ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังอนุมัติหลักเกณฑ์การใช้นวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่ นายทนง พิทยะ รมว.คลัง กล่าว
ว่า ได้อนุมัติหลักเกณฑ์การใช้นวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มเงินกองทุนของ ธ.พาณิชย์ หรือที่เรียกว่า
Hybrid Upper Tier I Bond ซึ่ง ธ.พาณิชย์ทุกแห่งสามารถนำไปใช้ได้ โดยเฉพาะธนาคารที่มีแนวโน้มว่าใน
อนาคตเงินกองทุนขั้นที่ 1 อาจไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ซึ่งมีธนาคารหลายแห่งแสดงความสนใจตราสารดัง
กล่าวเข้ามา แต่ในเบื้องต้นคาดว่า ธ.ทหารไทยจะเป็นรายแรกที่สามารถออกตราสารชนิดนี้เพื่อระดมทุนมาทดแทน
แคปส์ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในกลางปีนี้ และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติของ ธปท. เชื่อว่าจะดำเนินการได้
ไม่มีปัญหา ทั้งนี้ ตราสารดังกล่าวได้รับการยอมรับในระดับสากล มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่อยู่ระหว่างทุนและหนี้
ด้อยสิทธิ ถือเป็นการเพิ่มทุนโดยตรงของธนาคาร สามารถนำเข้าสมทบในเงินทุนขั้นที่ 1 และนำเงินที่ได้ไปปล่อยสิน
เชื่อได้ โดยผู้ถือตราสารมีสิทธิเหนือผู้ถือหุ้น (ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ตลาดพันธบัตรเอเชียจะเป็นเครื่องมือสร้างความรุ่งเรืองให้กับเศรษฐกิจเอเชีย พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร นรม. กล่าวว่า การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียจะทำให้เงินออมของเอเชียถูกนำมาใช้เพื่อสร้างโอกาส ก่อ
ให้เกิดการเติบโต การจ้างงาน และเพิ่มอำนาจซื้อให้กับประชาชนเอเชียมากขึ้น รองรับสภาพคล่องส่วนเกิน สร้าง
เสถียรภาพให้กับตลาดการเงินภูมิภาค เป็นเครื่องมือสร้างความรุ่งเรืองความร่ำรวยให้เศรษฐกิจเอเชีย และเป็น
ทางเลือกสำหรับนักลงทุนระหว่างประเทศและนักลงทุนในภูมิภาค (โพสต์ทูเดย์)
3. เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าไทยเป็นไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้า
หน้าที่บริหาร ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า กระแสเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามายังไทยแรงมาก ซึ่งเป็นไปตามกระแส
โลกาภิวัตน์ จุดใดที่ให้ผลตอบแทนสูงทุนก็จะไหลเข้าไปในจุดนั้นเพื่อหาผลตอบแทน หากจุดใดมีกำแพงกั้นก็จะพัง
กำแพง เช่น กรณีการเปิดเขตการค้าเสรี ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับการ
แข่งขันที่รุนแรง ส่วนเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.0 โดยมีปัจจัยเสี่ยง 3 อย่าง คือ
ราคาน้ำมัน โรคระบาด และคนทะเลาะกันเกินไปจนทำให้เกิดสงคราม ทำให้เศรษฐกิจสะดุด แต่ถ้าไม่นำปัจจัย
ลบทั้ง 3 อย่างเข้ามา เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไปได้ดี การส่งออกและการลงทุนจะเกิดขึ้นอย่างกว้าง
ขวาง (ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดว่าความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในปีนี้จะดีกว่าปีก่อน นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รองประธาน
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ธ.ค.48 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
มาอยู่ที่ 100.4 ถือเป็นดัชนีที่เกินกว่าระดับปกติ 100 เป็นเดือนที่ 2 ในรอบปี 48 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากต่าง
ประเทศเข้ามามากขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดี
ขึ้น โดยคาดว่าความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในปี 49 จะดีกว่าปี 48 ในขณะที่ผู้ประกอบการยังคงกังวลเกี่ยวกับ
ราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนิน
ธุรกิจ ส่วนเรื่องเขตการค้าเสรีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเริ่มกังวลว่าจะเข้ามามีผลกระทบต่อกิจการมากขึ้น โดย
ผู้ประกอบการถึงร้อยละ 31.8 มองว่าเอฟทีเอจะทำให้แย่ลง จากก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการไม่ค่อยสนใจตรงนี้มาก
นัก สำหรับค่าดัชนีหลักที่นำมาคำนวณความเชื่อมั่นในเดือน ธ.ค. 3 ใน 5 ปัจจัย ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าดัชนี
ความเชื่อมั่นโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย และผลประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม
ของปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการปรับตัวลดลง (ข่าวสด, แนวหน้า, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านมือสองของสรอ. ในเดือน ธ.ค. ลดลงแต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วกลับเพิ่ม
ขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 49 สมาคมผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเปิดเผยว่า ใน
เดือน ธ.ค. ยอดขายบ้านมือสองซึ่งรวมถึงบ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียม ของสรอ. อยู่ในระดับ 6.60 ล้านหลังลด
ลงจากจำนวน 7.0 ล้านหลังในเดือน พ.ย. หรือลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.7 และอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่
เดือน มี.ค. 47 เนื่องจากตลาดบ้านชะลอตัว ทั้งนี้ยอดขายบ้านทั้งปี 48 มีจำนวน 7.072 ล้านหลังทำสถิติสูงสุด
เป็นปีที่ 5 โดยปี 48 เป็นปีที่ดีที่สุด นักวิเคราะห์คาดว่าทั้งปี 48 ยอดขายบ้านจะมีจำนวน 6.90 ล้านหลังน้อยกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 6.97 ล้านหลัง ทั้งนี้การลดลงของยอดขายบ้านมือสองในเดือน ธ.ค. เป็นสัญญานว่าตลาด
บ้านของสรอ. ในระยะต่อไปจะชะลอตัวลงหลังจากที่ขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องเมื่อ 5 ปีก่อน ส่งผลให้ราคาบ้านสูง
ขึ้นมากกว่าร้อยละ 55 โดยยอดขายบ้านเดี่ยวลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 6.8 ส่วนคอนโดมิเนียมลดลงร้อยละ 1.6
ซึ่งส่งผลต่อกระทบการจ้างงานในตลาดท้องถิ่น(รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจอังกฤษในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 48 ขยายตัวร้อยละ 0.6 สูงสุดในรอบปี รายงาน
จากลอนดอนเมื่อ 25 ม.ค.49 The Office for National Statistics (ONS) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ของอังกฤษในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 48 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบปีร้อยละ 0.6 เทียบกับไตรมาสก่อน
หน้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 0.5 ขณะที่
เมื่อเทียบต่อปี จีดีพีขยายตัวร้อยละ 1.7 ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่สูงกว่าที่มีการคาดการณ์ว่า
จะก้าวหน้าร้อยละ 1.6 สำหรับจีดีพีทั้งปี 48 ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 35 แต่ยังคงสูงกว่าการ
ประมาณการของ ก.คลังซึ่งเคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจีดีพีปี 48 จะขยายตัวร้อยละ 1.75 ทั้งนี้ การเติบโตของ
จีดีพีในไตรมาสที่ 4 ดังกล่าว เป็นผลจากการขยายตัวของภาคบริการ ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่งที่ร้อยละ
0.9 นับเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของจีดีพี ทดแทนปัจจัยด้านผลผลิตอุตสาหกรรมและการบริการภาครัฐซึ่ง
ประสบภาวะชะลอตัว โดยผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.6 เทียบต่อไตรมาส ขณะที่การบริการภาครัฐซึ่งรวม
ถึงบริการอื่นๆ นอกเหนือจากบริการด้านโรงแรม การขนส่ง และอาหาร ลดลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 0.8 ใน
ไตรมาสก่อนหน้า ต่ำสุดในรอบกว่าปี อนึ่ง การขยายตัวของจีดีพีดังกล่าว ก่อให้เกิดการคาดหมายว่า ธ.กลาง
อังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป (รอยเตอร์)
3. ตัวเลขเบื้องต้นดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ม.ค.49 จากเดือน
ก่อนลดลงมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 25 ม.ค.49 สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานตัวเลข
เบื้องต้นดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ม.ค.49 จากข้อมูลที่ได้จากทั้ง 6 รัฐของประเทศลดลงร้อยละ
0.5 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบต่อปีซึ่งเท่ากับเดือนก่อน ลดลงมากกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์
คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.1 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบต่อปี โดยหากคำนวณตามมาตรฐานของ
