ธุรกิจ เอสเอ็มอี คืออะไร?
หลายคนอาจจะทราบและเข้าใจความหมายได้เป็นอย่างดี แต่มีเรื่องน่าสนใจที่อยากจะเล่าให้ฟังสักนิดหนึ่งว่า ไอ้เจ้า Small and Medium-Sized Enterprises (SMEs) นั้นมีความหมายที่อาจจะต่างกันเล็กน้อยในแต่ละประเทศ เช่นขนาดของ SMEs ตามคำจำกัดความในประเทศเยอรมันนั้นคือขนาดของธุรกิจที่มีพนักงานไม่เกิน 500 คนในขณะที่ประเทศเบลเยี่ยมนั้นกำหนดไว้เพียง 100 คน สุดท้ายในปัจจุบันนี้กลุ่มประเทศของ EU จึงได้ร่วมกำหนดความหมายไว้ใหม่ไว้ใช้ทั่วกันว่าขนาดธุรกิจที่มีพนักงานไม่เกิน 50 คนและมีรายได้หมุนเวียนไม่เกิน 10 ล้านเหรียญยูโรเรียกว่าเป็น "ธุรกิจขนาดเล็ก" หรือถ้ามีจำนวนพนักงานไม่เกิน 250 คนและมีรายได้หมุนเวียนไม่เกิน 50 ล้านเหรียญยูโรจะเรียกว่าเป็น "ธุรกิจขนาดกลาง" (ซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ต้องสงสัยหากได้เห็นอักษรย่อคำว่า SMBs — Small and Medium-Sized Business เข้ามาแทนที่คำว่า SMEs) ในขณะธุรกิจเล็กๆประเภทอื่นๆที่มีจำนวนพนักงานที่ไม่เกิน 10 คนและมีรายได้หมุนเวียนไม่เกิน 2 ล้านเหรียญยูโรนั้น แถวยุโรปเขาเรียกกันว่า SOHO (Small Office/Home Office)
ส่วนในแผ่นดินอันกว้างใหญ่ของสหรัฐอเมริกานั้นเขาไม่ได้มีการกำหนดคำจำกัดความของธุรกิจประเภทนี้ไว้อย่างละเอียดมากเท่ายุโรป แต่เขาใช้วิธีพิจารณาจากสภาพแวดล้อมที่ธุรกิจนั้นๆทำการแข่งขันอยู่เท่านั้นเอง
เอสเอ็มอี สำคัญอย่างไร?
ธุรกิจเอสเอ็มอี มีความสำคัญมากทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้ๆนี้สำหรับประเทศอย่างบ้านเรา ขออ้างถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคพื้นยุโรปนั้นเชื่อหรือไม่ว่าในจำนวนธุรกิจทั้งหมดประมาณ 19.3 ล้านแห่งนั้น มีสัดส่วนที่ถือได้ว่าเป็นธุรกิจประเภทเอสเอ็มอีเป็นจำนวนถึง 98% และธุรกิจประเภทนี้ทั้งหมดนี้มีการว่าจ้างงานรวมกันถึง 65 ล้านหน่วย! และในจำนวนทั้งหมดของกิจการห้างร้านที่ทำธุรกิจประมาณ 19.3 ล้านหน่วยนั้น เขาว่ามีถึงประมาณ 18 ล้านที่เป็นกิจการขนาดเล็กๆมีการว่าจ้างพนักงานน้อยกว่า 10 คน ข้อมูลบอกต่อไปอีกว่ามีเพียง 3,500 กิจการเท่านั้นที่มีการว่าจ้างงานมากกว่า 250 คน และสุดท้ายค่าเฉลี่ยของอัตราการว่าจ้างของธุรกิจในยุโรปคือมีเพียงกิจการละ 4 คน เห็นความสำคัญของเอสเอ็มอีกันมากขึ้นบ้างหรือยังครับ? เราเห็นแบบอย่างจากในยุโรปได้เลยว่ากิจการเล็กๆน้อยๆประเภทเอสเอ็มอีนั้นกลายเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญต่อเรื่องการว่าจ้างงานอย่างมากในโลกตะวันตก และเราคงมองเห็นถึงการแผ่ขยายรูปแบบการเจริญเติบโตมาทางซีกโลกตะวันออกอย่างแน่นอนที่สุด การให้คำจำกัดความธุรกิจเอสเอ็มอีในส่วนอื่นๆของโลกก็มีความผิดแผกแตกต่างกันออกไปอีกบ้างเล็กๆน้อยๆในรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่นในเกาะฮ่องกง เอสเอ็มอีหมายถึงธุรกิจที่มีอัตราการว่าจ้างงานน้อยกว่า 100 ตำแหน่งหรือน้อยกว่า 50 ตำแหน่งในธุรกิจประเภท Manufacturing หรือ Non-Manufacturing ตามลำดับ ส่วนในเม็กซิโกนั้นกำหนดว่าธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดกลางมีการว่าจ้างไม่เกิน 500 คนในภาค อุตสาหกรรม แต่สำหรับในภาคการค้าหรือการบริการนั้นต้องมีพนักงานไม่เกิน 100 คน ความสำคัญของธุรกิจเอสเอ็มอีในส่วนของการว่าจ้างงานนั้น สำหรับประเทศใกล้ๆบ้านเราเช่นฟิลิปปินส์นั้นบันทึกไว้ถึง 50% ของการว่าจ้างทั้งหมด ส่วนในกรีซก็มีสัดส่วนถึง 91%
ทิศทางของเอสเอ็มอีจะไปทางไหน?
