ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่าการที่เงินบาทอ่อนค่าลงในขณะนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย ผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงนี้ว่า เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินเอเชียอื่นๆ ที่อ่อนค่าลง แต่เป็นการอ่อนค่าใน
ระดับที่แตกต่างกันตามการแข็งค่าก่อนหน้านี้ โดยนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้ว 7.4% มากกว่าเงินเยนญี่ปุ่นและวอนเกาหลีที่แข็ง
ขึ้น 7% ขณะที่เงินสกุลอื่นๆ ได้แก่ ยูโรและปอนด์ แข็งค่าขึ้น 8.19% และ 9.28% ขณะที่นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
เงินบาทที่อ่อนค่าลงเป็นผลจากการที่นักลงทุนเห็นว่า ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงมาก ในขณะที่เงินสกุลอื่นๆ แข็งค่าขึ้น จึงมีการเทขายเงินสกุล
ต่างๆ เพื่อทำกำไร ซึ่งรวมถึงเงินบาทด้วย ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงดังกล่าว (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.
เปิดเผยว่า ธปท.ได้ปรับปรุงเกณฑ์เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยได้อนุญาตให้ผู้ฝากเงินสกุลต่างประเทศสามารถฝากเงินสดที่
เป็นเงินต่างประเทศได้ไม่เกินวันละ 10,000 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มจากเดิมที่เคยกำหนดให้ฝากได้ไม่เกินวันละ 5,000 ดอลลลาร์ สรอ. ทั้งนี้
ยกเว้นกรณีของผู้ที่ ธปท.อนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ ไม่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้ ธปท.ได้อนุญาตให้นิติบุคคล
ที่ฝากเงินสกุลต่างประเทศสามารถมียอดเงินคงเหลือทุกสกุลเงินและทุกบัญชีได้เกิน 5 ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่ไม่เกิน 50 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มจาก
เดิมที่เคยกำหนดให้มียอดเงินคงเหลือได้ไม่เกิน 10 ล.ดอลลาร์ สรอ.เท่านั้น ส่วนผู้ฝากที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องมียอดเงินคงเหลือไม่เกิน
500,000 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินนี้ มีขึ้นเพื่อปรับปรุงให้บัญชีเงินฝากเงินตราต่าง
ประเทศเอื้ออำนวยกับการประกอบธุรกิจ และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินในประเทศขณะนี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่งตอบรับมาตรการตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ก.คลังเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงผลการหารือร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ประกอบด้วย
ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ว่า ทั้ง 4 ธนาคารตกลง
จะตรึงดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราปัจจุบันไปจนถึงวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการ
ส่งออกรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ครอบคลุมกว่า 15 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นมาตรการระยะ
สั้น โดยให้ประชาชนได้ปรับตัวและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน ส่วนมาตรการระยะยาวนั้นจะต้องพิจารณาอีกครั้ง (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์)
สรุปข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานของสรอ. ในเดือน เม.ย. ไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ยอดการสร้างบ้านใหม่ลดลง รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 49 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย. ดัชนีราคาผู้ผลิตของสรอ. เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 0.9 อย่างไรก็ตาม
ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 นอกจากนั้น ก. พาณิชย์เปิดเผยว่า
ยอดการสร้างบ้านใหม่ในเดือน เม.ย. ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.4 อยู่ที่ระดับ 1.849 ล้านหลัง ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็น
เดือนที่ 3 และอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 47 ทำให้ความวิตกเรื่องภาวะเงินเฟ้อลดลง ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
ถึงร้อยละ 0.8 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นสนับสนุนว่าความเสี่ยงด้านราคาลดลงแล้ว และส่งผลให้มีการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอยู่
ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
16 พ.ค.49 ผลผลิตของโรงงาน, เหมืองและสาธารณูปโภคของ สรอ.ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 0.8 ต่อเดือน ในขณะที่
ผลสำรวจรอยเตอร์ก่อนหน้านี้คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อเดือน ชะลอตัวลงจากร้อยละ 0.6 ต่อเดือนในเดือน มี.ค.49 ทั้งนี้เป็นผลจาก
อัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 81.9 จากร้อยละ 81.4 ในเดือน มี.ค.49 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยร้อยละ 81.0 ในช่วงปี 15 ถึง
ปี 48 เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80.8 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.43 และสูงกว่าอัตรา
เฉลี่ยระยะยาวที่ร้อยละ 79.8 เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตของการทำเหมืองเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 89.8 สูงกว่าอัตรา
เฉลี่ยระยะยาวในช่วงปี 15 ถึงปี 48 อยู่ร้อยละ 2.5 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86.0 ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ย
ระยะยาวที่ร้อยละ 86.7 อัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ
เงินเฟ้อขึ้นและอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ ธ.กลาง สรอ.ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ
16 พ.ค.49 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยวา ผลผลิตอุตสาหกรรมของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อ
เดือน และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ขณะที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบ
ต่อปี ทั้งนี้ สำนักงานสถิติกล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของผลผลิตอุตสาหกรรมเนื่องจากผลผลิตขั้นกลางและสินค้าประเภททุนเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่ง