สหภาพยุโรปหรือ HICP แล้ว ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ม.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.4 ต่อเดือนและ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบต่อปี ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบต่อปี สนง.สถิติกลางกำหนดจะประกาศตัวเลขจริงดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือน ม.ค.49
ในกลางเดือน ก.พ.49 นี้ (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ธ.ค.48 ลดลงร้อยละ 19.3 และ 17.0 เมื่อเทียบต่อปี และต่อ
เดือน ตามลำดับ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 26 ม.ค.49 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค.48 ญี่ปุ่นเกิน
ดุลการค้าจำนวน 914.0 พัน ล.เยน (7.89 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือลดลงร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่ง
เป็นการลดลงมากกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุล 950 พัน ล.เยน หรือลดลงร้อย
ละ 16.2 และหากเทียบต่อเดือนแล้ว ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 611.2 พัน ล.เยน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ
17.0 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ ในปี 48 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 26.5 ที่จำนวน
8.7852 ล้านล้านเยน นับเป็นการเกินดุลลดลงครั้งแรกในรอบ 4 ปี โดยจำแนกเป็นการส่งออกจำนวน 65.6612
ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.3 ขณะที่นำเข้าจำนวน 56.8760 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
15.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ม.ค. 49 25 ม.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.276 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1315/39.4198 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.2825 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 762.70/ 39.26 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,300/10,400 10,250/10,350 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 59.79 59.75 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 25 ม.ค. 49 27.24*/24.69* 27.24*/24.69* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ก.คลังอนุมัติหลักเกณฑ์การใช้นวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่ นายทนง พิทยะ รมว.คลัง กล่าว
ว่า ได้อนุมัติหลักเกณฑ์การใช้นวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มเงินกองทุนของ ธ.พาณิชย์ หรือที่เรียกว่า
Hybrid Upper Tier I Bond ซึ่ง ธ.พาณิชย์ทุกแห่งสามารถนำไปใช้ได้ โดยเฉพาะธนาคารที่มีแนวโน้มว่าใน
อนาคตเงินกองทุนขั้นที่ 1 อาจไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ซึ่งมีธนาคารหลายแห่งแสดงความสนใจตราสารดัง
กล่าวเข้ามา แต่ในเบื้องต้นคาดว่า ธ.ทหารไทยจะเป็นรายแรกที่สามารถออกตราสารชนิดนี้เพื่อระดมทุนมาทดแทน
แคปส์ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในกลางปีนี้ และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติของ ธปท. เชื่อว่าจะดำเนินการได้
ไม่มีปัญหา ทั้งนี้ ตราสารดังกล่าวได้รับการยอมรับในระดับสากล มีลักษณะเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่อยู่ระหว่างทุนและหนี้
ด้อยสิทธิ ถือเป็นการเพิ่มทุนโดยตรงของธนาคาร สามารถนำเข้าสมทบในเงินทุนขั้นที่ 1 และนำเงินที่ได้ไปปล่อยสิน
เชื่อได้ โดยผู้ถือตราสารมีสิทธิเหนือผู้ถือหุ้น (ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ตลาดพันธบัตรเอเชียจะเป็นเครื่องมือสร้างความรุ่งเรืองให้กับเศรษฐกิจเอเชีย พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร นรม. กล่าวว่า การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียจะทำให้เงินออมของเอเชียถูกนำมาใช้เพื่อสร้างโอกาส ก่อ
ให้เกิดการเติบโต การจ้างงาน และเพิ่มอำนาจซื้อให้กับประชาชนเอเชียมากขึ้น รองรับสภาพคล่องส่วนเกิน สร้าง
เสถียรภาพให้กับตลาดการเงินภูมิภาค เป็นเครื่องมือสร้างความรุ่งเรืองความร่ำรวยให้เศรษฐกิจเอเชีย และเป็น
ทางเลือกสำหรับนักลงทุนระหว่างประเทศและนักลงทุนในภูมิภาค (โพสต์ทูเดย์)
3. เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าไทยเป็นไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้า
