วันนี้ (10 กย. 49) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการตรวจสอบโครงการก่อสร้างประปาโคราช 3,700 ล้านบาทว่า จะดำเนินการตรวจสอบต่อเพราะเชื่อว่ามีการล็อคสเปคอย่างแน่นอน ซึ่งขณะนี้ชัดเจนแล้วว่า งานประปาโคราช 3,700 ล้านบาท มีผู้เข้ายื่นซองเพียง 3 บริษัท คือ 1.กลุ่มบริษัทสามประสิทธิ์ 2.กลุ่มบริษัท ช.การช่าง 3.กลุ่มบริษัทอิตาเลียนไทย เป็นไปได้อย่างไร ไม่มีการล็อคสเปคงานจะมีเพียงแค่ 3 บริษัทเข้าประมูล บริษัทก่อสร้างใหญ่อื่น ๆ เขาไม่อยากทำงานหรืออย่างไร?
พร้อมกันนี้รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ได้เปิดประเด็นใหม่เรื่องราคาต้นทุนที่แท้จริงของงานก่อสร้างประปาโคราช มูลค่า 3,700 ล้านบาท โดยใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้เรียนจบมาจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มาคิดราคาต้นทุนที่แท้จริง
1. ระบบผลิตน้ำประปา
- โรงกรอง ขนาด 4,400 ลบ.ม./ชม. ราคา 174 ล้านบาท
- ถังน้ำใส ขนาด 22,000 ลบ.ม. ราคา 57 ล้านบาท
รวมสุทธิ ข้อ 1 = 174+57 = 231 ล้านบาท
2. การวางท่อ
2.1 ท่อส่งน้ำดิบ
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1,200 มม. ความยาว 61.05 กม. ราคา 1,485 ล้านบาท
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1,100 มม. ความยาว 5.50 กม. ราคา 111 ล้านบาท
2.2 ท่อส่งน้ำประปา
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1,000 มม. ความยาว 13.00 กม. ราคา 264 ล้านบาท
เส้นผ่าศูนย์กลาง 900 มม. ความยาว 3.00 กม. ราคา 55 ล้านบาท
รวมค่าวัสดุ 1,916 ล้านบาท + ค่าแรง 20% คือ 383 ล้านบาท
ดังนั้นราคารวมข้อ 2 เท่ากับ 2,300 ล้านบาท
เพราะฉะนั้น รวมข้อ 1 + 2 เท่ากับ 231 + 2,300 = 2,531 ล้านบาท (ราคาต้นทุน)
หมายเหตุ ราคาที่ใช้ในการประมาณการ มาจากราคากลางของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
ขณะเดียวกัน นายยุทธพงศ์กล่าวว่า ตามที่ ว่าที่ รต. ไพโรจน์ สุวรรณฉวี กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย อดีตรมช.พาณิชย์ และเป็น สส. จังหวัดนครราชสีมาหลายสมัย ก็ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า โครงการก่อสร้างน้ำประปาโคราช มูลค่า 3,700 ล้านบาท จากการตรวจสอบพบว่าราคาค่าก่อสร้างในรายละเอียดของแบบแปลนได้ถูกยกราคาสูงขึ้นกว่า 30 — 40% โดยใช้กลยุทธด้วยการเอางบประมาณส่วนของเทศบาลจ้างบริษัทที่ปรึกษา มีการอัพราคาการก่อสร้างให้สูงขึ้น โดยข้อมูลนี้ว่าที่ รต.ไพโรจน์ ได้มอบให้กก.ผอ.ใหญ่ บริษัทอีสต์วอเตอร์ เป็นผู้คิดราคากลางให้
Up ราคาประมาณ 30 — 40% คิดแค่ 35% = 3,678,000,000 x 0.65 = 2,390 ล้านบาท
แสดงว่าใกล้เคียงกับตัวเลขต้นทุนที่ได้แสดงไว้ในตอนต้นคือ 2,531 ล้านบาท กับ 2,390 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่างานนี้กำไรไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท นายยุทธพงศ์กล่าว
