ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยยังมีมาตรการดูแลค่าเงินบาทเพิ่มเติมอีก นางธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ธปท.จะยังมีมาตรการในการดูแลค่าเงินบาทออกมาเพิ่มเติมในระยะต่อไปอีก แม้ว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายให้สถาบันการเงินซื้อพันธบัตร
หรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศในประเทศอาเซียนและจีน ญี่ปุ่น เกาหลี (ASEAN+3) ได้เพิ่มเติมจากเดิมไปบ้างแล้ว โดย
มาตรการป้องปรามการเก็บกำไรค่าเงินบาททั้งหมดที่ ธปท.ประกาศไป จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 พ.ย.นี้ ก่อนหน้านี้ ธปท.จะออกมาตรการ
อนุญาตให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มเติมจากเดิม เพื่อเป็นการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจากการที่มีเงินทุนไหลเข้ามาใน
ประเทศจำนวนมาก โดยมาตรการดังกล่าวอาจจะเป็นการเพิ่มวงเงินที่อนุญาตให้ลงทุนจากปัจจุบัน หรืออาจจะเป็นการเพิ่มประเภทการลงทุนจาก
เดิม ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินทุนไหลถึง 1.13 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ โดยยังไม่นับรวมเงินทุนไหลเข้า
จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคี (เอฟทีเอ) และลงทุนพันธบัตร ซึ่งสูงกว่าเงินที่ไหลเข้าตลาดหุ้นตลอดปี 48 ซึ่งอยู่ที่ 3.9 หมื่นล้านบาท ส่งผล
ให้เงินบาทแข็งค่าและยอมรับว่าส่วนหนึ่งมีการเข้ามาเก็งกำไร (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง,
มติชน)
2. ธปท.คาดจะสามารถออกประกาศขยายเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตสัปดาห์หน้า นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบาย
สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่สมาคมบัตรเครดิตยื่นเรื่องขอรับเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นอีก
ร้อยละ 2 จากเดิมร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 20 นั้น คาดว่าในสัปดาห์หน้า ธปท.จะสามารถออกประกาศเรื่องเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตได้
(ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือนแรกปี งปม.50 สูงกว่าเป้าหมาย 2.5 พันล้านบาท รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจ
การคลัง ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือน ต.ค.49 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปี งปม.50 ว่า มียอดจัดเก็บได้
บรรลุผลเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิจำนวน 106,491 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม.จำนวน
2,542 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.4 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 25,419 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.4 สำหรับรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เดือน
ต.ค.ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ เนื่องจากมีรายได้บางส่วนได้เหลื่อมไปนำส่งในเดือน พ.ย.49 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 1,922.2 เนื่องจากเดือน ต.ค.เป็นการเริ่มต้นที่ให้รัฐวิสาหกิจที่มีรอบบัญชีปีปฏิทินนำ
ส่งรายได้ระหว่างกาล ขณะที่ผลการจัดเก็บรายได้ตลอดทั้งปี งปม.49 (ต.ค.48-ก.ย.49) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,339,385 ล้านบาท
ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 20,615 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 74,453 ล้านบาท หรือร้อยละ
5.9 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในช่วงต้นปี งปม. ทำให้รายได้จาก
ภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลง ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าที่ประมาณการไว้ส่งผลต่อการจัดเก็บอากรขาเข้าของกรมศุลกากร ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้การ
จัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิต และภาษีศุลกากรต่ำกว่าประมาณการ ประกอบกับผลของการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการ
29,568 ล้านบาท ซึ่งมีผลดีต่อสภาพคล่องของภาคเอกชนในช่วงเศรษฐกิจอ่อนตัวลง ทำให้รายได้รัฐบาลสุทธิลดลงไปกว่าที่ประมาณการไว้
(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, มติชน, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การส่งออกของเยอรมนีเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่
8 พ.ย.49 สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า การส่งออกของเยอรมนีในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 สูงสุดในรอบกว่า 4 ปี
ขณะที่ยอดเกินดุลการค้าก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 15.0 พันล้านยูโร (19.16 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จาก 12.4 พันล้านยูโร ในเดือน
ส.ค.49 แสดงให้ถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในไตรมาส 3 จากการค้าต่างประเทศ โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจโดย
รวมในไตรมาส 3 จะขยายตัวร้อยละ 0.9 เป็นไปในทิศทางเดียวกับไตรมาส 2 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี ส่วนรายงาน
