นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เปิดเผยถึงแนวนโยบายการเกษตรของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว เขมร พม่า) ว่า
จากการที่ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการเกษตรในภูมิภาคเอเซีย โดยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ลำดับที่ 15 ของโลก รองจากสหรัฐ ประชาคมยุโรป จีน ญี่ปุ่น การพัฒนาการเกษตร ในช่วงต่อไปนี้ จะเน้นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูง ตลาดต้องการโดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ และประมง ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน เป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภค เน้นการทำอุตสา- หกรรมเกษตรเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แทนการส่งออกในลักษณะวัตถุดิบ
นโยบายดังกล่าว ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตการเกษตรของประเทศ เช่น การผลิตฝ้าย ปอ ข้าวฟ่าง ละหุ่ง ซึ่งเป็นสินค้าดั้งเดิมได้เปลี่ยนไปเป็น มันฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วเหลืองฝักสด กระเจี๊ยบเขียว ข้าวโพดหวาน ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ผลิตสินค้าดังกล่าว แต่ก็ยังมีความต้องการใช้ ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลจึงกำหนดให้มีการส่งเสริมพืชพื้นฐานหลาย ๆ ชนิดไปทำการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านแทน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพด ละหุ่ง มะม่วงหิมพานต์ มันฝรั่ง ยูคาลิป-ตัส ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน โดยให้สิทธิพิเศษในการเสียภาษีนำเข้าที่ร้อยละ 0 ภายใต้ข้อตกลง One way free trade , AISP (ASEAN Integration system of Preferences) และโครงการ ACMECS ทั้งนี้การ นำเข้าจะต้องไม่ทำให้เกษตรกรภายในประเทศเดือดร้อน วิธีการที่ใช้ เช่น กำหนดราคารับซื้อผลผลิตถั่วเหลืองและมันฝรั่งที่ผลิตในประเทศไว้ในระดับที่เกษตรกรได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า การกำหนดให้นำเข้าได้หลังจากฤดูการเก็บเกี่ยวของไทยเสร็จสิ้นแล้ว
นโยบายดังกล่าว นอกจากเกษตรกรในประเทศจะได้รับการดูแลในเรื่องการผลิตและราคาแล้ว ผู้ประกอบการในประเทศก็ได้รับการดูแลในเรื่องวัตถุดิบที่มีเพียงพอ การนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำเข้า เพิ่มศักยภาพให้แก่สินค้าที่ส่งออก และที่สำคัญเมื่อประชากรในประเทศเพื่อนบ้านมีงานทำ เศรษฐกิจดีขึ้น ก็จะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยเพิ่มขึ้น ลดจำนวนแรงงานที่หลบหนีเข้ามาทำงานในประเทศไทยให้น้อยลง นโยบายด้านการเกษตรของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นนโยบายที่ไม่ได้มองเฉพาะเกษตรกรเพียงอย่างเดียว แต่มองในภาพกว้างก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในส่วนรวม โดยให้ความสำคัญต่อเกษตรกรเป็นลำดับแรกที่จะไม่ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบแต่อย่างใดจากการนำเข้า
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
จากการที่ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการเกษตรในภูมิภาคเอเซีย โดยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ลำดับที่ 15 ของโลก รองจากสหรัฐ ประชาคมยุโรป จีน ญี่ปุ่น การพัฒนาการเกษตร ในช่วงต่อไปนี้ จะเน้นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูง ตลาดต้องการโดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ และประมง ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน เป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภค เน้นการทำอุตสา- หกรรมเกษตรเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แทนการส่งออกในลักษณะวัตถุดิบ
นโยบายดังกล่าว ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตการเกษตรของประเทศ เช่น การผลิตฝ้าย ปอ ข้าวฟ่าง ละหุ่ง ซึ่งเป็นสินค้าดั้งเดิมได้เปลี่ยนไปเป็น มันฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วเหลืองฝักสด กระเจี๊ยบเขียว ข้าวโพดหวาน ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ผลิตสินค้าดังกล่าว แต่ก็ยังมีความต้องการใช้ ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลจึงกำหนดให้มีการส่งเสริมพืชพื้นฐานหลาย ๆ ชนิดไปทำการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านแทน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพด ละหุ่ง มะม่วงหิมพานต์ มันฝรั่ง ยูคาลิป-ตัส ลูกเดือย และถั่วเขียวผิวมัน โดยให้สิทธิพิเศษในการเสียภาษีนำเข้าที่ร้อยละ 0 ภายใต้ข้อตกลง One way free trade , AISP (ASEAN Integration system of Preferences) และโครงการ ACMECS ทั้งนี้การ นำเข้าจะต้องไม่ทำให้เกษตรกรภายในประเทศเดือดร้อน วิธีการที่ใช้ เช่น กำหนดราคารับซื้อผลผลิตถั่วเหลืองและมันฝรั่งที่ผลิตในประเทศไว้ในระดับที่เกษตรกรได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า การกำหนดให้นำเข้าได้หลังจากฤดูการเก็บเกี่ยวของไทยเสร็จสิ้นแล้ว
นโยบายดังกล่าว นอกจากเกษตรกรในประเทศจะได้รับการดูแลในเรื่องการผลิตและราคาแล้ว ผู้ประกอบการในประเทศก็ได้รับการดูแลในเรื่องวัตถุดิบที่มีเพียงพอ การนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำเข้า เพิ่มศักยภาพให้แก่สินค้าที่ส่งออก และที่สำคัญเมื่อประชากรในประเทศเพื่อนบ้านมีงานทำ เศรษฐกิจดีขึ้น ก็จะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยเพิ่มขึ้น ลดจำนวนแรงงานที่หลบหนีเข้ามาทำงานในประเทศไทยให้น้อยลง นโยบายด้านการเกษตรของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นนโยบายที่ไม่ได้มองเฉพาะเกษตรกรเพียงอย่างเดียว แต่มองในภาพกว้างก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในส่วนรวม โดยให้ความสำคัญต่อเกษตรกรเป็นลำดับแรกที่จะไม่ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบแต่อย่างใดจากการนำเข้า
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-