ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.อยู่ระหว่างศึกษาการปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.
กำลังศึกษาเกี่ยวกับการปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้ออยู่ เพราะกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปัจจุบันที่ระดับ 0-3.5% ได้ใช้มาเป็นเวลากว่า 6 ปีแล้วตั้งแต่
ปี 43 อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวต้องใช้เวลานาน ซึ่ง ธปท.ก็คงต้องศึกษาไปเรื่อยๆ ยังไม่มีข้อสรุป นอกจากนี้ ดร.อัจนา ไวความดี ผู้ช่วย
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการศึกษาปรับกรอบเงินเฟ้อดังกล่าวว่า มีการศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียในการใช้เงินเฟ้อพื้นฐานหรือ
เงินเฟ้อทั่วไปเป็นเป้าหมาย โดยจะพิจารณาว่าเงินเฟ้อทั้งสองอย่างมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศเช่นเกาหลีใต้ก็มีการปรับจากการ
ใช้เงินเฟ้อพื้นฐานไปเป็นเงินเฟ้อทั่วไป นอกจากนี้ ยังพิจารณาถึงช่วงเวลาของเงินเฟ้อเป้าหมายด้วยว่า ควรใช้เงินเฟ้อรายไตรมาสเหมือนปัจจุบัน
หรือเปลี่ยนเป็นรายปีหรือตามรายวัฏจักรเศรษฐกิจ (กรุงเทพธุรกิจ)
2. คาดว่าไตรมาส 4 ปี 49 เศรษฐกิจไทยจะชะลอลงต่ำสุดและจะฟื้นตัวในไตรมาสแรกปี 50 ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการเสวนาเรื่อง “โค้งสุดท้ายเศรษฐกิจไทยกับปัจจัยเสี่ยง” ซึ่งจัดโดยสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ว่า
ในช่วงครึ่งหลังปีนี้เศรษฐกิจจะชะลอตัว เนื่องจากปัจจัยราคาน้ำมันที่สูงต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยเฉพาะ
ด้านการลงทุนถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม พื้นฐานเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่งจะมีส่วนช่วยให้การขยายตัวคงดำเนินไปได้
โดยเฉพาะหากเงินเฟ้อชะลอตัวลงและความเชื่อมั่นภาคธุรกิจกลับคืนมา เชื่อว่าการใช้จ่ายจะกลับมาอยู่ในภาวะปกติ ทั้งนี้คาดว่าจุดต่ำสุดของ
เศรษฐกิจจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ และจะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 1 ปีหน้า (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ครม.รับทราบข้อเสนอการจัดทำกรอบ งปม.ปี 50 เป็น งปม.แบบขาดดุล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม
ครม.เมื่อวันที่ 29 ส.ค.49 ว่า ครม.รับทราบข้อเสนอของ ก.คลัง เกี่ยวกับการจัดทำกรอบ งปม.ประจำปี 50 และประมาณการรายได้ล่วงหน้า
3 ปี (51-53) โดยกรอบ งปม.ปี 50 นั้น ได้ประมาณการรายได้สุทธิไว้ที่ 1,400,000 ล้านบาท ขณะที่ประมาณการรายจ่ายไว้ที่
1,476,000 ล้านบาท ทำให้ งปม.ในปี 50 เป็น งปม.แบบขาดดุลจำนวน 76,000 ล.บาท ส่วนกรอบ งปม.ปี 49 ได้ประมาณการรายได้สุทธิไว้
ที่ 1,335,823 ล.บาท ขณะที่ประมาณการรายจ่ายไว้ที่ 1,360,000 ล้านบาท ทำให้ งปม.ปี 49 เป็น งปม.ขาดดุลเช่นกันประมาณ
24,177 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ ก.คลังจะต้องแก้ไขปัญหาด้วยการกู้เงินจากแหล่งต่างๆ เพื่อชดเชย งปม. (ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน,
กรุงเทพธุรกิจ)
4. มูดี้ส์ปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ ธ.กรุงเทพและ ธ.กสิกรไทย มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือ ประกาศเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ ธ.กรุงเทพ จากระดับ D มาสู่ระดับ D+ ขณะที่อันดับความน่าเชื่อถือของ
ตราสารหนี้และเงินฝากของธนาคารยังไม่เปลี่ยนแปลง และแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือทั้งหมดมีเสถียรภาพ โดยการปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่ง
ทางการเงินครั้งนี้ สะท้อนถึงฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง การปรับปรุงคุณภาพสินเชื่อ และประสิทธิภาพในการทำกำไรที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน มูดี้ส์ได้
ปรับเพิ่มเรทติ้งความแข็งแกร่งทางการเงินของ ธ.กสิกรไทย จาก D เป็น D+ ส่วนเรทติ้งเงินฝากกับหุ้นกู้ของธนาคารไม่มีการพิจารณา