อื่น ๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจในระยะหลังนี้ก็ชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 3 จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ เยอรมนีพึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก
เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่เศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัวจากอัตราการว่างงานในระดับสูงและการใช้จ่าย
เพื่อการบริโภคที่ยังอ่อนตัวอยู่ ซึ่งการที่ตลาดแรงงานเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นช่วยเพิ่มความคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะเริ่มมีความสมดุลมากขึ้น (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 49 นาย Mervyn King
ผวก. ธ.กลางอังกฤษกล่าวว่าค่อนข้างแน่นอนว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกราวร้อยละ 0.25 ในวันพฤหัสบดีนี้ แต่นักวิเคราะห์มีความเห็น
แตกต่างว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับเพิ่มอีกครั้งในราวต้นปีหน้า ขณะที่ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ทั้งหมดจำนวน 58 คนของรอยเตอร์มีความเห็น
สอดคล้องกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะไม่ปล่อยอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่
เกิดการก่อการร้ายใน สรอ. เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ส่งผลให้การดำเนินนโยบายการเงินทั่วโลกผ่อนคลายมากที่สุดในรอบทศวรรษ และหากมีการ
ขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้จะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงกว่าที่เคยอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 48 ปีในปี 46 ถึงร้อยละ 150 ทั้งนี้ผู้ดำเนินนโยบายการเงิน
ธ.กลางอังกฤษวิตกว่า อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0 แล้ว และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการจ่ายค่าจ้างสูงขึ้นในช่วงปีใหม่
อย่างไรก็ตามมีสัญญานเงินเฟ้อจากค่าจ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ส่งสัญญานย้ำแก่บรรดานายจ้างและคนงานว่า
ไม่ต้องการให้ค่าจ้างสูงมากเกินไป เนื่องจากอาจกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นอีก (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 3 ปี 49 จะขยายตัวชะลอลง รายงานจากโตเกียวเมื่อ 8 พ.ย.49 รอยเตอร์เปิด
เผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 3 ปี 49 จะขยายตัว
ร้อยละ 0.2 เทียบต่อไตรมาส ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีคาดว่าจีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ไม่เปลี่ยนแปลง
จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า จีดีพีในช่วงไตรมาส 3 ดังกล่าวเป็นการขยายตัวชะลอลง โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของ
การใช้จ่ายภายในประเทศซึ่งมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 55 ของจีดีพี อันเนื่องมาจากภาวะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ ราคาน้ำมันและราคาพืชผักที่อยู่ใน
ระดับสูง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนซึ่งขยายตัวชะลอลงจากการขยายตัวอย่างสูง
มากในช่วงไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าจีดีพีในช่วงไตรมาสที่ 4 จะฟื้นตัวขึ้นได้ เนื่องจากปัจจัยฟื้นฐาน อาทิ
เช่น สถานการณ์รายได้ยังคงอยู่ในระดับที่ดี จึงเชื่อว่าการใช้จ่ายภายในประเทศจะชะลอตัวลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปีเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน รายงานจากโซลเมื่อ
9 พ.ย.49 ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปีเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ตรงกับผลสำรวจความเห็นของ
นักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ที่คาดไว้ว่าภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงจะทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่
ร้อยละ 4.50 ต่อปีต่อไป หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดร้อยละ 0.25 ต่อปีเมื่อเดือน ส.ค.49 ที่ผ่านมาซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับ
สูงสุดในรอบ 5 ปี อย่างไรก็ดี มีการเก็งกำไรในตลาดเงินว่าราคาบ้านและสินเชื่อเพื่อการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น อาจทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้
ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าจะมีความกังวลว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงก็ตาม (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 พ.ย. 49 8 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.702 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.4784/36.7666 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 738.93/17.53 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,750/10,850 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.74 55.08 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 พ.ย. 49 25.29*/23.84* 25.29*/23.84* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยยังมีมาตรการดูแลค่าเงินบาทเพิ่มเติมอีก นางธาริษา วัฒนเกส รักษาการผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ธปท.จะยังมีมาตรการในการดูแลค่าเงินบาทออกมาเพิ่มเติมในระยะต่อไปอีก แม้ว่าจะมีมาตรการผ่อนคลายให้สถาบันการเงินซื้อพันธบัตร
หรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศในประเทศอาเซียนและจีน ญี่ปุ่น เกาหลี (ASEAN+3) ได้เพิ่มเติมจากเดิมไปบ้างแล้ว โดย
มาตรการป้องปรามการเก็บกำไรค่าเงินบาททั้งหมดที่ ธปท.ประกาศไป จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 พ.ย.นี้ ก่อนหน้านี้ ธปท.จะออกมาตรการ
อนุญาตให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มเติมจากเดิม เพื่อเป็นการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจากการที่มีเงินทุนไหลเข้ามาใน
ประเทศจำนวนมาก โดยมาตรการดังกล่าวอาจจะเป็นการเพิ่มวงเงินที่อนุญาตให้ลงทุนจากปัจจุบัน หรืออาจจะเป็นการเพิ่มประเภทการลงทุนจาก
เดิม ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินทุนไหลถึง 1.13 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ โดยยังไม่นับรวมเงินทุนไหลเข้า
จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคี (เอฟทีเอ) และลงทุนพันธบัตร ซึ่งสูงกว่าเงินที่ไหลเข้าตลาดหุ้นตลอดปี 48 ซึ่งอยู่ที่ 3.9 หมื่นล้านบาท ส่งผล
ให้เงินบาทแข็งค่าและยอมรับว่าส่วนหนึ่งมีการเข้ามาเก็งกำไร (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง,
มติชน)
2. ธปท.คาดจะสามารถออกประกาศขยายเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตสัปดาห์หน้า นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบาย
สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่สมาคมบัตรเครดิตยื่นเรื่องขอรับเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นอีก
ร้อยละ 2 จากเดิมร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 20 นั้น คาดว่าในสัปดาห์หน้า ธปท.จะสามารถออกประกาศเรื่องเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตได้
(ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือนแรกปี งปม.50 สูงกว่าเป้าหมาย 2.5 พันล้านบาท รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจ
การคลัง ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือน ต.ค.49 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปี งปม.50 ว่า มียอดจัดเก็บได้
บรรลุผลเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิจำนวน 106,491 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม.จำนวน
2,542 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.4 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 25,419 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.4 สำหรับรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เดือน
ต.ค.ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ เนื่องจากมีรายได้บางส่วนได้เหลื่อมไปนำส่งในเดือน พ.ย.49 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 1,922.2 เนื่องจากเดือน ต.ค.เป็นการเริ่มต้นที่ให้รัฐวิสาหกิจที่มีรอบบัญชีปีปฏิทินนำ
ส่งรายได้ระหว่างกาล ขณะที่ผลการจัดเก็บรายได้ตลอดทั้งปี งปม.49 (ต.ค.48-ก.ย.49) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,339,385 ล้านบาท
ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 20,615 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 74,453 ล้านบาท หรือร้อยละ
5.9 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในช่วงต้นปี งปม. ทำให้รายได้จาก
ภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลง ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าที่ประมาณการไว้ส่งผลต่อการจัดเก็บอากรขาเข้าของกรมศุลกากร ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้การ
จัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิต และภาษีศุลกากรต่ำกว่าประมาณการ ประกอบกับผลของการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการ
29,568 ล้านบาท ซึ่งมีผลดีต่อสภาพคล่องของภาคเอกชนในช่วงเศรษฐกิจอ่อนตัวลง ทำให้รายได้รัฐบาลสุทธิลดลงไปกว่าที่ประมาณการไว้
(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, มติชน, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การส่งออกของเยอรมนีเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่
8 พ.ย.49 สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า การส่งออกของเยอรมนีในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 สูงสุดในรอบกว่า 4 ปี
ขณะที่ยอดเกินดุลการค้าก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 15.0 พันล้านยูโร (19.16 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จาก 12.4 พันล้านยูโร ในเดือน
ส.ค.49 แสดงให้ถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในไตรมาส 3 จากการค้าต่างประเทศ โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจโดย
รวมในไตรมาส 3 จะขยายตัวร้อยละ 0.9 เป็นไปในทิศทางเดียวกับไตรมาส 2 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี ส่วนรายงาน
