วันนี้ (9 เม.ย. 49) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าเป็นการเลือกตั้งวิปริต ดำเนินการไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่ใช่การเลือกตั้งเพื่อหาผู้แทนราษฎรอย่างแท้จริง หากเป็นเพียงการทำหน้าที่หาคนกลุ่มหนึ่งมาสนับสนุนระบอบทักษิณ ให้ยืนยงคงกระพันอยู่ในอำนาจต่อไปเท่านั้น โดยไม่สนใจว่าเป็นการเลือกตั้งที่ชอบธรรมหรือไม่ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ตั้งข้อสังเกต 7 ประการด้วยกันเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้ กล่าวคือ
1.เป็นการร่วมด้วยช่วยกันของรัฐบาลกับคณะกรรมการการกเลือกตั้ง (กกต.)ดึงดันให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นทั้งที่รู้อยู่ล่วงหน้าแล้วว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบธรรม ซึ่งเป็นผลมาจากการยุบสภาที่ไม่ชอบธรรม ผลสุดท้ายก็จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่ชอบธรรม นำไปสู่วิกฤตของประเทศอีกครั้งหนึ่ง
2.มีการจ้างพรรคการเมืองเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งโดยพรรคการเมืองใหญ่บางพรรคอย่างชัดแจ้ง จนทำให้มีการประกาศถอนสิทธิของผู้รับสมัครเกือบ 300 เขตทั่วประเทศและยังมีอยู่ในขั้นตอนพิจารณาตามคำร้องเรียนของพรรคประชาธิปัตย์อีกหลายเขต
3.มีการยักย้ายถ่ายเทแก้ไขข้อมูลของพรรคการเมือง และผู้สมัรรับเลือกตั้งโดยความร่วมมือของกกตและผู้มีอำนาจ
4.มีการปรับหน่วยเลือกตั้งให้เข้าข้างพรรคใหญ่อย่างเห็นได้ชัดเจน
5.ไม่ใส่ใจป้องกันการซื้อเสียง การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีการรณรงค์ป้องกันการซื้อเสียงจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเลย แต่อดีตนั้นการซื้อเสียงเป็นปัญหาสำคัญของการเลือกตั้งและมักจะมีการรณรงค์กันอย่างเต็มที่
6.มีการเลี่ยงหลบกฎหมายเลือกตั้งหลายมาตรา และ 7.หาช่องทางช่วยพรรคใหญ่อย่างไม่ละอายใจ จากหลายหน่วยงานในหลายกรณีหลายรูปแบบจึงทำมาสู่การเลือกตั้งที่วิปริตผิดธรรมชาติอย่างยิ่งครั้งนี้
นายองอาจ กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์มองว่า ถึงเวลาที่กกต.จะพิจารณาอย่างจริงจังที่จะประกาศให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ เพราะถ้ากกต. ยังปล่อยให้การเลือกตั้งดำเนินไปจนถึงจุดสุดท้าย คือ ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งทั้งระบบบัญชีรายชื่อและระบอบเขตออกมา กกต.จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตต่อประเทศไทย เพราะการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งของกกต.นั้นจะนำไปสู่ปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่อย่างมาก ก็คือ การไม่สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ เพราะจำนวนสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านการรับรองอย่างถูกต้องแล้วมีไม่ครบ 500 คนตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่ากกต.จะดึงดันให้มีจำนวนผู้สมัครจากเขตเลือกตั้งครบ 400 คนก็ตาม ซึ่งอาจจะเกิดการเลือกตั้งอีกหลายครั้งจนกว่าจะครบ 400 คน สำหรับระบบบัญชีรายชื่อนั้นชัดเจนแล้วว่าไม่สามารถมีครบตามที่กำหนดไว้ได้ นอกเหนือจากนั้นยังไม่มีอะไรเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเมื่อครบ 30 วันแล้วจะมีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านการรับรองจากกกต.ครบตามจำนวนหรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์จึงขอเรียกร้องไปยังกกต.ให้ประกาศการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ
นายองอาจ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการรับสมัครสส.แบบเขตใน 2 วันนี้ พรรคประชาธิปัตย์ตรวจสอบพบปัญหาปมใหม่คือ มีผู้ย้ายเขตจากการสมัครครั้งที่แล้วมาลงสมัครในเขตใหม่โดยผผู้สมัครคนเดิมหลายเขตด้วยกัน เช่น ที่จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีการรับสมัครใหม่ 5 เขตด้วยกันคือเขต 1 , 2 , 3 ,6 และ 8 พบว่ามีผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งยังมีสถานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งเดิม และยังไม่ได้มีการรับรองผล ภายในการเลือกตั้งครั้งเดียวกันนี้ก็ไปสมัครภายในจังหวัดเดียวกันแต่เปลี่ยนเขต คือนายภักดี นาบุญเคยสมัคร 7 ย้ายไปลงสมัครที่เขต1อีกท่านคือ นายเอนก จิตมาลา ย้ายจากเขต 5 ไปลงที่เขต 2 ของจ.นครราชศรีมา ภายในจ.