หน้าที่บริหาร ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า กระแสเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามายังไทยแรงมาก ซึ่งเป็นไปตามกระแส
โลกาภิวัตน์ จุดใดที่ให้ผลตอบแทนสูงทุนก็จะไหลเข้าไปในจุดนั้นเพื่อหาผลตอบแทน หากจุดใดมีกำแพงกั้นก็จะพัง
กำแพง เช่น กรณีการเปิดเขตการค้าเสรี ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับการ
แข่งขันที่รุนแรง ส่วนเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.0 โดยมีปัจจัยเสี่ยง 3 อย่าง คือ
ราคาน้ำมัน โรคระบาด และคนทะเลาะกันเกินไปจนทำให้เกิดสงคราม ทำให้เศรษฐกิจสะดุด แต่ถ้าไม่นำปัจจัย
ลบทั้ง 3 อย่างเข้ามา เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไปได้ดี การส่งออกและการลงทุนจะเกิดขึ้นอย่างกว้าง
ขวาง (ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดว่าความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในปีนี้จะดีกว่าปีก่อน นายสันติ วิลาสศักดานนท์ รองประธาน
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ธ.ค.48 ปรับตัวเพิ่มขึ้น
มาอยู่ที่ 100.4 ถือเป็นดัชนีที่เกินกว่าระดับปกติ 100 เป็นเดือนที่ 2 ในรอบปี 48 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากต่าง
ประเทศเข้ามามากขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดี
ขึ้น โดยคาดว่าความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในปี 49 จะดีกว่าปี 48 ในขณะที่ผู้ประกอบการยังคงกังวลเกี่ยวกับ
ราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนิน
ธุรกิจ ส่วนเรื่องเขตการค้าเสรีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเริ่มกังวลว่าจะเข้ามามีผลกระทบต่อกิจการมากขึ้น โดย
ผู้ประกอบการถึงร้อยละ 31.8 มองว่าเอฟทีเอจะทำให้แย่ลง จากก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการไม่ค่อยสนใจตรงนี้มาก
นัก สำหรับค่าดัชนีหลักที่นำมาคำนวณความเชื่อมั่นในเดือน ธ.ค. 3 ใน 5 ปัจจัย ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าดัชนี
ความเชื่อมั่นโดยรวมของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย และผลประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม
ของปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการปรับตัวลดลง (ข่าวสด, แนวหน้า, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านมือสองของสรอ. ในเดือน ธ.ค. ลดลงแต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วกลับเพิ่ม
ขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 49 สมาคมผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเปิดเผยว่า ใน
เดือน ธ.ค. ยอดขายบ้านมือสองซึ่งรวมถึงบ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียม ของสรอ. อยู่ในระดับ 6.60 ล้านหลังลด
ลงจากจำนวน 7.0 ล้านหลังในเดือน พ.ย. หรือลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.7 และอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่
เดือน มี.ค. 47 เนื่องจากตลาดบ้านชะลอตัว ทั้งนี้ยอดขายบ้านทั้งปี 48 มีจำนวน 7.072 ล้านหลังทำสถิติสูงสุด
เป็นปีที่ 5 โดยปี 48 เป็นปีที่ดีที่สุด นักวิเคราะห์คาดว่าทั้งปี 48 ยอดขายบ้านจะมีจำนวน 6.90 ล้านหลังน้อยกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 6.97 ล้านหลัง ทั้งนี้การลดลงของยอดขายบ้านมือสองในเดือน ธ.ค. เป็นสัญญานว่าตลาด
บ้านของสรอ. ในระยะต่อไปจะชะลอตัวลงหลังจากที่ขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องเมื่อ 5 ปีก่อน ส่งผลให้ราคาบ้านสูง
ขึ้นมากกว่าร้อยละ 55 โดยยอดขายบ้านเดี่ยวลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 6.8 ส่วนคอนโดมิเนียมลดลงร้อยละ 1.6
ซึ่งส่งผลต่อกระทบการจ้างงานในตลาดท้องถิ่น(รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจอังกฤษในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 48 ขยายตัวร้อยละ 0.6 สูงสุดในรอบปี รายงาน
จากลอนดอนเมื่อ 25 ม.ค.49 The Office for National Statistics (ONS) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ของอังกฤษในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 48 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบปีร้อยละ 0.6 เทียบกับไตรมาสก่อน
หน้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 0.5 ขณะที่
