วันนี้(13 มี.ค.49) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมได้ประเมินความเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา พบว่านายกฯ อยู่ในสภาวะที่ค่อนข้างสับสน ตึงเครียดและจับต้นชนปลายอะไรไม่ค่อยถูก ไม่มีความชัดเจนว่าจะนำพาประเทศไทยในฐานะรักษาการนายกฯ ให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้อย่างไร พฤติกรรมของนายกฯ ขณะนี้มี 3 พฤติกรรมที่สับสนอยู่ในตัวคนๆ เดียวคือ 1. ฮึกเหิมกระหยิ่มยิ้มย่อง หลายกรณีที่นายกฯ กำลังจะเอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้ หลายกรณีที่เห็นว่าใช้อำนาจเบ็ดเสร็จจัดการกับผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามได้ นายกฯก็จะพูดจาดูถูกเหยียดหยามตลอดเวลา 2. วิตกกังวล โดยหลายเหตุการณ์นายกฯพยายามแก้ปัญหาไม่ให้มาถึงตัวเอง เพราะแทนที่จะวิตกกังวลว่าผลกระทบจะมาตกกับประเทศชาติ กลับวิตกว่าจะมากระทบกับตัวเองหรือครอบครัวมากกว่า และ 3. หวาดกลัว โดยกลัวต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องการตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบทรัพย์สิน การซื้อขายหุ้นชินคอร์ปอเรชั่น หวาดกลัวต่ออำนาจที่กำลังจะหมดไปอย่างรวดเร็ว
“จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมทั้ง 3 ส่วนนี้ ทำให้นายกฯ ไม่อยู่ในสภาวะผู้นำของประเทศได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างยิ่ง และเป็นเรื่องที่นายกฯ และทีมงานจะต้องไม่ทำให้เกิดขึ้น เพราะจะกระทบต่อภาพโดยรวมของประเทศ” นายองอาจ กล่าว
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้จัดทำเอกสารและแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วประเทศชื่อ “พรรคประชาธิปัตย์เปิดแนวรบประชาธิปไตย หยุด! ระบอบทักษิณ” จำนวน 1 ล้านฉบับ ซึ่งเนื้อหาภายในเอกสาร มี 4 หัวข้อใหญ่ที่มีคำถามและคำตอบอธิบายในเล่ม คือ 1.อะไรคือระบอบทักษิณ 2. ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ถึงไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. 3. พรรคประชาธิปัตย์ละเมิดกติกาประชาธิปไตยจริงหรือ และ 4. ประชาชนจะทำอย่างไรดี รวมทั้งญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ด้วย
นายองอาจ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้พรรคกำลังติดตามและจับตาการเลือกตั้งสกปรก เพราะการเลือกตั้งจะมีขึ้นหรือไม่ แต่ประชาชนยังมีความไม่มั่นใจและไม่แน่ใจคือการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพราะได้มีการตรวจสอบและพบว่ามีความพยายามที่จะทุจริตการเลือกตั้งครั้งนี้ในหลายกรณี น่าจะมีคนใน กกต. เอื้ออำนวยและก่อให้เกิดการประพฤติปฎิบัติเช่นนั้นได้ เพราะการกระทำดังกล่าวไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย อำนาจความผิดใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการกระทำเสมือนหนึ่งว่า มั่นใจในอำนาจที่หนุนหลังและคอยชักใยอยู่ เช่น การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ จ.ตรัง ของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ซึ่งหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไปออกโทรทัศน์ว่า ผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคครบ 90 วัน แต่เมื่อตรวจสอบแล้ว กกต.รับรองและยืนยันว่าไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค ดังนั้นการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงเป็นการเลือกตั้งสกปรกที่น่าเกลียดที่สุดเท่าที่พบมาในประเทศไทย พรรคประชาธิปัตย์จึงขอให้ กกต.กลางตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของ กกต.อย่างเอาจริงเอาจังว่า มีความพยายามเข้าไปร่วมด้วยช่วยเหลือให้เกิดการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่