สามารถชดเชยสินค้าคงทนและไม่คงทนที่ลดลงได้ อนึ่ง คณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้จะขับเคลื่อนได้
ด้วยการลงทุนเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจยังแข็งแกร่ง แต่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะชะลอตัวอยู่ ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ก่อน สำนักงาน
สถิติได้ประมาณการผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของเขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสแรกปี 49 ว่าจะขยายตัวเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบต่อไตรมาสที่ร้อย
ละ 0.6 และร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าภาวะเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปจะเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ นอกจากนี้ ตลาด
ยังคาดการณ์ว่า ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อสกัดกั้นความกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากราคาพลังงานที่
เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและการขยายตัวด้านสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน เม.ย.49 เทียบต่อปีเพิ่มขึ้นถึงระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศ
อังกฤษ เมื่อวันที่ 16 พ.ค.49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เป็น
การเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี ทำให้อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีในเดือน เม.ย.49 เร่งตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายที่
ธ.กลางอังกฤษตั้งไว้ โดยมีปัจจัยจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ
ร้อยละ 4.5 ในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ แม้ว่าในที่สุดแล้วคณะกรรมการนโยบายการเงินก็คงต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ตาม ทั้งนี้ อังกฤษดู
เหมือนจะสามารถรับมือกับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อได้ดีกว่าบางประเทศเพื่อนบ้านในเขตยูโร โดยอัตราเงินเฟ้อของเขตยูโรโดยรวมในเดือน
เม.ย.49 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 สูงกว่าเป้าหมายที่ ธ.กลางสหภาพยุโรปตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 พ.ค. 49 16 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.248 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.0730/38.3577 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.84844 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 761.87/ 19.26 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,600/12,700 12,400/12,500 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.16 62.33 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 49 28.84*/26.19* 28.84*/26.19* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่าการที่เงินบาทอ่อนค่าลงในขณะนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย ผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงนี้ว่า เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินเอเชียอื่นๆ ที่อ่อนค่าลง แต่เป็นการอ่อนค่าใน
ระดับที่แตกต่างกันตามการแข็งค่าก่อนหน้านี้ โดยนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้ว 7.4% มากกว่าเงินเยนญี่ปุ่นและวอนเกาหลีที่แข็ง
ขึ้น 7% ขณะที่เงินสกุลอื่นๆ ได้แก่ ยูโรและปอนด์ แข็งค่าขึ้น 8.19% และ 9.28% ขณะที่นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
เงินบาทที่อ่อนค่าลงเป็นผลจากการที่นักลงทุนเห็นว่า ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงมาก ในขณะที่เงินสกุลอื่นๆ แข็งค่าขึ้น จึงมีการเทขายเงินสกุล
ต่างๆ เพื่อทำกำไร ซึ่งรวมถึงเงินบาทด้วย ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงดังกล่าว (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.
เปิดเผยว่า ธปท.ได้ปรับปรุงเกณฑ์เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยได้อนุญาตให้ผู้ฝากเงินสกุลต่างประเทศสามารถฝากเงินสดที่
เป็นเงินต่างประเทศได้ไม่เกินวันละ 10,000 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มจากเดิมที่เคยกำหนดให้ฝากได้ไม่เกินวันละ 5,000 ดอลลลาร์ สรอ. ทั้งนี้
ยกเว้นกรณีของผู้ที่ ธปท.อนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ ไม่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้ ธปท.ได้อนุญาตให้นิติบุคคล
ที่ฝากเงินสกุลต่างประเทศสามารถมียอดเงินคงเหลือทุกสกุลเงินและทุกบัญชีได้เกิน 5 ล.ดอลลาร์ สรอ. แต่ไม่เกิน 50 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มจาก
เดิมที่เคยกำหนดให้มียอดเงินคงเหลือได้ไม่เกิน 10 ล.ดอลลาร์ สรอ.เท่านั้น ส่วนผู้ฝากที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องมียอดเงินคงเหลือไม่เกิน
500,000 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินนี้ มีขึ้นเพื่อปรับปรุงให้บัญชีเงินฝากเงินตราต่าง
ประเทศเอื้ออำนวยกับการประกอบธุรกิจ และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินในประเทศขณะนี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่งตอบรับมาตรการตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ก.คลังเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงผลการหารือร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ประกอบด้วย
ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ว่า ทั้ง 4 ธนาคารตกลง
จะตรึงดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราปัจจุบันไปจนถึงวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการ
ส่งออกรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ครอบคลุมกว่า 15 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นมาตรการระยะ
สั้น โดยให้ประชาชนได้ปรับตัวและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน ส่วนมาตรการระยะยาวนั้นจะต้องพิจารณาอีกครั้ง (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์)