เมื่อเทียบต่อปี จีดีพีขยายตัวร้อยละ 1.7 ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่สูงกว่าที่มีการคาดการณ์ว่า
จะก้าวหน้าร้อยละ 1.6 สำหรับจีดีพีทั้งปี 48 ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 35 แต่ยังคงสูงกว่าการ
ประมาณการของ ก.คลังซึ่งเคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจีดีพีปี 48 จะขยายตัวร้อยละ 1.75 ทั้งนี้ การเติบโตของ
จีดีพีในไตรมาสที่ 4 ดังกล่าว เป็นผลจากการขยายตัวของภาคบริการ ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่งที่ร้อยละ
0.9 นับเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของจีดีพี ทดแทนปัจจัยด้านผลผลิตอุตสาหกรรมและการบริการภาครัฐซึ่ง
ประสบภาวะชะลอตัว โดยผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.6 เทียบต่อไตรมาส ขณะที่การบริการภาครัฐซึ่งรวม
ถึงบริการอื่นๆ นอกเหนือจากบริการด้านโรงแรม การขนส่ง และอาหาร ลดลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 0.8 ใน
ไตรมาสก่อนหน้า ต่ำสุดในรอบกว่าปี อนึ่ง การขยายตัวของจีดีพีดังกล่าว ก่อให้เกิดการคาดหมายว่า ธ.กลาง
อังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป (รอยเตอร์)
3. ตัวเลขเบื้องต้นดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน ม.ค.49 จากเดือน
ก่อนลดลงมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 25 ม.ค.49 สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานตัวเลข
เบื้องต้นดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ม.ค.49 จากข้อมูลที่ได้จากทั้ง 6 รัฐของประเทศลดลงร้อยละ
0.5 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบต่อปีซึ่งเท่ากับเดือนก่อน ลดลงมากกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์
คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.1 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบต่อปี โดยหากคำนวณตามมาตรฐานของ
สหภาพยุโรปหรือ HICP แล้ว ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ม.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.4 ต่อเดือนและ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบต่อปี ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบต่อปี สนง.สถิติกลางกำหนดจะประกาศตัวเลขจริงดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือน ม.ค.49
ในกลางเดือน ก.พ.49 นี้ (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ธ.ค.48 ลดลงร้อยละ 19.3 และ 17.0 เมื่อเทียบต่อปี และต่อ
เดือน ตามลำดับ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 26 ม.ค.49 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค.48 ญี่ปุ่นเกิน
ดุลการค้าจำนวน 914.0 พัน ล.เยน (7.89 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือลดลงร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่ง
เป็นการลดลงมากกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุล 950 พัน ล.เยน หรือลดลงร้อย
ละ 16.2 และหากเทียบต่อเดือนแล้ว ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 611.2 พัน ล.เยน หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ
17.0 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ ในปี 48 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 26.5 ที่จำนวน
8.7852 ล้านล้านเยน นับเป็นการเกินดุลลดลงครั้งแรกในรอบ 4 ปี โดยจำแนกเป็นการส่งออกจำนวน 65.6612
ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.3 ขณะที่นำเข้าจำนวน 56.8760 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ
15.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ม.ค. 49 25 ม.ค. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.276 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1315/39.4198 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.2825 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 762.70/ 39.26 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,300/10,400 10,250/10,350 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 59.79 59.75 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 25 ม.ค. 49 27.24*/24.69* 27.24*/24.69* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--