทธ ก็คือในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อเป็นนักบริหารระดับ 9 กระทรวงสาธารณสุข เพื่อยกเลิกประกาศของวันที่ 10 พฤศจิกายน ก็คือว่าคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการอบรมนักบริหารระดับสูง ก.พ. ขอให้ยกเลิกระเบียบข้อนี้ โดยที่อ้างเหตุผลว่าจากการประชุมเมื่อวันที่ 20 นั้นทางรัฐมนตรีได้รับการปรารภจากผู้บริหารที่อยู่ในข่ายการได้รับการคัดเลือกอันประกอบไปด้วย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป และผู้บริหารในระดับเดียวกัน โดยอ้างว่าเงื่อนไขดังกล่าวทำให้ส่วนใหญ่ขาดคุณสมบัติและทำให้โอกาสที่เข้ารับการคัดเลือกไม่มี ทำให้รัฐมนตรีมองว่าเพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างเป็นธรรม สร้างเสริมขวัญกำลังใจผู้บริหาร และข้าราชการสาธารณสุขทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และอ้างว่าขณะนี้ข้าราชการระดับ 9 ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมีไม่เยอะประมาณ 50 คน นี่คือเหตุผลที่ทำให้เลขารัฐมนตรีทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงเพื่อให้ปลัดกระทรวงทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการในการยกเลิกข้อนี้
น.พ.วรงค์กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้จากหนังสือฉบับที่ 22 พฤศจิกายน ทำให้ผมประเมินแล้วว่าการที่รัฐมนตรีและเลขารัฐมนตรีได้อ้างว่าคนที่มีคุณสมบัติ 50 คนโดยประมาณของกระทรวงสาธารณสุขกับตำแหน่งที่ต้องการ 2 ตำแหน่ง คือรองอธิการบดีกรมอนามัยและรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ถามว่า 50 คนที่ต้องการ 2 คน มันยังไม่มากพอและนอกจากนี้แล้วทางรัฐมนตรีจะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่มากกว่า 50 คนจะต้องมากกว่าเท่าไหร่ซึ่งจะเพียงพอต่อการคัดเลือกคน 2 คน และข้อที่ 2 คือเท่าที่ทราบว่าขณะนี้มีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกจำนวนหนึ่ง ทางรัฐมนตรีรู้ได้อย่างไรว่าคนที่สมัครบุคคลเหล่านี้ไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอจึงจะต้องให้มีการยกเลิกต่อ และข้อที่ 3 คือประเด็นในจุดนี้ว่าการที่รัฐมนตรีให้เลขาทำหนังสือถึงปลัดเพื่อขอยกเลิกข้อนี้
‘เท่าที่ทราบคือวันนี้รัฐมนตรีกำลังต้องการผลักดันคนของตัวเอง ทั้งไปสู่ตำแหน่งรองอธิบดีกรมอนามัย และไปสู่ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และมีข้อมูลวงในที่ทราบว่าทั้ง 2 ท่านนี้ขาดคุณสมบัติในข้อนี้คือไม่ได้ผ่านการอบรมนักบริหารระดับสูงของ ก.พ. หรือเทียบเท่า ดังนั้นผมอยากจะกราบเรียนว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ชี้ให้เห็นว่าฝ่ายการเมืองกำลังเข้ามาแทรกแซงในการแต่งตั้งข้าราชการประจำระดับ 9 อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ที่ผ่านมาการแทรกแซงมักจะไม่เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ครั้งนี้เป็นการแทรกแซงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเนื่องจากมีหนังสือชัดเจน และผมอยากจะย้ำว่ารูปแบบดังกล่าวเป็นการกดดันมาตรฐานซึ่งท่านประธานในที่นี้ก็คือ นพ.ยุทธ โพธารามิก และท่านประธานก็ได้เอ่ยปากชัดเจนว่าถ้าจะให้ท่านทำดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย นั้นผมอยากจะเสริมว่าวันนี้รัฐมนตรีกำลังทำในสิ่งที่นอกจากขัดต่อกฎหมายแล้ว กำลังขัดต่อคุณธรรมและจริยธรรมของการบริหารบ้านเมืองด้วย ซึ่งนโยบายของนายกสุรยุทธ์กล่าวไว้ชัดเจนว่าวันนี้ต้องบริหารบ้านเมืองภายใต้หลักคุณธรรมและจริยธรรม เพราะคำกล่าวอ้างที่ว่าต้องการเสริมสร้างขวัญกำลังใจของข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จริงแล้วเกรงว่าเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของข้าราชการที่เป็นพรรคพวกตัวเองหรือไม่ และท้ายที่สุดก็คือขอให้ท่านรัฐมนตรียุติความพยายามที่จะแทรกแซงในการแต่งตั้งข้าราชการระดับรองอธิบดีและรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ให้ท่านประธานคณะกรรมการดำเนินการไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมกับข้าราชการทุกคน นี่คือข้อเสนอที่เรียกร้อง’ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ธ.ค. 2549--จบ--