สรุปข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานของสรอ. ในเดือน เม.ย. ไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ยอดการสร้างบ้านใหม่ลดลง รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 49 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย. ดัชนีราคาผู้ผลิตของสรอ. เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 0.9 อย่างไรก็ตาม
ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 นอกจากนั้น ก. พาณิชย์เปิดเผยว่า
ยอดการสร้างบ้านใหม่ในเดือน เม.ย. ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.4 อยู่ที่ระดับ 1.849 ล้านหลัง ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็น
เดือนที่ 3 และอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 47 ทำให้ความวิตกเรื่องภาวะเงินเฟ้อลดลง ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
ถึงร้อยละ 0.8 มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นสนับสนุนว่าความเสี่ยงด้านราคาลดลงแล้ว และส่งผลให้มีการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอยู่
ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
16 พ.ค.49 ผลผลิตของโรงงาน, เหมืองและสาธารณูปโภคของ สรอ.ในเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 0.8 ต่อเดือน ในขณะที่
ผลสำรวจรอยเตอร์ก่อนหน้านี้คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อเดือน ชะลอตัวลงจากร้อยละ 0.6 ต่อเดือนในเดือน มี.ค.49 ทั้งนี้เป็นผลจาก
อัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 81.9 จากร้อยละ 81.4 ในเดือน มี.ค.49 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยร้อยละ 81.0 ในช่วงปี 15 ถึง
ปี 48 เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80.8 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.43 และสูงกว่าอัตรา
เฉลี่ยระยะยาวที่ร้อยละ 79.8 เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตของการทำเหมืองเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 89.8 สูงกว่าอัตรา
เฉลี่ยระยะยาวในช่วงปี 15 ถึงปี 48 อยู่ร้อยละ 2.5 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตของสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 86.0 ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ย
ระยะยาวที่ร้อยละ 86.7 อัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ
เงินเฟ้อขึ้นและอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ ธ.กลาง สรอ.ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไป (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ
16 พ.ค.49 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยวา ผลผลิตอุตสาหกรรมของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อ
เดือน และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ขณะที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบ
ต่อปี ทั้งนี้ สำนักงานสถิติกล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของผลผลิตอุตสาหกรรมเนื่องจากผลผลิตขั้นกลางและสินค้าประเภททุนเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่ง
สามารถชดเชยสินค้าคงทนและไม่คงทนที่ลดลงได้ อนึ่ง คณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจยุโรปในปีนี้จะขับเคลื่อนได้
ด้วยการลงทุนเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจยังแข็งแกร่ง แต่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะชะลอตัวอยู่ ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ก่อน สำนักงาน
สถิติได้ประมาณการผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของเขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสแรกปี 49 ว่าจะขยายตัวเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบต่อไตรมาสที่ร้อย
ละ 0.6 และร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าภาวะเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปจะเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ นอกจากนี้ ตลาด
ยังคาดการณ์ว่า ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อสกัดกั้นความกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากราคาพลังงานที่
เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและการขยายตัวด้านสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือน เม.ย.49 เทียบต่อปีเพิ่มขึ้นถึงระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศ
อังกฤษ เมื่อวันที่ 16 พ.ค.49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษเดือน เม.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เป็น
การเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี ทำให้อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีในเดือน เม.ย.49 เร่งตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายที่
ธ.กลางอังกฤษตั้งไว้ โดยมีปัจจัยจากต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ
ร้อยละ 4.5 ในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ แม้ว่าในที่สุดแล้วคณะกรรมการนโยบายการเงินก็คงต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็ตาม ทั้งนี้ อังกฤษดู
เหมือนจะสามารถรับมือกับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อได้ดีกว่าบางประเทศเพื่อนบ้านในเขตยูโร โดยอัตราเงินเฟ้อของเขตยูโรโดยรวมในเดือน
เม.ย.49 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 สูงกว่าเป้าหมายที่ ธ.กลางสหภาพยุโรปตั้งไว้ที่ร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 พ.ค. 49 16 พ.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.248 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.0730/38.3577 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.84844 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 761.87/ 19.26 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,600/12,700 12,400/12,500 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.16 62.33 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 49 28.84*/26.19* 28.84*/26.19* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--