ทางด้านจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ณ เดือนตุลาคมของปี 2548 มีจำนวนผู้ประกันตนทั้งสิ้น 8,199,134 คน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รับแจ้งจำนวนลูกจ้าง ที่ถูกเลิกจ้างในระยะเวลา 10 เดือนแรกของปี 2548 มีจำนวน 147,715 คน โดยเป็นการเลิกจ้างในอุตสาหกรรมการผลิตจำนวน 69,867 คน อุตสาหกรรมที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม มีจำนวน 12,542 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติก จำนวน 8,260 คน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย รวมทั้งการตกแต่งและย้อมสีขนสัตว์ จำนวน 7,818 คน และ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเรือน และการผลิตซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น จำนวน 6,436 คน
ส่วนสถานประกอบการที่เลิกกิจการมีจำนวน 17,399 แห่ง ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการเลิกกิจการมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งรถพ่วง784 แห่ง รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม 589 แห่ง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเรือน และการผลิตซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น จำนวน 335 แห่ง
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าต่างประเทศในปี 2548 การค้าของไทยในเดือน ม.ค.-ต.ค. 2548 มีมูลค่า 190,783.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.04 แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 91,595.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.26 การนำเข้ามีมูลค่า 99,188.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.93 ไทยเสียเปรียบดุลการค้า เป็นมูลค่า 7,593.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปี 2548 ที่มูลค่า 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 (มกราคม-ตุลาคม) ประกอบด้วยสินค้าอุตสาหกรรม 71,613.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 78.18) สินค้าเกษตรกรรม 8,576.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 9.36) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 5871.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.41) สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิง 4206.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.59) และสินค้าอื่นๆ 1,327.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.45) เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าทุกตัวมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 16.3 สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.8 ส่วนสินค้าอื่นๆลดลงร้อยละ 1.4
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 9,579.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ ยานพาหนะและอุปกรณ์ 6,414.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 4,419.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 3,446.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 2,966.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 2,699.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 2,613.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป 2,607.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า2444.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเคมีภัณฑ์ 2,207.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 39,397.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 43.01 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ตลาดส่งออก
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา
สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 64.16 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า การส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในทุกตลาดหลัก โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.78 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 13.6 ตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.16 ตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.45 และตลาดอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.33
โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 ประกอบด้วยวัตถุดิบ มีมูลค่าสูงที่สุด 42,225.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 42.6) รองลงมาเป็นการนำเข้าสินค้าทุน 27,968.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 28.2) สินค้าเชื้อเพลิง 17,900.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.0) สินค้าอุปโภคบริโภค 6,485.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.5) สินค้าหมวดยานพาหนะ 3,394.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.4) และ สินค้าอื่นๆ 1,215.2 (คิดเป็นร้อยละ 1.2)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าทุกหมวดมีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว โดยสินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.8 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.9 และสินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 สินค้าหมวดอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9
แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 56.1 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.15 ,สหภาพยุโรป ร้อยละ 17.17 ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.55 สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 และจากแหล่งอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.78
แนวโน้มการส่งออก
