แท็ก
ธปท.
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ส่งเรื่องขออนุญาตประกอบธุรกิจนอนแบงก์ให้ ก.คลังพิจารณาแล้ว นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค
ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ยื่นเรื่องขออนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
ที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) 2-3 ราย ซึ่ง ธปท. ได้พิจารณาแล้วพบว่า บริษัทที่ยื่นเรื่องเข้ามามีคุณสมบัติผ่านตาม
หลักเกณฑ์ของ ธปท. และได้ส่งเรื่องไปยัง ก.คลังแล้ว 4-5 เดือน หาก ก.คลังอนุมัติก็สามารถประกอบธุรกิจได้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการยื่นเรื่องขอประกอบธุรกิจนอนแบงก์เข้ามาเรื่อย ๆ ซึ่งการที่มีนอนแบงก์เพิ่มมากขึ้นนั้น
จะเป็นผลดีกับประชาชน เนื่องจากจะมีทางเลือกมากขึ้นในการเลือกใช้บริการ โดยต่อไปนอนแบงก์ต่าง ๆ ก็จะมี
การแข่งขันกันมากขึ้นจนส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยลดลงได้ (แนวหน้า)
2. ธ.พาณิชย์สามารถออกตราสารหนี้กึ่งทุนได้เลยตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด
นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยถึงกรณีที่ ธปท. ออกหลักเกณฑ์
เกี่ยวกับการระดมทุนของ ธ.พาณิชย์ด้วยการออกตราสารหนี้กึ่งทุน เพื่อให้ใช้เป็นช่องทางในการระดมทุนเพื่อสร้าง
ความเข้มแข็งให้กับเงินกองทุนของธนาคารว่า ขณะนี้ ธ.พาณิชย์ยังไม่มีการออกตราสารหนี้กึ่งทุนหลังจากก่อนหน้านี้
มีข่าวว่าหลายธนาคารสนใจที่จะออก เนื่องจากการออกตราสารดังกล่าวมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้
การออกตราสารหนี้กึ่งทุนจะเป็นการขายในตลาดต่างประเทศซึ่ง ธ.พาณิชย์จะให้ Investment Banker เป็นผู้
ดูแล สำหรับปัจจัยที่ต้องดูมีหลายอย่าง เช่น ตลาดในประเทศในตอนนี้เหมาะสมหรือเปล่าที่จะออกตราสารหนี้กึ่งทุน
ภาวะตลาดถึงช่วงเวลาใดที่เหมาะสม รวมทั้งสภาพตลาดทั่วโลก และภาวะการเงินของตลาดโลก สำหรับ
ธ.พาณิชย์ถ้าสนใจที่จะออกตราสารหนี้กึ่งทุนก็สามารถออกได้เลย เนื่องจาก ธปท. ได้อนุญาตในหลักการไปแล้ว
หาก ธ.พาณิชย์มีรายละเอียดเพิ่มเติมที่จะออกตราสารหนี้กึ่งทุนมากกว่าที่ ธปท. ให้หลักการไปก็จะเข้ามาปรึกษา
ได้ (แนวหน้า)
3. ก.คลังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาผลกระทบจากกรณีเงินบาทแข็งค่าขึ้น นายนริศ ชัยสูตร
ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า รมว.คลัง สั่งการให้ สศค. ศึกษาผลกระทบของภาคอุตสาหกรรม
จากรณีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โดยให้พิจารณาทั้งด้านที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ โดย
คาดว่าจะสามารถสรุปผลกระทบเสนอให้ รมว.คลังทราบเร็ว ๆ นี้ ส่วนภาวะเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะ
ลดลงจากหลายสาเหตุ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้การบริโภคลดลง และแนวโน้มที่ ธปท. จะปรับขึ้นดอกเบี้ย
นโยบายอีกร้อยละ 0.25 ด้าน นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองโฆษก สศค. กล่าวว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
ในทิศทางเดียวกับภูมิภาค และยังแข็งค่าน้อยกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ทำให้ภาพรวมของค่าเงินบาทในช่วงนี้ยัง
ไม่น่าเป็นห่วง (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. สศช. เตรียมรวบรวมโครงการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจเสนอ ครม. นายอำพน กิตติอำพน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ
สศช. ว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สศช. เร่งรวบรวมโครงการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและเคย
ได้รับงบประมาณจาก ครม. ก่อนหน้านี้แล้วทั้งหมด ให้นำไปเสนอ ครม. อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้กระทรวงต่าง ๆ ไป
เร่งรัดการดำเนินการ โดยเฉพาะภาคการลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ ครม. อนุมัติไปแล้ว 2.96 แสนล้านบาท ส่วนการ
เบิกจ่าย งปม. ปี 49 พบว่าระหว่างเดือน ต.ค.-ธ.ค.48 มีการเบิกจ่ายเพียง 41,000 ล้านบาท หรือร้อยละ
80 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 51,600 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม. ในไตรมาสที่เหลืออย่าง
เต็มที่ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจที่อาจชะงักได้ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน มี.ค.49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
19 เม.ย.49 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นตามความคาด
หมายของตลาดร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน สูงกว่าการคาดหมายของตลาด ทั้งนี้ การที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในเดือน มี.ค.