อื่น ๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจในระยะหลังนี้ก็ชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 3 จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ เยอรมนีพึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก
เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่เศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัวจากอัตราการว่างงานในระดับสูงและการใช้จ่าย
เพื่อการบริโภคที่ยังอ่อนตัวอยู่ ซึ่งการที่ตลาดแรงงานเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นช่วยเพิ่มความคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะเริ่มมีความสมดุลมากขึ้น (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 49 นาย Mervyn King
ผวก. ธ.กลางอังกฤษกล่าวว่าค่อนข้างแน่นอนว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกราวร้อยละ 0.25 ในวันพฤหัสบดีนี้ แต่นักวิเคราะห์มีความเห็น
แตกต่างว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับเพิ่มอีกครั้งในราวต้นปีหน้า ขณะที่ผลการสำรวจนักวิเคราะห์ทั้งหมดจำนวน 58 คนของรอยเตอร์มีความเห็น
สอดคล้องกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะไม่ปล่อยอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่
เกิดการก่อการร้ายใน สรอ. เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ส่งผลให้การดำเนินนโยบายการเงินทั่วโลกผ่อนคลายมากที่สุดในรอบทศวรรษ และหากมีการ
ขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้จะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงกว่าที่เคยอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 48 ปีในปี 46 ถึงร้อยละ 150 ทั้งนี้ผู้ดำเนินนโยบายการเงิน
ธ.กลางอังกฤษวิตกว่า อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0 แล้ว และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการจ่ายค่าจ้างสูงขึ้นในช่วงปีใหม่
อย่างไรก็ตามมีสัญญานเงินเฟ้อจากค่าจ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ส่งสัญญานย้ำแก่บรรดานายจ้างและคนงานว่า
ไม่ต้องการให้ค่าจ้างสูงมากเกินไป เนื่องจากอาจกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นอีก (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 3 ปี 49 จะขยายตัวชะลอลง รายงานจากโตเกียวเมื่อ 8 พ.ย.49 รอยเตอร์เปิด
เผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 3 ปี 49 จะขยายตัว
ร้อยละ 0.2 เทียบต่อไตรมาส ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีคาดว่าจีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ไม่เปลี่ยนแปลง
จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า จีดีพีในช่วงไตรมาส 3 ดังกล่าวเป็นการขยายตัวชะลอลง โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของ
การใช้จ่ายภายในประเทศซึ่งมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 55 ของจีดีพี อันเนื่องมาจากภาวะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ ราคาน้ำมันและราคาพืชผักที่อยู่ใน
ระดับสูง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนซึ่งขยายตัวชะลอลงจากการขยายตัวอย่างสูง
มากในช่วงไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าจีดีพีในช่วงไตรมาสที่ 4 จะฟื้นตัวขึ้นได้ เนื่องจากปัจจัยฟื้นฐาน อาทิ
เช่น สถานการณ์รายได้ยังคงอยู่ในระดับที่ดี จึงเชื่อว่าการใช้จ่ายภายในประเทศจะชะลอตัวลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปีเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน รายงานจากโซลเมื่อ
9 พ.ย.49 ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปีเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ตรงกับผลสำรวจความเห็นของ
นักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ที่คาดไว้ว่าภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงจะทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่
ร้อยละ 4.50 ต่อปีต่อไป หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดร้อยละ 0.25 ต่อปีเมื่อเดือน ส.ค.49 ที่ผ่านมาซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับ
สูงสุดในรอบ 5 ปี อย่างไรก็ดี มีการเก็งกำไรในตลาดเงินว่าราคาบ้านและสินเชื่อเพื่อการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น อาจทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้
ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าจะมีความกังวลว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงก็ตาม (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 พ.ย. 49 8 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.702 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.4784/36.7666 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 738.93/17.53 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,750/10,850 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.74 55.08 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 3 พ.ย. 49 25.29*/23.84* 25.29*/23.84* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--