สศก. เผยโรงงานอุตสาหกรรมที่เมืองโคราชใช้ BIOMASS แทนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยนำกากมันสำปะหลังมาหมักเป็นก๊าซ ผลิตกระแสไฟฟ้าหมุนเวียนภายใน คาดสร้างกำไรพร้อมคืนต้นทุนให้กับโรงงานได้เป็นอย่างดี
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ภายในจังหวัดนครราชสีมาใช้พลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน โดยโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังของบริษัทสงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด ได้นำผลงานด้านการวิจัยการใช้พลังงานชีวมวลสาร ที่สามารถนำมาทดแทนน้ำมันทุกประเภทได้ดี โดยลดมลภาวะในเรื่องสิ่งแวดล้อมของโรงงาน และยังนำมาแปรรูปเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าหมุนเวียนได้ดีกว่าน้ำมัน มีราคาต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าถึง 3 เท่า จากเดิมที่จะต้องจ่ายค่าน้ำมันสูงสุดถึงเดือนละกว่า 7 แสนกว่าบาท เมื่อนำระบบนี้มาใช้สามารถลดค่าใช้จ่ายเหลือเพียงเดือนละ 2-3 แสนบาท ซึ่งระบบ BIOMASS นี้เป็นการนำเอาวัตถุดิบอินทรีย์สารที่ได้โดยตรงจากสิ่งมีชีวิต อาทิ พืช หรือของเสียเหลือใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ฟืน แกลบ ฟางข้าว มูลสัตว์ น้ำเสีย น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ขยะมูลฝอย เป็นต้น นำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานโดยตรง หรือเปลี่ยนให้เป็นเชื้อเพลิงในรูปอื่น ๆ เช่น น้ำมันชีวภาพจากกระบวนการ Pyroiysis ของเศษไม้หรือขยะ ก๊าซชีวภาพจากการหมักขยะ หรือก๊าซเชื้อเพลิงจากกระบวนการ Gassification
นายอุดม กล่าวต่อไปว่า โรงงานได้มีการนำเอากากมันสำปะหลังที่เหลือจากการผลิตเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น แป้งมันสำปะหลัง และมันเส้น แล้วนำเอากากมันสำปะหลังไปหมักให้เกิดเป็นก๊าซ นำก๊าซที่ได้จากบ่อเก็บน้ำชีวมวลมาทำให้เกิดประโยชน์ด้านพลังงาน ทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อนำเอาพลังงานที่ได้มาปั่นเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในโรงงานได้โดยเฉลี่ยจะได้กระแสไฟฟ้าวันละประมาณ 3 เมกะวัตต์ ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ได้มานี้มีเหลือพอใช้ และยังสามารถนำไปขายต่อให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้นำเงินมาหมุนเวียนใช้จ่ายในโรงงานได้อีกด้วย
โดยสรุปโครงการนี้สามารถสร้างผลกำไร และคืนต้นทุนการผลิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ น่าจะนำเอาระบบนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศที่มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี นายอุดม กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ภายในจังหวัดนครราชสีมาใช้พลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน โดยโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังของบริษัทสงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด ได้นำผลงานด้านการวิจัยการใช้พลังงานชีวมวลสาร ที่สามารถนำมาทดแทนน้ำมันทุกประเภทได้ดี โดยลดมลภาวะในเรื่องสิ่งแวดล้อมของโรงงาน และยังนำมาแปรรูปเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าหมุนเวียนได้ดีกว่าน้ำมัน มีราคาต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าถึง 3 เท่า จากเดิมที่จะต้องจ่ายค่าน้ำมันสูงสุดถึงเดือนละกว่า 7 แสนกว่าบาท เมื่อนำระบบนี้มาใช้สามารถลดค่าใช้จ่ายเหลือเพียงเดือนละ 2-3 แสนบาท ซึ่งระบบ BIOMASS นี้เป็นการนำเอาวัตถุดิบอินทรีย์สารที่ได้โดยตรงจากสิ่งมีชีวิต อาทิ พืช หรือของเสียเหลือใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ฟืน แกลบ ฟางข้าว มูลสัตว์ น้ำเสีย น้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ขยะมูลฝอย เป็นต้น นำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานโดยตรง หรือเปลี่ยนให้เป็นเชื้อเพลิงในรูปอื่น ๆ เช่น น้ำมันชีวภาพจากกระบวนการ Pyroiysis ของเศษไม้หรือขยะ ก๊าซชีวภาพจากการหมักขยะ หรือก๊าซเชื้อเพลิงจากกระบวนการ Gassification
นายอุดม กล่าวต่อไปว่า โรงงานได้มีการนำเอากากมันสำปะหลังที่เหลือจากการผลิตเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น แป้งมันสำปะหลัง และมันเส้น แล้วนำเอากากมันสำปะหลังไปหมักให้เกิดเป็นก๊าซ นำก๊าซที่ได้จากบ่อเก็บน้ำชีวมวลมาทำให้เกิดประโยชน์ด้านพลังงาน ทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อนำเอาพลังงานที่ได้มาปั่นเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในโรงงานได้โดยเฉลี่ยจะได้กระแสไฟฟ้าวันละประมาณ 3 เมกะวัตต์ ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ได้มานี้มีเหลือพอใช้ และยังสามารถนำไปขายต่อให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้นำเงินมาหมุนเวียนใช้จ่ายในโรงงานได้อีกด้วย
โดยสรุปโครงการนี้สามารถสร้างผลกำไร และคืนต้นทุนการผลิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ น่าจะนำเอาระบบนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศที่มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี นายอุดม กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-