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ยังกล่าวต่อไปอีกว่า การที่เทศบาลโคราชออกมากล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ ไม่พบว่ามีการล็อคสเปคการก่อสร้างประปาโคราช นั้น ตนได้สอบถามเรื่องนี้ไปยัง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษถึงข้อเท็จจริง พบว่า ทางพ.ต.อ.ทวี ยืนยันว่าเรื่องการประมูลประปาโคราช ทาง DSI ยังไม่ได้มีการสรุปใด ๆ ทั้งสิ้นและเรื่องยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน
นายยุทธพงศ์ยังพบความผิดปกติอีกว่า เทศบาลนครราชสีมา จ้างบริษัท โปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแทนส์ จำกัดมาเป็นผู้เขียนแบบประปาให้ และเป็นแบบที่เขียนไว้เมื่อปี 2538 โดยเป็นแบบที่เขียนไว้เป็นเวลาถึง 11 ปีแล้ว นอกจากนี้นายยุทธพงศ์ยังพบว่า บริษัทโปรเกรสฯ เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับโครงการคลองด่าน ยิ่งทำให้เกิดความสงสัยเคลือบแคลงในโครงการประปาโคราชขึ้นไปอีก
พร้อมกันนี้นายยุทธพงศ์ยังได้ตั้งข้อสงสัยกับการทำงานของเทศบาลนคร นครราชสีมาถึงจ้างบริษัท ไทย ดีซีไอ จำกัด ให้เป็นบริษัทคอนซัลท์ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างอย่างเดียวเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นเงินถึง 94 ล้านบาท
“ผมถามว่า เทศบาลโคราชจ้างบริษัทฯ ควบคุมงานมาได้อย่างไร ในเมื่อคุณยังไม่ได้ผู้รับเหมาเลย แต่คุณไปจ้างบริษัทควบคุมงานมาไว้ล่วงหน้า ในทาง Engineer เขาไม่ทำกันหรอกครับ แถมตัวเงินค่าจ้าง 94 ล้านบาท ก็คิดจากร้อยละ 3 ของค่าก่อสร้าง 3,700 ล้านบาท ผมถามว่า งานยังไม่ได้ประมูลเลยคุณรู้ล่วงหน้าได้อย่างไร ว่ามูลค่างานจะได้ราคาประมาณ 3,700 ล้านบาท อย่างนี้มันยิ่งน่าสงสัย” นายยุทธพงศ์กล่าว
โดยในเรื่องนี้ สัปดาห์หน้านายยุทธพงศ์จะเดินทางไปจะยื่นหลักฐานเพิ่มเติมให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ และจะยื่นเรื่องให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินร่วมตรวจสอบด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ก.ย. 2549--จบ--
พร้อมกันนี้รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ได้เปิดประเด็นใหม่เรื่องราคาต้นทุนที่แท้จริงของงานก่อสร้างประปาโคราช มูลค่า 3,700 ล้านบาท โดยใช้ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้เรียนจบมาจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มาคิดราคาต้นทุนที่แท้จริง
1. ระบบผลิตน้ำประปา
- โรงกรอง ขนาด 4,400 ลบ.ม./ชม. ราคา 174 ล้านบาท
- ถังน้ำใส ขนาด 22,000 ลบ.ม. ราคา 57 ล้านบาท
รวมสุทธิ ข้อ 1 = 174+57 = 231 ล้านบาท
2. การวางท่อ
2.1 ท่อส่งน้ำดิบ
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1,200 มม. ความยาว 61.05 กม. ราคา 1,485 ล้านบาท
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1,100 มม. ความยาว 5.50 กม. ราคา 111 ล้านบาท
2.2 ท่อส่งน้ำประปา
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1,000 มม. ความยาว 13.00 กม. ราคา 264 ล้านบาท
เส้นผ่าศูนย์กลาง 900 มม. ความยาว 3.00 กม. ราคา 55 ล้านบาท
รวมค่าวัสดุ 1,916 ล้านบาท + ค่าแรง 20% คือ 383 ล้านบาท
ดังนั้นราคารวมข้อ 2 เท่ากับ 2,300 ล้านบาท
เพราะฉะนั้น รวมข้อ 1 + 2 เท่ากับ 231 + 2,300 = 2,531 ล้านบาท (ราคาต้นทุน)
หมายเหตุ ราคาที่ใช้ในการประมาณการ มาจากราคากลางของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