ส่วนกรณีของ น.พ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ลาออกจากพรรคแล้วไปบวชนั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคคงไม่ไปก้าวล่วงการตัดสินใจครั้งนี้ แต่ตนเคยยืนยันแล้วว่าเริ่มมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยลาออกจากพรรคตั้งแต่คนแรกๆ ว่าจะมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยทยอยออกมาอีกเรื่อยๆ วันนี้ก็ปรากฏเป็นจริงแล้ว ซึ่งกรณีของ น.พ.เปรมศักดิ์ คงไม่ใช่รายสุดท้ายแน่นอน คงมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยอีกหลายคนที่เริ่มทบทวนว่าจะตัดสินใจอย่างไรเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติมากขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อว่าตราบใดที่นายกฯยังใช้สถานการณ์ทางการเมืองเดินหน้าท้าทายพลังประชาชนอย่างนี้ ก็จะมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยออกมาอีก เพราะคิดว่าสมาชิกพรรคไทยรักไทยคงไม่ได้ตัดช่องน้อยแต่พอตัว แต่เป็นการตัดสินใจทิ้งพรรคไทยรักไทย เพราะถ้าไม่ทิ้งวันนี้ วันข้างหน้าก็คงต้องทิ้ง วันใดวันหนึ่งอยู่แล้ว
เมื่อถามว่า กกต. ระบุว่า กรณีการลาออกของ น.พ.เปรมศักดิ์จะไม่มีผลต่อการเลือกตั้ง นายองอาจ กล่าวว่า ไม่มีผลต่อการเลือกตั้งแน่นอน เพราะกรณีของ ส.ส.ครบ 500 คนหรือไม่จะเกิดขึ้นหลังจากการเลือกตั้ง เพราะกฎหมายระบุชัดเจนว่าหลังเลือกตั้งแล้วต้องมี ส.ส. 500 คนเพื่อไปเลือกนายกรัฐมนตรี จุดนี้คิดว่าไม่มีใครสามารถตะแบงเป็นอย่างอื่นไปได้เพราะกฎหมายได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อขณะนี้ยังไม่ถึงวันเลือกตั้งก็ไม่สามารถนำประเด็นนี้มาบังคับใช้ได้ แต่คิดว่าพวกเราสามารถมองเห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถ้าไม่มีการถ่ายเทคะแนนจากพรรคใหญ่ก็คงจะเห็นชัดเจนว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมือง จึงอยากฝากให้นายกฯ พิจารณาประเด็นนี้ด้วยว่า จะเดินหน้าต่อไปโดยสูญเสียเงิน 2,000 กว่าล้านบาท หรือคิดว่าควรจะมีทางออกอื่นในการประหยัดงบประมาณการเลือกตั้งครั้งนี้ และคิดว่าเมื่อสถานการณ์ผลิกผันมาขนาดนี้น่าจะเป็นข้อมูลให้นายกฯ ได้ทบทวนการแก้ไขวิกฤตได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่านายกฯ คิดที่จะทบทวนสิ่งเหล่านี้หรือไม่ หรือคิดเพียงแต่จะรักษาอำนาจให้ยืนยงต่อไป แต่เพียงอย่างเดียว
ส่วนการที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ ขึ้นมาช่วยแก้ปัญหานั้น นายองอาจ กล่าวว่า ที่ประชุมพรรคได้มีการหยิบยกขึ้นมาปรึกษาหารือกันว่า ยังไม่มีความชัดเจนในรูปแบบและวิธีการ รวมทั้งจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคืออะไร เพราะการหาทางออกของวิกฤติในครั้งนี้ เราจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าคืออะไร เพราะขณะนี้เรามักพูดรวมๆ และพยายามหาวิธีการรวมๆ ซึ่งยังไม่มีข้อชัดเจน แต่ก็ถือว่าเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่พรรคประชาธิปัตย์รับฟังไว้
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จะมีขึ้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาลว่า พรรคประชาธิปัตย์อยากให้รัฐบาลช่วยตรวจสอบที่มีข่าวว่าจะมีการระดมเจ้าหน้าที่ป่าไม้หรือจากหน่วยงานอื่นเข้ามาใน กทม.จริงหรือไม่ ถ้ามีการระดมในลักษณะนี้จริง ไม่ว่าจากบุคคลระดับรัฐมนตรีหรือระดับข้าราชการประจำก็ตามอยากให้รัฐบาลรีบยับยั้งบุคคลที่จะเข้ามาเพื่อเผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรฯ ส่วนกรณีขบวนรถอีแต๋นที่เข้ามาร่วมด้วยนั้น ปรากฏว่ามีรถของทางราชการเข้าไปอำนวยความสะดวกให้ จึงอยากฝากไปถึงรัฐบาลว่าข้าราชการและยานพาหนะเหล่านั้น ทำไมไม่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเนื่องจากขบวนรถอีแต๋นจะเข้ามาใกล้กับระยะเวลาที่กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนไหวมายังทำเนียบฯ และเท่าที่ดูจากข่าวก็อาจจะไปเจอกันในเช้าวันที่ 14 มี.ค.นี้ ซึ่งถ้ามีการเผชิญหน้ากัน ก็จะไม่เป็นผลดีและสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์กังวลคือเรื่องของอาวุธที่จะติดมากับขบวนรถอีแต๋น
“อยากฝากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยตรวจสอบว่า มีอุปกรณ์หรือมีวัสดุใดที่คล้ายอาวุธเข้ามาในขบวนด้วยหรือไม่ ควรที่จะตรวจสอบก่อนที่จะปล่อยให้ขบวนเข้ามาใน กทม.เพราะอาจจะก่อให้เกิดการเผชิญหน้าและเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสมขึ้นมาได้” นายองอาจ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 มี.ค. 2549--จบ--
“จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมทั้ง 3 ส่วนนี้ ทำให้นายกฯ ไม่อยู่ในสภาวะผู้นำของประเทศได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างยิ่ง และเป็นเรื่องที่นายกฯ และทีมงานจะต้องไม่ทำให้เกิดขึ้น เพราะจะกระทบต่อภาพโดยรวมของประเทศ” นายองอาจ กล่าว
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้จัดทำเอกสารและแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วประเทศชื่อ “พรรคประชาธิปัตย์เปิดแนวรบประชาธิปไตย หยุด! ระบอบทักษิณ” จำนวน 1 ล้านฉบับ ซึ่งเนื้อหาภายในเอกสาร มี 4 หัวข้อใหญ่ที่มีคำถามและคำตอบอธิบายในเล่ม คือ 1.อะไรคือระบอบทักษิณ 2. ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ถึงไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 2 เม.ย. 3. พรรคประชาธิปัตย์ละเมิดกติกาประชาธิปไตยจริงหรือ และ 4. ประชาชนจะทำอย่างไรดี รวมทั้งญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ด้วย
นายองอาจ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้พรรคกำลังติดตามและจับตาการเลือกตั้งสกปรก เพราะการเลือกตั้งจะมีขึ้นหรือไม่ แต่ประชาชนยังมีความไม่มั่นใจและไม่แน่ใจคือการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพราะได้มีการตรวจสอบและพบว่ามีความพยายามที่จะทุจริตการเลือกตั้งครั้งนี้ในหลายกรณี น่าจะมีคนใน กกต. เอื้ออำนวยและก่อให้เกิดการประพฤติปฎิบัติเช่นนั้นได้ เพราะการกระทำดังกล่าวไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย อำนาจความผิดใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการกระทำเสมือนหนึ่งว่า มั่นใจในอำนาจที่หนุนหลังและคอยชักใยอยู่ เช่น การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ จ.ตรัง ของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ซึ่งหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไปออกโทรทัศน์ว่า ผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคครบ 90 วัน แต่เมื่อตรวจสอบแล้ว กกต.รับรองและยืนยันว่าไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค ดังนั้นการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงเป็นการเลือกตั้งสกปรกที่น่าเกลียดที่สุดเท่าที่พบมาในประเทศไทย พรรคประชาธิปัตย์จึงขอให้ กกต.กลางตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของ กกต.อย่างเอาจริงเอาจังว่า มีความพยายามเข้าไปร่วมด้วยช่วยเหลือให้เกิดการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือไม่
ส่วนกรณีของ น.พ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ อดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ลาออกจากพรรคแล้วไปบวชนั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคคงไม่ไปก้าวล่วงการตัดสินใจครั้งนี้ แต่ตนเคยยืนยันแล้วว่าเริ่มมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยลาออกจากพรรคตั้งแต่คนแรกๆ ว่าจะมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยทยอยออกมาอีกเรื่อยๆ วันนี้ก็ปรากฏเป็นจริงแล้ว ซึ่งกรณีของ น.พ.เปรมศักดิ์ คงไม่ใช่รายสุดท้ายแน่นอน คงมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยอีกหลายคนที่เริ่มทบทวนว่าจะตัดสินใจอย่างไรเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติมากขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อว่าตราบใดที่นายกฯยังใช้สถานการณ์ทางการเมืองเดินหน้าท้าทายพลังประชาชนอย่างนี้ ก็จะมีสมาชิกพรรคไทยรักไทยออกมาอีก เพราะคิดว่าสมาชิกพรรคไทยรักไทยคงไม่ได้ตัดช่องน้อยแต่พอตัว แต่เป็นการตัดสินใจทิ้งพรรคไทยรักไทย เพราะถ้าไม่ทิ้งวันนี้ วันข้างหน้าก็คงต้องทิ้ง วันใดวันหนึ่งอยู่แล้ว
