กรุงเทพ--15 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีต่างประเทศให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังจากการประชุมระดมสมองเกี่ยวกับการต่างประเทศและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะ รวมทั้งข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วม ณ กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.ดร.กันตธีร์ฯ เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมระดมสมองว่า นายกรัฐมนตรีต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศโดยตรง โดยได้ย้ำถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์การทูตเชิงรุกที่ข้าราชการต้องทำงานแข่งกับเวลาในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสร้างความสมดุลระหว่างเรื่องพิธีการ กระบวนการกับผลงานด้วย ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบัน ที่ผู้นำประเทศอาจโทรติดต่อกัน และอาจนัดพบกันอย่างกระทันหันได้ ซึ่งแตกต่างจากในอดีต ที่จะมักเป็นการไปเยือนอย่างเป็นทางการ (Official visit)
2.ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเน้นถึงการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วว่า จะต้องดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งต้องมองการดำเนินการแบบองค์รวม มากกว่ามองแบบแยกส่วน โดยเฉพาะการดำเนินการด้านการต่างประเทศ และบทบาทของนักการทูต ซึ่งจะต้องคำนึงถึงทั้งการต่างประเทศ การเมืองระหว่างประเทศ ความมั่นคง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสาธารณสุขไป พร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เพื่อที่จะผลักดันนโยบายหลักของรัฐบาล กระทรวงการต่างประเทศมุ่งดำเนินนโยบายทำโลกทั้งใบให้เป็นประโยชน์ต่อคนไทย อันเป็นการสร้างโอกาสและปกป้องประโยชน์ของคนไทยทั่วโลก
3.รัฐมนตรีต่างประเทศเผยว่า นายกรัฐมนตรีเน้นให้ข้าราชการให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ที่ต้องติดต่อ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้การเจรจาบรรลุผลสำเร็จ ดังจะเห็นได้จากการที่นายกรัฐมนตรีได้สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้นำประเทศต่างๆ ทำให้สามารถเจรจารักษาประโยชน์ของประเทศไทยได้ ดร.กันตธีร์ฯ เห็นว่า เป็นการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว (Diplomacy with a personal touch) และว่า ในการสร้างเพื่อนนั้น จะต้องสร้างก่อนที่จะเกิดปัญหา เพราะหากเกิดปัญหาแล้ว การสร้างความสัมพันธ์จะทำได้ยาก
4.ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาภายใต้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงฯ ที่คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ กระทรวงการต่างประเทศได้เชื่อมโยงนโยบายด้านการต่างประเทศกับนโยบายภายในประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องเกื้อกูลกัน นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังมีบทบาทสร้างสรรค์ในกรอบความร่วมมือต่างๆ ในเวทีโลก เช่น ASEAN, ACMECS และ ACD ที่ประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มขึ้นจนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก และการเข้าร่วมในการประชุม OIC ของไทยก็สะท้อนถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศเชิงรุกได้เป็นอย่างดี
5.ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีขอให้กระทรวงการต่างประเทศกล้าคิด กล้าริเริ่มในบริบทการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ และเมื่อริเริ่มแล้ว ต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุผลที่เป็นรูปธรรม
6.ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวในเรื่องการก่อการร้ายในสหราชอาณาจักร ดร.กันตธีร์ฯ เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ โดยขอให้คนไทยระมัดระวัง และให้ประสานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอนอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ได้ขอให้ยกเลิกการเดินทาง ในเรื่องนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ประสานกับทางการสหราชอาณาจักร และสถานเอกอัครราชทูตประเทศอื่นๆ อย่างใกล้ชิด และขอให้คนไทยในสหราชอาณาจักรสอบถามข้อมูลสถานการณ์จากสถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วย สำหรับคนไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปสหราชอาณาจักร สามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2643-5145 และ 0-2643-5147