เพิ่มขึ้น เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาเครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัยถึงร้อยละ 70 โดยราคาเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 1 ในเดือน มี.ค.49 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 1
ใน 3 ของดัชนีโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 12 เดือน
สิ้นสุดเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1
ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค. ประกอบกับราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้
เกิดการคาดหมายว่า ธ.กลาง สรอ.อาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย
การเงินในเดือน พ.ค.ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
2. IMF คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจของยุโรปตะวันออกจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง และยังคงวิตกเกี่ยว
กับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับสูง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 49 กองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยในรายงานเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มรายครึ่งปี ว่าในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศ
ยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ อาทิประเทศโปแลนด์ และอังการี จนถึงประเทศตุรกี จะขยายตัวใน
อัตราที่ชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ส่วนปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 ลดลงจากร้อยละ 5.4 เมื่อปีที่แล้ว และร้อยละ
6.6 เมื่อปี 47 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุด ทั้งนี้คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศตุรกีจะขยายตัวร้อยละ 6.0 ชะลอลง
จากที่ขยายตัวถึงร้อยละ 7.4 เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามหากไม่นับรวมประเทศตุรกี คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มนี้
ขยายตัวถึงร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.5 เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามแนวโน้มในอนาคตยังคงมีความเสี่ยง
ที่สำคัญของการขยายตัวของเศรษฐกิจคือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศในภูมิภาคดังกล่าว (รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือนมี.ค.49 ลดลงร้อยละ 11.9 เทียบต่อปี ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 20 เม.ย.49 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.49 ญี่ปุ่น
เกินดุลการค้าจำนวน 978.1 พัน ล.เยน (8.34 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือลดลงร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบต่อปี
ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลการค้าจำนวน 722.4 พัน ล.เยน เนื่องจากมีการนำเข้าเพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 25.2 ขณะที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 18.1 สาเหตุจากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และหากเทียบต่อ
เดือนเกินดุลการค้าจำนวน 698.11 พัน ล.เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สำหรับปีงบประมาณ 48/49 ซึ่งสิ้นสุด
เดือน มี.ค.49 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 7.8992 ล้านล้านเยน หรือลดลงถึงร้อยละ 30.3 จากงบประมาณปี
ก่อนหน้า นับเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี (รอยเตอร์)
4. ผลสำรวจรอยเตอร์ชี้ว่าความเชื่อมั่นของธุรกิจในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย.49 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 20 เม.ย.49 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในญี่ปุ่นจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจใน
อุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 200 แห่งและที่ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตอีก 200 แห่งและได้รับคำตอบกลับมา
245 รายโดยรอยเตอร์ประจำเดือน เม.ย.49 ในระหว่างวันที่ 28 มี.ค.ถึง 17 เม.ย.49 หรือที่เรียกว่า
the Reuters Tankan เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ + 34 เท่ากับดัชนีของเดือน ก.พ.49 ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่
เดือน มิ.ย.41 หลังจากอยู่ที่ระดับ + 25 ในเดือน มี.ค.49 ดัชนีดังกล่าวเป็นตัวชี้แนวโน้มผลสำรวจความเชื่อมั่น
ของธุรกิจรายไตรมาสของ ธ.กลางญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า BOJ’s tankan ซึ่งคำว่า tankan ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า
แนวโน้มเศรษฐกิจระยะสั้น โดยนักวิเคราะห์คาดว่า BOJ’s tankan สำหรับเดือน มิ.ย.49 จะกลับมาดีขึ้นหลัง
จากแสดงตัวเลขน่าผิดหวังเมื่อเดือน มี.ค.49 ที่ผ่านมา ผลจากการใช้จ่ายลงทุนของภาคธุรกิจและการบริโภคใน
ประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและโทรศัพท์มือถือกำลังได้รับความนิยมและคาดว่าจะมียอด
จำหน่ายสูงขึ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 49 ระหว่างเดือน ม.ค.- มี.ค.49 นี้ เช่นเดียวกับการใช้จ่ายลงทุนของภาค
ธุรกิจที่กำลังขยายตัวและคาดว่าจะทำให้ยอดจำหน่ายเครื่องจักรเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
5. คาดว่าการลงทุนในไตรมาสที่ 1 ปีนี้ของจีนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.7 รายงาน
จากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 49 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนเปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้การลงทุนใน
สินทรัพย์ถาวรของจีน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.7 ซึ่งถ้าตัวเลขที่จะประกาศเป็นไปตามนี้ก็จะ
สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้และอาจสร้างความวิตกให้แก่ทางการจีนที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและอาจร้อนแรง
เกินไป ทั้งนี้ทางการจีนมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการลงทุนดังกล่าวในวันพฤหัสบดีนี้ เวลา 2 นาฬิกาตามเวลา
กรีนนิช (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 เม.ย. 49 18 เม.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.962 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.7516/38.6416 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.80469 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 764.17/ 17.07 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,250/11,350 10,850/10,950 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.1 64.58 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 เม.ย. 49 27.94*/26.29* 27.94*/26.29* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ส่งเรื่องขออนุญาตประกอบธุรกิจนอนแบงก์ให้ ก.คลังพิจารณาแล้ว นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค
ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ยื่นเรื่องขออนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน
ที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) 2-3 ราย ซึ่ง ธปท. ได้พิจารณาแล้วพบว่า บริษัทที่ยื่นเรื่องเข้ามามีคุณสมบัติผ่านตาม
หลักเกณฑ์ของ ธปท. และได้ส่งเรื่องไปยัง ก.คลังแล้ว 4-5 เดือน หาก ก.คลังอนุมัติก็สามารถประกอบธุรกิจได้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการยื่นเรื่องขอประกอบธุรกิจนอนแบงก์เข้ามาเรื่อย ๆ ซึ่งการที่มีนอนแบงก์เพิ่มมากขึ้นนั้น
จะเป็นผลดีกับประชาชน เนื่องจากจะมีทางเลือกมากขึ้นในการเลือกใช้บริการ โดยต่อไปนอนแบงก์ต่าง ๆ ก็จะมี
