การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2549 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,821 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 22,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.04 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 12,008 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.91 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 18.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,643 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 4.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากภาคเกษตรกรรมยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปริมาณพืชผลที่สำคัญของ
ประเทศมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรยังอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับในครึ่งปีแรกของปี 2549 พื้นที่ทำการเกษตรประสบภัยแล้ง
เพียง 1.3 ล้านไร่ ในขณะที่ปี 2548 พื้นที่ทำการเกษตรประสบภัยแล้งถึง 14 ล้านไร่ แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย
มาเลเซีย และ เกาหลีใต้
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศให้ความสำคัญต่อรูปลักษณ์ภายนอกมาก
ขึ้น จึงก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมความงามเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการนวดด้วยกรรมวิธีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาก
มาย หรือที่เรียกว่า Spa เป็นต้น จากปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา
และผรั่งเศส
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q4/2548 Q1/2549 Q2/2549 Q249/Q149 Q249/Q248
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 9,692 9,344 9,821 5.1 3.24
1.2 อินทรีย์ * 29 20,471 21,582 22,023 2.04 0.71
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 15,037 15,798 15,368 -2.72 11.66
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 3,613 7,853 12,008 52.91 -18.21
2.2 สีสกัดใช้ในการ 32 8,203 7,831 8,267 5.57 -2.9
ฟอกหนังหรือย้อมสี
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,486 4,440 4,643 4.57 8.13
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 4,066 4,022 3,828 -4.82 1.46
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2549 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 4,230 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 46.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 1,913 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.28 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 6,045 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.21 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออก 534 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.53
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 17.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ประเทศคู่ค้าของไทยก็มี
การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ปริมาณการสั่งซื้อปุ๋ยเพิ่มสูงขึ้น แหล่งส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีมูลค่าการส่งออกลดลง แหล่งส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q4/2548 Q1/2549 Q2/2549 Q249/Q149 Q249/Q248
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 1,864 2,049 1,913 -6.64 27.28
1.2 อินทรีย์ * 29 5,199 4,241 4,230 -0.26 46.47
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 2,258 2,785 2,923 4.96 32.62
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 841 301 534 77.53 -17.45
2.2 สีสกัดใช้ในการ 32 2,030 2,129 2,355 10.62 14.99
ฟอกหนังหรือย้อมสี
2.3 เครื่องสำอาง 33 6,566 7,129 6,045 -15.21 -2.94
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 2,470 2,510 2,552 1.67 22.05
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
* เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในปีหน้าจะได้รับผลกระทบจากระเบียบว่าด้วยสารเคมีที่ออกโดยสหภาพยุโรป (REACH) เพื่อให้เกิดระบบคุ้มครอง
ความปลอดภัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของสารเคมี ดังนั้นผู้ประกอบการต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับตัวให้ได้ตามกฎระเบียบ
โดยต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้เป็นสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงจะต้องมีการแสดงผลวิเคราะห์สารอันตรายที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และการ
แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ สำหรับการยื่นจดทะเบียนกับหน่วยงานในสหภาพยุโรป ซึ่งประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อม
สำหรับกฎระเบียบดังกล่าว เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยสามารถส่งออก และรักษาส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลกได้ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2549 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,821 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 22,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.04 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 12,008 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.91 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว ลดลงร้อยละ 18.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,643 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 4.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากภาคเกษตรกรรมยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปริมาณพืชผลที่สำคัญของ
ประเทศมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรยังอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับในครึ่งปีแรกของปี 2549 พื้นที่ทำการเกษตรประสบภัยแล้ง
เพียง 1.3 ล้านไร่ ในขณะที่ปี 2548 พื้นที่ทำการเกษตรประสบภัยแล้งถึง 14 ล้านไร่ แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย
มาเลเซีย และ เกาหลีใต้
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศให้ความสำคัญต่อรูปลักษณ์ภายนอกมาก
ขึ้น จึงก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมความงามเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการนวดด้วยกรรมวิธีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาก
มาย หรือที่เรียกว่า Spa เป็นต้น จากปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา
และผรั่งเศส
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q4/2548 Q1/2549 Q2/2549 Q249/Q149 Q249/Q248
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 9,692 9,344 9,821 5.1 3.24
1.2 อินทรีย์ * 29 20,471 21,582 22,023 2.04 0.71
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 15,037 15,798 15,368 -2.72 11.66
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 3,613 7,853 12,008 52.91 -18.21
2.2 สีสกัดใช้ในการ 32 8,203 7,831 8,267 5.57 -2.9
ฟอกหนังหรือย้อมสี
2.3 เครื่องสำอาง 33 4,486 4,440 4,643 4.57 8.13
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 4,066 4,022 3,828 -4.82 1.46
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2549 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 4,230 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 46.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 1,913 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.28 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 6,045 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 15.21 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการส่งออก 534 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.53
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 17.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ประเทศคู่ค้าของไทยก็มี
การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ปริมาณการสั่งซื้อปุ๋ยเพิ่มสูงขึ้น แหล่งส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีมูลค่าการส่งออกลดลง แหล่งส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q4/2548 Q1/2549 Q2/2549 Q249/Q149 Q249/Q248
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 1,864 2,049 1,913 -6.64 27.28
1.2 อินทรีย์ * 29 5,199 4,241 4,230 -0.26 46.47
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 2,258 2,785 2,923 4.96 32.62
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 841 301 534 77.53 -17.45
2.2 สีสกัดใช้ในการ 32 2,030 2,129 2,355 10.62 14.99
ฟอกหนังหรือย้อมสี
2.3 เครื่องสำอาง 33 6,566 7,129 6,045 -15.21 -2.94
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 2,470 2,510 2,552 1.67 22.05
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
* เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในปีหน้าจะได้รับผลกระทบจากระเบียบว่าด้วยสารเคมีที่ออกโดยสหภาพยุโรป (REACH) เพื่อให้เกิดระบบคุ้มครอง
ความปลอดภัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของสารเคมี ดังนั้นผู้ประกอบการต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับตัวให้ได้ตามกฎระเบียบ
โดยต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้เป็นสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงจะต้องมีการแสดงผลวิเคราะห์สารอันตรายที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และการ
แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ สำหรับการยื่นจดทะเบียนกับหน่วยงานในสหภาพยุโรป ซึ่งประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อม
สำหรับกฎระเบียบดังกล่าว เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยสามารถส่งออก และรักษาส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลกได้ต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-