สุราษฎร์ธานีก็พบที่ เขต 3 นายสุพร จันทร์แก้ว ย้ายจากเขตอื่นมาลงที่เขต3 แต่ที่พิลึกพิลั่นที่สุดคือที่ภูเก็ต นายประยูร บุญจันทร์ขณะนี้ยังคงสถานะเป็นผู้รับเลือกตั้งที่จ.นครศรีธรรมราช เขต10 แต่เมื่อวานนี้ได้ไปเป็นผู้สมัครที่จ.ภูเก็ตเขต 2 ทั้งๆที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการถอดถอนการสมัครรับเลือกตั้งที่นครศรีธรรมราช ในกรณีนี้พรรคมองว่าน่าจะขัดต่อหลักกฎหมายเพราะ หลักกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า บุคคลหนึ่งมีสิทธิลงสมัครได้ในเขตเลือกตั้งเดียวในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งๆเท่านั้น ไม่สามารถที่จะโยกย้ายตัวเองไปลงสมัครรับเลือกตั้งทุกเขตที่มีการรับสมัครการเลือกตั้ง ตนไม่ทราบว่ากกต.ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ได้อย่างไร
อีกกรณีหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์มองว่าการเลือกตั้งในเขตที่เลือกแล้วไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์นั้นน่าจะเป็นการเลือกตั้งซ้ำในจำนวนผู้สมัครเดิม มากกว่าเป็นการเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากการเลือกตั้งแต่ละครั้งต้องออกพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง แต่ครั้งนี้ไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งแต่ใช้กฤษฎีกาเดิม ดังนั้นผู้ที่แพ้การเลือกตั้งในเขตหนึ่งไม่น่าจะมีสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งในอีกเขตหนึ่งได้ นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สามารถทำให้ประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้
อีกประเด็น ทั้งๆที่ กกต.ประกาศว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งใหม่ ไม่ใช่การเลือกตั้งซ้ำ แต่กกต.กลับอนุญาตให้ พรรคไทยรักไทย ได้เบอร์ 2 ซึ่งเป็นเบอร์เดิมในการสมัครใหม่ครั้งนี้ ขณะที่ผู้สมัครพรรคอื่นๆ ทำตามขั้นตอนการสมัคร
นายองอาจย้ำสรุปสุดท้ายว่า ข้อมูลทั้งหมดที่ตนยกมาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความวิปริต ผิดธรรมชาติของการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการดันทุรังทำทุกวิถีทางที่จะให้มีสามชิก500 คนก่อนที่จะครบ 30 วันเพื่อให้มีการเปิดสภาให้ได้ อย่างที่ตนได้กล่าวมาแล้วว่า การดันทุรังของกกต. ช่วยพรรคใหญ่พรรคหนึ่งกำลังเป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่วิกฤตของประเทศอีกครั้งหนึ่ง จะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่หลวงตามมา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 เม.ย. 2549--จบ--
1.เป็นการร่วมด้วยช่วยกันของรัฐบาลกับคณะกรรมการการกเลือกตั้ง (กกต.)ดึงดันให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นทั้งที่รู้อยู่ล่วงหน้าแล้วว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบธรรม ซึ่งเป็นผลมาจากการยุบสภาที่ไม่ชอบธรรม ผลสุดท้ายก็จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่ชอบธรรม นำไปสู่วิกฤตของประเทศอีกครั้งหนึ่ง
2.มีการจ้างพรรคการเมืองเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งโดยพรรคการเมืองใหญ่บางพรรคอย่างชัดแจ้ง จนทำให้มีการประกาศถอนสิทธิของผู้รับสมัครเกือบ 300 เขตทั่วประเทศและยังมีอยู่ในขั้นตอนพิจารณาตามคำร้องเรียนของพรรคประชาธิปัตย์อีกหลายเขต
3.มีการยักย้ายถ่ายเทแก้ไขข้อมูลของพรรคการเมือง และผู้สมัรรับเลือกตั้งโดยความร่วมมือของกกตและผู้มีอำนาจ
4.มีการปรับหน่วยเลือกตั้งให้เข้าข้างพรรคใหญ่อย่างเห็นได้ชัดเจน
5.ไม่ใส่ใจป้องกันการซื้อเสียง การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีการรณรงค์ป้องกันการซื้อเสียงจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเลย แต่อดีตนั้นการซื้อเสียงเป็นปัญหาสำคัญของการเลือกตั้งและมักจะมีการรณรงค์กันอย่างเต็มที่
6.มีการเลี่ยงหลบกฎหมายเลือกตั้งหลายมาตรา และ 7.หาช่องทางช่วยพรรคใหญ่อย่างไม่ละอายใจ จากหลายหน่วยงานในหลายกรณีหลายรูปแบบจึงทำมาสู่การเลือกตั้งที่วิปริตผิดธรรมชาติอย่างยิ่งครั้งนี้