การแข่งขันกันมากขึ้นจนส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยลดลงได้ (แนวหน้า)
2. ธ.พาณิชย์สามารถออกตราสารหนี้กึ่งทุนได้เลยตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด
นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยถึงกรณีที่ ธปท. ออกหลักเกณฑ์
เกี่ยวกับการระดมทุนของ ธ.พาณิชย์ด้วยการออกตราสารหนี้กึ่งทุน เพื่อให้ใช้เป็นช่องทางในการระดมทุนเพื่อสร้าง
ความเข้มแข็งให้กับเงินกองทุนของธนาคารว่า ขณะนี้ ธ.พาณิชย์ยังไม่มีการออกตราสารหนี้กึ่งทุนหลังจากก่อนหน้านี้
มีข่าวว่าหลายธนาคารสนใจที่จะออก เนื่องจากการออกตราสารดังกล่าวมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้
การออกตราสารหนี้กึ่งทุนจะเป็นการขายในตลาดต่างประเทศซึ่ง ธ.พาณิชย์จะให้ Investment Banker เป็นผู้
ดูแล สำหรับปัจจัยที่ต้องดูมีหลายอย่าง เช่น ตลาดในประเทศในตอนนี้เหมาะสมหรือเปล่าที่จะออกตราสารหนี้กึ่งทุน
ภาวะตลาดถึงช่วงเวลาใดที่เหมาะสม รวมทั้งสภาพตลาดทั่วโลก และภาวะการเงินของตลาดโลก สำหรับ
ธ.พาณิชย์ถ้าสนใจที่จะออกตราสารหนี้กึ่งทุนก็สามารถออกได้เลย เนื่องจาก ธปท. ได้อนุญาตในหลักการไปแล้ว
หาก ธ.พาณิชย์มีรายละเอียดเพิ่มเติมที่จะออกตราสารหนี้กึ่งทุนมากกว่าที่ ธปท. ให้หลักการไปก็จะเข้ามาปรึกษา
ได้ (แนวหน้า)
3. ก.คลังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาผลกระทบจากกรณีเงินบาทแข็งค่าขึ้น นายนริศ ชัยสูตร
ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า รมว.คลัง สั่งการให้ สศค. ศึกษาผลกระทบของภาคอุตสาหกรรม
จากรณีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา โดยให้พิจารณาทั้งด้านที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ โดย
คาดว่าจะสามารถสรุปผลกระทบเสนอให้ รมว.คลังทราบเร็ว ๆ นี้ ส่วนภาวะเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะ
ลดลงจากหลายสาเหตุ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้การบริโภคลดลง และแนวโน้มที่ ธปท. จะปรับขึ้นดอกเบี้ย
นโยบายอีกร้อยละ 0.25 ด้าน นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองโฆษก สศค. กล่าวว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
ในทิศทางเดียวกับภูมิภาค และยังแข็งค่าน้อยกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ทำให้ภาพรวมของค่าเงินบาทในช่วงนี้ยัง
ไม่น่าเป็นห่วง (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. สศช. เตรียมรวบรวมโครงการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจเสนอ ครม. นายอำพน กิตติอำพน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ
สศช. ว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สศช. เร่งรวบรวมโครงการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและเคย
ได้รับงบประมาณจาก ครม. ก่อนหน้านี้แล้วทั้งหมด ให้นำไปเสนอ ครม. อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้กระทรวงต่าง ๆ ไป
เร่งรัดการดำเนินการ โดยเฉพาะภาคการลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ ครม. อนุมัติไปแล้ว 2.96 แสนล้านบาท ส่วนการ
เบิกจ่าย งปม. ปี 49 พบว่าระหว่างเดือน ต.ค.-ธ.ค.48 มีการเบิกจ่ายเพียง 41,000 ล้านบาท หรือร้อยละ
80 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 51,600 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม. ในไตรมาสที่เหลืออย่าง
เต็มที่ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจที่อาจชะงักได้ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน มี.ค.49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
19 เม.ย.49 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นตามความคาด
หมายของตลาดร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน สูงกว่าการคาดหมายของตลาด ทั้งนี้ การที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในเดือน มี.ค.
