นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนกรกฎาคม 2549 ต่ำกว่าประมาณการ 8,311 ล้านบาท ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548-กรกฎาคม 2549) ต่ำกว่าประมาณการเล็กน้อย 292 ล้านบาท แต่สูงกว่าปีที่แล้ว 65,525 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคาดว่าทั้งปีงบประมาณ 2549 จะสามารถจัดเก็บได้ใกล้เคียงกับเป้าหมาย 1.36 ล้านล้านบาท
1. เดือนกรกฎาคม 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 78,472 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,311 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.6 (และต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.3) โดยมีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ จำนวน 10,288 ล้านบาท
หน่วยงานที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ได้แก่กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และรัฐวิสาหกิจ โดยกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,692 และ 3,116 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.7 และ 28.9 ตามลำดับ ส่วนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 1,518 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.6
สำหรับกรมสรรพากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเล็กน้อย โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 34,654 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 510 ล้านบาท (สูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 13.9)
2. ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — กรกฎาคม 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,083,072 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเล็กน้อย (292 ล้านบาท) แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 65,525 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรต่ำกว่าประมาณการในจำนวนที่สูง ตลอดจนการคืนภาษีที่สูงกว่าเป้าหมาย ถึงแม้ว่ากรมสรรพากรและหน่วยงานอื่นจะจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการก็ตาม
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 815,238 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 37,391 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.7) โดยจัดเก็บภาษีทุกประเภทได้สูงกว่าประมาณการ ที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 15,780 และ 8,666 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 และ 21.2 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.2 และ 39.8 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 228,581 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 30,952 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.8) ทั้งนี้ เนื่องจากภาษีเกือบทุกประเภทจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีน้ำมันซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตในช่วงเดือนตุลาคม 2548-มีนาคม 2549 และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รองลงมาได้แก่ ภาษียาสูบซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มภาษียาสูบ ทำให้ปริมาณการบริโภคยาสูบลดลง และภาษีรถยนต์เนื่องจากปริมาณรถยนต์นั่งที่เสียภาษีต่ำกว่าเป้าหมาย นอกจากนี้ ปริมาณรถยนต์นั่งที่มี ซี.ซี. ระหว่าง 2,001-3,000 ซี.ซี. เสียภาษีในปริมาณที่ลดลง
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 80,422 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 19,578 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.7) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ ต่ำกว่าประมาณการ 20,432 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.7 โดยได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 125,681 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 17,557 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.2 เนื่องจากทั้งส่วนราชการอื่น และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ โดยรายได้ส่วนราชการอื่นได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และรายได้จากเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 10 เดือนแรกที่ผ่านมา ซึ่งต่ำกว่าประมาณการเล็กน้อย และแนวโน้มการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจในช่วง 2 เดือนที่จะต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามที่ตั้งไว้ (15,100 ล้านบาท) แต่คาดว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิรอบครึ่งปีบัญชี 2549 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นเม็ดเงินรายได้ภาษีก้อนใหญ่ จะจัดเก็บได้ตามประมาณการ ดังนั้น จะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2549 ใกล้เคียงกับประมาณการตามเอกสารงบประมาณ (1.36 ล้านล้านบาท)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 73/2549 8 สิงหาคม 49--
1. เดือนกรกฎาคม 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 78,472 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,311 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.6 (และต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.3) โดยมีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ จำนวน 10,288 ล้านบาท
หน่วยงานที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ได้แก่กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และรัฐวิสาหกิจ โดยกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,692 และ 3,116 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.7 และ 28.9 ตามลำดับ ส่วนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 1,518 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.6
สำหรับกรมสรรพากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเล็กน้อย โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 34,654 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 510 ล้านบาท (สูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 13.9)
2. ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — กรกฎาคม 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,083,072 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเล็กน้อย (292 ล้านบาท) แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 65,525 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากรต่ำกว่าประมาณการในจำนวนที่สูง ตลอดจนการคืนภาษีที่สูงกว่าเป้าหมาย ถึงแม้ว่ากรมสรรพากรและหน่วยงานอื่นจะจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการก็ตาม
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 815,238 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 37,391 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.7) โดยจัดเก็บภาษีทุกประเภทได้สูงกว่าประมาณการ ที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 15,780 และ 8,666 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 และ 21.2 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.2 และ 39.8 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 228,581 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 30,952 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.8) ทั้งนี้ เนื่องจากภาษีเกือบทุกประเภทจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีน้ำมันซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตในช่วงเดือนตุลาคม 2548-มีนาคม 2549 และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รองลงมาได้แก่ ภาษียาสูบซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มภาษียาสูบ ทำให้ปริมาณการบริโภคยาสูบลดลง และภาษีรถยนต์เนื่องจากปริมาณรถยนต์นั่งที่เสียภาษีต่ำกว่าเป้าหมาย นอกจากนี้ ปริมาณรถยนต์นั่งที่มี ซี.ซี. ระหว่าง 2,001-3,000 ซี.ซี. เสียภาษีในปริมาณที่ลดลง
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 80,422 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 19,578 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.7) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ ต่ำกว่าประมาณการ 20,432 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.7 โดยได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 125,681 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 17,557 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.2 เนื่องจากทั้งส่วนราชการอื่น และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ โดยรายได้ส่วนราชการอื่นได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และรายได้จากเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2549
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 10 เดือนแรกที่ผ่านมา ซึ่งต่ำกว่าประมาณการเล็กน้อย และแนวโน้มการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจในช่วง 2 เดือนที่จะต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามที่ตั้งไว้ (15,100 ล้านบาท) แต่คาดว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิรอบครึ่งปีบัญชี 2549 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นเม็ดเงินรายได้ภาษีก้อนใหญ่ จะจัดเก็บได้ตามประมาณการ ดังนั้น จะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2549 ใกล้เคียงกับประมาณการตามเอกสารงบประมาณ (1.36 ล้านล้านบาท)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 73/2549 8 สิงหาคม 49--