วันที่ 7 พ.ย.49 เวลา 11.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าว โดยได้หยิบยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ว่า เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ซึ่งเป็นสมัยที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานปฎิรูประบบข้าราชการ นายอภิสิทธิ์ ได้เสนอให้ใช้คณะกรรมการคัดเลือกที่มีบุคคลภายนอกเป็นประธานในการคัดเลือกในการคัดเลือกสำหรับนักบริหารระดับ 9 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เพื่อเป็นพื้นฐานในการป้องกันการแทรกแซงและแต่งตั้งข้าราชการ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมาได้มีหนังสือของเลขาธิการ ก.พ.เวียนถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งไม่ได้ขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีสมัยที่ท่านชวน เป็นนายกรัฐมนตรีแต่เป็นการเสริม สาระของหนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือด่วนที่สุดที่นร 1003 / ว 13 จากสำนักงาน ก.พ. ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2549 สาระสำคัญของหนังสือฉบับนี้ก็ได้ย้ำให้เห็นว่าการที่จะคัดเลือกคนเข้ามาสู่ตำแหน่งนักบริหารระดับ 9 ต้องผ่านเกณฑ์สำคัญคือต้องได้รับการผ่านการอบรมนักบริหารระดับสูง ก.พ.หรือเทียบเท่า คำว่าหรือเทียบเท่าหมายความว่าเป็นหน่วยงานอื่นก็ได้ที่ ก.พ. รับรอง และข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือจะต้องผ่านการทดสอบสมรรถนะทางบริหารภายในระยะเวลา 2 ปี หลังจากนั้นตำแหน่งผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขว่างอยู่ 3 ตำแหน่ง คือตำแหน่งรองอธิบดีกรมอนามัย ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และตำแหน่งรองอธิบดีกรมแพทย์แผนไทย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ทำการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่ง 2 กรม ประกอบด้วยกรมอนามัย และรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ปัญหามันอยู่ตรงนี้เกณฑ์ที่ออกมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนกระทั่งวันที่ 10 พฤศจิกายน คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งนักบริหารระดับ 9 ของกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศรับสมัครบุคคลคัดเลือกเข้าสู่ตำแหน่งนักบริหารระดับ 9 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน โดยที่ประธานคัดเลือกก็คือ นพ.ยุทธ โพธารามิก และคุณหมอยุทธ โพธารามิกก็ได้กำหนดคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ทาง ก.พ. ยื่นหนังสือมาตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม ก็คือเกณฑ์ที่ย้ำก็คือจะต้องผ่านการอบรม นปส.ของ ก.พ. และผ่านการประเมินผลสมรรถนะทางบริหารภายในระยะเวลา 2 ปี หลังจากวันที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา แต่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 ที่ผ่านมา มีหนังสือที่ สธ 0100.1 / 3518 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 หนังสือฉบับนี้ลงนามโดย นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ในฐานะรักษาการเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และหนังสือฉบับนี้ได้กล่าวย้ำทำถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขประสานงานกับประธานคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อพิจารณายกเลิกการดำเนินการตามประกาศฉบับลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2549 ไปก่อน เท่ากับว่ารัฐมนตรีอ้างที่ประชุมวันที่ 20 พฤศจิกายน หนังสือนี้ฉบับวันที่ 22 พฤศจิกายน วันที่ 20 พฤศจิกายน มีการประชุมนักบริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขและก็อ้างอิงที่ประชุมนี้เพื่อให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขทำหนังสือถึงคุณหมอยุทธ ก็คือในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อเป็นนักบริหารระดับ 9 กระทรวงสาธารณสุข เพื่อยกเลิกประกาศของวันที่ 10 พฤศจิกายน ก็คือว่าคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการอบรมนักบริหารระดับสูง ก.พ. ขอให้ยกเลิกระเบียบข้อนี้ โดยที่อ้างเหตุผลว่าจากการประชุมเมื่อวันที่ 20 นั้นทางรัฐมนตรีได้รับการปรารภจากผู้บริหารที่อยู่ในข่ายการได้รับการคัดเลือกอันประกอบไปด้วย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป และผู้บริหารในระดับเดียวกัน โดยอ้างว่าเงื่อนไขดังกล่าวทำให้ส่วนใหญ่ขาดคุณสมบัติและทำให้โอกาสที่เข้ารับการคัดเลือกไม่มี ทำให้รัฐมนตรีมองว่าเพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างเป็นธรรม สร้างเสริมขวัญกำลังใจผู้บริหาร และข้าราชการสาธารณสุขทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และอ้างว่าขณะนี้ข้าราชการระดับ 9 ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมีไม่เยอะประมาณ 50 คน นี่คือเหตุผลที่ทำให้เลขารัฐมนตรีทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงเพื่อให้ปลัดกระทรวงทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการในการยกเลิกข้อนี้
น.พ.วรงค์กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้จากหนังสือฉบับที่ 22 พฤศจิกายน ทำให้ผมประเมินแล้วว่าการที่รัฐมนตรีและเลขารัฐมนตรีได้อ้างว่าคนที่มีคุณสมบัติ 50 คนโดยประมาณของกระทรวงสาธารณสุขกับตำแหน่งที่ต้องการ 2 ตำแหน่ง คือรองอธิการบดีกรมอนามัยและรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ถามว่า 50 คนที่ต้องการ 2 คน มันยังไม่มากพอและนอกจากนี้แล้วทางรัฐมนตรีจะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่มากกว่า 50 คนจะต้องมากกว่าเท่าไหร่ซึ่งจะเพียงพอต่อการคัดเลือกคน 2 คน และข้อที่ 2 คือเท่าที่ทราบว่าขณะนี้มีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกจำนวนหนึ่ง ทางรัฐมนตรีรู้ได้อย่างไรว่าคนที่สมัครบุคคลเหล่านี้ไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอจึงจะต้องให้มีการยกเลิกต่อ และข้อที่ 3 คือประเด็นในจุดนี้ว่าการที่รัฐมนตรีให้เลขาทำหนังสือถึงปลัดเพื่อขอยกเลิกข้อนี้
‘เท่าที่ทราบคือวันนี้รัฐมนตรีกำลังต้องการผลักดันคนของตัวเอง ทั้งไปสู่ตำแหน่งรองอธิบดีกรมอนามัย และไปสู่ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และมีข้อมูลวงในที่ทราบว่าทั้ง 2 ท่านนี้ขาดคุณสมบัติในข้อนี้คือไม่ได้ผ่านการอบรมนักบริหารระดับสูงของ ก.พ. หรือเทียบเท่า ดังนั้นผมอยากจะกราบเรียนว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ชี้ให้เห็นว่าฝ่ายการเมืองกำลังเข้ามาแทรกแซงในการแต่งตั้งข้าราชการประจำระดับ 9 อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ที่ผ่านมาการแทรกแซงมักจะไม่เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ครั้งนี้เป็นการแทรกแซงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเนื่องจากมีหนังสือชัดเจน และผมอยากจะย้ำว่ารูปแบบดังกล่าวเป็นการกดดันมาตรฐานซึ่งท่านประธานในที่นี้ก็คือ นพ.ยุทธ โพธารามิก และท่านประธานก็ได้เอ่ยปากชัดเจนว่าถ้าจะให้ท่านทำดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย นั้นผมอยากจะเสริมว่าวันนี้รัฐมนตรีกำลังทำในสิ่งที่นอกจากขัดต่อกฎหมายแล้ว กำลังขัดต่อคุณธรรมและจริยธรรมของการบริหารบ้านเมืองด้วย ซึ่งนโยบายของนายกสุรยุทธ์กล่าวไว้ชัดเจนว่าวันนี้ต้องบริหารบ้านเมืองภายใต้หลักคุณธรรมและจริยธรรม เพราะคำกล่าวอ้างที่ว่าต้องการเสริมสร้างขวัญกำลังใจของข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จริงแล้วเกรงว่าเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของข้าราชการที่เป็นพรรคพวกตัวเองหรือไม่ และท้ายที่สุดก็คือขอให้ท่านรัฐมนตรียุติความพยายามที่จะแทรกแซงในการแต่งตั้งข้าราชการระดับรองอธิบดีและรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ให้ท่านประธานคณะกรรมการดำเนินการไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมกับข้าราชการทุกคน นี่คือข้อเสนอที่เรียกร้อง’ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ธ.ค. 2549--จบ--