สถานการณ์การค้าในปี 2549 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าการส่งออกให้สูงขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกรวมทั้งปี 2549 น่าจะมีการขยายตัวการส่งออกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 22 แต่อย่างไรก็ตามยังต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆด้านประกอบกันด้วย โดยปัจจัยด้านบวก ประกอบด้วย ราคาน้ำมันคาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวลดลงและมีภาวะผันผวนน้อยลง อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทคาดว่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะสามารถควบคุมมิให้ผันผวนมากนัก นักลงทุนจากต่างประเทศยังให้ความสำคัญในการเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศการให้สิทธิประโยชน์ฉบับใหม่ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน จำนวนนักท่องเที่ยวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ไทยมีรายได้สูงขึ้น เป็นต้น
สำหรับปัจจัยด้านลบ มีด้วยกันหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือปัญหาเรื่อง ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกให้ขยายตัวในอัตราที่ลดลงได้ในบางจุดโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0-3.3 ในปี 2549 ส่วนจีนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.5-9.0 อัตราดอกเบี้ยอยู่ในขาขึ้นมีผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและผู้บริโภคอาจจะประหยัดมากขึ้นในบางจุด อัตราเงินเฟ้อคาดว่ายังคงสูงไปถึงครึ่งปีแรกของปี 2549 เป็นต้น
การลงทุน
การลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในปี 2548 คาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 555,000 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากในปี 2547 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 600,800 ล้านบาท
2545 2546 2547 2548*
มูลค่าการลงทุน 162,500 283,800 600,800 555,000
ที่ได้รับ BOI(ล้านบาท)
* หมายเหตุ : ข้อมูลปี 2548 เป็นตัวเลขการคาดการณ์
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 ประเภทกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดคือ หมวดโลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีเงินลงทุน 126,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะ มีเงินลงทุน 104,100 ล้านบาท หมวดบริการ 102,800 ล้านบาท หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีเงินลงทุน 65,400 ล้านบาท หมวดเคมี กระดาษและพลาสติก มีเงินลงทุน 49,800 ล้านบาท หมวดเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตร 26,500 ล้านบาท และหมวดอุตสาหกรรมเบาและ สิ่งทอ 11,100 ล้านบาท
การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI แยกตามกลุ่มอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรม 2548 (ม.ค.-ต.ค.)
จำนวนโครงการ มูลค่าการลงทุน (ล้านบาท)
เกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร 157 26,500
เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะ 31 104,100
อุตสาหกรรมเบาและสิ่งทอ 88 11,100
ผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ 218 126,600
อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 193 65,400
เคมี กระดาษและพลาสติก 141 49,800
บริการ 177 102,800
รวม 1,005 486,300
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น มีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 296 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 150,074 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 56 โครงการ 11,418 ล้านบาท ไต้หวัน 47 โครงการ เป็นเงินลงทุน 7,092 ล้านบาท และมาเลเซีย 34 โครงการ เป็นเงินลงทุน 6,052 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ส่วนสถานประกอบการที่เลิกกิจการมีจำนวน 17,399 แห่ง ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการเลิกกิจการมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ รถพ่วง และรถกึ่งรถพ่วง784 แห่ง รองลงมาคืออุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม 589 แห่ง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเรือน และการผลิตซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น จำนวน 335 แห่ง
การค้าต่างประเทศ
สถานการณ์การค้าต่างประเทศในปี 2548 การค้าของไทยในเดือน ม.ค.-ต.ค. 2548 มีมูลค่า 190,783.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.04 แยกเป็นการส่งออกมูลค่า 91,595.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.26 การนำเข้ามีมูลค่า 99,188.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.93 ไทยเสียเปรียบดุลการค้า เป็นมูลค่า 7,593.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และกระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปี 2548 ที่มูลค่า 115,837 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 (มกราคม-ตุลาคม) ประกอบด้วยสินค้าอุตสาหกรรม 71,613.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 78.18) สินค้าเกษตรกรรม 8,576.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 9.36) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร 5871.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.41) สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิง 4206.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 4.59) และสินค้าอื่นๆ 1,327.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 1.45) เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกของสินค้าทุกตัวมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 16.3 สินค้าแร่ธาตุและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.8 ส่วนสินค้าอื่นๆลดลงร้อยละ 1.4
สินค้าส่งออกที่สำคัญ 10 รายการหลักในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 9,579.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ ยานพาหนะและอุปกรณ์ 6,414.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แผงวงจรไฟฟ้า 4,419.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 3,446.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยางพารา 2,966.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 2,699.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 2,613.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป 2,607.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า2444.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเคมีภัณฑ์ 2,207.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯมูลค่าการส่งออก 10 รายการหลักรวมกันเท่ากับ 39,397.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 43.01 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ตลาดส่งออก