เมื่อถามว่า กกต. ระบุว่า กรณีการลาออกของ น.พ.เปรมศักดิ์จะไม่มีผลต่อการเลือกตั้ง นายองอาจ กล่าวว่า ไม่มีผลต่อการเลือกตั้งแน่นอน เพราะกรณีของ ส.ส.ครบ 500 คนหรือไม่จะเกิดขึ้นหลังจากการเลือกตั้ง เพราะกฎหมายระบุชัดเจนว่าหลังเลือกตั้งแล้วต้องมี ส.ส. 500 คนเพื่อไปเลือกนายกรัฐมนตรี จุดนี้คิดว่าไม่มีใครสามารถตะแบงเป็นอย่างอื่นไปได้เพราะกฎหมายได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อขณะนี้ยังไม่ถึงวันเลือกตั้งก็ไม่สามารถนำประเด็นนี้มาบังคับใช้ได้ แต่คิดว่าพวกเราสามารถมองเห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถ้าไม่มีการถ่ายเทคะแนนจากพรรคใหญ่ก็คงจะเห็นชัดเจนว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมือง จึงอยากฝากให้นายกฯ พิจารณาประเด็นนี้ด้วยว่า จะเดินหน้าต่อไปโดยสูญเสียเงิน 2,000 กว่าล้านบาท หรือคิดว่าควรจะมีทางออกอื่นในการประหยัดงบประมาณการเลือกตั้งครั้งนี้ และคิดว่าเมื่อสถานการณ์ผลิกผันมาขนาดนี้น่าจะเป็นข้อมูลให้นายกฯ ได้ทบทวนการแก้ไขวิกฤตได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่านายกฯ คิดที่จะทบทวนสิ่งเหล่านี้หรือไม่ หรือคิดเพียงแต่จะรักษาอำนาจให้ยืนยงต่อไป แต่เพียงอย่างเดียว
ส่วนการที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ ขึ้นมาช่วยแก้ปัญหานั้น นายองอาจ กล่าวว่า ที่ประชุมพรรคได้มีการหยิบยกขึ้นมาปรึกษาหารือกันว่า ยังไม่มีความชัดเจนในรูปแบบและวิธีการ รวมทั้งจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคืออะไร เพราะการหาทางออกของวิกฤติในครั้งนี้ เราจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าคืออะไร เพราะขณะนี้เรามักพูดรวมๆ และพยายามหาวิธีการรวมๆ ซึ่งยังไม่มีข้อชัดเจน แต่ก็ถือว่าเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่พรรคประชาธิปัตย์รับฟังไว้
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จะมีขึ้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาลว่า พรรคประชาธิปัตย์อยากให้รัฐบาลช่วยตรวจสอบที่มีข่าวว่าจะมีการระดมเจ้าหน้าที่ป่าไม้หรือจากหน่วยงานอื่นเข้ามาใน กทม.จริงหรือไม่ ถ้ามีการระดมในลักษณะนี้จริง ไม่ว่าจากบุคคลระดับรัฐมนตรีหรือระดับข้าราชการประจำก็ตามอยากให้รัฐบาลรีบยับยั้งบุคคลที่จะเข้ามาเพื่อเผชิญหน้ากับกลุ่มพันธมิตรฯ ส่วนกรณีขบวนรถอีแต๋นที่เข้ามาร่วมด้วยนั้น ปรากฏว่ามีรถของทางราชการเข้าไปอำนวยความสะดวกให้ จึงอยากฝากไปถึงรัฐบาลว่าข้าราชการและยานพาหนะเหล่านั้น ทำไมไม่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเนื่องจากขบวนรถอีแต๋นจะเข้ามาใกล้กับระยะเวลาที่กลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนไหวมายังทำเนียบฯ และเท่าที่ดูจากข่าวก็อาจจะไปเจอกันในเช้าวันที่ 14 มี.ค.นี้ ซึ่งถ้ามีการเผชิญหน้ากัน ก็จะไม่เป็นผลดีและสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์กังวลคือเรื่องของอาวุธที่จะติดมากับขบวนรถอีแต๋น
“อยากฝากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยตรวจสอบว่า มีอุปกรณ์หรือมีวัสดุใดที่คล้ายอาวุธเข้ามาในขบวนด้วยหรือไม่ ควรที่จะตรวจสอบก่อนที่จะปล่อยให้ขบวนเข้ามาใน กทม.เพราะอาจจะก่อให้เกิดการเผชิญหน้าและเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสมขึ้นมาได้” นายองอาจ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13 มี.ค. 2549--จบ--