เปลี่ยนแปลง และแนวโน้มของเรทติ้งทุกประเภทถือว่ามีเสถียรภาพ โดยสะท้อนให้เห็นจากฐานเงินทุนแข็งแกร่ง คุณภาพสินเชื่อดีขึ้น และความ
สามารถทำกำไรที่ดีขึ้นเช่นกัน (กรุงเทพธุรกิจ)
5. กองทุนฟื้นฟูฯ เชื่อมั่นการเข้าซื้อหุ้นของกองทุนทีพีจีจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้ ธ.ไทยธนาคาร นายไพโรจน์ เฮงสกุล ผู้ช่วย
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวถึงกรณีที่กองทุนทีพีจีนิวบริดจ์เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ ธ.ไทยธนาคาร
ว่า เชื่อว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธนาคาร เพื่อให้มีโอกาสทำกำไรได้ในอนาคต อีกทั้งการที่เป็นกองทุนก็น่าจะมีเงินทุนรองรับและมีการทำงานที่
เป็นระบบ ส่วนกรณีการเพิ่มทุนจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูฯ ลดลงนั้น เห็นว่าแม้สัดส่วนการถือหุ้นจะลดลงแต่สิทธิในการออกเสียงใน
การพิจารณาเรื่องต่างๆ ก็ยังคงมีอยู่ ทั้งนี้ หากมีการเพิ่มทุน ธ.ไทยธนาคาร จำนวน 940 ล้านหุ้น จะส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูฯ
ลดลงเหลือ 30.06% หรือประมาณ 1 ใน 3 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 48.98% (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความกังวลเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานและเงินเฟ้อทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ. ในเดือน ส.ค.49 ลดลงมาอยู่ใน
ระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 29 ส.ค.49 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ.จากผลสำรวจของ
Conference Board ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 99.6 ในเดือน ส.ค.49 จากระดับ 107.0 ในเดือน ก.ค.49 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.48 และ
ลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบต่อเดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ย.48 เมื่อครั้งหลังเกิดพายุเฮอริเคนแคทรินา และยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ
103.0 ทั้งนี้เป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานและเงินเฟ้อ โดยผลสำรวจความเห็นของคนอเมริกันร้อยละ 14 คาดว่าจะมีจำนวน
ตำแหน่งงานใหม่เพิ่มขึ้นในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ลดลงจากร้อยละ 14.3 ในเดือน ก.ค.49 โดยผู้ที่คาดว่าจำนวนตำแหน่งงานใหม่จะลดลงเพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 18.3 จากร้อยละ 16.5 ในเดือน ก.ค.49 ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าจะมีงานใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 120,000 ตำแหน่งใน
เดือน ส.ค.49 ใกล้เคียงกับเดือน ก.ค.49 ซึ่งเพิ่มขึ้น 113,000 ตำแหน่ง ในวันเดียวกันนี้ก็มีการเปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการ
นโยบายการเงินครั้งล่าสุดของ ธ.กลาง สรอ.เมื่อวันที่ 8 ส.ค.49 ที่ผ่านมาซึ่งได้มีการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี
เป็นครั้งแรกหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกัน 17 ครั้ง โดยนักวิเคราะห์เห็นว่าในรายงานการประชุมดังกล่าว ธ.กลาง สรอ.ได้ส่งสัญญาณว่า
จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อดูแนวโน้มภาวะเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. ลดลงเนื่องจากสภาพอากาศในช่วงฤดูฝน รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 49
รมว.เศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.2 และลดลงร้อยละ
1.7 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว น้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่ายอดค้าปลีกจะลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.3 ซึ่ง
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Deutsche Securities กล่าวว่าการชะลอตัวของยอดค้าปลีกอาจมีสาเหตุจากสภาพอากาศในฤดูฝน และการบริโภค
ในช่วงฟุตบอล World Cup ที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก โดยข้อมูลเศรษฐกิจโดยรวมชี้ว่า การบริโภคไม่แข็งแกร่ง ดังนั้นการใช้จ่ายลงทุนจะเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัว อย่างไรก็ตามความเห็นโดยทั่วไปของนักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับแนวโน้มการบริโภคยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี
เนื่องจากมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Dai-ichi Life Research เน้นว่าแนวโน้มการบริโภคยัง
คงสดใส เนื่องจากรายได้และการจ้างงานฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 2 — 3 ปีที่ผ่านมาการใช้จ่ายบริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่ง
เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ภาวะการจ้างงานขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะยังคง
ขยายตัว จากตลาดแรงงานที่มีทิศทางที่ดีภายหลังจากกิจการของญี่ปุ่นฟื้นตัวจากการปรับโครงสร้างองค์กรแล้ว (รอยเตอร์)
3. เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดในรอบ 3 ปีที่จำนวน 778.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล เมื่อ 30 ส.ค.49
ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.49 เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จำนวน 778.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ตัวเลขหลังปรับปัจจัย
ทางฤดูกาล) ซึ่งเป็นการขาดดุลสูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค.46 ที่ขาดดุลจำนวน 1.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เกินดุลจำนวน
265.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน มิ.ย.49 ทั้งนี้ การที่เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค.เนื่องจากตัวเลขการเกินดุลการค้าที่ลดลง
อยู่ที่จำนวน 1.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) จากที่เกินดุลจำนวน 1.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า
โดยมีสาเหตุจากการส่งออกชะลอตัวขณะที่การนำเข้าแข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดของ
เกาหลีใต้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ยังคงเกินดุลอยู่ที่จำนวน 349.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากที่เกินดุลจำนวน 10.8 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ.ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า อนึ่ง สภาวะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ที่ลดลง (ซึ่งสอดคล้องกับที่ ธ.กลางเกาหลีใต้
คาดการณ์ไว้) คาดว่าจะผ่อนคลายความกดดันด้านค่าเงินวอนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมาก โดยค่าเงินวอนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นมากกว่า
ร้อยละ 5 ในปีนี้ หลังจากที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 เมื่อ 2 ปีก่อน ส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้มีความกังวลว่าจะส่ง
ผลกระทบต่อการส่งออก ในขณะที่การขยายตัวของความต้องการในประเทศกำลังชะลอลง ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้
ปรับลดประมาณการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลงอยู่ที่ 4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากที่ประมาณการเมื่อ 7 เดือนก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 16 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยปี 48 ที่ผ่านมา เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งสิ้น 16.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหลักของสิงคโปร์จะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่
29 ก.ค.49 Ko Kheng Hwa กก.ผจก. Economic Development Board กล่าวว่า ผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรมหลักของสิงคโปร์ที่รวมถึง
ฮาร์ดดิสก์ เครื่องมือขุดเจาะน้ำมัน และเวชภัณฑ์ยา ขยายตัวร้อยละ 16.6 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้จากปีก่อน และคาดว่าจะขยายตัวอย่าง
ต่อเนื่องในอัตราที่ชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราการขยายตัวรวมทั้งปีนี้อยู่ที่ระดับมากกว่าร้อยละ 9 เทียบกับปีก่อนที่ขยายตัว