โดยรวมแล้วธุรกิจเอสเอ็มอีจะเติบโตขึ้นต่อไปอย่างแน่นอน ถึงแม้นว่าบางธุรกิจอาจจะเกิดเหตุต้องพังพาบกันไปหรือบ้างก็อาจจะเติบโตต่อไปจนเกิดขนาด SMEs (ตัวอย่างเช่นมาร์ค & สเปนเซอร์ แอบเปิล เฟดเดอรัลเอ็กซเพรส หรืออินเทลที่แสนจะใหญ่โตแข็งแรงในวันนี้) ว่ากันว่าเฉพาะในประเทศอังกฤษนั้นจะมีจำนวนธุรกิจเอสเอ็มอีเพิ่มมากขึ้นอีกกว่า 4.5 หรือ 5 ล้านแห่งและจะก่อให้เกินการว่าจ้างเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านคนในปี 2010 สาเหตุหลักๆของการเพิ่มจำนวนหรือการเติบโตของเอสเอ็มอีในวันข้างหน้านี้เกิดจากความที่องค์กรใหญ่ๆที่มีการปฏิวัติการจัดการในรูปแบบใหม่ๆก็อาจจะมีการควบคุม "ต้นทุน" ด้วยการว่าจ้างภายนอกหรือที่เรียกกันว่า "เอ๊าท์ซอร์ส" ให้คนอื่นๆมารับช่วงไป ในขณะเดียวการนั้นเหล่าบรรดาแผนกงานต่างๆที่เริ่มจากเล็กๆในองค์กรก็อาจจะมีการแตกตัวออกไปเป็นอิสระมากขึ้น หรือแม้กระทั่งบางกิจการที่ต้องการหันมามุ่งเน้นในสายงานที่ตัวเองถนัดมากที่สุดก็จะตัดส่วนที่เรียกว่าเป็น Non-core business ออกไป ในขณะเดียวกันบัณฑิตรุ่นใหม่ๆที่จบจากรั้วมหาวิทยาลัยในวันนี้ มีความกล้าเสี่ยงที่จะออกมาทำธุรกิจเล็กๆของตนเองมากกว่าความกล้าเสี่ยงของคนรุ่นก่อนๆ ภาครัฐในยุคปัจจุบันนี้เองก็ให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งแน่นอนว่าเหล่านี้ก็เป็นแนวทางของการเกิดเอสเอ็มอีในวันข้างหน้า
รูปแบบของเอสเอ็มอีนั้นมีอยู่ไม่กี่อย่าง ประเภทแรกคือพวกที่เราเรียกว่า Sub-Contractors ประเภทต่อมาคือพวกที่เรียกว่า Members of clusters และสุดท้ายก็เป็นพวกโดดเดี่ยว Independent ในโลกตะวันตกส่วนใหญ่เราจะเห็นการรวมตัวกันเป็นแบบกลุ่มก้อน (Cluster) อย่างตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณซิลิคอนวัลเล่ย์ในแถบตะวันตกของอเมริกา หรือบริเวณถนนสาย 128 ที่มลรัฐแมสซาชูเซตต์ ทางฝั่งตะวันออก หรือเหล่าบรรดาเอสเอ็มอีที่กระจุกตัวล้อมรอบมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอังกฤษ เหตุที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มอย่างนี้ ส่วนหนึ่งเพราะความสะดวกในการที่จะพัฒนาธุรกิจ หรือการรวบรวมอำนาจการต่อรองทางธุรกิจไว้ด้วยกัน บรรดาธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมเหล่านี้ไม่ได้สามารถจะมีแผนกทำงานต่างๆได้อย่างครบถ้วน จึงจำเป็นต้องพึ่งพาองค์กรภายนอกให้เข้ามาช่วยจัดการในหลายๆเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการค้นคว้าวิจัยที่อาจต้องอาศัยสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆเข้ามาจัดการให้ หรือแม้กระทั่งการอบรมเพิ่มเติมความรู้และทักษะของพนักงานที่ย่อมต้องอาศัยบุคคลภายนอกเช่นกัน (อย่างน้อยที่สุดสิ่งเหล่านี้ก็เป็นโอกาสของธุรกิจต่างๆที่ต่อเนื่องกันออกไป)