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา
สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 64.16 ของการส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า การส่งออกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในทุกตลาดหลัก โดยในตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.78 ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 13.6 ตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.16 ตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.45 และตลาดอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.33
โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 ประกอบด้วยวัตถุดิบ มีมูลค่าสูงที่สุด 42,225.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 42.6) รองลงมาเป็นการนำเข้าสินค้าทุน 27,968.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 28.2) สินค้าเชื้อเพลิง 17,900.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 18.0) สินค้าอุปโภคบริโภค 6,485.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 6.5) สินค้าหมวดยานพาหนะ 3,394.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.4) และ สินค้าอื่นๆ 1,215.2 (คิดเป็นร้อยละ 1.2)
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าสินค้าทุกหมวดมีมูลค่าการนำเข้าขยายตัว โดยสินค้าทุนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.8 สินค้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.9 และสินค้าหมวดยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 สินค้าหมวดอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9
แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น, อาเซียน, สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 มีสัดส่วนนำเข้ารวมร้อยละ 56.1 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.15 ,สหภาพยุโรป ร้อยละ 17.17 ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.55 สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 และจากแหล่งอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.78
แนวโน้มการส่งออก
สถานการณ์การค้าในปี 2549 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าการส่งออกให้สูงขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกรวมทั้งปี 2549 น่าจะมีการขยายตัวการส่งออกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 22 แต่อย่างไรก็ตามยังต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆด้านประกอบกันด้วย โดยปัจจัยด้านบวก ประกอบด้วย ราคาน้ำมันคาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวลดลงและมีภาวะผันผวนน้อยลง อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทคาดว่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะสามารถควบคุมมิให้ผันผวนมากนัก นักลงทุนจากต่างประเทศยังให้ความสำคัญในการเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศการให้สิทธิประโยชน์ฉบับใหม่ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน จำนวนนักท่องเที่ยวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ไทยมีรายได้สูงขึ้น เป็นต้น
สำหรับปัจจัยด้านลบ มีด้วยกันหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือปัญหาเรื่อง ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกให้ขยายตัวในอัตราที่ลดลงได้ในบางจุดโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0-3.3 ในปี 2549 ส่วนจีนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.5-9.0 อัตราดอกเบี้ยอยู่ในขาขึ้นมีผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและผู้บริโภคอาจจะประหยัดมากขึ้นในบางจุด อัตราเงินเฟ้อคาดว่ายังคงสูงไปถึงครึ่งปีแรกของปี 2549 เป็นต้น
การลงทุน
การลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในปี 2548 คาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 555,000 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากในปี 2547 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน 600,800 ล้านบาท
2545 2546 2547 2548*
มูลค่าการลงทุน 162,500 283,800 600,800 555,000
ที่ได้รับ BOI(ล้านบาท)
* หมายเหตุ : ข้อมูลปี 2548 เป็นตัวเลขการคาดการณ์
เมื่อพิจารณาในหมวดของการเข้ามาลงทุน พบว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 ประเภทกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดคือ หมวดโลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีเงินลงทุน 126,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะ มีเงินลงทุน 104,100 ล้านบาท หมวดบริการ 102,800 ล้านบาท หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีเงินลงทุน 65,400 ล้านบาท หมวดเคมี กระดาษและพลาสติก มีเงินลงทุน 49,800 ล้านบาท หมวดเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตร 26,500 ล้านบาท และหมวดอุตสาหกรรมเบาและ สิ่งทอ 11,100 ล้านบาท
การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI แยกตามกลุ่มอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรม 2548 (ม.ค.-ต.ค.)
จำนวนโครงการ มูลค่าการลงทุน (ล้านบาท)
เกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร 157 26,500
เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะ 31 104,100
อุตสาหกรรมเบาและสิ่งทอ 88 11,100
ผลิตภัณฑ์โลหะและอุปกรณ์ 218 126,600
อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 193 65,400
เคมี กระดาษและพลาสติก 141 49,800
บริการ 177 102,800
รวม 1,005 486,300
สำหรับแหล่งลงทุนในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2548 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น มีการลงทุนมากที่สุดโดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 296 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 150,074 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 56 โครงการ 11,418 ล้านบาท ไต้หวัน 47 โครงการ เป็นเงินลงทุน 7,092 ล้านบาท และมาเลเซีย 34 โครงการ เป็นเงินลงทุน 6,052 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-