ร้อยละ 9.3 โดยต้นทุนพลังงานและฐานข้อมูลจากปีก่อนจะทำให้ดูเหมือนว่าการขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลังชะลอตัวลง ขณะที่บางภาคอุตสาหกรรมจะ
ยังขยายตัวได้ดีในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ นอกจากนี้ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรปีนี้คาดว่าจะพุ่งถึงระดับเป้าหมายด้วยมูลค่าสูงถึง
8.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน ทั้งนี้ สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
IMF-World Bank ในเดือนหน้า ซึ่งคาดว่าช่วยดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนและใช้สิงคโปร์เป็นฐานการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลได้ให้
ข้อเสนอที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ การยกเว้นภาษี การให้เงินสนับสนุน และแม้แต่การให้บริการจัดหาเจ้าหน้าที่ โดยสิงคโปร์ต้องการที่จะดึงดูด
นักลงทุนเพิ่มขึ้นจากตะวันออกกลาง อินเดีย จีน และเกาหลีใต้ อนึ่ง ภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์มีการจ้างงานประมาณ 450,000 คน และมี
สัดส่วนประมาณร้อยละ 27 ของมูลค่าทางเศรษฐกิจของทั้งประเทศหรือคิดเป็นจำนวน 117 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยเมื่อปีก่อนภาคอิเล็ก
ทรอนิกส์ที่มีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด สามารถดึงดูดการลงทุนได้เกือบครี่งหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ส.ค. 49 29 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.602 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.4189/37.7094 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.1175 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 686.24/8.29 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,900/11,000 10,950/11,050 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.74 65.97 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 26 ส.ค. 49 28.99*/27.54 28.99*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.อยู่ระหว่างศึกษาการปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.
กำลังศึกษาเกี่ยวกับการปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้ออยู่ เพราะกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปัจจุบันที่ระดับ 0-3.5% ได้ใช้มาเป็นเวลากว่า 6 ปีแล้วตั้งแต่
ปี 43 อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวต้องใช้เวลานาน ซึ่ง ธปท.ก็คงต้องศึกษาไปเรื่อยๆ ยังไม่มีข้อสรุป นอกจากนี้ ดร.อัจนา ไวความดี ผู้ช่วย
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการศึกษาปรับกรอบเงินเฟ้อดังกล่าวว่า มีการศึกษาถึงข้อดีและข้อเสียในการใช้เงินเฟ้อพื้นฐานหรือ
เงินเฟ้อทั่วไปเป็นเป้าหมาย โดยจะพิจารณาว่าเงินเฟ้อทั้งสองอย่างมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศเช่นเกาหลีใต้ก็มีการปรับจากการ
ใช้เงินเฟ้อพื้นฐานไปเป็นเงินเฟ้อทั่วไป นอกจากนี้ ยังพิจารณาถึงช่วงเวลาของเงินเฟ้อเป้าหมายด้วยว่า ควรใช้เงินเฟ้อรายไตรมาสเหมือนปัจจุบัน
หรือเปลี่ยนเป็นรายปีหรือตามรายวัฏจักรเศรษฐกิจ (กรุงเทพธุรกิจ)
2. คาดว่าไตรมาส 4 ปี 49 เศรษฐกิจไทยจะชะลอลงต่ำสุดและจะฟื้นตัวในไตรมาสแรกปี 50 ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการเสวนาเรื่อง “โค้งสุดท้ายเศรษฐกิจไทยกับปัจจัยเสี่ยง” ซึ่งจัดโดยสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ว่า
ในช่วงครึ่งหลังปีนี้เศรษฐกิจจะชะลอตัว เนื่องจากปัจจัยราคาน้ำมันที่สูงต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยเฉพาะ
ด้านการลงทุนถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม พื้นฐานเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่งจะมีส่วนช่วยให้การขยายตัวคงดำเนินไปได้
โดยเฉพาะหากเงินเฟ้อชะลอตัวลงและความเชื่อมั่นภาคธุรกิจกลับคืนมา เชื่อว่าการใช้จ่ายจะกลับมาอยู่ในภาวะปกติ ทั้งนี้คาดว่าจุดต่ำสุดของ
เศรษฐกิจจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ และจะฟื้นตัวในไตรมาสที่ 1 ปีหน้า (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ครม.รับทราบข้อเสนอการจัดทำกรอบ งปม.ปี 50 เป็น งปม.แบบขาดดุล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม
ครม.เมื่อวันที่ 29 ส.ค.49 ว่า ครม.รับทราบข้อเสนอของ ก.คลัง เกี่ยวกับการจัดทำกรอบ งปม.ประจำปี 50 และประมาณการรายได้ล่วงหน้า
3 ปี (51-53) โดยกรอบ งปม.ปี 50 นั้น ได้ประมาณการรายได้สุทธิไว้ที่ 1,400,000 ล้านบาท ขณะที่ประมาณการรายจ่ายไว้ที่
1,476,000 ล้านบาท ทำให้ งปม.ในปี 50 เป็น งปม.แบบขาดดุลจำนวน 76,000 ล.บาท ส่วนกรอบ งปม.ปี 49 ได้ประมาณการรายได้สุทธิไว้
ที่ 1,335,823 ล.บาท ขณะที่ประมาณการรายจ่ายไว้ที่ 1,360,000 ล้านบาท ทำให้ งปม.ปี 49 เป็น งปม.ขาดดุลเช่นกันประมาณ
24,177 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ ก.คลังจะต้องแก้ไขปัญหาด้วยการกู้เงินจากแหล่งต่างๆ เพื่อชดเชย งปม. (ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน,
กรุงเทพธุรกิจ)
4. มูดี้ส์ปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ ธ.กรุงเทพและ ธ.กสิกรไทย มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือ ประกาศเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ ธ.กรุงเทพ จากระดับ D มาสู่ระดับ D+ ขณะที่อันดับความน่าเชื่อถือของ
ตราสารหนี้และเงินฝากของธนาคารยังไม่เปลี่ยนแปลง และแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือทั้งหมดมีเสถียรภาพ โดยการปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่ง
ทางการเงินครั้งนี้ สะท้อนถึงฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง การปรับปรุงคุณภาพสินเชื่อ และประสิทธิภาพในการทำกำไรที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน มูดี้ส์ได้
ปรับเพิ่มเรทติ้งความแข็งแกร่งทางการเงินของ ธ.กสิกรไทย จาก D เป็น D+ ส่วนเรทติ้งเงินฝากกับหุ้นกู้ของธนาคารไม่มีการพิจารณา
เปลี่ยนแปลง และแนวโน้มของเรทติ้งทุกประเภทถือว่ามีเสถียรภาพ โดยสะท้อนให้เห็นจากฐานเงินทุนแข็งแกร่ง คุณภาพสินเชื่อดีขึ้น และความ
สามารถทำกำไรที่ดีขึ้นเช่นกัน (กรุงเทพธุรกิจ)
5. กองทุนฟื้นฟูฯ เชื่อมั่นการเข้าซื้อหุ้นของกองทุนทีพีจีจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้ ธ.ไทยธนาคาร นายไพโรจน์ เฮงสกุล ผู้ช่วย
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวถึงกรณีที่กองทุนทีพีจีนิวบริดจ์เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ ธ.ไทยธนาคาร
ว่า เชื่อว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธนาคาร เพื่อให้มีโอกาสทำกำไรได้ในอนาคต อีกทั้งการที่เป็นกองทุนก็น่าจะมีเงินทุนรองรับและมีการทำงานที่
เป็นระบบ ส่วนกรณีการเพิ่มทุนจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูฯ ลดลงนั้น เห็นว่าแม้สัดส่วนการถือหุ้นจะลดลงแต่สิทธิในการออกเสียงใน
การพิจารณาเรื่องต่างๆ ก็ยังคงมีอยู่ ทั้งนี้ หากมีการเพิ่มทุน ธ.ไทยธนาคาร จำนวน 940 ล้านหุ้น จะส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูฯ
ลดลงเหลือ 30.06% หรือประมาณ 1 ใน 3 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 48.98% (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความกังวลเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานและเงินเฟ้อทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ. ในเดือน ส.ค.49 ลดลงมาอยู่ใน
ระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 29 ส.ค.49 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ.จากผลสำรวจของ
Conference Board ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 99.6 ในเดือน ส.ค.49 จากระดับ 107.0 ในเดือน ก.ค.49 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.48 และ
ลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบต่อเดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ย.48 เมื่อครั้งหลังเกิดพายุเฮอริเคนแคทรินา และยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ
103.0 ทั้งนี้เป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานและเงินเฟ้อ โดยผลสำรวจความเห็นของคนอเมริกันร้อยละ 14 คาดว่าจะมีจำนวน