นายองอาจ กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์มองว่า ถึงเวลาที่กกต.จะพิจารณาอย่างจริงจังที่จะประกาศให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ เพราะถ้ากกต. ยังปล่อยให้การเลือกตั้งดำเนินไปจนถึงจุดสุดท้าย คือ ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งทั้งระบบบัญชีรายชื่อและระบอบเขตออกมา กกต.จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตต่อประเทศไทย เพราะการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งของกกต.นั้นจะนำไปสู่ปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่อย่างมาก ก็คือ การไม่สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ เพราะจำนวนสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านการรับรองอย่างถูกต้องแล้วมีไม่ครบ 500 คนตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่ากกต.จะดึงดันให้มีจำนวนผู้สมัครจากเขตเลือกตั้งครบ 400 คนก็ตาม ซึ่งอาจจะเกิดการเลือกตั้งอีกหลายครั้งจนกว่าจะครบ 400 คน สำหรับระบบบัญชีรายชื่อนั้นชัดเจนแล้วว่าไม่สามารถมีครบตามที่กำหนดไว้ได้ นอกเหนือจากนั้นยังไม่มีอะไรเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเมื่อครบ 30 วันแล้วจะมีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านการรับรองจากกกต.ครบตามจำนวนหรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์จึงขอเรียกร้องไปยังกกต.ให้ประกาศการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ
นายองอาจ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการรับสมัครสส.แบบเขตใน 2 วันนี้ พรรคประชาธิปัตย์ตรวจสอบพบปัญหาปมใหม่คือ มีผู้ย้ายเขตจากการสมัครครั้งที่แล้วมาลงสมัครในเขตใหม่โดยผผู้สมัครคนเดิมหลายเขตด้วยกัน เช่น ที่จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีการรับสมัครใหม่ 5 เขตด้วยกันคือเขต 1 , 2 , 3 ,6 และ 8 พบว่ามีผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งยังมีสถานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งเดิม และยังไม่ได้มีการรับรองผล ภายในการเลือกตั้งครั้งเดียวกันนี้ก็ไปสมัครภายในจังหวัดเดียวกันแต่เปลี่ยนเขต คือนายภักดี นาบุญเคยสมัคร 7 ย้ายไปลงสมัครที่เขต1อีกท่านคือ นายเอนก จิตมาลา ย้ายจากเขต 5 ไปลงที่เขต 2 ของจ.นครราชศรีมา ภายในจ.สุราษฎร์ธานีก็พบที่ เขต 3 นายสุพร จันทร์แก้ว ย้ายจากเขตอื่นมาลงที่เขต3 แต่ที่พิลึกพิลั่นที่สุดคือที่ภูเก็ต นายประยูร บุญจันทร์ขณะนี้ยังคงสถานะเป็นผู้รับเลือกตั้งที่จ.นครศรีธรรมราช เขต10 แต่เมื่อวานนี้ได้ไปเป็นผู้สมัครที่จ.ภูเก็ตเขต 2 ทั้งๆที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการถอดถอนการสมัครรับเลือกตั้งที่นครศรีธรรมราช ในกรณีนี้พรรคมองว่าน่าจะขัดต่อหลักกฎหมายเพราะ หลักกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า บุคคลหนึ่งมีสิทธิลงสมัครได้ในเขตเลือกตั้งเดียวในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งๆเท่านั้น ไม่สามารถที่จะโยกย้ายตัวเองไปลงสมัครรับเลือกตั้งทุกเขตที่มีการรับสมัครการเลือกตั้ง ตนไม่ทราบว่ากกต.ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ได้อย่างไร
อีกกรณีหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์มองว่าการเลือกตั้งในเขตที่เลือกแล้วไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์นั้นน่าจะเป็นการเลือกตั้งซ้ำในจำนวนผู้สมัครเดิม มากกว่าเป็นการเลือกตั้งใหม่ เนื่องจากการเลือกตั้งแต่ละครั้งต้องออกพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง แต่ครั้งนี้ไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งแต่ใช้กฤษฎีกาเดิม ดังนั้นผู้ที่แพ้การเลือกตั้งในเขตหนึ่งไม่น่าจะมีสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งในอีกเขตหนึ่งได้ นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สามารถทำให้ประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้
อีกประเด็น ทั้งๆที่ กกต.ประกาศว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งใหม่ ไม่ใช่การเลือกตั้งซ้ำ แต่กกต.กลับอนุญาตให้ พรรคไทยรักไทย ได้เบอร์ 2 ซึ่งเป็นเบอร์เดิมในการสมัครใหม่ครั้งนี้ ขณะที่ผู้สมัครพรรคอื่นๆ ทำตามขั้นตอนการสมัคร
นายองอาจย้ำสรุปสุดท้ายว่า ข้อมูลทั้งหมดที่ตนยกมาเพื่อชี้ให้เห็นถึงความวิปริต ผิดธรรมชาติของการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการดันทุรังทำทุกวิถีทางที่จะให้มีสามชิก500 คนก่อนที่จะครบ 30 วันเพื่อให้มีการเปิดสภาให้ได้ อย่างที่ตนได้กล่าวมาแล้วว่า การดันทุรังของกกต. ช่วยพรรคใหญ่พรรคหนึ่งกำลังเป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่วิกฤตของประเทศอีกครั้งหนึ่ง จะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่หลวงตามมา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 เม.ย. 2549--จบ--