ชาวสวนยางเป็นปลื้ม หลังราคาที่ตลาดกลางหาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ถีบตัวสูงสุดถึงกิโลละ 70 บาท สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ตั้งแต่เริ่มปลูกยางในประเทศไทย
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ในช่วงนี้ราคายางแผ่นดิบ ณ ตลาดกลางสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 70 บาท จากต้นทุนการผลิตกิโลกรัมละ 38 บาท เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ส่งผลให้ความต้องการของตลาดเพิ่มสูงขึ้น เพราะจะต้องทำการซื้อไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมส่งมอบสินค้าตามสัญญาและใช้หลังเทศกาลหยุดตรุษจีน อีกทั้ง ชดเชยสต๊อกที่ลดลง ปัจจุบันมีการซื้อขายสินค้ายางพาราล่วงหน้าเกิดขึ้นแล้ว เป็นข้อมูลจากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (www.afet.or.th) แจ้งว่า ราคาล่วงหน้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาปิดตลาดล่วงหน้า ณ วันที่ 24 มกราคม 2549 ส่งมอบ ณ เดือนกุมภาพันธ์ กิโลกรัมละ 75.50 บาท เดือนมีนาคม กิโลกรัมละ 76.40 บาท เดือนเมษายน กิโลกรัมละ 76.70 บาท เดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน ในราคาเท่ากันกิโลกรัมละ 76.90 บาท เดือนกรกฎาคม กิโลกรัมละ 76.80 บาท โดยทั้งหมดจะส่งมอบในปี 2549 ซึ่งยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป หลังจากนี้ผลผลิตจะลดลงเพราะเป็นช่วงที่ยางพาราผลัดใบ
เลขาธิการ สศก. กล่าวต่ออีกว่า ในปี 2548 ประเทศไทยมีผลผลิตยางพาราแผ่นดิบประมาณ 3 ล้านตัน จากเนื้อที่ยินต้นประมาณ 13 ล้านไร่ เนื้อที่กรีดยางประมาณ 10 ล้านไร่ และมีแนวโน้มปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคายางแผ่นดิบมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดมาตั้งแต่ปี 2546 เป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกโดยปลูกแซมพืชอื่น นอกจากนี้ยังมีโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงหนึ่งล้านไร่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับการส่งเสริมด้านพันธุ์ยางพาราตลอดจนสิทธิ์ในการกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 แสนไร่ ภาคเหนือ 3 แสนไร่
แต่ละปีประเทศไทยใช้ยางพาราภายในประเทศประมาณ 3 แสนตัน มีการส่งออกในรูปวัตถุดิบของปีที่แล้ว ประมาณ 2.6 ล้านตันมูลค่าประมาณ 142,000 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาด 40 % เป็นอันดับหนึ่งของโลก และคาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้นอัตราการขยายตัว 26 % ด้วยความต้องการยางธรรมชาติของตลาดโลกเพิ่มขึ้นจากวิกฤติราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลี ส่วนประเทศที่เป็นคู่แข่งสำคัญได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซียและ เวียดนาม เลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้ายในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ในช่วงนี้ราคายางแผ่นดิบ ณ ตลาดกลางสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 70 บาท จากต้นทุนการผลิตกิโลกรัมละ 38 บาท เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ส่งผลให้ความต้องการของตลาดเพิ่มสูงขึ้น เพราะจะต้องทำการซื้อไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมส่งมอบสินค้าตามสัญญาและใช้หลังเทศกาลหยุดตรุษจีน อีกทั้ง ชดเชยสต๊อกที่ลดลง ปัจจุบันมีการซื้อขายสินค้ายางพาราล่วงหน้าเกิดขึ้นแล้ว เป็นข้อมูลจากตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (www.afet.or.th) แจ้งว่า ราคาล่วงหน้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาปิดตลาดล่วงหน้า ณ วันที่ 24 มกราคม 2549 ส่งมอบ ณ เดือนกุมภาพันธ์ กิโลกรัมละ 75.50 บาท เดือนมีนาคม กิโลกรัมละ 76.40 บาท เดือนเมษายน กิโลกรัมละ 76.70 บาท เดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน ในราคาเท่ากันกิโลกรัมละ 76.90 บาท เดือนกรกฎาคม กิโลกรัมละ 76.80 บาท โดยทั้งหมดจะส่งมอบในปี 2549 ซึ่งยังมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป หลังจากนี้ผลผลิตจะลดลงเพราะเป็นช่วงที่ยางพาราผลัดใบ
เลขาธิการ สศก. กล่าวต่ออีกว่า ในปี 2548 ประเทศไทยมีผลผลิตยางพาราแผ่นดิบประมาณ 3 ล้านตัน จากเนื้อที่ยินต้นประมาณ 13 ล้านไร่ เนื้อที่กรีดยางประมาณ 10 ล้านไร่ และมีแนวโน้มปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคายางแผ่นดิบมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดมาตั้งแต่ปี 2546 เป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกโดยปลูกแซมพืชอื่น นอกจากนี้ยังมีโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงหนึ่งล้านไร่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับการส่งเสริมด้านพันธุ์ยางพาราตลอดจนสิทธิ์ในการกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 แสนไร่ ภาคเหนือ 3 แสนไร่
แต่ละปีประเทศไทยใช้ยางพาราภายในประเทศประมาณ 3 แสนตัน มีการส่งออกในรูปวัตถุดิบของปีที่แล้ว ประมาณ 2.6 ล้านตันมูลค่าประมาณ 142,000 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาด 40 % เป็นอันดับหนึ่งของโลก และคาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้นอัตราการขยายตัว 26 % ด้วยความต้องการยางธรรมชาติของตลาดโลกเพิ่มขึ้นจากวิกฤติราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลี ส่วนประเทศที่เป็นคู่แข่งสำคัญได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซียและ เวียดนาม เลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้ายในที่สุด
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-