อี-คอมเมิร์ซก็เป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่จะเป็นที่ต้องการของธุรกิจเอสเอ็มอีในการที่จะเข้ามาสนับสนุนเรื่องของการจัดหาวัตถุดิบ การ Purchasing การกระจายสินค้า หรือแม้กระทั่งการจัดหาบุคลากร การให้บริการในด้านกระบวนการสื่อสาร การสร้างแบรนด์ก็เช่นเดียวกัน เห็นได้ชัดว่าจะมีแบรนด์ใหม่ๆเกิดขึ้นอีกมากมายจากธุรกิจเอสเอ็มอี ว่าแต่ว่ากิจการที่ให้บริการด้านการสื่อสารการตลาดจะสามารถปรับกระบวนการในการให้บริการอย่างไรให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินกิจการของธุรกิจประเภทนี้ จะสามารถทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอย่างไรในการสร้างแบรนด์ สร้างตลาด สร้างความต้องการ หรือจะมีการสร้างงานการสื่อสารอย่างไรที่จะสามารถช่วยนำพาธุรกิจเอสเอ็มอีให้โลดแล่นไปในเวทีการค้าทั้งในและต่างประเทศได้อย่างสำเร็จงดงาม...
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
หลายคนอาจจะทราบและเข้าใจความหมายได้เป็นอย่างดี แต่มีเรื่องน่าสนใจที่อยากจะเล่าให้ฟังสักนิดหนึ่งว่า ไอ้เจ้า Small and Medium-Sized Enterprises (SMEs) นั้นมีความหมายที่อาจจะต่างกันเล็กน้อยในแต่ละประเทศ เช่นขนาดของ SMEs ตามคำจำกัดความในประเทศเยอรมันนั้นคือขนาดของธุรกิจที่มีพนักงานไม่เกิน 500 คนในขณะที่ประเทศเบลเยี่ยมนั้นกำหนดไว้เพียง 100 คน สุดท้ายในปัจจุบันนี้กลุ่มประเทศของ EU จึงได้ร่วมกำหนดความหมายไว้ใหม่ไว้ใช้ทั่วกันว่าขนาดธุรกิจที่มีพนักงานไม่เกิน 50 คนและมีรายได้หมุนเวียนไม่เกิน 10 ล้านเหรียญยูโรเรียกว่าเป็น "ธุรกิจขนาดเล็ก" หรือถ้ามีจำนวนพนักงานไม่เกิน 250 คนและมีรายได้หมุนเวียนไม่เกิน 50 ล้านเหรียญยูโรจะเรียกว่าเป็น "ธุรกิจขนาดกลาง" (ซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ต้องสงสัยหากได้เห็นอักษรย่อคำว่า SMBs — Small and Medium-Sized Business เข้ามาแทนที่คำว่า SMEs) ในขณะธุรกิจเล็กๆประเภทอื่นๆที่มีจำนวนพนักงานที่ไม่เกิน 10 คนและมีรายได้หมุนเวียนไม่เกิน 2 ล้านเหรียญยูโรนั้น แถวยุโรปเขาเรียกกันว่า SOHO (Small Office/Home Office)
ส่วนในแผ่นดินอันกว้างใหญ่ของสหรัฐอเมริกานั้นเขาไม่ได้มีการกำหนดคำจำกัดความของธุรกิจประเภทนี้ไว้อย่างละเอียดมากเท่ายุโรป แต่เขาใช้วิธีพิจารณาจากสภาพแวดล้อมที่ธุรกิจนั้นๆทำการแข่งขันอยู่เท่านั้นเอง
เอสเอ็มอี สำคัญอย่างไร?