7.ดร.กันตธีร์ฯ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเรื่อง FTA ไทย-สหรัฐฯ ว่า เป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของคนไทย เพราะหากไม่ทำ FTA กับสหรัฐฯ จะทำให้คนไทยสูญเสียตลาดสำคัญได้ เพราะประเทศอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของไทย มีความพยายามที่จะทำข้อตกลง FTA กับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่สามารถเจรจาทำข้อตกลงต่อได้ เนื่องจากต้องรอรัฐบาลใหม่ภายหลังการเลือกตั้ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีต่างประเทศให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังจากการประชุมระดมสมองเกี่ยวกับการต่างประเทศและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะ รวมทั้งข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วม ณ กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.ดร.กันตธีร์ฯ เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมระดมสมองว่า นายกรัฐมนตรีต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศโดยตรง โดยได้ย้ำถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์การทูตเชิงรุกที่ข้าราชการต้องทำงานแข่งกับเวลาในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสร้างความสมดุลระหว่างเรื่องพิธีการ กระบวนการกับผลงานด้วย ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบัน ที่ผู้นำประเทศอาจโทรติดต่อกัน และอาจนัดพบกันอย่างกระทันหันได้ ซึ่งแตกต่างจากในอดีต ที่จะมักเป็นการไปเยือนอย่างเป็นทางการ (Official visit)
2.ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเน้นถึงการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วว่า จะต้องดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งต้องมองการดำเนินการแบบองค์รวม มากกว่ามองแบบแยกส่วน โดยเฉพาะการดำเนินการด้านการต่างประเทศ และบทบาทของนักการทูต ซึ่งจะต้องคำนึงถึงทั้งการต่างประเทศ การเมืองระหว่างประเทศ ความมั่นคง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสาธารณสุขไป พร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เพื่อที่จะผลักดันนโยบายหลักของรัฐบาล กระทรวงการต่างประเทศมุ่งดำเนินนโยบายทำโลกทั้งใบให้เป็นประโยชน์ต่อคนไทย อันเป็นการสร้างโอกาสและปกป้องประโยชน์ของคนไทยทั่วโลก
3.รัฐมนตรีต่างประเทศเผยว่า นายกรัฐมนตรีเน้นให้ข้าราชการให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ที่ต้องติดต่อ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้การเจรจาบรรลุผลสำเร็จ ดังจะเห็นได้จากการที่นายกรัฐมนตรีได้สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้นำประเทศต่างๆ ทำให้สามารถเจรจารักษาประโยชน์ของประเทศไทยได้ ดร.กันตธีร์ฯ เห็นว่า เป็นการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว (Diplomacy with a personal touch) และว่า ในการสร้างเพื่อนนั้น จะต้องสร้างก่อนที่จะเกิดปัญหา เพราะหากเกิดปัญหาแล้ว การสร้างความสัมพันธ์จะทำได้ยาก
4.ดร.กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาภายใต้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงฯ ที่คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ กระทรวงการต่างประเทศได้เชื่อมโยงนโยบายด้านการต่างประเทศกับนโยบายภายในประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องเกื้อกูลกัน นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังมีบทบาทสร้างสรรค์ในกรอบความร่วมมือต่างๆ ในเวทีโลก เช่น ASEAN, ACMECS และ ACD ที่ประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มขึ้นจนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก และการเข้าร่วมในการประชุม OIC ของไทยก็สะท้อนถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศเชิงรุกได้เป็นอย่างดี
5.ดร. กันตธีร์ฯ ได้กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีขอให้กระทรวงการต่างประเทศกล้าคิด กล้าริเริ่มในบริบทการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ และเมื่อริเริ่มแล้ว ต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุผลที่เป็นรูปธรรม
6.ต่อข้อซักถามของผู้สื่อข่าวในเรื่องการก่อการร้ายในสหราชอาณาจักร ดร.กันตธีร์ฯ เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ โดยขอให้คนไทยระมัดระวัง และให้ประสานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอนอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ได้ขอให้ยกเลิกการเดินทาง ในเรื่องนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศได้สั่งการให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ประสานกับทางการสหราชอาณาจักร และสถานเอกอัครราชทูตประเทศอื่นๆ อย่างใกล้ชิด และขอให้คนไทยในสหราชอาณาจักรสอบถามข้อมูลสถานการณ์จากสถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วย สำหรับคนไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปสหราชอาณาจักร สามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2643-5145 และ 0-2643-5147
7.ดร.กันตธีร์ฯ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเรื่อง FTA ไทย-สหรัฐฯ ว่า เป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของคนไทย เพราะหากไม่ทำ FTA กับสหรัฐฯ จะทำให้คนไทยสูญเสียตลาดสำคัญได้ เพราะประเทศอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของไทย มีความพยายามที่จะทำข้อตกลง FTA กับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่สามารถเจรจาทำข้อตกลงต่อได้ เนื่องจากต้องรอรัฐบาลใหม่ภายหลังการเลือกตั้ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-