กรุงเทพ--10 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. ประเทศไทยขอตำหนิ (deplore) การทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินของเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ซึ่งได้เกิดขึ้นทั้งๆ ที่ประชาคมระหว่างประเทศได้แสดงความกังวลเรื่องนี้ การกระทำอันเป็นการยั่วยุครั้งนี้เป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค รวมทั้งต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคและในระดับระหว่างประเทศด้วย
2. ประเทศไทยรู้สึกเสียใจอย่างยิ่งที่เกาหลีเหนือได้จงใจเลือกที่จะไม่แยแสต่อความปรารถนาดีของประชาคมระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง รวมถึงเจตนารมณ์แห่งแถลงการณ์ร่วมลงวันที่ 19 กันยายน 2548 ของที่ประชุมการเจรจาหกฝ่ายรอบที่ 4 ณ กรุงปักกิ่ง
3. ประเทศไทยขอย้ำการเรียกร้องให้เกาหลีเหนือยึดมั่นในหลักการของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) และมาตรการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)
4. ในส่วนของประเทศไทยนั้น ไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเคารพความศักดิ์สิทธิ์แห่งสนธิสัญญา NPT อันเป็นความตกลงระดับโลกที่ควบคุมการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และประเทศไทยจะยึดมั่นในหลักการของสนธิสัญญา NPT อย่างเต็มที่ที่จะไม่สนับสนุนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ และเงินทุนที่เกี่ยวข้องกับอาวุธนิวเคลียร์ รวมตลอดไปถึงการครอบครอง การจัดหาให้ได้มา หรือการถ่ายโอนอาวุธนิวเคลียร์กับเทคโนโลยีและเงินทุนที่เกี่ยวข้องด้วย
5. ในชั้นนี้ ประเทศไทยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความยับยั้งชั่งใจ และหวังว่าปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีจะได้รับการแก้ไขโดยสันติวิธีผ่านการเจรจาทางการทูต ด้วยการรื้อฟื้นการเจรจาหกฝ่ายขึ้นมาใหม่โดยเร็วที่สุด
อนึ่ง ต่อข้อถามเกี่ยวกับท่าทีไทยต่อการดำเนินการในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะให้คว่ำบาตรเกาหลีเหนือนั้น ประเทศไทยจะปฏิบัติตามข้อมติฯ ตามพันธกรณีภายใต้กฏบัตรสหประชาชาติ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. ประเทศไทยขอตำหนิ (deplore) การทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินของเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ซึ่งได้เกิดขึ้นทั้งๆ ที่ประชาคมระหว่างประเทศได้แสดงความกังวลเรื่องนี้ การกระทำอันเป็นการยั่วยุครั้งนี้เป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค รวมทั้งต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคและในระดับระหว่างประเทศด้วย
2. ประเทศไทยรู้สึกเสียใจอย่างยิ่งที่เกาหลีเหนือได้จงใจเลือกที่จะไม่แยแสต่อความปรารถนาดีของประชาคมระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง รวมถึงเจตนารมณ์แห่งแถลงการณ์ร่วมลงวันที่ 19 กันยายน 2548 ของที่ประชุมการเจรจาหกฝ่ายรอบที่ 4 ณ กรุงปักกิ่ง
3. ประเทศไทยขอย้ำการเรียกร้องให้เกาหลีเหนือยึดมั่นในหลักการของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) และมาตรการเฝ้าระวังความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)
4. ในส่วนของประเทศไทยนั้น ไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเคารพความศักดิ์สิทธิ์แห่งสนธิสัญญา NPT อันเป็นความตกลงระดับโลกที่ควบคุมการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และประเทศไทยจะยึดมั่นในหลักการของสนธิสัญญา NPT อย่างเต็มที่ที่จะไม่สนับสนุนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ และเงินทุนที่เกี่ยวข้องกับอาวุธนิวเคลียร์ รวมตลอดไปถึงการครอบครอง การจัดหาให้ได้มา หรือการถ่ายโอนอาวุธนิวเคลียร์กับเทคโนโลยีและเงินทุนที่เกี่ยวข้องด้วย
5. ในชั้นนี้ ประเทศไทยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความยับยั้งชั่งใจ และหวังว่าปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีจะได้รับการแก้ไขโดยสันติวิธีผ่านการเจรจาทางการทูต ด้วยการรื้อฟื้นการเจรจาหกฝ่ายขึ้นมาใหม่โดยเร็วที่สุด
อนึ่ง ต่อข้อถามเกี่ยวกับท่าทีไทยต่อการดำเนินการในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะให้คว่ำบาตรเกาหลีเหนือนั้น ประเทศไทยจะปฏิบัติตามข้อมติฯ ตามพันธกรณีภายใต้กฏบัตรสหประชาชาติ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-