ธุรกิจเอสเอ็มอี มีความสำคัญมากทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้ๆนี้สำหรับประเทศอย่างบ้านเรา ขออ้างถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคพื้นยุโรปนั้นเชื่อหรือไม่ว่าในจำนวนธุรกิจทั้งหมดประมาณ 19.3 ล้านแห่งนั้น มีสัดส่วนที่ถือได้ว่าเป็นธุรกิจประเภทเอสเอ็มอีเป็นจำนวนถึง 98% และธุรกิจประเภทนี้ทั้งหมดนี้มีการว่าจ้างงานรวมกันถึง 65 ล้านหน่วย! และในจำนวนทั้งหมดของกิจการห้างร้านที่ทำธุรกิจประมาณ 19.3 ล้านหน่วยนั้น เขาว่ามีถึงประมาณ 18 ล้านที่เป็นกิจการขนาดเล็กๆมีการว่าจ้างพนักงานน้อยกว่า 10 คน ข้อมูลบอกต่อไปอีกว่ามีเพียง 3,500 กิจการเท่านั้นที่มีการว่าจ้างงานมากกว่า 250 คน และสุดท้ายค่าเฉลี่ยของอัตราการว่าจ้างของธุรกิจในยุโรปคือมีเพียงกิจการละ 4 คน เห็นความสำคัญของเอสเอ็มอีกันมากขึ้นบ้างหรือยังครับ? เราเห็นแบบอย่างจากในยุโรปได้เลยว่ากิจการเล็กๆน้อยๆประเภทเอสเอ็มอีนั้นกลายเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญต่อเรื่องการว่าจ้างงานอย่างมากในโลกตะวันตก และเราคงมองเห็นถึงการแผ่ขยายรูปแบบการเจริญเติบโตมาทางซีกโลกตะวันออกอย่างแน่นอนที่สุด การให้คำจำกัดความธุรกิจเอสเอ็มอีในส่วนอื่นๆของโลกก็มีความผิดแผกแตกต่างกันออกไปอีกบ้างเล็กๆน้อยๆในรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่นในเกาะฮ่องกง เอสเอ็มอีหมายถึงธุรกิจที่มีอัตราการว่าจ้างงานน้อยกว่า 100 ตำแหน่งหรือน้อยกว่า 50 ตำแหน่งในธุรกิจประเภท Manufacturing หรือ Non-Manufacturing ตามลำดับ ส่วนในเม็กซิโกนั้นกำหนดว่าธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดกลางมีการว่าจ้างไม่เกิน 500 คนในภาค อุตสาหกรรม แต่สำหรับในภาคการค้าหรือการบริการนั้นต้องมีพนักงานไม่เกิน 100 คน ความสำคัญของธุรกิจเอสเอ็มอีในส่วนของการว่าจ้างงานนั้น สำหรับประเทศใกล้ๆบ้านเราเช่นฟิลิปปินส์นั้นบันทึกไว้ถึง 50% ของการว่าจ้างทั้งหมด ส่วนในกรีซก็มีสัดส่วนถึง 91%
ทิศทางของเอสเอ็มอีจะไปทางไหน?
