1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 21.13 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.04 และ 1.93 ตามลำดับ โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 10.05 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 11.08 ล้านตัน สำหรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้เนื่องจากอยู่ในช่วงของฤดูกาลก่อสร้าง
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 90.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.16 และ 2.95 ตามลำดับ ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 74.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.75 และ 1.78 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณ 8.33 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.34 เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.30 เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนผลกระทบทางการเมือง ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศชะลอตัวลงตามไปด้วย โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.06 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 8.27ล้านตัน
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการส่งออก 3.61 ล้านตัน คิดเป็น
มูลค่า 4,960.54 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 6.23 และ 2.94 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียนลดลง และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 14.66 แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 38.83 ทั้งนี้เนื่องจากผู้ส่งออกสามารถจำหน่ายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยการส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้แบ่งเป็น การส่งออกปูนเม็ด จำนวน 1.72 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,048.41 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.89 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,912.13 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม กัมพูชา และบังคลาเทศ
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีจำนวน 1,987.34 ตัน คิดเป็นมูลค่า 19.22 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 44.43 แต่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.03 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการนำเข้าและมูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์ลดลง ร้อยละ 7.23 และ 22.81 ตามลำดับ โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 3.57 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.06 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1,983.77 ตัน คิดเป็นมูลค่า 19.16 ล้านบาท
ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่คืออะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตทรงตัว ส่วนการจำหน่ายในประเทศปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนผลกระทบทางการเมือง ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คาดว่าการผลิตและ
การจำหน่ายในประเทศจะปรับตัวลดลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันยังคงเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลง
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนลดลง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการได้วางแผนขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลง สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และบังคลาเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 21.13 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.04 และ 1.93 ตามลำดับ โดยเป็นการผลิตปูนเม็ด 10.05 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 11.08 ล้านตัน สำหรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้เนื่องจากอยู่ในช่วงของฤดูกาลก่อสร้าง
1.2 อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิตปูนเม็ด ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 90.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.16 และ 2.95 ตามลำดับ ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) คิดเป็นร้อยละ 74.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.75 และ 1.78 ตามลำดับ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณ 8.33 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.34 เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.30 เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนผลกระทบทางการเมือง ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศชะลอตัวลงตามไปด้วย โดยเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.06 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 8.27ล้านตัน
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีปริมาณการส่งออก 3.61 ล้านตัน คิดเป็น
มูลค่า 4,960.54 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 6.23 และ 2.94 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียนลดลง และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 14.66 แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 38.83 ทั้งนี้เนื่องจากผู้ส่งออกสามารถจำหน่ายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยการส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสนี้แบ่งเป็น การส่งออกปูนเม็ด จำนวน 1.72 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,048.41 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.89 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,912.13 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม กัมพูชา และบังคลาเทศ
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีจำนวน 1,987.34 ตัน คิดเป็นมูลค่า 19.22 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 44.43 แต่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.03 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการนำเข้าและมูลค่าการนำเข้าปูนซีเมนต์ลดลง ร้อยละ 7.23 และ 22.81 ตามลำดับ โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 3.57 ตัน คิดเป็นมูลค่า 0.06 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1,983.77 ตัน คิดเป็นมูลค่า 19.16 ล้านบาท
ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่คืออะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตในประเทศได้ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตทรงตัว ส่วนการจำหน่ายในประเทศปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันทั้งราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนผลกระทบทางการเมือง ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา ส่งผลให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศลดลงตามไปด้วย
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คาดว่าการผลิตและ
การจำหน่ายในประเทศจะปรับตัวลดลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันยังคงเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลง
สำหรับตลาดต่างประเทศ การส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนลดลง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการได้วางแผนขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลง สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และบังคลาเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-