ขณะเดียวกัน นายยุทธพงศ์กล่าวว่า ตามที่ ว่าที่ รต. ไพโรจน์ สุวรรณฉวี กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย อดีตรมช.พาณิชย์ และเป็น สส. จังหวัดนครราชสีมาหลายสมัย ก็ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า โครงการก่อสร้างน้ำประปาโคราช มูลค่า 3,700 ล้านบาท จากการตรวจสอบพบว่าราคาค่าก่อสร้างในรายละเอียดของแบบแปลนได้ถูกยกราคาสูงขึ้นกว่า 30 — 40% โดยใช้กลยุทธด้วยการเอางบประมาณส่วนของเทศบาลจ้างบริษัทที่ปรึกษา มีการอัพราคาการก่อสร้างให้สูงขึ้น โดยข้อมูลนี้ว่าที่ รต.ไพโรจน์ ได้มอบให้กก.ผอ.ใหญ่ บริษัทอีสต์วอเตอร์ เป็นผู้คิดราคากลางให้
Up ราคาประมาณ 30 — 40% คิดแค่ 35% = 3,678,000,000 x 0.65 = 2,390 ล้านบาท
แสดงว่าใกล้เคียงกับตัวเลขต้นทุนที่ได้แสดงไว้ในตอนต้นคือ 2,531 ล้านบาท กับ 2,390 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่างานนี้กำไรไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท นายยุทธพงศ์กล่าว
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ยังกล่าวต่อไปอีกว่า การที่เทศบาลโคราชออกมากล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ ไม่พบว่ามีการล็อคสเปคการก่อสร้างประปาโคราช นั้น ตนได้สอบถามเรื่องนี้ไปยัง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษถึงข้อเท็จจริง พบว่า ทางพ.ต.อ.ทวี ยืนยันว่าเรื่องการประมูลประปาโคราช ทาง DSI ยังไม่ได้มีการสรุปใด ๆ ทั้งสิ้นและเรื่องยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน
นายยุทธพงศ์ยังพบความผิดปกติอีกว่า เทศบาลนครราชสีมา จ้างบริษัท โปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแทนส์ จำกัดมาเป็นผู้เขียนแบบประปาให้ และเป็นแบบที่เขียนไว้เมื่อปี 2538 โดยเป็นแบบที่เขียนไว้เป็นเวลาถึง 11 ปีแล้ว นอกจากนี้นายยุทธพงศ์ยังพบว่า บริษัทโปรเกรสฯ เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับโครงการคลองด่าน ยิ่งทำให้เกิดความสงสัยเคลือบแคลงในโครงการประปาโคราชขึ้นไปอีก
พร้อมกันนี้นายยุทธพงศ์ยังได้ตั้งข้อสงสัยกับการทำงานของเทศบาลนคร นครราชสีมาถึงจ้างบริษัท ไทย ดีซีไอ จำกัด ให้เป็นบริษัทคอนซัลท์ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างอย่างเดียวเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นเงินถึง 94 ล้านบาท
“ผมถามว่า เทศบาลโคราชจ้างบริษัทฯ ควบคุมงานมาได้อย่างไร ในเมื่อคุณยังไม่ได้ผู้รับเหมาเลย แต่คุณไปจ้างบริษัทควบคุมงานมาไว้ล่วงหน้า ในทาง Engineer เขาไม่ทำกันหรอกครับ แถมตัวเงินค่าจ้าง 94 ล้านบาท ก็คิดจากร้อยละ 3 ของค่าก่อสร้าง 3,700 ล้านบาท ผมถามว่า งานยังไม่ได้ประมูลเลยคุณรู้ล่วงหน้าได้อย่างไร ว่ามูลค่างานจะได้ราคาประมาณ 3,700 ล้านบาท อย่างนี้มันยิ่งน่าสงสัย” นายยุทธพงศ์กล่าว
โดยในเรื่องนี้ สัปดาห์หน้านายยุทธพงศ์จะเดินทางไปจะยื่นหลักฐานเพิ่มเติมให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ และจะยื่นเรื่องให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินร่วมตรวจสอบด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 ก.ย. 2549--จบ--