ตำแหน่งงานใหม่เพิ่มขึ้นในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ลดลงจากร้อยละ 14.3 ในเดือน ก.ค.49 โดยผู้ที่คาดว่าจำนวนตำแหน่งงานใหม่จะลดลงเพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 18.3 จากร้อยละ 16.5 ในเดือน ก.ค.49 ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าจะมีงานใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 120,000 ตำแหน่งใน
เดือน ส.ค.49 ใกล้เคียงกับเดือน ก.ค.49 ซึ่งเพิ่มขึ้น 113,000 ตำแหน่ง ในวันเดียวกันนี้ก็มีการเปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการ
นโยบายการเงินครั้งล่าสุดของ ธ.กลาง สรอ.เมื่อวันที่ 8 ส.ค.49 ที่ผ่านมาซึ่งได้มีการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี
เป็นครั้งแรกหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกัน 17 ครั้ง โดยนักวิเคราะห์เห็นว่าในรายงานการประชุมดังกล่าว ธ.กลาง สรอ.ได้ส่งสัญญาณว่า
จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อดูแนวโน้มภาวะเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. ลดลงเนื่องจากสภาพอากาศในช่วงฤดูฝน รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 49
รมว.เศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.2 และลดลงร้อยละ
1.7 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว น้อยกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่ายอดค้าปลีกจะลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.3 ซึ่ง
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Deutsche Securities กล่าวว่าการชะลอตัวของยอดค้าปลีกอาจมีสาเหตุจากสภาพอากาศในฤดูฝน และการบริโภค
ในช่วงฟุตบอล World Cup ที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก โดยข้อมูลเศรษฐกิจโดยรวมชี้ว่า การบริโภคไม่แข็งแกร่ง ดังนั้นการใช้จ่ายลงทุนจะเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัว อย่างไรก็ตามความเห็นโดยทั่วไปของนักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับแนวโน้มการบริโภคยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี
เนื่องจากมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นและรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Dai-ichi Life Research เน้นว่าแนวโน้มการบริโภคยัง
คงสดใส เนื่องจากรายได้และการจ้างงานฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 2 — 3 ปีที่ผ่านมาการใช้จ่ายบริโภคของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่ง
เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ภาวะการจ้างงานขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะยังคง
ขยายตัว จากตลาดแรงงานที่มีทิศทางที่ดีภายหลังจากกิจการของญี่ปุ่นฟื้นตัวจากการปรับโครงสร้างองค์กรแล้ว (รอยเตอร์)
3. เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดในรอบ 3 ปีที่จำนวน 778.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล เมื่อ 30 ส.ค.49
ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.49 เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จำนวน 778.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ตัวเลขหลังปรับปัจจัย
ทางฤดูกาล) ซึ่งเป็นการขาดดุลสูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค.46 ที่ขาดดุลจำนวน 1.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เกินดุลจำนวน
265.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน มิ.ย.49 ทั้งนี้ การที่เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค.เนื่องจากตัวเลขการเกินดุลการค้าที่ลดลง
อยู่ที่จำนวน 1.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) จากที่เกินดุลจำนวน 1.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า
โดยมีสาเหตุจากการส่งออกชะลอตัวขณะที่การนำเข้าแข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดของ
เกาหลีใต้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ยังคงเกินดุลอยู่ที่จำนวน 349.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากที่เกินดุลจำนวน 10.8 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ.ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า อนึ่ง สภาวะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ที่ลดลง (ซึ่งสอดคล้องกับที่ ธ.กลางเกาหลีใต้
คาดการณ์ไว้) คาดว่าจะผ่อนคลายความกดดันด้านค่าเงินวอนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมาก โดยค่าเงินวอนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นมากกว่า
ร้อยละ 5 ในปีนี้ หลังจากที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 เมื่อ 2 ปีก่อน ส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้มีความกังวลว่าจะส่ง
ผลกระทบต่อการส่งออก ในขณะที่การขยายตัวของความต้องการในประเทศกำลังชะลอลง ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้
ปรับลดประมาณการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลงอยู่ที่ 4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากที่ประมาณการเมื่อ 7 เดือนก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 16 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยปี 48 ที่ผ่านมา เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งสิ้น 16.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหลักของสิงคโปร์จะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ รายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่
29 ก.ค.49 Ko Kheng Hwa กก.ผจก. Economic Development Board กล่าวว่า ผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรมหลักของสิงคโปร์ที่รวมถึง
ฮาร์ดดิสก์ เครื่องมือขุดเจาะน้ำมัน และเวชภัณฑ์ยา ขยายตัวร้อยละ 16.6 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้จากปีก่อน และคาดว่าจะขยายตัวอย่าง
ต่อเนื่องในอัตราที่ชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราการขยายตัวรวมทั้งปีนี้อยู่ที่ระดับมากกว่าร้อยละ 9 เทียบกับปีก่อนที่ขยายตัว
ร้อยละ 9.3 โดยต้นทุนพลังงานและฐานข้อมูลจากปีก่อนจะทำให้ดูเหมือนว่าการขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลังชะลอตัวลง ขณะที่บางภาคอุตสาหกรรมจะ
ยังขยายตัวได้ดีในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ นอกจากนี้ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรปีนี้คาดว่าจะพุ่งถึงระดับเป้าหมายด้วยมูลค่าสูงถึง
8.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน ทั้งนี้ สิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม
IMF-World Bank ในเดือนหน้า ซึ่งคาดว่าช่วยดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนและใช้สิงคโปร์เป็นฐานการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลได้ให้
ข้อเสนอที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ การยกเว้นภาษี การให้เงินสนับสนุน และแม้แต่การให้บริการจัดหาเจ้าหน้าที่ โดยสิงคโปร์ต้องการที่จะดึงดูด
นักลงทุนเพิ่มขึ้นจากตะวันออกกลาง อินเดีย จีน และเกาหลีใต้ อนึ่ง ภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์มีการจ้างงานประมาณ 450,000 คน และมี
สัดส่วนประมาณร้อยละ 27 ของมูลค่าทางเศรษฐกิจของทั้งประเทศหรือคิดเป็นจำนวน 117 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยเมื่อปีก่อนภาคอิเล็ก
ทรอนิกส์ที่มีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด สามารถดึงดูดการลงทุนได้เกือบครี่งหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ส.ค. 49 29 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.602 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.4189/37.7094 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.1175 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 686.24/8.29 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,900/11,000 10,950/11,050 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.74 65.97 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 26 ส.ค. 49 28.99*/27.54 28.99*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--