โดยรวมแล้วธุรกิจเอสเอ็มอีจะเติบโตขึ้นต่อไปอย่างแน่นอน ถึงแม้นว่าบางธุรกิจอาจจะเกิดเหตุต้องพังพาบกันไปหรือบ้างก็อาจจะเติบโตต่อไปจนเกิดขนาด SMEs (ตัวอย่างเช่นมาร์ค & สเปนเซอร์ แอบเปิล เฟดเดอรัลเอ็กซเพรส หรืออินเทลที่แสนจะใหญ่โตแข็งแรงในวันนี้) ว่ากันว่าเฉพาะในประเทศอังกฤษนั้นจะมีจำนวนธุรกิจเอสเอ็มอีเพิ่มมากขึ้นอีกกว่า 4.5 หรือ 5 ล้านแห่งและจะก่อให้เกินการว่าจ้างเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านคนในปี 2010 สาเหตุหลักๆของการเพิ่มจำนวนหรือการเติบโตของเอสเอ็มอีในวันข้างหน้านี้เกิดจากความที่องค์กรใหญ่ๆที่มีการปฏิวัติการจัดการในรูปแบบใหม่ๆก็อาจจะมีการควบคุม "ต้นทุน" ด้วยการว่าจ้างภายนอกหรือที่เรียกกันว่า "เอ๊าท์ซอร์ส" ให้คนอื่นๆมารับช่วงไป ในขณะเดียวการนั้นเหล่าบรรดาแผนกงานต่างๆที่เริ่มจากเล็กๆในองค์กรก็อาจจะมีการแตกตัวออกไปเป็นอิสระมากขึ้น หรือแม้กระทั่งบางกิจการที่ต้องการหันมามุ่งเน้นในสายงานที่ตัวเองถนัดมากที่สุดก็จะตัดส่วนที่เรียกว่าเป็น Non-core business ออกไป ในขณะเดียวกันบัณฑิตรุ่นใหม่ๆที่จบจากรั้วมหาวิทยาลัยในวันนี้ มีความกล้าเสี่ยงที่จะออกมาทำธุรกิจเล็กๆของตนเองมากกว่าความกล้าเสี่ยงของคนรุ่นก่อนๆ ภาครัฐในยุคปัจจุบันนี้เองก็ให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งแน่นอนว่าเหล่านี้ก็เป็นแนวทางของการเกิดเอสเอ็มอีในวันข้างหน้า
รูปแบบของเอสเอ็มอีนั้นมีอยู่ไม่กี่อย่าง ประเภทแรกคือพวกที่เราเรียกว่า Sub-Contractors ประเภทต่อมาคือพวกที่เรียกว่า Members of clusters และสุดท้ายก็เป็นพวกโดดเดี่ยว Independent ในโลกตะวันตกส่วนใหญ่เราจะเห็นการรวมตัวกันเป็นแบบกลุ่มก้อน (Cluster) อย่างตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณซิลิคอนวัลเล่ย์ในแถบตะวันตกของอเมริกา หรือบริเวณถนนสาย 128 ที่มลรัฐแมสซาชูเซตต์ ทางฝั่งตะวันออก หรือเหล่าบรรดาเอสเอ็มอีที่กระจุกตัวล้อมรอบมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในอังกฤษ เหตุที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มอย่างนี้ ส่วนหนึ่งเพราะความสะดวกในการที่จะพัฒนาธุรกิจ หรือการรวบรวมอำนาจการต่อรองทางธุรกิจไว้ด้วยกัน บรรดาธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมเหล่านี้ไม่ได้สามารถจะมีแผนกทำงานต่างๆได้อย่างครบถ้วน จึงจำเป็นต้องพึ่งพาองค์กรภายนอกให้เข้ามาช่วยจัดการในหลายๆเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการค้นคว้าวิจัยที่อาจต้องอาศัยสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆเข้ามาจัดการให้ หรือแม้กระทั่งการอบรมเพิ่มเติมความรู้และทักษะของพนักงานที่ย่อมต้องอาศัยบุคคลภายนอกเช่นกัน (อย่างน้อยที่สุดสิ่งเหล่านี้ก็เป็นโอกาสของธุรกิจต่างๆที่ต่อเนื่องกันออกไป)
อี-คอมเมิร์ซก็เป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่จะเป็นที่ต้องการของธุรกิจเอสเอ็มอีในการที่จะเข้ามาสนับสนุนเรื่องของการจัดหาวัตถุดิบ การ Purchasing การกระจายสินค้า หรือแม้กระทั่งการจัดหาบุคลากร การให้บริการในด้านกระบวนการสื่อสาร การสร้างแบรนด์ก็เช่นเดียวกัน เห็นได้ชัดว่าจะมีแบรนด์ใหม่ๆเกิดขึ้นอีกมากมายจากธุรกิจเอสเอ็มอี ว่าแต่ว่ากิจการที่ให้บริการด้านการสื่อสารการตลาดจะสามารถปรับกระบวนการในการให้บริการอย่างไรให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินกิจการของธุรกิจประเภทนี้ จะสามารถทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอย่างไรในการสร้างแบรนด์ สร้างตลาด สร้างความต้องการ หรือจะมีการสร้างงานการสื่อสารอย่างไรที่จะสามารถช่วยนำพาธุรกิจเอสเอ็มอีให้โลดแล่นไปในเวทีการค้าทั้งในและต่างประเทศได้อย่างสำเร็จงดงาม...
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-