ภาพรวมอุตสาหกรรม
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่า 467 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และในส่วนของการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 548 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.22. เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขนำเข้า — ส่งออก ของผลิตภัณฑ์พลาสติก พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าอยู่ประมาณ 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3,194 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยมีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ( อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 39.43 บาท/$ คำนวณจากอัตราเฉลี่ยประจำเดือน ม.ค. — มี.ค. 49)
ดังนั้นประเทศไทยควรที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยมีการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกให้มีคุณภาพดีขึ้น และมีความหลากหลายในการนำไปใช้ อีกทั้งต้องพัฒนารูปแบบดีไซน์ ของผลิตภัณฑ์พลาสติกให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย นอกจากนี้ควรจะต้องหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อขยายตลาดส่งออกของไทยต่อไปในอนาคต และศึกษากฎระเบียบใหม่ๆ ของประเทศผู้นำเข้าที่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์พลาสติก
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 467 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.40 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ กลุ่มประเทศในอาเชียน ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสำหรับไตรมาสแรกของปี 2549 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 130.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ลดลงร้อยละ 5.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก 128.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.45 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ15.40 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์ทำด้วยพลาสติกเป็นหนึ่งในสินค้า 5 อันดับแรกที่สหรัฐฯ ให้สิทธิจีเอสพีสูง และหากสหรัฐฯ ตัดสิทธิพิเศษนี้ก็จะมีแนวโน้มที่จะกระทบยอดส่งออก ในขณะที่ต้นทุนการผลิต เช่น ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกมีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้นต่อไปอีก 2-3 ปี เนื่องจากอุปทานยังมีน้อยกว่าความต้องการ
การค้า กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 548.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 5.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการต้องพยายามลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ นอกจากนี้การเปิดเขตเสรีทางการค้ายังส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้นในขณะที่โครงสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยยังอ่อนแออยู่ ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกจึงควรจะต้องมีนโยบายอย่างชัดเจนคือ จะต้องผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและมีการส่งเสริมการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และ เป็นที่ต้องการของตลาด
แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยในอนาคตจะขึ้นอยู่กับการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย ให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มและมีการพัฒนาอย่างครบวงจร ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปถึงปลายน้ำตลอดจนด้านการตลาดและการรักษาสิ่งแวดล้อม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่า 467 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และในส่วนของการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2549 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 548 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.22. เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขนำเข้า — ส่งออก ของผลิตภัณฑ์พลาสติก พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าอยู่ประมาณ 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 3,194 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยมีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ( อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 39.43 บาท/$ คำนวณจากอัตราเฉลี่ยประจำเดือน ม.ค. — มี.ค. 49)
ดังนั้นประเทศไทยควรที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยมีการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกให้มีคุณภาพดีขึ้น และมีความหลากหลายในการนำไปใช้ อีกทั้งต้องพัฒนารูปแบบดีไซน์ ของผลิตภัณฑ์พลาสติกให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย นอกจากนี้ควรจะต้องหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อขยายตลาดส่งออกของไทยต่อไปในอนาคต และศึกษากฎระเบียบใหม่ๆ ของประเทศผู้นำเข้าที่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์พลาสติก
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 467 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.40 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ กลุ่มประเทศในอาเชียน ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยสำหรับไตรมาสแรกของปี 2549 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 130.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ลดลงร้อยละ 5.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก 128.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.45 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ15.40 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์ทำด้วยพลาสติกเป็นหนึ่งในสินค้า 5 อันดับแรกที่สหรัฐฯ ให้สิทธิจีเอสพีสูง และหากสหรัฐฯ ตัดสิทธิพิเศษนี้ก็จะมีแนวโน้มที่จะกระทบยอดส่งออก ในขณะที่ต้นทุนการผลิต เช่น ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกมีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้นต่อไปอีก 2-3 ปี เนื่องจากอุปทานยังมีน้อยกว่าความต้องการ
การค้า กระทรวงพาณิชย์
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 548.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 5.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการต้องพยายามลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ นอกจากนี้การเปิดเขตเสรีทางการค้ายังส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้นในขณะที่โครงสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยยังอ่อนแออยู่ ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกจึงควรจะต้องมีนโยบายอย่างชัดเจนคือ จะต้องผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและมีการส่งเสริมการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และ เป็นที่ต้องการของตลาด
แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยในอนาคตจะขึ้นอยู่กับการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย ให้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มและมีการพัฒนาอย่างครบวงจร ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปถึงปลายน้ำตลอดจนด้านการตลาดและการรักษาสิ่งแวดล้อม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-