เพิ่มขึ้น เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาเครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัยถึงร้อยละ 70 โดยราคาเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 1 ในเดือน มี.ค.49 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 1
ใน 3 ของดัชนีโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วง 12 เดือน
สิ้นสุดเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1
ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค. ประกอบกับราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้
เกิดการคาดหมายว่า ธ.กลาง สรอ.อาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย
การเงินในเดือน พ.ค.ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
2. IMF คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจของยุโรปตะวันออกจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง และยังคงวิตกเกี่ยว
กับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับสูง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 49 กองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยในรายงานเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มรายครึ่งปี ว่าในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศ
ยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ อาทิประเทศโปแลนด์ และอังการี จนถึงประเทศตุรกี จะขยายตัวใน
อัตราที่ชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ส่วนปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 ลดลงจากร้อยละ 5.4 เมื่อปีที่แล้ว และร้อยละ
6.6 เมื่อปี 47 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุด ทั้งนี้คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศตุรกีจะขยายตัวร้อยละ 6.0 ชะลอลง
จากที่ขยายตัวถึงร้อยละ 7.4 เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามหากไม่นับรวมประเทศตุรกี คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มนี้
ขยายตัวถึงร้อยละ 5.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.5 เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามแนวโน้มในอนาคตยังคงมีความเสี่ยง
ที่สำคัญของการขยายตัวของเศรษฐกิจคือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศในภูมิภาคดังกล่าว (รอยเตอร์)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือนมี.ค.49 ลดลงร้อยละ 11.9 เทียบต่อปี ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 20 เม.ย.49 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.49 ญี่ปุ่น
เกินดุลการค้าจำนวน 978.1 พัน ล.เยน (8.34 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือลดลงร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบต่อปี
ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลการค้าจำนวน 722.4 พัน ล.เยน เนื่องจากมีการนำเข้าเพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 25.2 ขณะที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 18.1 สาเหตุจากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และหากเทียบต่อ
เดือนเกินดุลการค้าจำนวน 698.11 พัน ล.เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สำหรับปีงบประมาณ 48/49 ซึ่งสิ้นสุด
เดือน มี.ค.49 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 7.8992 ล้านล้านเยน หรือลดลงถึงร้อยละ 30.3 จากงบประมาณปี
ก่อนหน้า นับเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี (รอยเตอร์)
4. ผลสำรวจรอยเตอร์ชี้ว่าความเชื่อมั่นของธุรกิจในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย.49 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 20 เม.ย.49 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจในญี่ปุ่นจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจใน
อุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 200 แห่งและที่ไม่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตอีก 200 แห่งและได้รับคำตอบกลับมา
245 รายโดยรอยเตอร์ประจำเดือน เม.ย.49 ในระหว่างวันที่ 28 มี.ค.ถึง 17 เม.ย.49 หรือที่เรียกว่า
the Reuters Tankan เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ + 34 เท่ากับดัชนีของเดือน ก.พ.49 ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่
เดือน มิ.ย.41 หลังจากอยู่ที่ระดับ + 25 ในเดือน มี.ค.49 ดัชนีดังกล่าวเป็นตัวชี้แนวโน้มผลสำรวจความเชื่อมั่น
ของธุรกิจรายไตรมาสของ ธ.กลางญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า BOJ’s tankan ซึ่งคำว่า tankan ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า
แนวโน้มเศรษฐกิจระยะสั้น โดยนักวิเคราะห์คาดว่า BOJ’s tankan สำหรับเดือน มิ.ย.49 จะกลับมาดีขึ้นหลัง
จากแสดงตัวเลขน่าผิดหวังเมื่อเดือน มี.ค.49 ที่ผ่านมา ผลจากการใช้จ่ายลงทุนของภาคธุรกิจและการบริโภคใน
ประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและโทรศัพท์มือถือกำลังได้รับความนิยมและคาดว่าจะมียอด
จำหน่ายสูงขึ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 49 ระหว่างเดือน ม.ค.- มี.ค.49 นี้ เช่นเดียวกับการใช้จ่ายลงทุนของภาค
ธุรกิจที่กำลังขยายตัวและคาดว่าจะทำให้ยอดจำหน่ายเครื่องจักรเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
5. คาดว่าการลงทุนในไตรมาสที่ 1 ปีนี้ของจีนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.7 รายงาน
จากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 49 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนเปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้การลงทุนใน
สินทรัพย์ถาวรของจีน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.7 ซึ่งถ้าตัวเลขที่จะประกาศเป็นไปตามนี้ก็จะ
สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้และอาจสร้างความวิตกให้แก่ทางการจีนที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและอาจร้อนแรง
เกินไป ทั้งนี้ทางการจีนมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการลงทุนดังกล่าวในวันพฤหัสบดีนี้ เวลา 2 นาฬิกาตามเวลา
กรีนนิช (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 20 เม.ย. 49 18 เม.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.962 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.7516/38.6416 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.80469 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 764.17/ 17.07 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,250/11,350 10,850/10,950 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.1 64.58 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 เม.ย. 49 27.94*/26.29* 27.94*/26.29* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--